รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2561
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2561 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนด้านสังคม
GRI 102-12, GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 103-3, GRI 413-1
การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่า จากการเติบโต
ในทุกย่างก้าวของการดำเนินธุรกิจ ไทยเบฟคำนึงถึงความ รับผิดชอบต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ให้สังคมและชุมชน ไทยเบฟจะสามารถดำเนินกิจการอยู่ได้ ต้องเติบโตควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาชุมชน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนรอบโรงงาน หรือสังคมในภาพรวม ไทยเบฟจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพให้ชุมชน ส่งเสริมด้านสาธารณสุข สนับสนุนด้านการศึกษา กีฬา เยาวชน การรักษาศิลปวัฒนธรรม รวมถึงทำนุบำรุงศาสนาและประเพณีท้องถิ่น นอกจากนี้ ไทยเบฟให้การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติทั้ง 17 ข้อ เช่น การขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และมีการศึกษาที่เท่าเทียม ไทยเบฟได้ผนึกความร่วมมือกับพันธมิตรจากภาคธุรกิจ รัฐบาลและประชาสังคม ช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและสังคม ให้เกิดผลสำเร็จภายใต้หลักการ “การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโตที่ยั่งยืน” โดยริเริ่มโครงการและกิจกรรม เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ไทยเบฟและบริษัทในกลุ่มไทยเบฟได้กำหนดนโยบายความ รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการสร้างคุณค่าและเป็นแบบอย่างของธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนคืนสู่สังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยมีส่วนช่วยสร้างสรรค์โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ให้ทุกฝ่ายมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมุ่งหวัง ที่จะสร้างความร่วมมือและคุณค่าสู่สังคม พร้อมทั้งเป็นองค์กรที่ดีของสังคมอย่างยั่งยืน
กิจกรรมตัวอย่างเพื่อสังคมของไทยเบฟ ที่สอดคล้องกับการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ และตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ
UN SDGs โครงการ ตัวชี้วัด
ไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาว ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ และภัยพิบัติกว่า 200,000 คน
ไทยเบฟร่วมสร้างต้นแบบตำบลสัมมาชีพ การรณรงค์การบริหารจัดการการเกษตรแบบยั่งยืน ช่วยเกษตรกรกว่า 50 ราย (302 ครัวเรือน) และสร้างรายได้เฉลี่ย 11,356 บาท ต่อครัวเรือน/ปี
โครงการด้านสาธารณสุข ปี 2561 ไทยเบฟสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนางานวิจัยทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์และด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานต่างๆ รวมกว่า 50 ล้านบาท
  • โครงการให้ทุนการศึกษาบุตรพนักงาน
  • โครงการครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  • โครงการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม (Beta Young Entrepreneur)
  • โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม
  • ปี 2561 ไทยเบฟสนับสนุนทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกฝนอาชีพเป็นมูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท แก่เยาวชนและครูในถิ่นทุรกันดาร ทั่วประเทศ จำนวนรวม 1,177 ทุน
  • เด็กได้รับการพัฒนาทักษะด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ จำนวนกว่า 2,000 คน
  • เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 87 คน
  • โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED)
  • โครงการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม (Beta Young Entrepreneur)
  • การพัฒนาด้านกีฬา
  • โครงการประชารัฐรักสามัคคี
  • เด็กนักเรียนและเยาวชนรวมกว่า 70,000 คน ได้รับการฝึกฝนอาชีพและมีงานที่ดีทำ เพื่อเสริมรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
  • สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จากโครงการ Beta Young จำนวน 68 คน และรับเข้าเป็นพนักงานไทยเบฟจำนวน 2 คน
  • สร้างและสนับสนุนนักกีฬามืออาชีพได้มากกว่า 800 คน
  • ตั้งแต่เริ่มโครงการประชารัฐรักสามัคคี จำนวนชุมชนกว่า 350 ชุมชนทั่วประเทศ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน คิดเป็นมูลค่ารายได้รวมกว่า 42 ล้านบาท
โครงการประชารัฐรักสามัคคี เพิ่มจำนวนชุมชนกว่า 60,000 ครัวเรือนที่ยากจนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเหนือเส้นแบ่งความยากจน
การจัดงานสัมมนา C asean Sustainable Development Forum & Transforming Asia Pacific: Innovative Solutions, Circular Economy and Low Carbon Lifestyles เพิ่มการตระหนักรู้ และขอความร่วมมือจาก 7 นานาประเทศเป็นอย่างน้อยในการหาแนวทาง เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • โครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชา
  • โครงการรวมพลังพลิกฟื้นคืนธรรมชาติสู่สิ่งแวดล้อม (ปลูกป่าสิรินธรฯ)
  • โครงการความร่วมมือศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้
  • การส่งเสริมการดำเนินการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่ถูกรุกล้ำ เพิ่มการปลูกป่า สามารถรักษาพื้นป่าได้กว่า 200 ไร่ และสามารถปลูกต้นไม้เพิ่มเติมได้ 46,133 ต้น (จำนวนป่าชายเลน 40,000 ต้น)
  • โครงการรวมพลังพลิกฟื้นคืนธรรมชาติสู่สิ่งแวดล้อม (ปลูกป่าสิรินธรฯ) 6,133 ต้น
โครงการประชารัฐรักสามัคคี สนับสนุนการส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ และประชาชน เพื่อจัดตั้งเป็นบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำนวน 77 จังหวัด เป็นมูลค่าเงินร่วมทุน 337 ล้านบาท
กระบวนการสร้างสรรค์และแบ่งปัน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
 
