หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ไทยเบฟยึดมั่นการเคารพสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิญญาสากลและหลักการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) หลักการแห่ง สหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการ ทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)

ไทยเบฟมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานในฐานะองค์กรชั้นนำที่ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อปกป้องสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามมาตรฐานสูงสุด โดยมีการจัดทำ โครงการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence) เป็นประจำทุกปี ครอบคลุมการดำเนินงานในทุกประเทศ รวมถึงบริษัทย่อย กิจการร่วมค้าและคู่ค้าทางตรง พร้อมทั้งติดตามการละเมิดและดำเนินมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหา อย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟมุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพในสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจผ่านนโยบาย ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งอ้างอิงหลักการสากล เช่น ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก การเลือก ปฏิบัติและการล่วงละเมิด ความหลากหลาย เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม สภาพ การทำงาน และความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

ไทยเบฟกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าของเรา ทุกฝ่าย ปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึง บริษัทย่อย กิจการร่วมค้า ในกระบวนการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ ไทยเบฟจะดำเนินการประเมินและจัดการความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชนในธุรกิจใหม่ นอกจากนี้ ยังปกป้องสิทธิมนุษยชน ผ่าน แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งกำหนด ให้คู่ค้าทางตรงทุกรายลงนามและยอมรับข้อกำหนด ดังกล่าว ไทยเบฟสามารถยุติความสัมพันธ์กับคู่ค้าที่ไม่ปฏิบัติ ตามได้ ทั้งนี้คู่ค้าทางตรง รวมถึงบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า จะต้องเข้าร่วมกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนประจำปี

ไทยเบฟมุ่งมั่นสร้างความรู้สึกมีคุณค่าและได้รับความเคารพ ในสถานที่ทำงาน โดยยึดหลักความหลากหลาย ความเสมอภาค และการรวมเป็นหนึ่ง (DE&I) เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทุกคนได้ รับโอกาสเท่าเทียมในการเติบโตและประสบความสำเร็จ และปฏิเสธ การเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังตระหนักดีว่าการมี สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้างต่อความหลากหลายนั้น สำคัญต่อความสำเร็จ ช่วยส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน การรักษาพนักงาน และประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร
กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ไทยเบฟเริ่มดำเนินกระบวนการตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชน ตามหลักการของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (The UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงาน ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากธุรกิจ ของไทยเบฟตลอดห่วงโซ่คุณค่า อีกทั้งเพื่อระบุและประเมิน แนวทางการจัดการและเยียวยาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับ ผลกระทบ

ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดของไทยเบฟ โดยจำแนกดังนี้
