หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ทรัพยากรน้ำของโลกกำลังเผชิญภาวะวิกฤตมากขึ้น ทั้งปัญหา การขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม และมลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบ ต่อการดำรงชีวิตในระดับที่รุนแรงขึ้น และเนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากร สำคัญในการผลิต การขาดแคลนน้ำหรือคุณภาพของน้ำ ที่เสื่อมโทรม อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญทางธุรกิจ ไทยเบฟจึงมุ่งเน้นการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ อย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ขณะเดียวกันได้จัดทำระบบ ประเมินผลกระทบจากการใช้น้ำ ริเริ่มโครงการต่าง ๆ ทั้งในระดับ โรงงานและชุมชน และกำหนดเป้าหมายการคืนน้ำสะอาด สู่ธรรมชาติและชุมชน ทั้งนี้ ไทยเบฟมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรน้ำ รักษามาตรฐานน้ำสะอาด และปกป้อง แหล่งน้ำที่สำคัญ อีกทั้งยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบาย การจัดการน้ำระยะยาวขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสมดุล ระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่การ ปกป้องทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ใช้น้ำ บนหลักการสิทธิความเท่าเทียม
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่นเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้ในระยะยาว และมีจุดมุ่งหมายในการ ลดผลกระทบด้านน้ำที่อาจเกิดจากการดำเนินงานขององค์กร ขณะเดียวกันได้ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และพันธมิตรในห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และชุมชน โดยแนวทางปฎิบัติ ด้านการบริหารจัดการน้ำครอบคลุมถึงความพอเพียงของน้ำ การใช้น้ำ การบริโภคน้ำ คุณภาพของน้ำ และการคืนน้ำสะอาดสู่ ธรรมชาติและชุมชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการจัดการน้ำ สุขาภิบาล และสุขอนามัย (WASH)

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการจัดการน้ำ ไทยเบฟได้กำหนด นโยบายการบริหารจัดการน้ำระดับองค์กร ที่ได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัท ที่มีเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ในการลดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำจากกระบวนการผลิต ด้วยการ ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ โดยใช้เครื่องมือตามมาตรฐานสากล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการใช้น้ำอย่างรับผิดชอบ

ไทยเบฟกำหนดให้การพิทักษ์และฟื้ นฟูแหล่งน้ำเป็นหนึ่งในประเด็น สำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งช่วยเสริมสร้างให้บริษัท เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น โดยมีการระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ตลอดจน ติดตามความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ไทยเบฟทบทวนการประเมิน ความเสี่ยงทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำในโรงงานผลิตทุกแห่ง รวมถึงในห่วงโซ่อุปทานทุก 3-5 ปี เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้นและเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ การดำเนินการนี้ช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนา แผนบริหารความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้อย่างเหมาะสม

ไทยเบฟมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้โรงงานผลิตทุกแห่งได้รับการรับรอง มาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และในด้าน การจัดการน้ำเสีย และดำเนินการบำบัดน้ำเสียให้มีคุณภาพ สูงกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ ค่าซีโอดี (COD) ค่าบีโอดี (BOD) ค่าของแข็งแขวนลอย ทั้งหมด (TSS) น้ำมันและไขมัน ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อให้ มั่นใจว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศให้น้อยที่สุด
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวมการดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568
เป้าหมาย
100%
คืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชน ให้ได้เท่ากับปริมาณน้ำในสินค้าสำเร็จรูป (ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศไทย) ภายในปี
2583

Reduce
7%
อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณ ลดลงภายในปี
2573 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2566
การจัดการความเสี่ยงด้านน้ำในการดำเนินงานของไทยเบฟ
ไทยเบฟใช้เครื่องมือ Aqueduct จากสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) ในการประเมินโรงงานผลิตทุกแห่งเพื่อตรวจสอบว่าโรงงานอยู่ใน ร้อยละของโรงงานผลิตที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีความเครียดด้านน้ำ พื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำ โดยอ้างอิงตามเกณฑ์การประเมิน ของ Aqueduct เป็นประจำทุกปี ซึ่งระดับความเสี่ยงแบ่งออกเป็น ระดับต่ำ ระดับต่ำ-ปานกลาง ระดับปานกลาง-สูง ระดับสูง และระดับ สูงมาก โดยโรงงานผลิตที่มีความเสี่ยงในระดับสูงและสูงมาก จะได้รับการจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับแรกในการวิเคราะห์ และกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ

จากผลการประเมิน พบว่าโรงงานของไทยเบฟร้อยละ 44 (30 แห่งจากทั้งหมด 69 แห่ง รวมโรงงานผลิตของ F&N) ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความเครียดของน้ำสูงและสูงมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบในด้านการเงินหรือด้านกลยุทธ์ของบริษัท
ร้อยละของโรงงานผลิตที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำ
การจัดการความเสี่ยงด้านน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ไทยเบฟร่วมมือกับคู่ค้าที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำ เพื่อให้ลดการใช้ทรัพยากรน้ำ โดยคู่ค้าที่มีผลกระทบสูง ต่อห่วงโซ่อุปทาน (Significant Suppliers) ทุกรายจะต้องผ่าน ร้อยละของคู่ค้าทางตรงที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีความเครียดด้านน้ำ การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำด้วยเครื่องมือ Aqueduct จาก สถาบันทรัพยากรโลก (WRI) ควบคู่กับมาตรฐาน Together for Sustainability (TfS) หรือโครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน ซึ่งหากการดำเนินงานของคู่ค้ากลุ่มนี้เกิดการหยุดชะงัก อาจส่ง ผลกระทบด้านการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และจากผล การประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบของคู่ค้าในกลุ่มวัตถุดิบ
  • การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ ไทยเบฟระบุผลิตภัณฑ์ ที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญเป็นส่วนประกอบและ ประเมินผลกระทบด้านรายได้ ที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงัก ของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
  • การบรรเทาความเสี่ยง ไทยเบฟร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้าง ความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบ พร้อมทั้งกำหนดให้มีการ ติดตามและรายงานข้อมูลการใช้น้ำ รวมถึงอัตราส่วนของการ ใช้น้ำเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ไทยเบฟยังติดตามและประเมิน ความเสี่ยงด้านน้ำของคู่ค้าในช่วงฤดูฝน โดยใช้ระบบรายงาน สถานการณ์น้ำท่วมรายวันผ่านระบบ CROSS SRM
นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเรื่องเกษตรกรรม อย่างยั่งยืนเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้ามีการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกระบวนการทางการเกษตร โดยไทยเบฟสนับสนุนให้คู่ค้าวัด ปริมาณการใช้น้ำ หาแนวทางเพื่อลดการใช้น้ำ จัดทำการประเมิน ความเสี่ยงด้านน้ำโดยใช้เครื่องมือตามมาตรฐานสากล และวางแผน การจัดการเพื่อบรรเทาผลกระทบในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำ ในระดับสูงมาก
ร้อยละของคู่ค้าทางตรงที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีความเครียดด้านน้ำ
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมิน ข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวมการดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568
โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อชุมชนในประเทศไทย

ไทยเบฟร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การ มหาชน) หรือ สสน. ในโครงการ “การบริหารจัดการทรัพยากร น้ำเพื่อชุมชน” เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยงจากน้ำท่วม และภัยแล้งทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ระบบสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการนี้สนับสนุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนท้องถิ่นรอบโรงงาน ผลิตที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำในระดับสูงถึง สูงมาก โดยครอบคลุมพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงงานผลิต แต่ละแห่ง การริเริ่มโครงการนี้ทำให้ไทยเบฟสามารถดำเนิน ธุรกิจควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนที่ใช้แหล่งน้ำร่วมกัน ด้วยการจัดทำแผนบรรเทาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ทั้งภายในและภายนอกการดำเนินงานของบริษัท ขั้นตอนการศึกษามีดังนี้
  • ศึกษาสภาพทั่วไปของพื้นที่ สภาพลุ่มน้ำ ข้อมูล อุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยา รวมถึงแหล่งที่อาจก่อให้เกิด มลพิษทางน้ำตลอดจนข้อมูลเหตุการณ์ในอดีต เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้ง
  • ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง รวมถึงการวิเคราะห์ ดัชนีและแนวโน้มของข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่รุนแรงสำหรับ สภาวะปัจจุบันและอนาคต เพื่อจัดทำแผนที่ความน่าจะเป็นที่ แสดงดัชนีปริมาณน้ำฝนในระดับสูงในพื้นที่รับน้ำและพื้นที่ ลุ่มน้ำรอบโรงงาน
การศึกษาครั้งแรกดำเนินการที่โรงงานเบียร์ไทย จังหวัด กำแพงเพชร และในปี 2567 ไทยเบฟได้ขยายโครงการไปยัง โรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่ โรงงานสีมาธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยดริ้งค์ จังหวัดลำปาง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียด ด้านน้ำในระดับสูงมาก
(ซ้าย) ลุ่มน้ำปิง (ขวา) พื้นที่ศึกษา
(a) โรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่
(b) โรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยดริ้งค์ จังหวัดลำปาง และ
(c) โรงงานสีมาธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์
สรุปผลการศึกษา

โรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่
จากผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ศึกษามีความเสี่ยงในการเกิด น้ำท่วมในระดับต่ำถึงต่ำมาก มีเพียงร้อยละ 15 ของพื้นที่ที่มี ความเสี่ยงในระดับสูงถึงสูงมาก ความเสี่ยงน้ำท่วมในระดับต่ำนี้ เกิดจากพื้นที่ศึกษาอยู่ในเขตชลประทาน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ ที่จัดว่ามีระดับความเสี่ยงสูงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ที่มีความสูง จากระดับน้ำทะเลและอยู่นอกเขตชลประทาน โดยโรงงานตั้งอยู่ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตชลประทาน ที่เหมาะสม
ในทางกลับกัน ผลการศึกษากลับพบว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ ศึกษามีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งในระดับสูงถึงสูงมาก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่นอกเขต ชลประทาน รวมถึงเป็นพื้นที่ภูเขาที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหา ภัยแล้งมากกว่า อย่างไรก็ตาม โรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี ความเสี่ยงที่จะเกิดภัยแล้งในระดับต่ำถึงต่ำมาก เนื่องจาก อยู่ใกล้แหล่งน้ำและตั้งอยู่ภายในเขตชลประทาน
การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยพิจารณา จากข้อมูลดัชนีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในแต่ละ ฉากทัศน์ ทั้งอนาคตระยะใกล้ ระยะกลาง และระยะไกล พบว่า แนวโน้มมีความสอดคล้องกัน ซึ่งคาดการณ์ว่าความเสี่ยงน้ำท่วม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงขนาดของพื้นที่และความรุนแรง โดยพื้นที่ศึกษาจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็นระดับปานกลางในอนาคตทั้งสาม ระยะ ในขณะที่ความเสี่ยงจากภัยแล้งมีแนวโน้มลดลงทั้งในเชิง ขนาดของพื้นที่และความรุนแรง โดยพื้นที่ศึกษามีความเสี่ยง ระดับปานกลาง สูง และสูงมาก อาจเปลี่ยนเป็นระดับต่ำหรือต่ำ มาก ซึ่งการคาดการณ์นี้มีความสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ จากดัชนีฝนสุดขั้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ของปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะ เกิดทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง
(a) แผนที่ความเสี่ยงน้ำท่วม และ (b) ความเสี่ยงภัยแล้งของลุ่มน้ำปิงตอนบน (พื้นที่ศึกษา)
โรงงานสีมาธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์
ผลการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 80 ประกอบด้วยการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ ของพื้นที่ศึกษา พบว่าสาเหตุหลักของน้ำท่วมในพื้นที่เกิดจากอัตรา การไหลน้ำในแม่น้ำปิงสูงเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ฝายกั้นน้ำ ชั่วคราวของแม่น้ำปิงเกิดการเอ่อล้น และปริมาณน้ำในคลอง ระบายน้ำเกินกว่าความจุที่ออกแบบไว้ ผลการประเมินเบื้องต้น จัดให้พื้นที่ศึกษามีความเสี่ยงน้ำท่วมและภัยแล้งในระดับ ปานกลางถึงสูง
โรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยดริ้งค์ จังหวัดลำปาง
ผลการศึกษาเบื้องต้น ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 50 ประกอบด้วยการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ การสำรวจ พื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต้นน้ำและ ปลายน้ำของพื้นที่ศึกษา พบว่าสาเหตุหลักของน้ำท่วมในพื้นที่ เกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน และมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลร่วม ได้แก่ ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ที่มากเกินไป โครงสร้างระบบระบาย น้ำที่ไม่เพียงพอ และสิ่งกีดขวางทางกายภาพ เช่น ถนนและ ท่อลอดระบายน้ำ ซึ่งทำให้การระบายน้ำติดขัด
โครงการสำคัญ
โครงการคืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชน

โครงการบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ชุมชนเหมืองแม่หาด จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ไทยเบฟร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ในโครงการ “การบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนว พระราชดำริ ชุมชนเหมืองแม่หาด จังหวัดเชียงใหม่” เพื่อแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยการปรับปรุงระบบส่งน้ำ เพื่อสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรในหมู่บ้าน บ้านแม่หอย บ้านเมืองกลาง และบ้านกู่ฮ้อ โดยดำเนินการดังนี้
  • ขยายบ่อสำรองน้ำ: เพิ่มความจุของบ่อสำรองน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบ้านกู่ฮ้อจำนวน 139 ครัวเรือน
  • ควบคุมน้ำท่วมและการกัดเซาะ: สร้างฝายขนาดเล็ก พร้อมบ่อซับน้ำ และเสริมความแข็งแรงของคันดิน เพื่อลด ความเสี่ยงจากน้ำท่วมและป้องกันการกัดเซาะตลิ่งในช่วง ฝนตกหนัก
  • ฟื้นฟูคลองส่งน้ำชลประทาน: ซ่อมแซมคลองส่งน้ำชลประทาน เหมืองแม่หาดตลอดแนว จำนวน 9 จุด เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถ แจกจ่ายน้ำไปสู่ชุมชนกว่า 681 ครัวเรือน หรือประมาณ 2,218 คน ที่ทำการเกษตรทั้งสามหมู่บ้าน
เป้าหมายหลักของโครงการ คือการเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำ ผ่านการขยายบ่อสำรองน้ำและการปรับปรุงโครงสร้างการจัดการน้ำ ในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนมีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและ การเกษตร นอกจากนี้ยังมุ่งฟื้ นฟูระบบชลประทาน เช่น คลองส่งน้ำ เหมืองแม่หาดที่เสื่อมสภาพและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร
โครงการนี้ช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำภายในชุมชนเหมือง แม่หาดอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำสำรองเพิ่มขึ้น มากกว่า 270,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยระบบส่งน้ำที่ได้รับการ แก้ไขจะสามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างการจัดการน้ำ ที่ได้รับการปรับปรุงยังช่วยให้ชุมชนสามารถรับมือกับภัยแล้งและ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ซึ่งส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว และสนับสนุนความเป็นอยู่ของคนในชุมชนท้องถิ่น โครงการนี้จะ เป็นต้นแบบของความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความมั่นคงทางน้ำในระยะยาว
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกร ”ส่งน้ำใช้ ปันน้ำใจ สู้ภัยแล้ง”
บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนินการ ติดตั้งถังเก็บน้ำ เพื่อจัดหาน้ำให้แก่ชุมชนและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ในจังหวัดชัยภูมิอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ช่วยให้ชาวบ้าน สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งได้ ด้วยงบการลงทุน 460,000 บาท สามารถจัดหาน้ำได้ถึง 1,680,000 ลิตรต่อเดือน ให้แก่ 180 ครัวเรือน และสนับสนุนน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มโคนม จำนวน 24 แห่ง ซึ่งมีโคนมกว่า 955 ตัว สามารถช่วยลดผลกระทบจาก ภัยแล้งและช่วยเสริมสร้างความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมได้อย่างยั่งยืน
โครงการลดการใช้น้ำ

ระบบการเก็บน้ำฝนในประเทศเวียดนาม
ระบบการเก็บน้ำฝนของโรงงาน Cu Chi ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานผลิต ของ SABECO ในประเทศเวียดนาม เป็นโครงการที่มุ่งลดการใช้น้ำ และต้นทุนการดำเนินงาน โดยการนำถังเก่าจากโรงเบียร์ NCT และอุปกรณ์จากระบบบำบัดน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาประกอบใช้ใหม่ เพื่อรองรับน้ำฝนจากบริเวณหลังคาขนาด 20,000 ตารางเมตร ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้งบประมาณเพียงเล็กน้อย โดยค่าใช้ จ่ายหลักของโครงการคือการติดตั้งท่อทางของระบบ เป็นจำนวน เงิน 26,909 เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงระบบเพิ่มเติมโดยการนำระบบกรอง ทรายเก่ากลับมาใช้งาน ทำการปรับปรุงระบบควบคุมเครื่องสูบน้ำ และการติดตั้งระบบท่อใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บ และวัดปริมาณน้ำฝน ทำให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประหยัดน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ิ

วัตถุประสงค์หลักของการกักเก็บน้ำฝนเพื่อการนำน้ำมาใช้ใน กระบวนการหล่อเย็นและการทำความสะอาดในกระบวนการผลิต ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการใช้น้ำได้ร้อยละ 4 ในช่วงฤดูฝนในระยะเวลา 6 เดือนของปี 2567 สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 5,811 เหรียญ สหรัฐ

