หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
เนื่องจากลูกค้ามีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ไทยเบฟจึงให้ความสำคัญ อย่างยิ่งในการเข้าใจและตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ด้วยความมุ่งมั่นที่จะค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในทุกกลุ่ม

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับความยั่งยืนในการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ไทยเบฟได้ริเริ่ม ดำเนินโครงการต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า นอกจากนี้ ยังสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำ ทุกปีผ่านองค์กรภายนอก เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการ ปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งมุ่งมั่นปฏิบัติตามหลักจริยธรรมทางการตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้บริโภคทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
แนวทางการบริหารจัดการ
การเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของไทยเบฟและ เป็นส่วนสำคัญในความร่วมมือระหว่างบริษัทและตัวแทนขาย เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจร่วมกันอย่างมั่นคง ไทยเบฟมุ่งมั่นสร้าง ความสัมพันธ์ระยะยาวกับตัวแทนขาย พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ รวมทั้งยังได้พัฒนาเป็นโปรแกรมความภักดี (Loyalty Program) รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับตัวแทนขาย และลูกค้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนและให้คำแนะนำผู้สืบทอดธุรกิจรุ่นต่อไป เพื่อให้สามารถ ดำเนินธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์
ไทยเบฟมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับลูกค้า (B2B) และผู้บริโภค (B2C) เพื่อสร้างความภักดีต่อตราสินค้าและการมี ส่วนรวม โดยพันธกิจ PASSION 2030 มุ่งเน้นกลยุทธ์สองแนวทาง ได้แก่ การเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพและดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อน การเติบโต ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไทยเบฟได้ดำเนินโครงการ ต่าง ๆ ดังนี้

ThaiBev’s PASSION 2030 focuses on two strategic trusts: leveraging digital platform for growth, and achieving competitive reach. To ensure attainment of those two thrust, the company has launched various initiative including
  • สนับสนุนตัวแทนขายและผู้ค้าปลีกในการพัฒนาทักษะ การจัดการดิจิทัล
  • จัดประชุมตัวแทนขายเป็นประจำทุกปีเพื่อปรับปรุง ข้อมูลทางธุรกิจและแนวโน้มตลาดให้ทันสมัยรวมถึงประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
  • วางแผนธุรกิจประจำปีร่วมกับลูกค้ารายสำคัญ
เป้าหมาย
รักษาคะแนนความพึงพอใจ ของผู้บริโภคไว้ที่ร้อยละ
95%
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานในต่างประเทศ
โครงการสำคัญ
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าของ บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย)
F&N ได้ร่วมมือกับ Makro HoReCa จัดงานแสดงสินค้าประจำปี ขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอตราสินค้าและผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ซึ่งงานดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับทั้งกลุ่มลูกค้า และผู้บริโภค ความร่วมมือดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ F&N ในการขยายการเข้าถึงตลาดและเสริมสร้างศักยภาพ ในตลาดประเทศไทย พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการสร้างเครือข่าย และโอกาสทางธุรกิจให้แก่มืออาชีพในภาคธุรกิจบริการอาหาร และร้านค้าปลีก

F&N ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับ ผู้บริโภคอย่างครบวงจร โดยมีเป้าหมายสร้างความผูกพันระยะยาว ผ่านการผสมผสานระหว่างการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการ บริหารจัดการธุรกิจ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถ สร้างธุรกิจที่ยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับ ตราสินค้าของเรา เช่น การฝึกอบรมการใช้ผลิตภัณฑ์ Teapot ในการทำเครื่องดื่มและอาหาร ที่งาน Makro HoReCa และ Other Modern Track (OMT) เพื่อเพิ่มทักษะและความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน

แผนพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ (ออนไลน์): FLOW แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อขยายการเติบโต

แอปพลิเคชัน FLOW เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยลดความยุ่งยาก ในการสั่งซื้อสินค้าสำหรับผู้ค้าปลีก ด้วยการปรับปรุงให้ กระบวนการที่ซับซ้อนและมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาด มีความเรียบง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าปลีกไม่ต้อง พึ่งพาการสั่งซื้อด้วยตัวเองหรือรอให้ตัวแทนขายมาเติมสินค้า อีกต่อไป แต่สามารถเลือกดูผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เลือกสินค้า และสั่งซื้อได้โดยตรงผ่านอุปกรณ์มือถือทุกที่ทุกเวลา ซึ่งช่วยให้ ผู้ค้าปลีกบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถ ติดตามระดับสต๊อกสินค้า ตรวจสอบสถานะคำสั่งซื้อ และกำหนด เวลาการจัดส่งให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจ พร้อมกับลดความเสี่ยงจากสินค้าขาดตลาดหรือล้นตลาด

FLOW ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าปลีกเข้าถึงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ล่าสุดของไทยเบฟได้โดยตรง พร้อมกับก้าวนำหน้าแนวโน้ม ตลาดและมีสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง FLOW ยังนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ใหม่ สินค้ารุ่นพิเศษ หรือผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาล ที่ช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถเพิ่มตัวเลือกใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ อย่างรวดเร็ว