  • ธุรกิจหลัก ได้แก่ การจัดซื้อจัดหา การผลิต การจัดจำหน่ายและ การขนส่ง การตลาดและการขาย และการจัดการบรรจุภัณฑ์หลัง การบริโภค
  • หน่วยงานสนับสนุนทางธุรกิจ เช่น กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล

นอกจากนี้การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนยังครอบคลุม คู่ค้าทางตรง และกิจการร่วมค้าที่ไม่มีการควบคุมจากฝ่ายบริหาร ของไทยเบฟทุกราย

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมประเด็นที่เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้น ดังนี้
  • การบังคับใช้แรงงาน
  • การค้ามนุษย์
  • การใช้แรงงานเด็ก
  • เสรีภาพในการสมาคม
  • สิทธิในการเจรจาต่อรองร่วมกัน
  • ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • สภาพการทำงานและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมถึงพนักงาน และกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
  • ผู้หญิง
  • เด็ก
  • ชนพื้นเมือง
  • แรงงานข้ามชาติ
  • แรงงานจ้างเหมาบุคคลที่สาม
  • ชุมชนท้องถิ่น
  • LGBTQI+
  • ผู้พิการ
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (แนวทางการดำเนินการ)
1. การระบุปัญหาสิทธิมนุษยชน
  • ระบุประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ห่วงโซ่คุณค่า รวมถึง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ของไทยเบฟ โดยคํานึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งรวมถึงกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ แรงงานที่มีสัญญาจ้างในลักษณะบุคคล ที่สาม ชุมชนท้องถิ่น LGBTQI+ และผู้พิการ
2. การจัดอันดับความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติ
การจัดลําดับความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติ (ความเสี่ยงที่ปราศจากการควบคุมหรือมาตรการ) ของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่กําหนดขึ้น
3. การจัดอันดับความเสี่ยงที่เหลืออยู่
สําหรับความเสี่ยงตามลักษณะธรรมชาติในระดับสูงให้จัดอันดับความเสี่ยง ที่เหลืออยู่ (ความเสี่ยงที่บริษัทมีการควบคุมหรือมีมาตรการอยู่แล้ว)
4. การจัดลําดับความสําคัญความเสี่ยง
จัดลําดับความสําคัญประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สําคัญที่สุด โดยอ้างถึง ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงที่เหลืออยู่ในระดับสูง
บูรณาการผลการประเมินความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ในปี 2567 ไทยเบฟได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และสามารถระบุประเด็นความเสี่ยงตามระดับความรุนแรง และโอกาสที่จะเกิดจำนวน 2 ประเด็น ได้แก่
  • สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัยของคู่ค้า/ผู้รับเหมา
ประเด็นหลักด้านสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้น มาตรการเยียวยา
สุขภาพและ ความปลอดภัย ของพนักงาน
  • เครื่องจักร ซึ่งอาจทำให้ ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต
  • การตกจากพื้นที่สูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย ร้ายแรง (เช่น การตก จากยานพาหนะ)
  • อุบัติเหตุในคลังเก็บสินค้า (เช่น อุบัติเหตุจากการ ยกของ)
  • การบาดเจ็บในสำนักงาน (เช่น การลื่นล้ม หรือวัตถุ กระแทก)
  • อุบัติเหตุจากการขนส่ง (เช่น อุบัติเหตุทางถนน สภาพยานพาหนะ ที่ไม่พร้อมทำงาน)
ความเสี่ยงด้านสุขภาพและ ความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น เหล่านี้อาจละเมิดสิทธิ มนุษยชนของพนักงาน
  • สิทธิในการมีชีวิต
  • สิทธิที่จะได้รับความ ยุติธรรมในการทำงาน
  • สิทธิในการได้รับ ค่าครองชีพตาม มาตรฐาน ที่เพียงพอ
