ไทยเบฟมุ่งมั่นเสริมสร้างทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และการเป็นคนดี
ภายใต้การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ในปีที่ผ่านมา
ได้มีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 121 โครงการ โดยส่งเสริม
ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ
เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนเป็น
ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ไทยเบฟสนับสนุนให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
บริหารสถานศึกษา ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารโรงเรียน
ในการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน โดยให้ความสำคัญกับคุณค่า
ของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และ
การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสริมองค์ความรู้ และเพิ่มทักษะ
ความเชี่ยวชาญให้เยาวชน เพื่อฟูมฟักให้เด็ก ๆ เติบโตขึ้นมา
มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นพลเมืองที่มีคุณค่า และเป็นกำลังสำคัญ
ในการขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต โดยในปัจจุบันมีผู้ได้รับ
ประโยชน์จากโครงการกว่า 12,000 คน
โครงการสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เริ่มต้นขึ้นในปี 2561
ซึ่งไทยเบฟเป็นหนึ่งใน 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง โดยผนึกกำลังกับ
มหาวิทยาลัย 28 แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
เรื่องการเป็นผู้ประกอบการ การทำธุรกิจ ปลูกฝังวินัยทางการเงิน
ขั้นพื้นฐาน และมุ่งหวังให้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้วย “การสร้างประสบการณ์ตรง ลงมือทำจริง” จากเงินทุนของ
โครงการ
ตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมา โครงการสร้างประโยชน์ให้กับนักเรียนกว่า
20,000 คน คุณครูกว่า 2,000 คน โรงเรียนกว่า 293 แห่ง
ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์กว่า 200 ชนิด และสร้างรายได้เฉลี่ย
ณ ปัจจุบัน 9,528 บาท (มากที่สุด 246,227 บาท)
โครงการได้จุดประกายเรื่องทักษะอาชีพ การทำธุรกิจ กระตุ้นให้เกิด
การสังเกต วิเคราะห์ ตรวจสอบปัญหาว่าธุรกิจนั้นสร้างกำไร
หรือขาดทุน และคิดหาทางปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นพื้นที่ให้เด็ก ๆ
มีโอกาสนำเสนอผลงานผ่านเวทีการประกวดรายการโทรทัศน์
Win Win WAR OTOP Junior ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เด็ก ๆ
กล้าแสดงออก แต่ยังเป็นการพัฒนาทักษะการนำเสนอและความรู้
ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ไทยเบฟภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะอาชีพแก่
นักเรียน ครู และโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมสร้างรากฐาน
ให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญ
ในการขับเคลื่อนประเทศต่อไป
ด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชประสงค์
พระราชทานกำลังใจครูจาก 3 หน่วยงานคือ กองบัญชาการตำรวจ
ตระเวนชายแดน สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในถิ่นทุรกันดาร
และพื้นที่เสี่ยงภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ มูลนิธิโครงการ
พระเมตตาสมเด็จย่าฯ จึงคัดเลือกบุคลากรครูจากทั้ง 3 หน่วยงาน
หน่วยงานละ 3 ท่าน เพื่อเชิดชูเกียรติเป็นขวัญกำลังใจให้
ครูผู้เสียสละ ครูผู้เป็น “ครูที่เป็นมากกว่าครู”
ไทยเบฟเริ่มสนับสนุนโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2556 (ครูเจ้าฟ้าฯ
รุ่นที่ 5 จนถึงครูเจ้าฟ้าฯ รุ่นที่ 16 มีจำนวนทั้งสิ้น 107 คน)
ครูเจ้าฟ้ารุ่นที่ 16 ในปีนี้ทั้ง 9 ท่าน มาจากจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
ยะลา ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ตาก ลำปาง และปัตตานี ซึ่งทุกท่าน
ล้วนแต่เป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรม คุณธรรม
