รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2561
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2561 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
GRI305-5

  • บรรจุภัณฑ์หลักที่มีการใช้มากที่สุดในกระบวนการผลิตสุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร ได้แก่ แก้ว กระดาษ และพลาสติก
  • ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ นอกจากรูปลักษณ์ ที่สวยงาม บริษัทยังคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม จึงใช้หลัก 3Rs คือ Reduce ลดการใช้, Reuse การใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะยาว
  • ไทยเบฟร่วมกับทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่นริเริ่มโครงการและกิจกรรมหลายอย่าง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการปัญหาขยะและมลพิษ ที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์

แบ่งปันคุณค่า

คุณสินชัย เทียนศิริ
ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE)

บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วประเภทต่างๆ ถือเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่ง ซึ่งหากเรามีการแยกประเภทบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคอย่างเหมาะสมแล้วนั้น สุดท้ายบรรจุภัณฑ์ก็จะถูกนำกลับไปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนต้องเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความตระหนักและรับผิดชอบผลจากการบริโภคของตนเองและเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภค เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรม เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งการบริโภคอย่างยั่งยืนในระดับประเทศ

ภารกิจสำคัญ การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์หลัก
ไทยเบฟมีแนวคิดในการนำวัสดุบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับคืนมาสู่กระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทั้งบริษัทเอง คู่ค้า ร้านค้า และผู้บริโภค เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ของเราอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการเดียวกันกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ข้อ 12 เรื่องการส่งเสริมรูปแบบการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน ในด้านการลดการเกิดของเสีย โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์หลักของบริษัท ผ่านการ ลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่

ขวดแก้ว
  • ลดน้ำหนักขวดสำหรับขวดที่ใช้ครั้งเดียวและนำกลับ มาใช้ใหม่เป็นวัตถุดิบในการผลิต
  • ออกแบบรูปทรงให้แข็งแรงและทนต่อแรงกระแทก เพื่อรักษาสภาพให้พร้อมเก็บกลับคืนและนำกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อให้บรรจุได้จำนวนรอบมากที่สุด
  • ริเริ่มธุรกิจรับซื้อเศษแก้วคืนจากผู้บริโภคโดยตรง เพื่อนำ ของเสียกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต


การลด
ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (ทราย)
43,680 ตัน
ในกระบวนการผลิตขวดแก้ว


การนำกลับมาใช้ใหม่
นำเศษแก้วกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการ ผลิตเป็นจำนวน
108,256 ตัน


การใช้ซ้ำ
นำขวดแก้ว
1,490 ล้านขวด
กลับมาใช้ในกระบวนการผลิต

กล่องลูกฟูก
  • เพิ่มอัตราส่วนกระดาษที่นำมาใช้ใหม่ และนำกล่องชำรุด มาทำกระดาษอัดก้อนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการ ผลิตกล่องลูกฟูก
  • ใช้เทคโนโลยีในการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ โดยรักษาคุณภาพการปกป้องบรรจุภัณฑ์ตามเดิม
  • ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการเก็บกล่องกระดาษ ที่ใช้บรรจุขวดแก้วที่ใช้แล้วนำมาแลกเป็นเงิน


การลด
ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษโดยเฉลี่ย
7% ต่อหน่วย
ในกระบวนการผลิตกล่องลูกฟูก


การนำกลับมาใช้ใหม่
78%
อัตราส่วนกระดาษที่ถูกนำมาใช้ใหม่ ต่อหนึ่งหน่วย (recycled content per unit)
100%
ของกล่องลูกฟูกในกลุ่มธุรกิจสุราและเบียร์ มีองค์ประกอบเป็นกระดาษที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่


การใช้ซ้ำ
นำกล่องบรรจุภัณฑ์พร้อมไส้กล่อง จำนวนมากกว่า
10 ล้านกล่อง
กลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการเก็บกลับคืน

ขวดและถุงพลาสติก
  • ยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด
  • เพิ่มอัตราส่วนวัสดุที่มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ (bio-based) ในขวดพลาสติกบรรจุน้ำแร่
  • เปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ย่อยสลาย ทางชีวภาพได้

การลด
> 340 ล้านชิ้น
จำนวนพลาสติกหุ้มฝาขวดที่ลดไป จากการยกเลิกการใช้ คิดเป็น
65 %
จากปริมาณขวดพลาสติก
การใช้วัสดุจากแหล่งธรรมชาติ
30  %
อัตราส่วนผสมจากธรรมชาติในขวด พลาสติก

ระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสลายทางชีวภาพ ของถุงพลาสติก

3 ปีโดยเฉลี่ย
น้อยกว่าถุงพลาสติกปกติถึง
150  เท่า

>340 ล้านชิ้น
ปริมาณพลาสติกหุ้มฝาขวด ที่ยกเลิกการใช้
ยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม
เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ในมาตรการลดหรือเลิกใช้พลาสติกที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟ ในฐานะผู้นำตลาดน้ำดื่มของประเทศไทย ให้ความร่วมมือด้วยการจัดโครงการ “ยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด น้ำดื่ม (No plastic bottle cap seal)” เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยมีบริษัท เสริมสุข จำกัด และบริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึก ความร่วมมือ (MOU) ในโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำข้อตกลงยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม นับจากการผลิตสินค้าที่ออกจากโรงงาน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

30%
ของเม็ดพลาสติกเป็นส่วนผสมจากพืช
น้ำแร่ช้าง bioPET
จากพฤติกรรมที่ผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟ จึงได้ทำการศึกษาวัตถุดิบที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต รวมไปถึงกระบวนการกำจัดทิ้งเมื่อหมดอายุการใช้งานตามวัฏจักร ในการนำมาผลิตขวดพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำดื่ม โดยทำการศึกษาพลาสติก bioPET ซึ่งเปลี่ยนวัตถุดิบจากปิโตรเลียมมาเป็น Monoethylene Glycol (MEG) จากพืชประมาณ 30% เพื่อนำมาใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์สำหรับการผลิตขวดน้ำดื่ม (bioPET) และมีการผลิตน้ำแร่ตราช้างโดย bioPET สำหรับใช้ในกิจกรรมพบปะคู่ค้าประจำปี 2561 (ThaiBev Business Partner Conference) เป็นการนำร่อง เพื่อเป็นการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงทิศทาง และแนวทางกับคู่ค้าพันธมิตรตลอดห่วงโซ่ของการผลิตสินค้า

2,400
ตัน
ปริมาณแก้วที่เก็บกลับคืน
สมุยโมเดล
บริษัทร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นที่เกาะสมุย จัดตั้งศูนย์การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ (recycling center) บนเกาะ เพื่อรับซื้อขวดแก้วใช้แล้วและเศษแก้วกลับคืน พร้อมให้บริการขนส่งไปยังภาคพื้นดิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าและประชาชน มีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะบนเกาะ และกระจายรายได้สู่ชุมชน

ศูนย์การนำวัสดุ กลับมาใช้ใหม่

ขนส่งโดยรถบรรทุกและเรือ

ศูนย์รับซื้อขวดแก้ว และเศษแก้ว
โครงการ Crystal Open House
โครงการให้ความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำดื่มคริสตัลทั่วประเทศ ที่มุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพและ การรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังจัดตั้งสถานีรักษ์โลก (Upcycling Station) ที่โรงเรียนต่างๆ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว พร้อมทั้งเก็บคืนขวดพลาสติกและชิ้นส่วนไปคัดแยกและส่งต่อให้กับคู่ค้าของบริษัท เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ ต่อไป

60
สถานีรักษ์โลก

60 ตัน
ปริมาณพลาสติกที่เก็บกลับคืนมา
 

เด็กนักเรียนเก็บขวด

สถานีรักษ์โลก

คัดแยกขวดและชิ้นส่วน

นำไปผลิต

สินค้าจากขวดพลาสติกใช้แล้ว
 
โครงการลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพ (Less is More)

17 กรัม
แรกเริ่ม

15.5 กรัม
2555

14.6 กรัม
2559

13.5 กรัม
2560

12.7 กรัม
เป้าหมายต่อไป
เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไทยเบฟ ได้มีโครงการลดปริมาณการใช้วัตถุดิบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555 โดยปรับลดน้ำหนักพลาสติกของขวดพีอีที จาก 17 กรัม เป็น 13.5 กรัม ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนากระบวนการ และการออกแบบเพื่อให้คุณภาพ ยังคงเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิม โดยไทยเบฟได้ตัดสินใจลงทุนผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีมูลค่าการใช้และปริมาณการใช้ต่อปีสูง โดยเปลี่ยนจากผู้ซื้อ ขวดพลาสติกพีอีที มาเป็นผู้เป่าขวดพีอีทีและฉีดพรีฟอร์มเอง ซึ่งช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการต้นทุนโดยรวมได้ดีขึ้น
ทิศทางการดำเนินงาน
ผลสำเร็จในปี 2561

ลดปริมาณของเสียที่เป็นบรรจุภัณฑ์หลักไปได้รวมทั้งสิ้น
598,199 ตัน

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
608,332 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


แก้ว
572,984 ตัน

กระดาษ
25,158 ตัน

พลาสติก
57 ตัน

เป้าหมาย

80%
ของบรรจุภัณฑ์หลักมาจากการใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการเก็บกลับคืน ในปี 2563
บริษัทได้กำหนดเป้าหมายระยะยาวเพื่อพัฒนาและจัดการบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบ ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ไปจนถึงกระบวนการกำจัด


การพัฒนาหรือปรับโฉม ผลิตภัณฑ์ใหม่
คำนึงถึงปลายทางของบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้หลังการบริโภค รวมถึงกลไก ในการนำกลับมาใช้ในกระบวนการ ผลิตอีกครั้ง ไม่ว่าจะโดยการนำ กลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ

การสรรหาวัสดุบรรจุภัณฑ์
  • กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ในการคัดสรรวัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตและ บรรจุ เช่น วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ (recycled material)
  • ร่วมมือกับคู่ค้าในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์การลดผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

การผลิต
พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรมากยิ่งขึ้น เช่น ลดอัตราส่วนของเสียของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจาก กระบวนการผลิต

การจัดการบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภค
  • ตั้งศูนย์รับซื้อบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว รวมถึงเศษวัสดุบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ขวดแก้ว เศษแก้ว กล่อง ลูกฟูก กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค
  • กำหนดเป้าหมายในการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำใน กระบวนการบรรจุและผลิต
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและชุมชนในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2561