  • สิทธิด้านสุขภาพ
กลุ่มเสี่ยง:
  • สตรี แรงงานข้ามชาติ กลุ่ม LGBTQI+ ผู้พิการ
นโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติ
  • มุ่งมั่นปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชน ซึ่งให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ระดับสูงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยจากการทำงานตาม มาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัย (เช่น OHSAS 18001 และ ISO 45001)
  • จัดทำนโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานและตัวชี้วัด (KPIs) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การตระหนักถึงความปลอดภัย และการปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงบทลงโทษสำหรับการฝ่าฝืน
ระเบียบปฏิบัติ และการดำเนินงาน
  • วิเคราะห์และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของงาน ขั้นตอน การปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัย
  • บริหารจัดการพนักงานอย่างเข้มงวดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการความปลอดภัย ได้แก่ การตรวจวัดแอลกอฮอล์ การตรวจสุขภาพพนักงานขับรถก่อนการขนส่ง การบำรุงรักษายานพาหนะ และการตรวจสอบจำกัดความเร็วผ่านแอปพลิเคชัน TOMs
  • ทีมความปลอดภัยของบริษัททำการตรวจสอบความปลอดภัยที่สถานที่ทำงาน ทุกแห่งเป็นประจำ
  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล คู่มือความปลอดภัย และการฝึกอบรม เช่น ฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รวมถึงอบรมการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร และเพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่สูงและการทำงานกับเครื่องจักร
  • ตรวจสอบอุบัติเหตุด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อระบุสาเหตุ และลดความเสี่ยง
  • ประสานงานเพื่อเตรียมการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีที่เกิดการ ระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
  • ฝ่ายบริหารและพนักงานเข้าร่วมการประชุมประจำเดือน เพื่อกำหนดกิจกรรม ด้านความปลอดภัย จัดการข้อร้องเรียนหรือข้อแนะนำ และกำหนดมาตรการแก้ไข
  • จัดตั้งคลินิกความปลอดภัยพร้อมทีมงานอาสาสมัครเพื่อสร้างวัฒนธรรม ด้านความปลอดภัย มีระบบการร้องเรียนทางเอกสาร โทรศัพท์ อีเมล แอปพลิเคชัน LINE และช่องทางพิเศษเพื่อรายงานปัญหาสุขภาพขณะปฏิบัติงาน
มาตรการเพิ่มเติม
  • ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงปี พ.ศ. 2564 ตามมาตรฐานความปลอดภัยในการ ทำงานในที่สูง การทำงานพื้นที่เสี่ยงอันตราย รวมถึงการประเมินความเสี่ยง จัดทำคู่มือความปลอดภัย การปรับวิธีการทำงาน และจัดหาชุดอุปกรณ์ป้องกัน ส่วนบุคคล
  • มีบริการจัดส่งพนักงานที่ไม่สามารถขับรถได้ โดยสามารถขอเบิกค่าใช้จ่ายคืนจาก บริษัทผ่านหัวหน้างาน
  • พัฒนาขั้นตอนการจัดการยกของอย่างปลอดภัยและการฝึกอบรมความปลอดภัย ในการยกสินค้า
  • ปรับปรุงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยการติดตั้งป้ายเตือน นำอุปกรณ์ ความปลอดภัยมาใช้ และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
สุขภาพ และความปลอดภัยของคู่ค้า และผู้รับเหมา
  • อุบัติเหตุในคลังเก็บ สินค้า (เช่น อุบัติเหตุ จากการยกของ)
  • อุบัติเหตุจากการขนส่ง (เช่น อุบัติเหตุทางถนน สภาพยานพาหนะ ที่ไม่พร้อมใช้งาน และ การตกจากยานพาหนะ)
ความเสี่ยงด้านสุขภาพ และความปลอดภัย ที่อาจ เกิดขึ้นเหล่านี้อาจละเมิด สิทธิมนุษยชนของคู่ค้า และผู้รับเหมา:
  • สิทธิในการมีชีวิต
  • สิทธิที่จะได้รับสภาพ การทำงานที่เป็นธรรม และเหมาะสม
  • สิทธิในการได้รับ ค่าครองชีพตาม มาตรฐานที่เพียงพอ
