หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การบริหารจัดการของเสีย
ในแต่ละปีมีของเสียที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มากกว่า 2,000 ล้านตันทั่วโลก ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปนเปื้อน ระบบนิเวศต่าง ๆ โดยวิธีการกำจัดของเสียที่พบมากที่สุดคือ การฝังกลบ ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 31 ของวิธีกำจัดทั้งหมด ระบบ ฝังกลบเหล่านี้ทำให้ของเสียหลายประเภทรั่วไหลลงสู่ดิน น้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำใกล้เคียง นักวิจัยได้ค้นพบว่า ร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซมีเทนจากแหล่งของเสียที่เกี่ยวข้องกับ มนุษย์มาจากสถานที่ฝังกลบขยะแบบเปิด ไทยเบฟได้นำแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อลดปริมาณขยะที่ถูกส่งไปหลุมฝังกลบ และมุ่งมั่นที่จะลดขยะมูลฝอยจากโรงงานผลิตให้เหลือศูนย์ภายใน ปี 2583
แนวทางการบริหารจัดการ
ด้วยตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากของเสีย ไทยเบฟ ได้ติดตามปริมาณและประเภทของเสีย รวมถึงวิธีการกำจัด ของเสียโดยใช้ระบบการจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืน พร้อมนำ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อจัดการ ปัญหาอย่างยั่งยืน
ไทยเบฟมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งแนวทางนี้ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย

ไทยเบฟได้นำแนวทางการจัดการของเสียตามลำดับขั้นมาใช้ โดยเน้นการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ การรีไซเคิล การแปรรูปเป็นพลังงาน และการกำจัดของเสีย
  • การป้องกัน:
    ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณของเสีย โดยการใช้ทรัพยากรน้อยลงและหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากร ที่ไม่จำเป็น
  • การลดปริมาณ:
    ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่า ผ่านการออกแบบและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
  • การใช้ซ้ำ:
    การใช้สิ่งของหรือวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลด ของเสียและอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและยังคงรักษาคุณค่าในห่วงโซ่อุปทาน
  • การรีไซเคิล:
    การเก็บรวบรวมและแปรรูปวัสดุที่ไม่ได้ใช้ เพื่อนำ กลับมาใช้ในการผลิตสินค้าใหม่
  • การแปรรูปเป็นพลังงาน:
    การรวบรวมและแปรรูปของเสีย หรือพลังงานที่ไม่ได้ใช้ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่มีค่า เช่น พลังงานความร้อน กระแสไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิง
  • การกำจัดของเสีย:
    กำจัดของเสียหรือวัสดุที่ไม่ต้องการ โดยมี เป้าหมายให้สอดคล้องกับหลักการจัดการและรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย

โครงการสำคัญ
โครงการแปรรูปของเสียให้เป็นทรัพยากรทางการเกษตรในประเทศมาเลเซีย
แนวทางการจัดการของเสียของ F&NHB มุ่งเน้นการแปรรูป ของเสียให้กลายเป็นทรัพยากรทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ และอาหารสัตว์สำหรับฟาร์มไก่ โครงการนี้ช่วยลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมจากของเสียที่เกิดจากการดำเนินงาน และยังสนับสนุน การเกษตรอย่างยั่งยืนในชุมชน เราได้แปรรูปตะกอนน้ำเสียและ ของเสียจากนมมากกว่า 7,200 ตันเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนำไปใช้ ในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น

นอกจากนี้ โรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่เมืองกูชิง ในประเทศมาเลเซีย ยังได้ส่งของเสียจากกระบวนการผลิต นมถั่วเหลือง 486 ตันให้กับฟาร์มไก่ในบริเวณใกล้เคียง เพื่อนำไป ผลิตอาหารไก่คุณภาพสูง โครงการนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของเรา ในการคิดค้นวิธีการจัดการของเสีย ซึ่งให้ผลประโยชน์ร่วม ทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่เราดูแล
โครงการแจกจ่ายสารปรับปรุงดินเพื่อเกษตรกรในประเทศไทย
ไทยเบฟได้แจกจ่ายน้ำกากส่าที่ผ่านการบำบัดจากกระบวนการผลิต ก๊าซชีวภาพในโรงงานสุรา ให้เกษตรกรนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เนื่องจากน้ำกากส่ามีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอ้อย ซึ่งจากการวิจัยพบว่าน้ำกากส่าช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อย โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการ ใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 10,000-15,000 บาทต่อไร่