นอกจากนี้ ยังได้ขยายโครงการไปยังโรงงาน Can Tho ซึ่งเป็น หนึ่งในบริษัท SABECO ในประเทศเวียดนาม โดยได้มีการติดตั้ง ระบบท่อเป็นจำนวนเงิน 6,292 เหรียญสหรัฐ สามารถลดการใช้น้ำได้ ประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้โรงงานประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ประมาณ 703 เหรียญสหรัฐต่อปี

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการแปรรูปน้ำตาล
ตั้งแต่ปี 2565 บริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ โฮลดิ้งส์ เบอร์ฮาด (F&NHB) ประเทศมาเลเซีย ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตในท้องถิ่น เปลี่ยนการใช้น้ำตาลก้อนมาเป็นน้ำตาลเหลว โดยใช้วิธีการกรอง ด้วยเรซินซึ่งช่วยเปลี่ยนน้ำตาลก้อนให้กลายเป็นของเหลวได้ อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้น้ำในการละลายน้ำตาลก้อน ซึ่งประหยัดน้ำได้ถึง 32,030 ลูกบาศก์เมตรต่อปี นอกจากนี้ยัง สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 275,956 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าได้ถึง 238 ตันต่อปี
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในเครื่องล้างตระกร้าพลาสติก
กลุ่มธุรกิจอาหารในประเทศไทยได้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำอ่อน สำหรับเครื่องล้างตะกร้าพลาสติก โดยการออกแบบปรับทิศทาง การฉีดน้ำและแรงดันน้ำให้เหมาะสม ซึ่งสามารถลดการใช้น้ำได้ อย่างมีนัยสำคัญ จากประมาณ 15,000 ลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 250,000 บาทต่อปี
โครงการการจัดการน้ำร่วมกับชุมชน

โครงการน้ำสะอาดเพื่อชุมชน
ในปี 2567 ไทยเบฟยังคงมุ่งมั่นเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะเด็ก และภาคเกษตรกรรมได้รับน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มธุรกิจ สุราได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อสังคม “แบ่งปันน้ำสู่ชุมชน” ในประเทศไทย ซึ่งโรงงานในจังหวัดกาญจนบุรี ปราจีนบุรี และสุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันส่งน้ำสะอาดสู่ชุมชนข้างเคียง

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้ขยายโครงการ “น้ำดื่มสะอาด” ไปยัง โรงเรียนและชุมชนรอบโรงงาน โดยมีตัวแทนของไทยเบฟให้การ อบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดระบบ กรองน้ำ เพื่อให้เยาวชนมีน้ำดื่มที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ได้มาตรฐาน คุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ไทยเบฟดำเนินโครงการส่งเสริมการ จัดการน้ำ สุขาภิบาล และสุขอนามัย (WASH) จำนวน 41 โครงการ ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี ชลบุรี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ราชบุรี อุตรดิตถ์ สุราษฎร์ธานี นครปฐม อุบลราชธานี อยุธยา และ นครสวรรค์ โดยมีเยาวชนและคนในชุมชนกว่า 13,500 ราย ที่ได้รับ ประโยชน์จากโครงการ และมีเป้าหมายในการขยายโครงการ WASH เพิ่มเติมปีละ 5 โครงการ

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้ริเริ่มโครงการติดตั้งระบบกรองน้ำใน โรงเรียน 15 แห่งในภาคกลางของประเทศเวียดนาม ครอบคลุม จังหวัด Ha Tinh Quang Binh และ Quang Ngai ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีงบประมาณลงทุนรวม 13,200 เหรียญสหรัฐ


ระบบชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
บริษัท แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป จำกัด (GRG) บริษัทในเครือประเทศ เมียนมา สนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่นในการปลูกข้าวในฤดูใบไม้ผลิ และการผลิตข้าวในหมู่บ้าน San Phel ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ทางตะวันออกของเมืองพะโค (Bago) ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบหลักสำหรับ ผลิตภัณฑ์ของ GRG ซึ่งเกษตรกรในภูมิภาคนี้เผชิญกับปัญหาการ ขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน และต้องดิ้นรนหาเงิน เพื่อใช้จ่ายในการเข้าถึงระบบชลประทาน

โครงการพลังงานแสงอาทิย์นี้ มีจุดมุ่งหมายในการจัดหาน้ำจาก แหล่งน้ำได้มากถึง 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ให้กับพื้นที่นากว่า