  • สิทธิด้านสุขภาพ
กลุ่มเสี่ยง:
  • สตรี แรงงานข้ามชาติ กลุ่ม LGBTQI+ ผู้พิการ
นโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติ
  • นโยบายสิทธิมนุษยชนของไทยเบฟให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ด้านความปลอดภัย สุขภาพในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับสูงตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (เช่น OHSAS 18001 และ ISO 45001)
  • มาตรฐานการจัดซื้อที่ประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงานของคู่ค้า ตามเกณฑ์ของไทยเบฟที่ระบุไว้ใน “จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ” และ “แนวทางปฏิบัติ สำหรับคู่ค้า”
  • จัดทำนโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อสร้างการ มีส่วนร่วม การตระหนักถึงความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ระเบียบปฏิบัติ และการดำเนินงาน
  • วิเคราะห์และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัย
  • บริหารจัดการคู่ค้าและผู้รับเหมาอย่างเข้มงวดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการ ความปลอดภัย ได้แก่ การตรวจวัดแอลกอฮอล์ การตรวจสุขภาพพนักงาน ขับรถก่อนขนส่ง การบำรุงรักษายานพาหนะ และการตรวจสอบจำกัดความเร็ว ผ่านแอปพลิเคชัน TOMs
  • ทีมความปลอดภัยของบริษัททำการตรวจสอบความปลอดภัยที่สถานที่ทำงาน ทุกแห่งเป็นประจำ
  • พนักงานของคู่ค้าต้องได้รับการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล คู่มือความปลอดภัย และการฝึกอบรม เช่น ฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้ เครื่องจักรและการขับขี่อย่างปลอดภัย รวมถึงอบรมการใช้อุปกรณ์ความ ปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร และเพื่อความปลอดภัยในการ ทำงานที่สูงและการทำงานกับเครื่องจักร
  • ประสานงานเพื่อเตรียมการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีที่เกิดการ ระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
  • จัดตั้งคลินิกความปลอดภัยพร้อมทีมงานอาสาสมัครเพื่อสร้างวัฒนธรรมด้าน ความปลอดภัย มีระบบการร้องเรียนทางเอกสาร โทรศัพท์ อีเมล แอปพลิเคชัน LINE และช่องทางพิเศษเพื่อรายงานปัญหาสุขภาพขณะปฏิบัติงาน
มาตรการเพิ่มเติม
  • มีบริการจัดส่งพนักงานที่ไม่สามารถขับรถได้ โดยสามารถขอเบิกค่าใช้จ่ายคืน จากบริษัทผ่านหัวหน้างาน
  • พัฒนาขั้นตอนการจัดการยกของอย่างปลอดภัยและการฝึกอบรม ความปลอดภัยในการยกสินค้า
  • ปรับปรุงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยการติดตั้งป้ายเตือน นำอุปกรณ์ ความปลอดภัยมาใช้ และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ไทยเบฟมุ่งมั่นทบทวนกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี หรือในเว็บไซต์ของไทยเบฟ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายสามารถรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผ่านช่องทางตามด้านล่าง บริษัทจะติดตามข้อมูลเหล่านี้และจัดทำ แผนและดำเนินการแก้ไขที่จำเป็นเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
การเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น
