- ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้และเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคล จึงริเริ่มโครงการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติต่อไป
- ในปี 2561 ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษา ส่งเสริม ให้เกิดการสร้างอาชีพ และพัฒนาทักษะในการทำงานให้กับคนทั้งในองค์กร ชุมชน และสถานศึกษาต่างๆ รวมกว่า 80,000 คน ด้วยมุ่งหวังให้ทุกคนก้าวไปสู่การพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป
ภารกิจสำคัญ | โครงการทุนการศึกษาบุตรพนักงาน |

ไทยเบฟริเริ่มโครงการทุนการศึกษาบุตรพนักงานมาตั้งแต่ปี 2553 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าทางการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงานที่มีผลการเรียนดี อีกทั้งช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง โดยมีสถิติการมอบทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น
จนถึงปีปัจจุบันจำนวน 9,243 ทุน รวมเป็นเงิน 57,198,000 บาท
สำหรับในปี 2561 มีบุตรพนักงานได้รับทุนจำนวน 1,075 ทุน
เป็นเงินทั้งสิ้น 6,670,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น ทุนการศึกษากรณีทั่วไป 1,065 ทุน และทุนการศึกษากรณีพิเศษ (โครงการ
ช้างเผือก) จำนวน 10 ทุน โดยแบ่งตามระดับตั้งแต่ประถมศึกษา
ไปจนถึงอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา 9 ปี
ต่อเนื่องกัน ทั้งสิ้น 23 ราย รวมถึงบุตรที่ได้รับทุนการศึกษาทั้งกรณีพิเศษ (โครงการช้างเผือก) และทุนกรณีทั่วไปที่ได้เข้าร่วมทำงานกับไทยเบฟ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน
ไทยเบฟยังคงยึดมั่นในการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงาน เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นกำลังสำคัญและเป็นรากฐานทางการศึกษาที่มั่นคงต่อไป
ปีนี้เป็นปีที่ 2 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยพันธมิตร 27 แห่ง ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน 76,325 คน จาก 292 โรงเรียน ใน 47 จังหวัด เรื่องการบริหารเงิน และทักษะการจัดการธุรกิจขั้นต้น เพื่อสร้างรากฐานและจุดประกายความรู้ มาพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ผ่านการทดลองทำโครงการธุรกิจ จำนวน 292 โครงการ ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย ภายใต้แนวคิด “พี่ช่วยน้อง” โดยไทยเบฟจะให้ทุนตั้งต้น เพื่อเป็น จุดเริ่มต้นในการทดลองทำโครงการธุรกิจ ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ มีประสบการณ์จริงในบทบาทผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ทางไทยเบฟได้ร่วมกับกรมพัฒนาชุมชน เปิดโอกาสให้นักเรียนมีพื้นที่สำหรับการแข่งขัน เพื่อการพัฒนาสู่ความเป็น มืออาชีพ ผ่านการประกวด OTOP JUNIOR ครั้งที่ 2 เพื่อชิงทุน การศึกษากว่า 5 แสนบาท
โครงการนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้และทักษะในเรื่องบัญชี และ การจัดการธุรกิจ พร้อมการพัฒนาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม เปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนในการดำรงชีวิตประจำวันและในชีวิตการทำงานในอนาคต
![]() |
ด.ญ.สุพัตรา ฉุยฉาย และ ด.ญ.นรัญญา ลิ้มเจริญ
|
ได้เรียนรู้การทำบัญชีโครงการ บัญชีกำไร-ขาดทุน บัญชี ทำมาค้าขาย โดยจดบันทึกทุกครั้งหลังจากทำขนมทองม้วน ทำให้เห็นกำไรชัดเจนขึ้น เอาเงินไปหยอดกระปุก เพราะเวลาต้องการใช้จะได้นำออกมาใช้ ทำให้รู้ว่าพ่อแม่หาเงินเหนื่อยมาก แต่ถ้าเราไม่ทำงานด้วย ตัวเอง และหาเงินด้วยตัวเอง พ่อแม่ก็ต้องหาให้เราอยู่ดี พ่อแม่ก็จะเหนื่อยกว่าเดิม ดีใจและภูมิใจที่สามารถหาเงินใช้ได้ในระหว่างเรียน
