หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
ห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ
ทรัพยากรที่ใช้

ทุนทางการเงิน
  • มูลค่าหลักทรัพย์: 335 พันล้านบาท
  • หนี้สิน: 298,538 ล้านบาท
  • ส่วนของผู้ถือหุ้น: 229,055 ล้านบาท
    (ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567)

ทุนทางการผลิต
  • สินทรัพย์รวม: 527,593 ล้านบาท
  • ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์: 83,264 ล้านบาท

ทุนทางบุคลากร
  • จำนวนพนักงาน: 51,719 คน
  • ชั่วโมงการฝึกอบรม พนักงาน: เฉลี่ย (ต่อคน) 31.54 ชั่วโมง

ทุนทางปัญญา
  • ระบบการจัดการความรู้
  • มูลค่าตราสินค้า

ทุนทางสังคม
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยเบฟ กับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย
  • ความร่วมมือกับคู่ค้า

ทุนทางสิ่งแวดล้อม
  • การใช้ทรัพยากรน้ำ: 14,323 ล้านลิตร
  • การใช้พลังงาน: 3,169,883 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
  • วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ 2,353,366 ตัน
Outcomes

รายได้รวม
345,685
ล้านบาท

กำไรสุทธิ
35,720
ล้านบาท

กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
61,650
ล้านบาท

อัตราการบาดเจ็บ จนถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR)
2.32
ต่อหนึ่งล้านชั่วโมง การทำงาน

อัตราการ หมุนเวียน พนักงาน
14.63%

อัตราการจ้างงาน
14.35%
*ไม่รวมพนักงานไม่เต็มเวลา
1 ข้อร้องเรียน ด้านสิทธิมนุษยชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยเบฟ

ผู้บริโภค

หน่วยงานรัฐ

ลูกค้า

สมาคมการค้า

ชุมชน

นักลงทุน

พนักงาน

กลุ่มเปราะบาง

คู่ค้า
ไทยเบฟเชื่อมั่นว่า การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ดังนั้น ไทยเบฟจึงใส่ใจในทุกขั้นตอน และทุกกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ในกระบวนการจัดซื้อจัดหาให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนา ความยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตและเพื่อปรับปรุง คุณภาพของระบบการกระจายสินค้า การตลาด การขาย และการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG) อย่างจริงจัง


การจัดซื้อจัดจ้าง
ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของภูมิภาค อาเซียน ไทยเบฟให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มี ประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และมุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เพื่อรักษา คุณภาพของสินค้าและบริการด้วย

ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะ
  • พัฒนาศักยภาพของคู่ค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเติบโตไป พร้อมกับไทยเบฟอย่างยั่งยืน โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับ คู่ค้า การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสินค้าและบริการ ควบคู่ไป กับการตรวจสอบผลงานให้เป็นไปตามมาตรฐานและกระบวนการ จัดการที่เหมาะสม
  • กำหนดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมาตรฐาน ซึ่งคำนึงถึงปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การบริหารจัดการน้ำ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย รวมถึงการกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้มั่นใจว่า สินค้าและบริการส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย

การผลิต
ไทยเบฟให้ความสำคัญและใส่ใจในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและทำให้การผลิตมีความทันสมัย เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะ
  • ควบคุมคุณภาพสินค้าให้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และมาตรฐานการจัดการต่าง ๆ ตามหลักสากล ซึ่งครอบคลุม ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และผู้บริโภค เช่น มาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, ISO 22000, GMP, HACCP และ เครื่องหมายรับรองคุณภาพน้ำดื่ม (National Sanitation Foundation: NSF)
  • รับรองความปลอดภัยในการผลิตที่มีการจัดการด้านสุขลักษณะ ที่ดีโดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและปลอดภัย
  • ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรน้ำและพลังงานให้เกิดคุณค่า และประโยชน์สูงสุด โดยไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ในธรรมชาติ (ความหลากหลายทางชีวภาพ) และสังคม
  • ควบคุมระบบการเก็บข้อมูลที่บันทึกปริมาณของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิต เพื่อทำการประเมิน ผลกระทบได้อย่างเหมาะสม อาทิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณการใช้น้ำ และวิธีการกำจัดของเสีย

การกระจายสินค้า
ไทยเบฟบริหารการกระจายสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม และลดผลกระทบทางลบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะ
  • รักษาและส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้แก่ลูกค้าควบคู่ ไปกับการให้บริการอย่างมืออาชีพ
  • ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและสรรหานวัตกรรมใหม่ ๆ
  • เพื่อพัฒนาระบบการกระจายสินค้า และการขนส่ง ให้ส่งผล เชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
  • ดำเนินมาตรการควบคุมด้านสุขอนามัยที่ยอดเยี่ยม รวมถึงมาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยอื่น ๆ

การตลาดและการขาย
ไทยเบฟดำเนินการด้านการตลาดและโฆษณาผ่านการสื่อสาร ที่สะท้อนถึงคุณค่าและการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย ที่มีประสิทธิภาพด้วย
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะ
  • สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาศักยภาพของตัวแทนจำหน่าย เช่น การจัดฝึกอบรม หลักสูตร ADEPT (Agent Development Program with ThaiBev) และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดออนไลน์
  • ดำเนินกิจกรรมทางการตลาด การโฆษณา และการสื่อสาร แบรนด์อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ
  • ให้ข้อมูลโภชนาการที่ถูกต้องและสื่อสารอย่างชัดเจนบนสื่อ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ส่วนบุคคลของลูกค้า

การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์เป็นขั้นตอนสําคัญของห่วงโซ่คุณค่า

ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะ
  • นำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ เช่น กล่องกระดาษ ไส้กล่อง ขวดแก้ว กระป๋องอะลูมีเนียม ขวดพลาสติก PET และลังพลาสติกที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ในกระบวนการ ผลิตอีกครั้ง
  • พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่สามารถใช้ซ้ำหรือนํากลับมา ใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะหลังการบริโภคให้สอดคล้องกับ หลักการและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  • พิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น หลังการบริโภค