หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การพัฒนาชุมชนและสังคม
ไทยเบฟมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนา อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับ ชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วม ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนาชุมชน และสังคม เพื่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ตามหลักการ “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข” โดยเป็น ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการตนเอง ได้อย่างยั่งยืน ตอกย้ำพันธกิจของไทยเบฟในการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต”
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว
นับเป็นปีที่ 25 แล้วที่ไทยเบฟผสานความร่วมมือกับกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และเครือข่าย พันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งมอบ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” (Eco Friendly Blanket) แก่ผู้ประสบภัยหนาว ซึ่งเป็นการตอกย้ำ แนวคิด Beyond the green blanket… a sustainable community of giving “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคม แห่งการให้ที่ยั่งยืน”

นอกจากนี้ยังสามารถนำขวดพลาสติก PET จำนวนปีละ 7,600,000 ขวด กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อจะนำมาผลิต ผ้าห่มได้มากถึง 200,000 ผืนต่อปี จนถึงปัจจุบันโครงการได้ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ที่สามารถนำขวดพลาสติก PET กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้แล้วทั้งสิ้น 38,400,000 ขวด และได้ถักทอความอบอุ่นมาเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” และส่งมอบไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวแล้วได้มากถึง จำนวน 1,000,000 ผืน

โครงการสำคัญ

โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม
ชุมชนดีมีรอยยิ้ม เป็นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนควบคู่กับการ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม ขับเคลื่อนโดยใช้พื้นที่ เป็นตัวตั้ง (Area-based) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมพัฒนาให้เกิดโครงการต่าง ๆ โดยดำเนินการใน 3 กลุ่มงาน ประกอบด้วย เกษตร แปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยชุมชนให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตลอด 6 ปี ที่ผ่านมา โครงการดำเนินงานในพื้นที่ 32 จังหวัด และสร้างรายได้สู่ชุมชนทั้งสิ้น 83,698,272 บาท มีผู้ได้รับ ผลประโยชน์ 3,122 ราย ใน 105 ชุมชน โดยในปี 2567 สามารถ สร้างรายได้ให้ผู้ได้รับผลประโยชน์ 18,219,775 บาท

พื้นที่ตัวอย่างการดำเนินงานชุมชนดีมีรอยยิ้ม นครศรีธรรมราช โครงการ Market Hub สร้างตลาดครบวงจร
ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ชุมชนประสบปัญหาจำหน่าย ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้ เพราะการปิดตัวของตลาดทุกแห่ง โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มภาคใต้จึงรวมกลุ่มรวบรวมข้อมูลสินค้า ทำการตลาดทั้งออนไลน์และออกบูธเพื่อสร้างตลาด ให้ชุมชนได้เรียนรู้ และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ เช่น ระบบการขนส่งสินค้า การคำนวณต้นทุน และการจัดบทบาทหน้าที่ของชุมชน

จากผลการดำเนินงานดังกล่าวสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน 314,627 บาท มีผู้ได้รับผลประโยชน์ 181 ครัวเรือน ใน 18 ชุมชน โดยช่วยขยายช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น ส้มโอทับทิมสยาม มะละกอ มังคุด ฝรั่งกิมจู ผักเหรียง สะตอ ฯลฯ เข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด ได้แก่ แม็คโคร และท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกต
ชุมชนดีมีรอยยิ้ม นนทบุรี โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ธนาคารขยะประกันชีวิต
อำเภอบางกรวย เป็นพื้นที่การขยายตัวของเมือง มีปัญหาขยะล้น ชุมชน เพราะไม่มีระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชุมชนจึงรวมกลุ่มทำโครงการศูนย์เรียนรู้ ธนาคารขยะประกันชีวิต ส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ในครัวเรือน โดยนำขยะที่มีมูลค่าไปขายให้โครงการฯ ทำให้สมาชิกมีรายได้จาก การขายขยะ ซึ่งผลกำไรที่ได้นำมาจัดสรรสวัสดิการให้กับสมาชิก

สมาชิกโครงการศูนย์เรียนรู้ธนาคารขยะประกันชีวิต จำหน่ายขยะ สร้างรายได้ เฉลี่ยปีละ 1,000,000 บาท มีผู้ได้รับผลประโยชน์ 527 ราย มีจุดรับซื้อ-ขายขยะ 11 แห่ง สามารถลดปริมาณขยะในชุมชนได้ มากกว่าเดือนละ 10 ตัน หรือปีละ 120 ตัน โดยพัฒนาต่อยอดสร้าง โรงเรือนคัดแยกขยะ เป็นศูนย์กลางรวบรวมขยะก่อนนำไปจำหน่าย ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ก่อให้เกิดการพัฒนา ระบบสวัสดิการของชุมชนเรื่องการรักษาพยาบาล ทำให้เกิดสังคมที่ ดูแลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

โครงการร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม (จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์)
โครงการร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม เป็นช่องทางการตลาดเพื่อจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ทาง LINE@ ร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม โดยมีการจัดการอย่างเป็นระบบและสร้าง กระบวนการเรียนรู้เรื่องทักษะการขาย อีกทั้งได้ขยายผลสู่การนำ สินค้ามาจำหน่ายในงานออกร้านต่าง ๆ ปัจจุบันสร้างรายได้ให้ชุมชน 179,979 บาท มีสมาชิกผู้ได้รับผลประโยชน์ 975 ราย จาก 18 ชุมชน

โครงการเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม
ไทยเบฟร่วมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แบ่งปันคุณค่า ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายคือ “สร้างรายได้ ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข” ซึ่งได้จัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี คุณธีรวัฒน์ คุณะปุระ วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด หรือบริษัทส่วนกลาง ที่ทำ หน้าที่ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอุดรธานี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ในรูปแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) 76 แห่ง

ตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี เครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจ เพื่อสังคม ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานชุมชนรวม 1,698 โครงการ ของ 3 กลุ่มงาน ประกอบด้วย เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยว โดยชุมชน สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนไปแล้วกว่า 2,601 ล้านบาท สร้างงานให้ประชาชนกว่า 136,278 ครัวเรือนใน 5,015 ชุมชน โดยในปี 2567 ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 460 ล้านบาท นับเป็น ความสำเร็จในการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับชุมชน
กลุ่มงานเกษตร : โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด สถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สถานบริการ สาธารณสุขให้บริการอาหารปลอดภัยแก่ผู้ป่วยไปพร้อม ๆ กับการ สร้างรายได้ให้ชุมชน โดยนับแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีเครือข่าย ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดเข้าร่วม 41 จังหวัด มีโรงพยาบาลเข้าร่วม 53 แห่ง สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกว่า 353 ล้านบาท

กลุ่มงานแปรรูป : โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย
โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี 2559 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้ และเปลี่ยนมุมมอง ของกลุ่มผู้บริโภคต่อผ้าขาวม้า สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการผลิตให้แก่ชุมชน มุ่งเน้นการสร้างภูมิปัญญา การทอผ้าขาวม้า เพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น สร้างความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมเรื่องเส้นใยและ สีธรรมชาติ ทั้งกระบวนการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ิ

ปัจจุบันมีชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือเข้าร่วมโครงการ จำนวน 39 ชุมชน จาก 30 จังหวัด มีผู้ได้รับผลประโยชน์ 1,561 ราย สร้างรายได้รวมกว่า 279 ล้านบาท
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบสาน รักษา ต่อยอด
กลุ่มงานท่องเที่ยวโดยชุมชน : โครงการท่องเที่ยว โดยชุมชนตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2563 เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนเดินทางไปเรียนรู้ ประวัติ วัตรปฏิบัติอันงดงาม รวมถึงธรรมะคำสอนขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตามเส้นทางที่ท่านเคยจาริกไป 36 หมุดหมาย ใน 12 จังหวัด โดยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ตามหลักการ “บวร” และพัฒนาเป็นบริษัทวิสาหกิจชุมชนที่มี เป้าหมายเพื่อให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งจะสร้าง รายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมในปี 2566 ซึ่งขยายผลไปยังเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ การจัดพิมพ์หนังสือ “ตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต” เพื่อเผยแผ่ เป็นธรรมทาน มีเนื้อหา คือ ประวัติ ธรรมะคำสอนขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, การจัดกิจกรรมธรรมะออนทัวร์ ปีที่ 13 “สุขในงาน เบิกบาน ในหัวใจ” ในรูปแบบการปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจ ในการปฏิบัติงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 4, งานน้อมรำลึกคล้ายวันมรณภาพ ปีที่ 73 องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิราวาส บ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และงานอริยะบูชา 154 ปี ชาตกาล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดศรีบุญเรือง บ้านคำบง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี, วัดบรมนิวาส และวัดปทุม วนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

โครงการการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นฐาน หรือ Community Based Disaster Risk Management (CBDRM)
ไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็ง ของชุมชนในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย โดยให้ชุมชนเป็น ศูนย์กลางและมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดแนวทางในการ ดำเนินการป้องกัน แก้ไข บรรเทา รวมถึงฟื้ นฟูเมื่อต้องประสบ ภัยพิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงภัยของชุมชนและเพิ่มขีดความ สามารถของชุมชนในการรับมือภัยพิบัติด้วยตนเอง ก่อนที่ หน่วยงานภายนอกจะเข้าไปช่วยเหลือ

ไทยเบฟสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเป็นการร่วมมือกันของ ทั้งชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งในปี 2567 มีชุมชน เข้าร่วมโครงการ 2 พื้นที่ คือ ชุมชนบ้านห้วยขาบ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน (กรณีดินโคลนถล่ม) และชุมชนปทุมนิเวศน์ อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (กรณีแผ่นดินไหว และฝึกอบรม อีกครั้งกรณีไฟป่าและหมอกควัน PM2.5)

ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ปี 2567 นั้น เกิดปัญหา อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไทยเบฟจึง ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและภาคีเครือข่าย ในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยสนับสนุนน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหาร ผ้าห่ม และเครื่องนุ่งห่ม แก่ผู้ประสบภัยใน 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก หนองคาย บึงกาฬ นครพนม ขอนแก่น และกรุงเทพฯ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 4,158,013 บาท

ในประเทศเวียดนาม มีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยสำหรับครู โดยได้รับการสนับสนุนจาก C asean และโรงเรียนประถมศึกษาซอนลาม อำเภอเฮืองซอน จังหวัดฮาตินห์ การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคมถึง พฤศจิกายน 2566 โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความพร้อมให้กับ ครูในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้วยการเพิ่มพูน ความรู้และทักษะที่จำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกคนในพื้นที่ โรงเรียนจะปลอดภัย ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนจำนวน 290 คนในพื้นที่ดังกล่าว