129 ไร่ (21 เฮกตาร์) ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ 4,030 ตะกร้า เทียบเท่ากับ 84,065 กิโลกรัม ส่งผลให้เจ้าของที่ดิน 10 ราย มีรายได้ รวม 30,750 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถ ปลูกข้าวได้ถึงสามครั้งต่อปี ทั้งในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยลดต้นทุนการผลิตลงได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการใช้ พลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล

จากความสำเร็จของโครงการนำร่อง “ระบบชลประทานพลังงาน แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร” GRG ได้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำแบบ รีเวิร์สออสโมซิส (RO) ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 2566 สามารถ ผลิตน้ำสะอาดได้ถึง 3,000 ลิตรต่อวันในหมู่บ้านต้นแบบ San Hpe ซึ่งเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูกข้าวที่ใช้ระบบชลประทานพลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานส่วนเกินยังสามารถนำมาใช้เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งช่วยให้หมู่บ้าน San Hpe มีน้ำดื่มสะอาด เพียงพอสำหรับทุกครัวเรือน และน้ำสะอาดส่วนเกินประมาณ 1,200 ลิตรต่อวันยังสามารถจำหน่ายให้หมู่บ้านใกล้เคียงในราคาที่ต่ำกว่า ท้องตลาด ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายน้ำส่วนเกินยังถูกนำมาใช้เป็น ค่าใช้จ่ายทั่วไปของหมู่บ้าน นอกจากนี้ GRG ยังมุ่งมั่นในการ ดำเนินการบำรุงรักษา และซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำประจำปี เพื่อให้ สามารถดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ความสำเร็จ
การเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อชุมชน
272,000
ลูกบาศก์เมตรในปี 2567 เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำในสินค้าสำเร็จรูปของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศไทย
การใช้น้ำในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
5.33%
ในปี 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน 2566
(เป้าหมายปี 2573 คือการลดอัตราส่วนการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลง 7% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2566)
อัตราส่วนของการใช้น้ำ ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
3.17
เฮกโตลิตร/ต่อเฮกโตลิตร
อัตราส่วนของการใช้น้ำ ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
0.17
เฮกโตลิตร/ต่อกิโลกรัม
การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2567 ส่งผลให้เกิดการลดการใช้น้ำ การใช้ซ้ำ และการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเทียบกับปริมาณ การดึงน้ำจากทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมด ดังนี้
ลด
8.4%
ใช้ซ้ำ
2.7%
นำกลับมาใช้ใหม่
4.7%
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N

  • พนักงานในโรงงานผลิตทุกคนได้รับการฝึกอบรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรงงานไทยเบฟทุกแห่ง ในประเทศไทยดำเนินการประเมิน ความยั่งยืนของน้ำ ผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างครบถ้วน
  • เหตุการณ์วิกฤตที่เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นศูนย์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 เนื่องจากไทยเบฟให้ความสำคัญในการควบคุม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างความสัมพันธ์ ที่ใกล้ชิดกับชุมชนโดยรอบ
ก้าวสู่ อนาคต
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะสร้างสมดุลระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องทรัพยากรน้ำในระยะยาว นอกจากเป้าหมาย การคืนน้ำสู่ธรรมชาติและชุมชน และการลดอัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และยังมุ่งมั่นลงทุนในโครงการเพื่อส่งเสริม การจัดการน้ำ สุขาภิบาล และสุขอนามัย (WASH) ให้กับชุมชนเพิ่มเติมปีละ 5 โครงการ
ในปี 2568 ไทยเบฟจะยังคงร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความเสี่ยง จากน้ำท่วมและภัยแล้งทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้แบบจำลองปริมาณน้ำฝนในอนาคตให้กับโรงงานสีมาธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ไทยดริ้งค์ จังหวัดลำปาง นอกจากนี้ ไทยเบฟยังวางแผนขยายโครงการไปยังโรงงาน ผลิตอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำสูงถึงสูงมาก และดำเนินการประเมินความเครียดด้านน้ำสำหรับคู่ค้ารายสำคัญ พร้อมแผนพัฒนาการบริหารจัดการน้ำร่วมกับคู่ค้าที่มีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดด้านน้ำสูงถึงสูงมาก
ทั้งนี้ ไทยเบฟยังมีแผนติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ (Automated Telemetry Station) ในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึก ที่สำคัญ ได้แก่ ระดับน้ำ และปริมาณน้ำฝน รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการน้ำและการจัดการภัยพิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