รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2561
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2561 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 303-1, GRI 303-3, GRI 306-1

  • ไทยเบฟได้สร้างระบบบริหารจัดการน้ำที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า โดยร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมภายในชุมชนรอบโรงงานไปจนถึงโครงการระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ และคืนน้ำสะอาดกลับสู่ธรรมชาติ
  • ไทยเบฟทำการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำของโรงงานผลิตแต่ละแห่งภายใต้โครงการชื่อ การประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ (Water Sustainability Assessment: WSA) เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการใช้น้ำของโรงงานผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • นอกจากการใช้น้ำจากแหล่งที่เหมาะสม บริษัทยังใช้หลักการ 3Rs คือ ลดการใช้น้ำ การนำมาใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • ไทยเบฟใช้มาตรฐานสากลในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001: 2015) รวมถึงควบคุมมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้งโดยสามารถบำบัดน้ำทิ้งจนมีคุณภาพดีกว่าข้อกำหนดตามกฎหมายก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ


การบริหาร จัดการต้นน้ำ
องค์กรกับการอนุรักษ์และ คืนน้ำสะอาดกลับสู่ธรรมชาติ
  • การพัฒนาระบบตะบันน้ำขึ้นที่สูง และสร้างระบบฝายชะลอน้ำ
  • การปลูกป่า
  • การลดการกีดขวางทางน้ำ และปรับทัศนียภาพแม่น้ำ
  • การปรับปรุงระบบผลิตน้ำประปาชุมชน
การบริหารจัดการ และการดำเนินงาน
องค์กรกับการบริหารจัดการ ความเสี่ยงเรื่องน้ำ
  • โครงการประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ (WSA)
  • เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ Global Water Tool
องค์กรกับการใช้ทรัพยากรน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การใช้น้ำจากแหล่งที่เหมาะสม
  • กการประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint)
  • กมาตรการ 3Rs
การบริหาร จัดการปลายน้ำ
องค์กรกับการควบคุมมาตรฐาน การปล่อยน้ำทิ้ง
  • ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015
  • มาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้ง ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

แบ่งปันคุณค่า

คุณนพวารินทร์ ดวงดี
ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานสุราบริษัท แสงโสม จำกัด

โรงงานสุราบริษัท แสงโสม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของไทยเบฟ ได้เข้าร่วมโครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) กับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และรับใบประกาศนียบัตร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561

วอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) คืออะไร
วอเตอร์ฟุตพรินต์ เป็นค่าชี้วัดปริมาณน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำผิวดินและน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

การเข้าร่วมโครงการประเมินและรับใบประกาศนียบัตรการใช้ น้ำบาดาลตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำที่ดีของบริษัทไทยเบฟจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
โครงการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) จัดโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นการประเมินปริมาณการใช้น้ำของทั้งภายในโรงงานผลิตและตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เห็นกระบวนการหรือ ขั้นตอนที่มีการใช้น้ำสูง เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางลดการใช้น้ำและสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ รวมทั้งสนับสนุนการขยายผลการพัฒนาความยั่งยืนและบริหารจัดการน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทานให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทำให้บริษัทสามารถสร้างคุณค่าและแบ่งปัน สู่สังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ในฐานะตัวแทนบริษัทไทยเบฟ มองเห็นแนวทางของบริษัทในการพัฒนาความยั่งยืนและการบริหารจัดการน้ำอย่างไร
ในปัจจุบันการขาดแคลนน้ำกลายเป็นประเด็นที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทั่วโลก ไทยเบฟตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบต่อชุมชน จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลระหว่าง การดำเนินธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เช่น

  • ลดผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้ชุมชนมีน้ำที่มีคุณภาพดี เพียงพอสำหรับการอุปโภคและบริโภค
  • ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการตามแนวปฏิบัติด้านการอนุรักษ์น้ำ เช่น รณรงค์ส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำด้วยการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ หรือบอร์ดประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
  • ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์สูงสุดตามหลัก 3Rs เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในระบบบำบัดน้ำให้เป็นระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ
  • ร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านการใช้น้ำและ การอนุรักษ์แหล่งน้ำ เช่น โครงการจิตอาสาพัฒนาคูคลองสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน เป็นโครงการที่บริษัทร่วมมือกับบริษัทเอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชน ในการดูแลรักษาแม่น้ำท่าจีนที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน

ภารกิจสำคัญ การบริหารจัดการน้ำ

ปัญหาการเข้าถึงน้ำสะอาดถือเป็นความท้าทายในอนาคตของผู้ใช้น้ำไม่ว่าจะเป็นบริษัทไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตหรือชุมชนโดยรอบโรงงานผลิต ด้วยความห่วงใยชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำ ไทยเบฟจึงใช้กระบวนการบริหารจัดการน้ำ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

1. ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำภายใต้ชื่อ การประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ (Water Sustainability Assessment: WSA) ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ในการประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ โดยเริ่มต้นที่โรงงานสุรา บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด จ.ปทุมธานี จุดประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านน้ำในเชิงลึกทั้งในปัจจุบันและที่อาจ เกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุม 4 มิติคือ ความพอเพียงของน้ำ (Availability) คุณภาพน้ำ (Quality) การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (Regulatory) และทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้

ความพอเพียงของน้ำ (Availability) และคุณภาพน้ำ (Quality)
  • รวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ ปริมาณการปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้ว และปริมาณการเติมน้ำกลับ เพื่อวิเคราะห์สมดุลในการใช้น้ำ
  • สำรวจสถานที่ตั้งและรายละเอียดของโรงงาน เช่น บ่อสำรองน้ำดิบ ระบบในการผลิต ถังเก็บวัตถุดิบและสารเคมี ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านปริมาณและคุณภาพ
  • สำรวจชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในพื้นที่ศึกษา (รัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงงาน)
  • ศึกษาข้อมูลอุตุนิยมวิทยาอุทกหรืออุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับน้ำในบรรยากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ปริมาณฝน การเกิดน้ำท่วม การเกิดแผ่นดินไหว ภัยแล้ง ฯลฯ
  • ใช้แผนที่ทางอากาศเพื่อศึกษาเส้นทางการไหลของน้ำ (Stream) พื้นที่รับน้ำ (Watershed) ความลาดเอียงของพื้นที่ (Slope pattern) และการใช้พื้นที่ในพื้นที่ศึกษา (รัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงงาน) รวมไปถึงแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย (Regulatory)
ทบทวนข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำในปัจจุบันและร่างข้อกำหนดและกฎหมายที่อาจจะมีผลบังคับใช้ในอนาคต

ทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders)
  • สำรวจและรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน หมู่บ้าน และ หน่วยงานราชการท้องถิ่น
  • ศึกษาตัวชี้วัดหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ศึกษา (Key socio-economic indicators)

สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เพื่อนำไปวางแผนการจัดการน้ำ แบบบูรณาการ เพื่อลดความเสี่ยงในทุกมิติของโรงงานผลิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ใช้ Global Water Tool ซึ่งเป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เพื่อประเมินระดับความตึงเครียดของน้ำ (Water Stress) ในแต่ละโรงงาน โดยใช้ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานร่วมกับปริมาณการใช้น้ำในโรงงานต่างๆ

ทำบัญชีปริมาณการใช้น้ำ แหล่งน้ำ และการสำรองน้ำ เพื่อให้การใช้น้ำของบริษัทมีเสถียรภาพและไม่กระทบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน

2. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ
ใช้วอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) เพื่อวัดปริมาณการใช้น้ำเริ่มจากวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนมาเป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้น นำผลที่ได้มาขยายผลในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพ ของการใช้น้ำ

ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักการ 3Rs คือ ลดการใช้ การนำมาใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่

ใช้การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance: TPM) เป็นการดูแลรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสูงสุด เพื่อลดการสูญเสียน้ำและพลังงานในระบบการผลิต

3. ควบคุมมาตรฐานการปล่อยน้ำทิ้ง
บริษัทมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ มีการควบคุมมาตรฐานน้ำทิ้งให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากโรงงาน พ.ศ. 2560 และดำเนินการตามมาตรฐานสากล ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001: 2015) และโรงงานได้มีการบำบัดน้ำทิ้งจนมีคุณภาพดีเกินกว่าข้อกำหนดตามกฎหมายก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำ

การอนุรักษ์และคืนน้ำสะอาด กลับสู่ธรรมชาติ
บริษัทสนับสนุนหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกในการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และคืนน้ำสะอาดกลับสู่ธรรมชาติ รวมถึงการฟื้นฟูแหล่งน้ำ และระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์
  • โครงการไทยเบฟร่วมสร้างต้นแบบตำบลสัมมาชีพ ต.บัวใหญ่ จ.น่าน
    เป็นโครงการที่เกิดจากแนวคิด การบริหารจัดการน้ำต้นทุนในพื้นที่การเกษตรผสมผสานเพื่อต่อยอดและขยายแนวคิด 1 ไร่ เกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่าน ไทยเบฟจึงร่วมกับชุมชนพัฒนาระบบตะบันน้ำขึ้น ที่สูงและสร้างระบบฝายชะลอน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำในการเกษตรโดยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังร่วมกันพัฒนาระบบประปาภูเขา ซึ่งโครงการดังกล่าวยังให้ความรู้และช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ไปสู่เกษตรผสมผสานอีกด้วย
  • โครงการความร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้- ไทยเบฟฯ ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าพัฒนาคุณภาพชีวิต ต.น้ำพาง จ.น่าน
    สร้างฝายชะลอน้ำ ช่วยอนุรักษ์ต้นน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์เพื่อการฟื้นฟูป่าต้นน้ำน่าน
  • โครงการสานสัมพันธ์ นทีชัย แก่งกรุง ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง อ.วิภาวดี จ.สุราษฏร์ธานี
    เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์
  • โครงการรักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน “ จิตอาสา สร้างป่า รักษ์น้ำ”
    พนักงาน (บริษัท มงคลสมัย จำกัด) ร่วมปลูกป่า กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์และองค์การบริหาร ส่วนตำบลผาจุก ที่บึงมาย ต.บ้านด่านแม่คามัน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • โครงการจิตอาสาพัฒนาคูคลองสองฝั่งท่าจีน และโครงการคลองสวยน้ำใส
    เป็นโครงการที่บริษัทร่วมมือกับบริษัทเอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการดูแลทำความสะอาดเก็บผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ำท่าจีน คลองเจดีย์บูชา จ.นครปฐม และคลองแสนสุข จ.สมุทรสาคร ที่เป็นแหล่งน้ำ ในชุมชนรอบโรงงาน เพื่อช่วยระบายน้ำโดยลดการกีดขวางทางน้ำและช่วยป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินและพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงฤดูฝน ลดการเกิดน้ำเน่าเสีย และปรับทัศนียภาพของแม่น้ำและคูคลอง
  • โครงการปรับปรุงระบบผลิตน้ำประปาชุมชน ที่ประปาชุมชนบ้านโคกก่องและประปาชุมชนบ้านดงยายเภา จ.บุรีรัมย์
    โดยบริษัทเข้าไปทำการปรับปรุงระบบท่อสูบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบผลิตน้ำประปา เก็บตัวอย่างน้ำประปาไปวิเคราะห์คุณภาพ รวมถึงให้คำแนะนำต่างๆ แก่ผู้ผลิตประปาชุมชนเพื่อให้น้ำประปาสำหรับการอุปโภคของชุมชนรอบโรงงาน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
ทิศทางการดำเนินงาน
จากการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้ในปี 2561 บริษัทมีอัตราส่วนของการนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น
10.54 %


การลด

  • โครงการลดการสูญเสียจากการ รั่วไหลในระบบท่อต่างๆ
  • โครงการลดการใช้น้ำในขั้นตอน การล้างถังหมักเบียร์
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ ไอน้ำในกระบวนการกลั่น


การนำ มาใช้ซ้ำ
5.04  %

  • โครงการนำน้ำคอนเดนเสตกลับมา ป้อนเครื่องกำเนิดไอน้ำเพื่อลดการใช้น้ำ และลดการใช้พลังงานความร้อน
  • โครงการนำน้ำทิ้งในกระบวนการปรับ สภาพน้ำบางส่วนกลับมาใช้ในระบบ สาธารณูปโภคทำให้ลดการใช้ทรัพยากร น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆลง


การนำกลับมาใช้ใหม่
5.50  %

  • โครงการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัด มาใช้รดน้ำต้นไม้ในโรงงาน

5% เป้าหมาย
การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำจาก แหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2563
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557


ในธุรกิจเครื่องดื่ม อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง 1.37 เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16.72 เมื่อเปรียบเทียบกับฐานปี 2557

สำหรับในธุรกิจอาหาร อัตราส่วนลดลง 0.06 เฮกโตลิตรต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็น ร้อยละ 22.86 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560
อัตราส่วนของการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเครื่องดื่ม
(เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์)
อัตราส่วนของการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจอาหาร
(เฮกโตลิตรต่อกิโลกรัมผลิตภัณฑ์์)
 
ไทยเบฟมีแผนจะขยายการประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ (Water Sustainability Assessment: WSA) เพื่อประเมินและหาแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำทุกมิติในทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัท ซึ่งคาดว่าการประเมินความยั่งยืนของน้ำใต้ดิน (Groundwater Sustainability Assessment: GSA) ในโรงงานบริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา จะเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2561 และในปีต่อๆ ไปคาดว่าจะขยายการประเมินไปในทุกโรงงาน ในกลุ่มธุรกิจสุรา กลุ่มธุรกิจเบียร์ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ และกลุ่มธุรกิจอาหาร

ในด้านการลดปริมาณการใช้น้ำ บริษัทอยู่ระหว่างการเชิญชวนบริษัทคู่ค้าเข้าร่วมประเมินวอเตอร์ฟุตพรินต์ (Water Footprint) คือ บริษัทผู้ผลิตน้ำตาล ซึ่งคาดว่าจะมีบริษัท ผู้ผลิตน้ำตาลอย่างน้อย 1 แห่ง เสร็จสิ้นการประเมินภายในปี 2562 และยังมีแผนเชิญชวนคู่ค้าวัตถุดิบหลักของบริษัท เช่น ผู้ผลิตขวดแก้ว ฯลฯ ในปีต่อๆ ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่คุณค่า

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2561