เมื่อจำเป็นไทยเบฟจะออกแบบและดำเนินการทั้งมาตรการ การแก้ไขและการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นและที่อาจ เกิดขึ้นจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ในปี 2567 ไทยเบฟได้รับ รายงานกรณีล่วงละเมิดหนึ่งราย ซึ่งประกอบด้วยการละเมิด ทางวาจาและทางกาย บริษัทได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ข้อเท็จจริงทันทีที่ทราบเรื่อง เปิดโอกาสให้ชี้แจงและแสดง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยปราศจากอคติ สร้าง ความโปร่งใส โดยแจ้งกระบวนการดำเนินการต่าง ๆ ให้ผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียรับทราบเป็นระยะและสรุปผลการพิจารณา ลงโทษทางวินัยให้รับทราบ เปิดโอกาสให้พนักงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อุทธรณ์คำวินิจฉัยภายใน 15 วัน ผู้บริหารระดับสูงได้ให้ความเชื่อมั่น หากมีเหตุการณ์อื่นใดภายหลังที่อาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญ กระทบกระเทือนจิตใจ หรือถูกคุกคามให้พนักงานแจ้งข้อมูล ผู้ที่เกี่ยวข้องและรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงได้โดยตรง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้ติดตามและสอบถามพนักงานถึง สภาพจิตใจ และความต้องการอื่นใด เพื่อลดความวิตกกังวล ให้พนักงานสามารถกลับมาปฏิบัติงานได้ตามปกติ
เสรีภาพในการสมาคม
พนักงานของเราทั้งหมด ได้รับการคุ้มครองโดย คณะกรรมการสวัสดิการที่ได้รับการเลือกตั้งจาก พนักงานเอง รวมถึงสหภาพแรงงานและตัวแทนพนักงาน ซึ่งช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และส่งเสริมความสามัคคีในหมู่พนักงานโดยยึดหลัก ความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ตัวแทนพนักงาน ทำหน้าที่เป็นผู้พูดแทนในการเจรจาและสนับสนุนสวัสดิการ พนักงานภายในองค์กร ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และ ความคิดเห็นกับฝ่ายบริหารในเรื่องสวัสดิการพนักงาน และดูแลการดำเนินการโครงการสวัสดิการ แนวทางนี้ ส่งเสริมความสัมพันธ์แรงงานที่แข็งแกร่งและความเข้าใจที่ดี ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการพัฒนา สวัสดิการพนักงานและสภาพการทำงาน อีกทั้งยังเสริมสร้าง หลักการประชาธิปไตยและเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ผลลัพธ์ของการริเริ่มความสัมพันธ์แรงงานเหล่านี้สามารถ เห็นได้จากการที่ไทยเบฟ ได้รับรางวัลด้านแรงงานสัมพันธ์ ดีเด่นมาอย่างต่อเนื่อง
โครงการสำคัญ
การจ้างงานผู้พิการ
ไทยเบฟส่งเสริมการจ้างงานผู้พิการโดยตรงตามมาตรา 33 และการส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพผ่านการใช้สิทธิประโยชน์ ตามมาตรา 35 โดยยกเลิกการสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมการ พัฒนาผู้พิการตามมาตรา 34 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม ทั้งการจ้างงานและสนับสนุนรายได้ของผู้พิการ

ในปี 2567 กลุ่มไทยเบฟจ้างงานผู้พิการ ทั้งสิ้น 475 คน โดยแบ่งประเภทตามดังนี้

การจ้างงานโดยตรง
  • มีผู้พิการ 77 คนที่ได้รับการจ้างงานโดยตรงจากกลุ่มบริษัทไทยเบฟ
  • มีพนักงานพิการ 53 คนรวมถึงครอบครัวได้รับโอกาส ในการจ้างงาน
  • มีผู้ถูกจ้างงาน 31 คนที่ได้รับการจ้างงาน ในโครงการฝึกอาชีพต่าง ๆ เช่น การค้าปลีก การเลี้ยงวัว และการขายเสื้อผ้า
การจ้างงานผ่านมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation Foundations)
  • มีผู้พิการ 112 คน ได้รับการจ้างงานผ่านบริการตามสัญญาใน แผนกต่าง ๆ
  • มีผู้พิการ 75 คน ได้รับการจ้างงานในโครงการฝึกอาชีพ
  • มีผู้พิการทางสายตา 52 คน ได้รับการจ้างเป็น หมอนวดแผนไทย เพื่อให้บริการนวดผ่อนคลายแก่พนักงานของกลุ่มไทยเบฟ ในปี 2567 ได้ขยายบริการไปที่อาคารสำนักงานอื่น เช่น อาคาร ซี ดับเบิลยู ทาวเวอร์ และ อาคาร ไทยเบฟ ควอเตอร์ มีการจัด โรดโชว์เพื่อส่งเสริมการนวดโดยผู้พิการทางสายตา
SABECO (กลุ่มธุรกิจเบียร์ในประเทศเวียดนาม): ให้ความรู้เรื่องความรุนแรงในครอบครัว
