|
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 302-1, GRI 302-3, GRI 302-4, GRI 305-1, GRI 305-2, GRI 305-4, GRI 305-5 |
- ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ โดยสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงการการใช้พลังงานทดแทน การส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์การใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
- ส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ตลอดจนการลดต้นทุน ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ การใช้พลังงานทดแทนจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการนำผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ จากกระบวนการผลิตมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิต เช่น ก๊าซชีวภาพจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไอน้ำแทนน้ำมันเตา
- พัฒนากระบวนการผลิต และการบริหารจัดการ โดยใช้หลัก 3Rs คือ ลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce, Reuse, Recycle) โดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบกระบวนการ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกของพนักงานในชีวิตประจำวัน
ไทยเบฟ ได้วางกรอบการทำงาน เพื่อดำเนินการทางด้านเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
แบ่งปันคุณค่า
![]() |
ดร.พิษณุ วิเชียรสรรค์
|
ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ
ท่ามกลางวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน ไทยเบฟได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่มีการใช้น้ำและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบหลัก จึงจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศโดยตรง อีกทั้งขีดจำกัดด้านพลังงานจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเรียกเก็บภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่องค์กรเป็นผู้รับผิดชอบ
ไทยเบฟมีการประเมินความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินการทางธุรกิจ
ไทยเบฟได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการกำกับดูแล
ผ่านคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงขององค์กร
ซึ่งในทีมนี้จะประกอบด้วยกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกรรมการบริษัทที่เป็นกรรมการอิสระ โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายความยั่งยืน และนโยบายความเสี่ยง รวมถึงวางกลยุทธ์
เพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อหาแนวทางการดำเนินการ
เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
ไทยเบฟมีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ไทยเบฟสนับสนุนในการลงทุนและพัฒนาในการใช้พลังงานทางเลือก เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น โครงการติดตั้งแผงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar rooftop) ระบบการผลิตไอน้ำจากก๊าซชีวภาพจากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
โดยองค์กรมีการตรวจสอบและติดตามผล ทั้งนี้ องค์กรยังได้เข้าร่วมการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของคาร์บอน
ฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product, CFP) และคาร์บอนฟุตพรินต์องค์กร (Carbon Footprint for Organization, CFO) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับ สถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้คำแนะนำ
แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
ก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ องค์กรยังได้เข้าร่วมเป็นบริษัทนำร่อง
ในโครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) ร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีกด้วย
ภารกิจสำคัญ | การใช้พลังงานทดแทน |

- การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค ที่ได้รับการออกแบบ ให้มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาของอาคาร ทำให้ระบบแสงสว่างของคลังสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ ใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ร้อยละ 50
- การติดตั้งแผงพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ของโรงงาน ในกลุ่มเบียร์ ด้วยงบลงทุนประมาณ 105 ล้านบาท เพื่อนำมาทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้กว่า 1.3 ล้านหน่วย โดยเป็นโครงการต่อเนื่องที่จะแล้วเสร็จระหว่างปี 2562-2564 จนครบทุกโรงเบียร์ในกลุ่มไทยเบฟ
- การทำโครงการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Hot Water) ร่วมกับการนำพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากระบบอัดอากาศ มาเป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงจากน้ำมันเตา โดยเป็นกระบวนการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำก่อนเข้าสู่ระบบหม้อไอน้ำ ทำให้สามารถช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง น้ำมันเตา
- การก่อตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อนำผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต เช่น น้ำกากส่ามาผลิตเป็นพลังงานทดแทน และนำพลังงานความร้อนไปใช้ในการกลั่นสุรา และนำส่วนที่เหลือมาผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งระบบการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และสามารถนำก๊าซชีวภาพจากระบบดังกล่าวมาใช้ทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ
ไทยเบฟ สนับสนุนแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขอรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ทำให้บริษัทมีฐานข้อมูล ที่สำคัญและถูกต้องจากการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และหาแนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ส่งผลให้ไทยเบฟสามารถลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม และสื่อสารให้กับ ผู้บริโภคตระหนักรู้ถึงสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
ไทยเบฟได้รับเครื่องหมาย คาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรจำนวน
15
บริษัท
ไทยเบฟได้รับเครื่องหมาย คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์จำนวน
50
ผลิตภัณฑ์
ไทยเบฟได้รับฉลาก ลดคาร์บอนฟุตพรินต์จำนวน
16
ผลิตภัณฑ์
การใช้พลังงาน
เป้าหมายการลดอัตราส่วนการใช้พลังงาน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงภายในปี 2563
5%
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557
ความสำเร็จ
18%
การลดอัตราส่วนในการใช้ พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557
204.70
เมกะจูลต่อเฮกโตลิตร
อัตราการใช้พลังงาน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ของธุรกิจเครื่องดื่ม
37.23
เมกะจูลต่อกิโลกรัม
อัตราการใช้พลังงาน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ของธุรกิจอาหาร
อัตราการใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2561 (ธุรกิจเครื่องดื่ม)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมายการลดอัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
10%
ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงภายในปี 2563 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557
ความสำเร็จ
16%
การลดอัตราส่วนการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557
25.84
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า/เฮกโตลิตร
อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเครื่องดื่ม
2.56
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า/กิโลกรัม
อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจอาหาร
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางตรง (Scope 1) ทางอ้อม (Scope 2) และทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2561 (ธุรกิจเครื่องดื่ม)
ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้พลังงานไฟฟ้า
จากการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นปริมาณ
71.52
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้พลังงาน ของการผลิตน้ำร้อน
จากการติดตั้ง Solar tube เป็นปริมาณ
60.04
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้เชื้อเพลิง
เช่น น้ำมันเตา/ถ่านหิน ของการผลิตไอน้ำ
จากการติดตั้งระบบ UASB รวมทั้งลดการใช้ไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นปริมาณ
12,167
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน
จาก ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากการตั้งโรงไฟฟ้า เป็นปริมาณ
157,261
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี