รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2561
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2561 / สร้างสรรค์และแบ่งปัน การจัดหาอย่างยั่งยืน
GRI 204-1, GRI 308-1, GRI 414-1

  • การจัดหาเป็นกระบวนการคัดสรรและจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพสำหรับการผลิต ไทยเบฟจึงได้กำหนด แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินงานของคู่ค้า และช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคการผลิต สิ่งแวดล้อม สังคม และธุรกิจ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการระงับการซื้อขายสำหรับคู่ค้า ที่ละเมิดข้อกำหนดในแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า หรือคู่ค้าที่ไม่ดำเนินการแก้ไขตามข้อร้องเรียน
  • กำหนดมาตรฐานการคัดกรองคู่ค้าและตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวด โดยให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพผ่านกระบวนการจัดหาที่มีมาตรฐานและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • ให้การสนับสนุนคู่ค้าในประเทศ โดยมีจุดประสงค์หลัก คือ ส่งเสริมเศรษฐกิจในประเทศ พัฒนาศักยภาพคู่ค้า ภายในประเทศให้ทัดเทียมกับนานาชาติ และกระจายรายได้สู่ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
  • บริหารจัดการความเสี่ยงโดยประเมินความสำคัญของกลุ่มสินค้าตามมูลค่าการจัดหาและระดับความเสี่ยงในการจัดหา เพื่อจัดลำดับความสำคัญและแนวทางบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดหาแบบรวมศูนย์ (Centralized Procurement)
 
ไทยเบฟใช้รูปแบบการจัดหาแบบรวมศูนย์ (Centralized Procurement) โดยกำหนดนโยบายและควบคุมการบริหารการจัดหาจากหน่วยงานจัดซื้อกลาง เพื่อเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้านต้นทุน และที่สำคัญคือควบคุมคุณภาพและความโปร่งใสในการจัดหา โดยจำแนกคู่ค้าตามประเภทสินค้าที่จำหน่ายเป็น 2 กลุ่ม คือ


> 2,500
จำนวนคู่ค้า

1. กลุ่มวัสดุหลัก
คือ กลุ่มสินค้าที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หรือนำมาใช้ในกระบวนการผลิตโดยตรง มีกลุ่มสินค้าไม่หลากหลาย แต่มูลค่าจัดหาสูง จำแนกเป็นบรรจุภัณฑ์ สินค้าโภคภัณฑ์ และสารเคมี


> 40,000
ล้านบาท
มูลค่าการจัดหาปี 2561

2. กลุ่มวัสดุรอง
คือ กลุ่มสินค้าอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกลุ่มวัสดุหลัก ซึ่งช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก มีมูลค่าจัดหาไม่สูง แต่มีกลุ่มสินค้าที่หลากหลาย ได้แก่ เครื่องจักร อะไหล่ วัสดุสิ้นเปลือง

อัตราส่วนมูลค่าการจัดหาในปี 2561

อัตราส่วนการจัดหาสินค้าวัสดุหลัก
บรรจุภัณฑ์ 59%
สินค้าโภคภัณฑ์ 36%
สารเคมี 5%

66%
วัสดุหลัก
34%
วัสดุรอง
อัตราส่วนการจัดหาสินค้าวัสดุรอง
งานรับเหมาก่อสร้าง 27%
เครื่องจักรและอะไหล่ 26%
อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ 21%
สินค้าส่งเสริมการขาย 15%
งานบริการและอุปกรณ์ IT 6%
วัสดุสิ้นเปลือง 5%

96%
จำนวนคู่ค้า ในประเทศ
หมายเหตุ
  • 1. คู่ค้าในประเทศ หมายถึง คู่ค้าที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศที่กลุ่มไทยเบฟมีฐานการผลิตอยู่ และเป็นคู่ค้าที่ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มไทยเบฟเท่านั้น
  • 2. ข้อมูลในปี 2557 ครอบคลุมการจัดซื้อสินค้าและบริการของไทยเบฟสำหรับกลุ่มธุรกิจสุราและเบียร์ในประเทศไทยเท่านั้น
  • 3. ข้อมูลในปี 2558 เป็นต้นไป ครอบคลุมการจัดซื้อสินค้าและบริการของไทยเบฟสำหรับกลุ่มธุรกิจสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ในประเทศไทยเท่านั้น
  • 4. ข้อมูลในปี 2559 ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2559 เนื่องจากกลุ่มไทยเบฟมีการปรับเปลี่ยนนโยบายปีงบประมาณใหม่
  • 5. ข้อมูลในปี 2560 ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนกันยายน 2560
นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน
 