ซาเบโก้จัดฝึกอบรมพนักงานเพื่อแก้ไขปัญหาความรุนแรง เรามุ่งมั่นในการปกป้องสวัสดิภาพและสิทธิมนุษยชนของ ในครอบครัว ส่งเสริมการสื่อสารภายในครอบครัว เพื่อสร้าง พนักงาน คณะกรรมการประสานงานในสถานที่ทำงานมีบทบาท สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี การอบรมนี้จะช่วยเพิ่มความ สำคัญในการส่งเสริมผลประโยชน์ของพนักงานและการปฏิบัติ ตระหนักรู้ สอนพนักงานให้สามารถสังเกตสัญญาณของความ ตามกฎหมายแรงงาน โดยมีตัวแทนจากทั้งฝ่ายบริหารและ รุนแรงในครอบครัว สนับสนุนให้พนักงานสามารถช่วยเหลือ ฝ่ายแรงงานร่วมสนทนาประเด็นต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขการจ้างงาน, เพื่อนร่วมงานที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัว
หัวข้อสำคัญของการศึกษาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว:
  • การทำความเข้าใจความรุนแรงในครอบครัว
  • การสังเกตสัญญาณเตือน
  • ผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัว
  • การป้องกัน
  • กฎหมายและการสนับสนุน
  • การสร้างความยืดหยุ่นและเสริมสร้างพลังให้กับตัวเอง
F&N (สิงคโปร์) งานเทศกาลครอบครัว TOUCH 2024
F&N รู้สึกภูมิใจที่ได้เข้าร่วมเทศกาลครอบครัว TOUCH ที่จัดขึ้นที่ สวนการ์เดนส์บายเดอะเบย์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2567 ในฐานะ ส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาเยาวชน ผ่านการสนับสนุน แพ็กเกจ “เดินไปกับฉัน” (Walk with Me) สำหรับศูนย์เยาวชน นอกจากนี้ ICE MOUNTAIN น้ำดื่มภายใต้ F&N ได้เป็นผู้สนับสนุน น้ำดื่มให้กับผู้ร่วมงาน ด้วยการร่วมมือกับหน่วยงานบริการชุมชน TOUCH และนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ส่งผลให้สามารถ สร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องได้
GRG (กลุ่มธุรกิจสุราในประเทศเมียนมา): คณะกรรมการ ประสานงานในสถานที่ทำงาน
เรามุ่งมั่นในการปกป้องสวัสดิภาพและสิทธิมนุษยชนของ ในครอบครัว ส่งเสริมการสื่อสารภายในครอบครัว เพื่อสร้าง พนักงาน คณะกรรมการประสานงานในสถานที่ทำงานมีบทบาท สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี การอบรมนี้จะช่วยเพิ่มความ สำคัญในการส่งเสริมผลประโยชน์ของพนักงานและการปฏิบัติ ตระหนักรู้ สอนพนักงานให้สามารถสังเกตสัญญาณของความ ตามกฎหมายแรงงาน โดยมีตัวแทนจากทั้งฝ่ายบริหารและ รุนแรงในครอบครัว สนับสนุนให้พนักงานสามารถช่วยเหลือ ฝ่ายแรงงานร่วมสนทนาประเด็นต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขการจ้างงาน, เพื่อนร่วมงานที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัว สุขภาพและความปลอดภัย และสวัสดิการ
ความสำเร็จ
  • ในปี 2567 พื้นที่ปฏิบัติงานของไทยเบฟ ทั้งหมดรวม 1,042 แห่ง ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 5.76 ของสถานที่ปฏิบัติงาน (60 แห่งจาก 1,042 แห่ง) พบว่ามีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นสำคัญลดลง จากร้อยละ 16.41 ในปี 2566
  • ในปี 2567 พบประเด็นสิทธิมนุษยชนสองประเด็น (สุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานและคู่ค้า/ผู้รับเหมา) ซึ่งลดลงจากปี 2566
  • ในปี 2567 กิจการร่วมค้าของไทยเบฟทั้งหมด 8 แห่ง ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • ในปี 2567 ไม่มีกิจการร่วมค้าใดถูกระบุว่ามีความเสี่ยงด้านสิทธิ มนุษยชนในประเด็นสำคัญสูง อย่างไรก็ตาม บริษัทมีมาตรการ บรรเทาและติดตามความเสี่ยงในกิจการร่วมค้าทุกแห่ง
ก้าวสู่ อนาคต
ไทยเบฟตั้งเป้าหมายในการเป็นผู้นำมาตรฐานในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เราจึงมุ่งมั่นที่ จะดำเนินกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ เรายังได้ ตั้งเป้าหมายระยะยาวในการลดเหตุการณ์การเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เป็นศูนย์