มุ่งมั่นสร้างเยาวชนให้เป็นคนดีทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ
ไทยเบฟ ร่วมกับ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
ดำเนินโครงการส่งความรู้ สร้างความสุข ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยได้
รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ผนึกกำลังเพื่อร่วมผลักดันและส่งเสริมให้เด็กไทยทั่วประเทศเห็น
ความสำคัญและมีนิสัยรักการอ่าน โดยมีโรงเรียนเข้าร่วม 261 แห่ง
ทั่วประเทศ จัดหาหนังสือเข้าถึงนักเรียนกว่า 285,000 เล่ม และมี
นักเรียนที่เข้าชมรมรักการอ่านกว่า 29,000 คน
ปีนี้ โครงการส่งความรู้ สร้างความสุข ได้ขยายเครือข่าย
สถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการรู้หนังสืออย่างเสมอภาค
และเท่าเทียม ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียน
ตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนมูลนิธิชัยพัฒนา โดยจัด
ให้มีกิจกรรมการอ่าน วันละ 15 นาที ก่อตั้งชมรมรักการอ่าน
การลงบันทึกรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอ ต่อยอดกิจกรรม
“อ่านดัง ฟังเพลิน” ให้นักอ่านรุ่นใหม่อ่านแล้วบันทึกคลิปเสียง
เพื่อส่งต่อสู่ผู้พิการทางสายตา และส่งเสริมให้นักเรียนที่เข้าร่วม
ชมรมรักการอ่านมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
โครงการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้
และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการแยก
ขยะ โดยวิทยากรจากโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา จังหวัดขอนแก่น
และโรงเรียนวัดบางน้ำผึ้งนอก จังหวัดสมุทรปราการ ได้ให้ความรู้
เรื่องการจัดการขยะเปียกด้วยวิธีการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย
เพื่อกำจัดขยะเศษอาหาร ทั้งนี้ คุณณวิช อุ่นวิจิตร หัวหน้ากลุ่ม
งานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้ความรู้เรื่องถังขยะเปียก
ลดโลกร้อน เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนำไปปฏิบัติได้จริง
สามารถลดปริมาณขยะเศษอาหารด้วยการฝังกลบมากถึง
408 กิโลกรัม รวมถึงมีการจัดตั้งชมรม คณะทำงานด้านการบริหาร
จัดการขยะของโรงเรียน 9 ชมรม และเกิดธนาคารขยะโรงเรียน
อีก 3 แห่ง
โครงการ eisa คือแพลตฟอร์มส่งเสริมด้านการศึกษาในระดับ
อุดมศึกษา โดยไทยเบฟร่วมกับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
กว่า 50 สถาบัน เพื่อสนับสนุนให้นิสิต นักศึกษา ได้มีพื้นที่การเรียนรู้
นอกห้องเรียน สร้างประสบการณ์การทำงานจริงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่
การทำงานจริงหลังจากจบการศึกษา โดยมีโครงการที่สำเร็จ
เป็นรูปธรรม เช่น
- โครงการ SIFE MasterClass เพื่อสอนการทำธุรกิจสำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เป็นการเรียนรู้แบบ Activity-Based
Learning โดยร่วมกันแก้โจทย์ปัญหาทางธุรกิจของชุมชน
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยภายในงาน Sustainability
Expo 2024 โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ร่วมกับนักเรียนจากโครงการ Win Win War
Thailand OTOP Junior และโครงการ Partnership School
สามารถสร้างทักษะด้านการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Social
Enterprise) ให้กับนักเรียนจำนวน 300 คน ได้นำองค์ความรู้
ไปต่อยอดในด้านการทำธุรกิจของตนเองได้ในอนาคต
- โครงการ Creative Young Designers Season 4 ร่วมกับ
15 ชุมชน 11 มหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์และด้านการ
ตลาด โดยโครงการนี้ทำงานร่วมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว
โดยชุมชนบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัด
อุดรธานี ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง โครงการชุมชนดี
มีรอยยิ้ม โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย บริษัท
ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด
และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูประถัมภ์
(RPST)
โครงการ eisa สามารถส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ
พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็งจากการถ่ายทอดองค์ความรู้
ของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย สามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นจริง
แก่ชุมชนต่าง ๆ มูลค่ารวมกว่า 800,000 บาท และยังสามารถสร้าง
พื้นที่การเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ แก่นิสิต นักศึกษา
จาก 15 สถาบัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,150 คน อีกด้วย
โครงการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม (Beta Young
Entrepreneur) เป็นโครงการที่ประสานความร่วมมือระหว่าง
สภาหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมูลนิธิ
สิริวัฒนภักดี เพื่อบ่มเพาะเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มี
ความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบ
ต่อสังคม โดยมีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ด้วยการ
ทดลองทำธุรกิจจริงตลอดหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยปลูกฝัง
ให้เป็นคนดีของสังคม ปัจจุบันมีนักศึกษาในโครงการฯ รวม 13 รุ่น
จบการศึกษาไปแล้วจำนวน 10 รุ่น รวมนักศึกษาที่อยู่ในโครงการ
283 คน ซึ่งกว่าร้อยละ 70 ของนักศึกษาในโครงการฯ จบไปประกอบ
ธุรกิจของตัวเอง หรือสานต่อธุรกิจของครอบครัว
ภัทรธิดา บุตรละคร (น้องกิ่งฟ้า) ศิษย์เก่า Beta Young
Entrepreneur รุ่นที่ 4 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดธุรกิจ
ร้านอาหารของครอบครัวที่เกาะยาว ด้วยการรับทำอาหาร
ให้กลุ่มสัมมนาและนักท่องเที่ยว โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
และขยายผลให้ชุมชนรับ Homestay เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
บนเกาะ จนปัจจุบันมีการจัดตลาดแบบ Eco Friendly บนเกาะยาว
นอกจากนั้นโครงการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่เพื่อสังคม
(Beta Young Entrepreneur) ร่วมกับชุมชนดงบัง อำเภอเขาสวน
กวาง จังหวัดขอนแก่น ภายใต้เครือข่ายโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม
ด้วยการสร้างองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ชุมชน เช่น การปรับปรุง
สภาพแวดล้อมภายในร้านค้า การทำระบบ POS และ Stock วิธีการ
จัดชั้นสินค้า แบ่งหมวดหมู่สินค้า การเลือกสินค้ามาจำหน่าย
การตั้งราคา และการจัดกิจกรรมช่วงวันสำคัญเพื่อดึงดูดลูกค้า
เป็นต้น ซึ่งทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการร้านค้า และเกิด
เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน รวมถึงเกิดการท่องเที่ยวชุมชน
และให้ชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน
ผ่านโครงการ “Young CEO Program”
แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป (GRG) บริษัทในเครือในประเทศเมียนมา ได้มี
การจัดโครงการ Young CEO Program เพื่อพัฒนาทักษะทางธุรกิจ
ให้กับบุตรหลานของพนักงาน โดยไฮไลต์ของโครงการคือกิจกรรม
“Shark Tank Event” ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมนำเสนอแผนธุรกิจ
ของตนเอง ซึ่งผู้ชนะสองอันดับแรกนั้นได้รับทุนการศึกษาใน
หลักสูตรออนไลน์ของ Coursera เป็นมูลค่า 399 เหรียญสหรัฐฯ
โดยในปัจจุบันได้มีการจัดโครงการนี้มาแล้วทั้งสิ้นสองครั้ง
SABECO สนับสนุนโครงการฝึกสอนและให้คำปรึกษา (Coaching &
Mentoring) เพื่อพัฒนาโครงการสตาร์ทอัพของเยาวชน โดยมุ่ง
เสริมความรู้ ทักษะ และศักยภาพ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจและ
เปิดโอกาสทางธุรกิจ โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือ
ระหว่าง SABECO และสหภาพเยาวชนคอมมิวนิสต์โฮจิมินห์
(HCYU) เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่เยาวชนในพื้นที่
ชนบท ซึ่งกิจกรรมจะจัดขึ้นในหลายจังหวัดเพื่อส่งเสริมนวัตกรรม
และการเติบโตของเศรษฐกิจในชุมชน