ไทยเบฟได้ประกาศบังคับใช้แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Practice) เพื่อกำหนดมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจ ของคู่ค้าในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากด้านพาณิชย์ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล รวมถึงส่งเสริมให้คู่ค้านำหลักปฏิบัติ ดังกล่าวไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนและสื่อสารไปยังคู่ค้าของคู่ค้าเองเช่นกัน พร้อมตั้งเป้าหมายให้คู่ค้าทุกรายที่มีการดำเนินธุรกิจกับบริษัทยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวทุกรายภายในปี 2563 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน ไปสู่วงกว้างและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นในประเทศ อันสอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ข้อ 12 ในประเด็นด้านการส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ผ่านการกำหนดนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนขององค์กรให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ

จริยธรรมทางธุรกิจ

สิทธิมนุษยชน

การบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม

อาชีวอนามัย และความปลอดภัย
อัตราส่วนคู่ค้าที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
การบังคับใช้นโยบาย
ไทยเบฟกำหนดความรับผิดชอบในการบังคับใช้นโยบายดังกล่าวตั้งแต่ระดับผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรไปจนถึงระดับปฏิบัติการ และสื่อสารให้กับคู่ค้ารับทราบอย่างสม่ำเสมอผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการแบ่งปันวิสัยทัศน์ของผู้บริหารผ่านกิจกรรมสัมมนาคู่ค้าประจำปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกๆ ขั้นตอนในกระบวนการจัดหาสอดคล้องกับกลยุทธ์ นโยบาย และเป้าหมาย การดำเนินงานของบริษัท

รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง

กำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

กรรมการผู้จัดการของหน่วยงานจัดซื้อ

กำหนดนโยบายจัดหาอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ และเป้าหมาย

ผู้จัดการจัดซื้อ

กำกับดูแลกระบวนการจัดหาให้เป็นไปตามกลยุทธ์ นโยบาย และเป้าหมาย

เจ้าหน้าที่จัดซื้อ

จัดหาสินค้าและบริการให้เป็นไปตามกลยุทธ์ นโยบาย และเป้าหมาย
 
การประเมินความสำคัญของกลุ่มสินค้าและคู่ค้า

26
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญที่จำหน่าย สินค้าและบริการให้กับบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Suppliers)
ไทยเบฟประเมินความสำคัญของกลุ่มสินค้าและคู่ค้าตามมูลค่าการจัดหาและระดับความเสี่ยงในการจัดหา เพื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและแนวทางบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากกลุ่มสินค้าและคู่ค้าที่มีมูลค่าสูง ระดับความเสี่ยง และผลกระทบต่อรายได้บริษัท
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญตามปัจจัยการพิจารณา

จำนวนและอัตราส่วนมูลค่าจัดหาจากคู่ค้าโดยตรงรายสำคัญ (Critical Tier 1 Suppliers) ต่อมูลค่าจัดหารวม
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
 
ในกระบวนการจัดหาอย่างยั่งยืน บริษัทพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงโดยครอบคลุมประเด็นด้านหลักธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อมและสังคม เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ การคัดกรองคู่ค้าก่อนการซื้อขาย การประเมินผลงานคู่ค้า ไปจนถึงการติดตามผลและพัฒนาคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจ
 
การลงทะเบียนคู่ค้ารายใหม่
คู่ค้ารายใหม่ทุกรายต้องยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

100%
ของคู่ค้ารายใหม่ยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

การคัดกรองคู่ค้ารายใหม่
บริษัทมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้ารายใหม่ โดยจำแนกคู่ค้าตามระดับความเสี่ยงและพิจารณาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ

100%
ของคู่ค้ารายใหม่เข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนก่อนการซื้อขาย

การพิจารณาซื้อสินค้า
บริษัทกำหนดเงื่อนไข ด้านความยั่งยืนในสัญญา ทุกฉบับที่จะทำร่วมกับคู่ค้า เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดหรือการปฏิบัติที่ผิดหลักศีลธรรมทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน

100%
ของมูลค่าสัญญาที่ระบุเงื่อนไขด้านความยั่งยืน

การประเมินผลงานคู่ค้า
บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบผลงานคู่ค้าหลังการซื้อขาย ณ สถานประกอบการ และจัดกลุ่มคู่ค้าตาม ผลการตรวจประเมิน

100%
ของคู่ค้ารายสำคัญที่ได้รับการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ

การติดตามผลและพัฒนาศักยภาพ
บริษัทระบุปัญหาจากการตรวจสอบผลงานคู่ค้าและกำหนดมาตรการให้คู่ค้า จัดทำแผนและดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด

100%
ของคู่ค้าจัดทำแผนและดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนตามกำหนด
โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้า

63%
ของคู่ค้าที่เข้าร่วมโครงการรักษามาตรฐานและปรับปรุงด้านคุณภาพ
เป็นโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า กระตุ้นการแข่งขันทางธุรกิจ และสรรค์สร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการและเกณฑ์การพิจารณาการมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้าอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคู่ค้าที่ได้รับรางวัลมีมาตรฐานในการดำเนินงานอันเป็นเลิศ และเป็นแม่แบบในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้กับคู่ค้ารายอื่นๆ
แผนการดำเนินงานระยะยาว
ไทยเบฟมีการกำหนดแผนการดำเนินงานระยะยาว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง
2563

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทและคู่ค้าเต็มรูปแบบ เพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืน


2562

ประกาศรางวัลด้านความยั่งยืน (Sustainability Award)


2561

เพิ่มปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการพิจารณามอบรางวัล


2560

พิจารณาการมอบรางวัลจากปัจจัยด้านคุณภาพ ด้านพาณิชย์ ด้านการส่งมอบ และด้านนวัตกรรมและการให้บริการ


2559

ริเริ่มโครงการ

 

แบ่งปันคุณค่า

คุณสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด

โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้าของไทยเบฟช่วยผลักดันให้เราต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่ค้ารายอื่นๆ ได้ ทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพ และมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราตระหนักถึงแนวทางการทำธุรกิจบนรากฐานที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เราต้องการจะสานต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนไปยังคู่ค้าของเราเองด้วย เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานของกระป๋องเครื่องดื่มที่ยั่งยืนในประเทศ

การบริหารจัดการคู่ค้าทางอ้อม
31
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Non-tier 1 Suppliers)

100%
แรงงานต่างชาติที่ว่าจ้างมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

ไทยเบฟร่วมมือกับคู่ค้าผู้ให้บริการแรงงานขับรถขนส่ง ในการส่งเสริมให้แรงงานต่างชาติได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเท่าเทียมแรงงานท้องถิ่น และเป็นแรงงานที่ขึ้นทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
คู่ค้าทางอ้อม คือ คู่ค้าที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Non-tier 1 Suppliers) บริษัทคำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดหาเช่นกัน โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุคู่ค้าทางอ้อมรายสำคัญ (Critical Non-tier 1 Suppliers) ทั้งจากปัจจัยทางธุรกิจ และปัจจัยด้านความยั่งยืน เช่น ผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท อิทธิพลทางการตลาด การให้ความร่วมมือในการพัฒนาความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน และความถี่ในการตรวจพบความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
ทิศทางการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ไทยเบฟได้กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว เพื่อบริหารจัดการกระบวนการจัดซื้อจัดหาให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ระยะสั้น ปี 2563
95%
ของสัดส่วนจำนวนคู่ค้าเป็นคู่ค้าในประเทศ
100%
ของมูลค่าการจัดหาจากคู่ค้าที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
100%
ของคู่ค้ารายใหม่ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืน ในการดำเนินธุรกิจ
100%
ของคู่ค้ารายสำคัญ ได้รับการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ
100%
ของคู่ค้าจัดทำแผน และดำเนินการแก้ไข ข้อร้องเรียนตามกำหนด


ระยะยาว ปี 2568
100%
ของคู่ค้าที่จำหน่ายสินค้าและบริการให้กับบริษัทโดยตรง (Tier 1 Suppliers) ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

นิยาม : คู่ค้า หมายถึง ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้รับเหมา ผู้ให้บริการ

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2561