เพื่อบรรลุนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ไทยเบฟจึงส่งเสริม และสนับสนุนให้กรรมการและพนักงานเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ทางสังคมและสาธารณกุศลในทุกรูปแบบ โดยจัดให้มีหน่วยงานหรือคณะทำงานกิจกรรมเพื่อสังคมหลายฝ่ายดูแลโครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
  • 1) การจัดการจากส่วนกลางประกอบด้วย กลุ่มโครงการพัฒนาชุมชน กลุ่มโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มประสานงานภายนอกองค์กร กลุ่มโครงการไทยทาเลนท์ กลุ่มโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสำนักทรัพยากรบุคคล และกลุ่มสำนักสื่อสารองค์กร
  • 2) การจัดการในระดับพื้นที่รอบโรงงาน ประกอบด้วย หน่วยงานมวลชนสัมพันธ์และแผนกสิ่งแวดล้อมของแต่ละโรงงาน ซึ่งทำงานประสานกับส่วนกลางอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ แต่ละหน่วยงานจะทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินโครงการที่ริเริ่มเอง หรือร่วมมือกับกลุ่มงานต่างๆ ในสังคม
การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนจากทั้ง 2 ส่วน ทำให้ทุกพื้นที่ที่มีสถานประกอบการของไทยเบฟ สามารถตอบสนองความต้องการและลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ชุมชน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยเบฟได้อย่างครอบคลุมร้อยละ 100

ในการริเริ่มโครงการและกิจกรรมเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินธุรกิจ ไทยเบฟมีขั้นตอนดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังนี้

ทำการประเมินผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการสานสัมพันธ์และสอบถามความคิดเห็นหรือ ความต้องการจากกลุ่มชุมชนเป้าหมาย ทั้งที่เป็นชุมชนรอบโรงงาน รอบสถานประกอบการทั้งหมด และชุมชนที่ใกล้ชิดกับผลิตภัณฑ์ของ ไทยเบฟ ด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมสาธารณะ การพูดคุยกับกลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียน หรือการจัดกลุ่มประชุมย่อยที่เป็นกันเอง รายสัปดาห์ (สภากาแฟ)

จากความคิดเห็นของกลุ่มชุมชนเป้าหมาย ทำให้เกิดการสร้างกิจกรรมเพื่อสังคมโดยแบ่งออกเป็น 5 ด้านหลัก คือ ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านกีฬา และ ด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนทุกเพศและวัย รวมถึงชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ ผู้ขาดโอกาส และผู้ที่อยู่ในเขตทุรกันดาร

ทุกโครงการที่จัดทำจะต้องมีการวัดผลลัพธ์การทำงานอย่างเป็น รูปธรรม ด้วยการวัดความพึงพอใจของชุมชน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการติดตามรายงานความคืบหน้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย ประชาสังคม

ขั้นตอนการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


ทำความเข้าใจความต้องการ

  • ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ออกแบบรูปแบบการมีส่วนร่วม
  • สรุปประเด็นความต้องการ


บริหารจัดการโครงการ

  • ออกแบบการดำเนินงาน/ขอบเขตการทำงาน
  • จัดตั้งคณะทำงาน/คณะกรรมการที่ปรึกษา
  • เชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันทำงาน
  • จัดหาตัวแทนชุมชน
  • การบริหารจัดการความเสี่ยง และผลกระทบต่างๆ


ประเมินผลกิจกรรม

  • สำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • จัดตั้งช่องทางเพื่อรับข้อร้องเรียน
  • ประเมินผลกระทบทางสังคม/สิ่งแวดล้อม
  • ติดตามผลการทำงานเป็นระยะตลอด การดำเนินงาน (อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง)
ไทยเบฟร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ จัดตั้งเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย คณะกรรมการให้คำปรึกษา รวมถึงทีมงาน ที่รับฟังข้อร้องเรียนของชุมชนเพื่อบริหารและจัดการกับผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผนกมวลชนสัมพันธ์ แผนกสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานในกลุ่มไทยเบฟทั่วประเทศ โดยจะมีการติดตามและรายงาน ผลการดำเนินการเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ไทยเบฟให้การสนับสนุน สามารถตอบสนอง ความต้องการของชุมชนและเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างยั่งยืน

ไทยเบฟจัดทำโครงการเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่สังคมหลากหลายรูปแบบ โดยในปี 2561 ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการให้ครอบคลุม 5 ด้านหลัก ดังนี้
  • ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม     ร้อยละ 28
  • ด้านการศึกษา     ร้อยละ 7
  • ด้านสาธารณสุข     ร้อยละ 8
  • ด้านกีฬา     ร้อยละ 44
  • ด้านศิลปวัฒนธรรม     ร้อยละ 13
 

ไทยเบฟจัดทำโครงการเพื่อสร้างความยั่งยืน สู่สังคมหลากหลายรูปแบบ โดยในปี 2561 ใช้งบประมาณ
500 ล้านบาท
สำหรับดำเนินโครงการให้ครอบคลุม 5 ด้านหลัก ดังนี้

100%
ของสถานประกอบการที่มีการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน เปรียบเทียบกับจำนวนสถานประกอบการทั้งหมด

โครงการประชารัฐรักสามัคคี และโครงการพัฒนาชุมชน
โครงการ Connext ED
โครงการ Partnership School
โครงการการพัฒนาด้านกีฬา
โครงการการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม

**หมายเหตุ
สถานประกอบการ หมายถึง สถานประกอบการที่มีการประเมินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนในกรอบของโรงงานที่มีการดำเนินการทั่วประเทศ (29 แห่ง)

การมีส่วนร่วมของพนักงานจิตอาสาไทยเบฟ
สร้างการมีส่วนร่วมพนักงาน
2,000
คน

คิดเป็น ชั่วโมงจิตอาสา
88,000
ชั่วโมง

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2561