![]() |
คุณพิทักษ์ ฉิมสุด
|
โครงการนี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างทักษะอาชีพ ทางโรงเรียนจึงสามารถนำโครงการมาบูรณาการเข้ากับการเรียน การสอนในแต่ละรายวิชาของโรงเรียนได้

เด็กพิเศษโรงเรียนกาวิละอนุกูล ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กำลังสร้างผลงานศิลปะภาพนูนต่ำ จากกระดาษรีไซเคิล
พร้อมกันนี้ยังมอบเงินสนับสนุนเพื่อต่อยอดโครงการ “ผลิตศิลปะภาพนูนต่ำจากกระดาษรีไซเคิล” ให้กับทางโรงเรียน และ นำไปจัดจำหน่ายที่สหกรณ์ ด้วยมุ่งหวังช่วยพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกสมาธิ พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กให้เคลื่อนไหว และทำงานให้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยพัฒนาอารมณ์ของเด็กๆ ให้สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ได้นานขึ้น รวมถึงกล้าตัดสินใจด้วยตัวเองมากขึ้น


- ให้ความรู้และคำปรึกษาเพื่อพัฒนาตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด การจัดจำหน่าย จนถึงบริการหลังการขาย
- ให้นักเรียน (ระดับชั้น ป.4-ม.3) รวมกลุ่มกัน จำนวน 150 คน ตั้งเป็นชมรมเพื่อทำการบริหารจัดการกิจกรรม แบ่งบทบาทและหน้าที่กันอย่างชัดเจน เพื่อให้เรียนรู้หลัก การทำธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การคำนวณต้นทุน กำไร และบริหาร ให้เกิดเงินหมุนเวียน ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ โดยนำอัตลักษณ์ของจังหวัดมาเป็นจุดเด่นของการออกแบบผลิตภัณฑ์
- ฝึกฝนทักษะความเป็นผู้นำและนำเสนอผ่านการลงมือ ทำมาค้าขายจริง


- โรงเรียนอนุบาลเกาะคา จ.ลำปาง ร่วมจัดกิจกรรม Big Cleaning Day นำโดย คุณขจร พีรกิจ พร้อมด้วยพนักงานจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด รวมกว่า 70 คน อบจ.ลำปาง กศน. คณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาดและปลอดภัยสำหรับนักเรียน
- โรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร จ.สุราษฏร์ธานี ร่วมจัดกิจกรรม Big Cleaning Day นำโดยคุณอรพรรณ ยุวนานนท์ และ คุณชนาวุฒิ นาคเวก พร้อมกับพนักงานจากบริษัทในเครือของไทยเบฟ ช่วยทำความสะอาดและปรับปรุงห้องผลิตน้ำดื่มให้ถูกสุขอนามัย นอกจากนี้โรงงานนทีชัยได้นำรถแทรกเตอร์มาช่วยปรับพื้นที่บางส่วน เตรียมสำหรับการทำโครงการ ปลูกปาล์มน้ำมัน และยังร่วมทาสีอาคารเรียน ผนังห้องเรียน ทำความสะอาดรางน้ำรอบโรงเรียนอีกด้วย
- โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่าฯ เชียงใหม่ นำโดย คุณประโภชฌ์ สภาวสุ ส่งคณะครูเข้าอบรมงานที่ศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีทีมไทยเบฟเป็นวิทยากรสอนหลักสูตรตัดผมชาย สอนหลักสูตรทำอาหารจานเดียว และสอนวิชาศิลปะ


ทั้งนี้ โครงการครูเจ้าฟ้าฯ ยังได้ริเริ่มจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้แบบพึ่งพาตนเอง ให้แก่ชุมชนที่อยู่ห่างไกล เช่น โครงการปลูกผักบนโต๊ะเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านน้ำปุก ทำให้ชุมชนเกิดแหล่ง เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เกิดอาชีพใหม่ในชุมชน มีกองทุน เพื่อการพึ่งพาตนเอง มีทักษะเพิ่มเติมในด้านการเกษตร ปศุสัตว์และประมง รวมไปถึงเกิดการอนุรักษ์ป่า ฟื้นฟูประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
![]() |
ครูสิงหา แซ่ตึ้ง |
- เกษตรอินทรีย์ ทางโรงเรียนก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสอนเด็ก และยังนำไปส่งเสริมชาวบ้านให้ทำเกษตรอินทรีย์ ที่ปลอดภัยจากสารเคมี แล้วกลับมาส่งให้กับโรงเรียนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน ส่วนนักเรียนเองที่ทำเกษตรอินทรีย์ก็มีรายได้ระหว่างเรียน แถมยังทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย
- การสอนตัดผม เด็กๆ สามารถทำเป็นอาชีพได้ มีรายได้เสริม ทำให้มีทุนการศึกษาต่อ มีเด็กคนหนึ่งที่เป็นนักมวย ไปอยู่ค่ายมีนะโยธิน เขาก็มีหน้าที่ตัดผมให้นักมวยในค่าย แถมยังตัดผมให้นักมวย ที่เป็นแชมป์โลกด้วย
- การทำอาหาร เด็กๆ ที่เข้าโครงการสามารถทำอาหารได้ หลากหลาย อย่างข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ก็ถือว่าเป็นเมนูพิเศษ เวลาแขกมาเยี่ยมชมมาดูงาน เด็กๆ ก็จะทำเป็นประจำ ผมว่าเด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการนำไปประกอบอาชีพได้แน่นอนครับ
![]() |
คุณประโภชฌ์ สภาวสุ |
ศูนย์ ซี อาเซียน ได้จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการอบรม สัมมนา การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การจัดรายการโทรทัศน์ รวมถึงการจัดสร้างวงดนตรีพื้นบ้านแห่งภูมิภาคอาเซียน โดยยึดหลักการสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับภูมิภาค มุ่งหวังให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่มีความรู้และความคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้มี ความเชื่อมโยงกันทุกมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี รวมถึงศิลปะและวัฒนธรรม ภายใต้หลัก “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งในปี 2561 ศูนย์ ซี อาเซียนได้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

การประชุมสัมมนาการพัฒนาอย่างยั่งยืน (C asean Sustainable Development Forum )
ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) ร่วมกับ โครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UN Environment) และมูลนิธิสถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม (FINSEDT) ร่วมกันจัดงานประชุมสัมมนาการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ C asean Sustainable Development Forum อีกทั้งยังร่วมจัดการประชุมสัมมนากับองค์กรการควบคุมสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในหัวข้อ Transforming Asia Pacific: Innovative Solutions, Circular Economy และ Low Carbon Lifestyles ระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2018 ณ ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) กรุงเทพฯ ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดงานคือ มุ่งเน้นแนวคิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงผลกระทบ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับอาเซียนจนถึงระดับโลกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกทั้ง เพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม และมีวิจารณญาณ คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยหยิบยกประเด็น การสร้างสรรค์สังคมการใช้คาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Consumption Lifestyle เป็นแกนหลักของการจัดงาน เพื่อยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Climate Change) และสร้างรากฐานการพัฒนาความยั่งยืนของอาเซียนจนถึงระดับโลก
โครงการ Win-Win WAR Thailand (สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน)
ศูนย์ ซี อาเซียน ( C asean) จัดโครงการ Win-Win WAR เพื่อเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นสร้างธุรกิจในฝัน พร้อมการเติบโตไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน ผ่านรายการแข่งขันเสนอแผนธุรกิจในรูปแบบสถานการณ์จริงหรือ Reality Show โดยไม่มีการเขียนบท เพื่อเป็นเวทีให้ นักธุรกิจรุ่นใหม่นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการที่สามารถตอบโจทย์ของเป้าหมาย คือการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน

ในปี 2560–2561 ทางโครงการเริ่มจัดตั้ง ”บริษัทจำลอง หรือ Dummy Business” ในรูปแบบของร้านสะดวกซื้อ หรือ Mini Mart เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง ทางโครงการ EISA เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสายงานอาชีพต่างๆ ของบริษัทในเครือไทยเบฟและเครือทีซีซี ให้ความรู้นักศึกษาเพื่อนำไปปฏิบัติในบริษัทจำลอง
โครงการบริษัทจำลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ของหลักสูตรคณะบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ตอบรับและเข้าร่วมในการจัดทำบริษัทจำลองนี้ โดยในปีที่ผ่านมาได้เปิด ร้านค้าไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน 5 ร้านค้า คือ ร้าน RBS Mart มหาวิทยาลัยรังสิต ร้าน SWU Mart มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ ร้าน RMUTR Mart มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา ร้าน Smart Market Co. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี และร้าน KKW Mart มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล ซึ่งแต่ละร้านค้าดังกล่าว จะเป็นแหล่งทดลองการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ในระยะเวลา 1 ปี จะมีจำนวนนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจเข้ามาฝึกปฏิบัติงานจริงที่ร้านค้ากว่า 400 คน (จำนวน 5 ร้านค้า/ ร้านค้าละ 40 คนต่อภาคการศึกษา/ปีละ 2 ภาคการศึกษาปกติ)
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
คุณสุรพล อุทินทุ
|
โครงการ EISA สนับสนุนกิจกรรมกีฬาในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เด็กๆ มี เส้นทางการเติบโต นอกเหนือจากกีฬา เรามองเห็นโอกาสขยายความร่วมมือผ่านกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านอื่น เราจึงเริ่มขยายผลโครงการผ่านแกนหลัก 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ 1. กีฬา 2. การขาย 3. สร้างการจดจำแบรนด์ในใจ (Top of Mind) และ 4. กิจกรรมของประชารัฐรักสามัคคี ทุกคนต้องแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ผ่านการสร้างร้านค้า บริษัทจำลองในมหาวิทยาลัย โดยไทยเบฟเป็นผู้สนับสนุนและมอบความรู้ตั้งแต่การตั้งร้านค้า การออกแบบ การจัดการบัญชี การบริหารสต็อกสินค้า การประชาสัมพันธ์ แต่น้องจะบริหารร้านค้าด้วยตัวเอง เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงมากกว่าความรู้จากทฤษฎีในห้องเรียน
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
คุณชนุดม กิตติสาเรศ
|
เป็นประสบการณ์ที่แตกต่างจากในห้องเรียน การได้ลองทำจริง ฝึกแก้ไขปัญหาหลายอย่างที่ในห้องเรียนไม่มี ได้มาเรียนรู้จากการทำจริงและนำเอาวิธีการแก้ไขปัญหาจากการอบรมกับไทยเบฟ มาแก้ไขจริง รู้จักสังเกตผู้บริโภคว่าเขาต้องการอะไร อยากได้อะไรเพิ่ม เราก็จะปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการ นั่นคือสิ่งที่เรา ต้องตอบโจทย์ลูกค้า
- กิจกรรมเชิงธุรกิจ : นักศึกษาจะได้ฝึกงานที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (ชั้นปีที่ 1) ได้เรียนรู้ทดลอง ทำธุรกิจจริงผ่านกิจกรรมธุรกิจตั้งต้น 20,000 บาท (ชั้นปีที่ 2) และบริษัทจำลอง (ชั้นปีที่ 3) รวมถึงไปดูงานที่บริษัทในเครือ
- กิจกรรมเพื่อสังคม : ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ของไทยเบฟ เช่น ไทยเบฟ...รวมใจ ต้านภัยหนาว Water Festival River Festival.