ในปี 2567 ไทยเบฟได้เพิ่มการแจกจ่ายน้ำกากส่าให้กับเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานีกว่า 518,000 ลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ไร่อ้อย นาข้าว และไร่ข้าวโพดกว่า 22,000 ไร่ (3,520 เฮกตาร์)
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ในประเทศไทย
ไทยเบฟเพิ่มมูลค่าของของเสียและผลิตภัณฑ์พลอยได้โดยการนำ มาใช้เป็นวัตถุดิบในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ไทยเบฟร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเม็ดเซรามิกมวลเบา (Green Rock) โดยใช้ผงขี้เถ้าจากการเผาน้ำกากส่าจากกระบวนการกลั่นสุราเพื่อ ผลิตเป็นพลังงานความร้อน และได้มีการนำเม็ดเซรามิกมวลเบา ไปใช้ในการผสมคอนกรีตโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม คือ บล็อกก่อผนัง (Green Block) ซึ่งเหมาะสำหรับงานก่อสร้างผนัง ทั้งภายในและภายนอกอาคารในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
การจัดการของเสียในชุมชนของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในประเทศไทย
ไทยเบฟร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สนับสนุนความพยายาม ในการจัดการของเสียในชุมชนภายในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ โครงการนี้สามารถเปลี่ยนของเสียที่จะส่งไปหลุมฝังกลบจำนวน 177 ตันให้กลายเป็นเถ้าสำหรับการก่อสร้างถนนและเชื้อเพลิง จากของเสีย ซึ่งช่วยลดของเสียและอนุรักษ์ทรัพยากรได้อย่าง มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ โครงการยังสร้างโอกาสการจ้างงานมูลค่า กว่า 900,000 บาท ช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ให้กับชุมชนท้องถิ่น และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 380 ตัน ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้าน สิ่งแวดล้อมของไทยเบฟ

ความร่วมมือนี้ช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ ที่ยั่งยืน เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการจัดการของเสียอย่างรับผิดชอบ
โครงการเพิ่มมูลค่าจากเถ้าของแกลบอัดเม็ดในประเทศเมียนมา
บริษัท แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป จำกัด ในประเทศเมียนมาได้นำเถ้า จากการเผาไหม้แกลบอัดเม็ดในเครื่องกำเนิดไอน้ำพลังงานชีวมวล มาเป็นส่วนประกอบในการปูถนนในหมู่บ้าน 4 แห่ง ใกล้บริเวณ โรงงานที่มีประชากรทั้งหมด 5,663 คน โดยนำเถ้าจำนวน 5,207 ตัน กลับมาใช้ใหม่แทนการทิ้งลงหลุมฝังกลบ

นอกจากนั้น เถ้าจากแกลบอัดเม็ดยังถูกนำมาผสมกับตะกอน ชีวภาพจากการบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับการ ปลูกผักในฟาร์มชีวภาพของโรงงาน ผักทั้งหมดที่ได้จากฟาร์ม จะถูกแจกจ่ายให้กับพนักงานโรงงานและจัดส่งไปยังโรงอาหาร ของโรงงาน
ความสำเร็จ
ผลการดำเนินงานปี 2567
ของเสียแบ่งตามประเภทและวิธีการกำจัด (หน่วย: ตัน) ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567
ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมด 38,765 54,715 84,258 85,066
ปริมาณของเสียที่ถูกกำจัดโดยวิธีการเปลี่ยนรูป 33,169 44,134 72,375 75,193
ของเสียทั้งหมดที่นำไปใช้ซ้ำ/นำกลับมาใช้ใหม่/ขาย 33,169 44,134 72,375 75,193
ปริมาณของเสียที่ถูกกำจัดโดยตรง 5,596 10,581 11,883 9,873
ของเสียที่นำไปฝังกลบ 4,641 4,350 4,135 6,087
ของเสียที่นำไปเผาโดยนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ 599   5,862 7,325  3,595
ของเสียที่นำไปเผาโดยไม่นำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ 356    368 423   191
ของเสียที่กำจัดด้วยวิธีอื่น ๆ - - - -
ปริมาณของเสียที่ทำเป็นปุ๋ยและนำไปฝังกลบภายในสถานประกอบการ - - 14,030  5,954
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N
ก้าวสู่อนาคต
ไทยเบฟได้เริ่มโครงการทำปุ๋ยหมัก โดยการแปรรูปขยะอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่โรงงานสุราบางยี่ขัน จังหวัดปทุมธานี ซึ่งสามารถ ลดปริมาณของเสียที่ถูกส่งไปหลุมฝังกลบอย่างมีนัยสำคัญ และมีแผนที่จะขยายโครงการนี้ไปยังโรงงานอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการลด ของเสียและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะจัดการข้อมูลของเสียทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามประเภทและวิธีการกำจัด ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่กว้างขึ้นของทางบริษัทในการลดปริมาณของเสียที่ถูกส่งไปหลุมฝังกลบ โดยมีเป้าหมายในการลดของเสีย ที่นำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2583