สำหรับนักศึกษาที่จบจากโครงการและออกไปประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเริ่มทำธุรกิจที่ตัวเองสนใจ เช่น ธุรกิจโรงแรมแมว กระเป๋า รับจัด อีเวนต์คอนเสิร์ต และรับจัดอีเวนต์ต่างๆ บางส่วนอาจต่อยอด จากธุรกิจครอบครัว เช่น ร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน เปิดปั๊มน้ำมัน กิจการฟาร์มหมู ธุรกิจขายส่งของเล่นเด็ก เสื้อผ้าเด็ก หรืออาจ ต่อยอดจากการทำธุรกิจตั้งต้น 20,000 บาท เช่น ร้านเครื่องประดับ เสื้อผ้าออนไลน์ สวนขวด
ไทยเบฟเชื่อมั่นว่ายังจะสามารถสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ดี และมีความสามารถออกสู่สังคมได้อย่างต่อเนื่อง
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี
|
รู้สึกดีใจ ภาคภูมิใจที่น้องๆ ทุกๆ คนได้เก็บเกี่ยววิชาความรู้และประสบการณ์ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เราได้ลองผิดลองถูก ได้ทำในสิ่งที่เราเชื่อมั่นว่าจะเป็นประโยชน์กับตัวเราเอง กับองค์ความรู้ที่เราร่ำเรียนมาจากวิชา จากด้านหลักสูตรของมหาวิทยาลัย จากทางคณาจารย์ที่ได้พร่ำสอน ได้แนะแนวทางต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญ เราได้ประสบการณ์จริงให้กับตัวพวกเราเองทุกๆ คน เรามุ่งหวังที่จะสร้างและพัฒนาให้นักศึกษามีความเข้มแข็ง ความมุ่งมั่น ความมั่นใจ และ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สร้างสังคมคุณภาพ ให้กับประเทศของเราต่อไป
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
คุณรมิดา คณิวรานนท์
|
เวลาเราทำงานร่วมกันกับคนอื่นจะมีความขัดแย้ง ถ้าตอนเรียน เราไม่มี การทำธุรกิจจำลอง ไม่มีการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน เราอาจไม่สามารถแก้ปัญหาตอนที่เราทำงานได้ อย่างเวลาเราเจอคนขัดแย้ง เราต้องแก้ไขยังไง ทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น จากที่เราได้เรียนรู้มาจากโครงการ
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
คุณชัยวัฒน์ โกยสันติสุข
|
การทำกิจกรรม UTCC Beta Dummy Company (บริษัทจำลอง) เป็นจุดใหญ่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้มากที่สุด เพราะตอนนั้นเป็นยุคบุกเบิกเริ่มต้นก่อตั้งบริษัทจำลอง มีปัญหาต่างๆ ที่เราเจอแล้วได้แก้ไข บางปัญหาแก้เสร็จ บางปัญหาแก้ไม่เสร็จ ซึ่งสุดท้ายพอมาทำธุรกิจของเราเอง เรารู้สึกว่าเราเคยเจอปัญหาตรงนี้มาก่อน ทำให้เราตั้งรากฐานของธุรกิจได้ค่อนข้างมั่นคงมาก มีการทำระบบเรื่องของสต็อก เรื่องของยอดขาย เรื่องของการดูแลรักษาลูกค้า ได้นำประสบการณ์จากบริษัทจำลองมาใช้กับธุรกิจ ของตัวเอง
![]() |
คุณรชต เอี่ยมสงคราม
|
ทักษะที่ผมได้รับจากการเรียนรู้ธุรกิจตั้งต้น คือการค้าขาย ออกไปขายของเอง ออกไปเจอลูกค้าด้วยตัวเอง ด้วยเงิน 20,000 บาท ที่ทางมูลนิธิฯ ให้มา ช่วยฝึกทักษะการค้าขาย ซึ่งเราอาจไม่เคยทำหรือสัมผัสมาก่อน
ภาพรวมการสนับสนุนด้านการศึกษาของไทยเบฟ
มากกว่า
80,000 คน
ได้รับผลประโยชน์จากโครงการพัฒนาการศึกษา
ทุนบุตรพนักงาน
1,075 ทุน
เงินสนับสนุนด้านการศึกษา ปี 2561
44 ล้านบาท
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
สนับสนุนโรงเรียน 19 แห่ง |
|
พัฒนานักเรียนกว่า 10,000 คน |
|
เด็กพิเศษที่ได้รับประโยชน์ 265 คน |