นอกเหนือจากประโยชน์ด้านการดำเนินงานแล้ว FLOW ยังช่วย เสริมสร้างการเติบโตของผู้ค้าปลีกด้วยข้อมูล รวมถึงโปรโมชัน ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละราย ผู้ค้าปลีกสามารถ เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสินค้ายอดนิยม แนวโน้มตามฤดูกาล และความต้องการของลูกค้า ซึ่งช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อ สินค้าได้อย่างชาญฉลาดและตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ โปรโมชันที่นำเสนอผ่าน FLOW ยังช่วยให้ผู้ค้าปลีก สร้างผลกำไรเพิ่มขึ้น จากส่วนลดและข้อเสนอพิเศษที่ช่วยกระตุ้น ยอดขายของผู้ค้าปลีก

FLOW ช่วยให้ผู้ค้าปลีกเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดต้นทุน และขยายศักยภาพทางธุรกิจ ผ่านการสั่งซื้อสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการด้านการเงินและข้อมูลเชิงลึก ิ

สำหรับไทยเบฟ FLOW ถือเป็นช่องทางสำคัญในการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้ค้าปลีก ช่วยให้เข้าถึงผู้ค้าปลีกได้โดยตรง และยังช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับปรับเปลี่ยนโปรโมชันให้มีความเหมาะสมและสอดคล้อง กับแนวโน้มตลาดได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อโดยตรงผ่าน FLOW ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าและ การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ช่วยให้สามารถผลักดันการเติบโต ของยอดขายและสร้างความภักดีในกลุ่มผู้ค้าปลีกได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยรวมแล้ว FLOW ช่วยให้ทั้งไทยเบฟและผู้ค้าปลีกได้รับ ประโยชน์ในหลายด้านผ่านการส่งเสริมความร่วมมือที่เชื่อมโยง กันอย่างใกล้ชิดและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล อีกทั้งยังสนับสนุน การเติบโตของธุรกิจผู้ค้าปลีก พร้อมทั้งช่วยให้ไทยเบฟยกระดับ การให้บริการและเสริมสร้างความผูกพันกับลูกค้า สร้างคุณค่า ให้ทั้งสองฝ่ายในตลาดเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันสูง


แผนพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ (ออฟไลน์)
การกระจายสินค้าด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่ง (Reach Competitively)
ไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาโปรแกรมการดำเนินงานด้านการขาย โดยทำงานร่วมกับตัวแทนขายอย่างใกล้ชิดในฐานะพันธมิตร ทางธุรกิจ เพื่อติดตามการเติบโตของยอดขายและผลกำไร บริษัทได้จัดหลักสูตร Agent Development Program with ThaiBev (ADEPT) หรือหลักสูตรการพัฒนาตัวแทนขาย ในหลาย ๆ ด้าน

ตัวแทนขายหน่วยรถเงินสด
ทีมพัฒนาตัวแทนขายหน่วยรถเงินสดเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนตัวแทนขายในช่องทางการขายแบบหน่วย รถเงินสดให้สามารถดำเนินธุรกิจอย่างมีกำไร โดยมีเป้าหมาย ในการเพิ่มยอดขายต่อคันให้ถึง 1.5–2 ล้านบาทต่อเดือน ผ่านความถี่ ในการเยี่ยมร้านค้า ความมีประสิทธิภาพในการเข้าพบลูกค้า และปิดการขาย รวมถึงรายได้ต่อบิล ซึ่งในระยะแรกทีมพัฒนา เน้นใช้การเก็บข้อมูลแบบแมนนวลโดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ การกระจายสินค้าและร้านค้าที่เปิดใช้งาน

ปัจจุบันบริษัทเน้นการให้ ความสำคัญต่อการกระจายสินค้าและร้านค้าที่เข้าร่วม เพื่อเสริม ประสิทธิภาพพื้นที่การขาย ซึ่งส่งผลให้แนวทางการดำเนินงาน ของทีมพัฒนาในปี 2568 จะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบเพื่อการ เก็บข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากกระบวนการดังต่อไปนี้
สื่อสารกับตัวแทนขาย: เพื่อให้ตัวแทนขายสามารถป้อนข้อมูลการขายได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
ประสานงานกับตัวแทนขายและทีมสนับสนุน: โดยใช้ข้อมูลจากระบบ B-Plus ซึ่งเป็นระบบที่ไทยเบฟพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยตัวแทนขายในการจัดการธุรกิจ
สร้างฐานข้อมูลทีม: พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และประเมินการกระจายสินค้าและร้านค้าที่เข้าร่วม

ผลการดำเนินโครงการตัวแทนขายหน่วยรถเงินสดปี 2567
  • ตัวแทนขายหน่วยรถเงินสดเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 29 ราย
  • ยอดขายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปี 2566
  • จำนวนร้านค้าที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปี 2566

การบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง
ตรวจนับสินค้า (Counter Stock) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยตรวจนับสินค้าให้มีความแม่นยำเหมาะสำหรับการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยมีจุดเด่นดังนี้
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต๊อกสินค้า ลดภาระงานและลดความผิดพลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้ข้อมูลที่แม่นยำ ช่วยให้สามารถติดตามสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
  • ระบบอินเทอร์เฟซใช้งานง่ายและเข้าถึงได้ผ่านแท็บเล็ต
  • ปรับปรุงการบริหารจัดการคลังสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • ลดความเสี่ยงในการสูญเสียสินค้า

การขนส่ง (Logistic)
  • การจัดการรถขนส่งเที่ยวเปล่า: เที่ยวเปล่าหลังการขาย (Agent Backhaul) ช่วยให้ตัวแทนขาย สามารถรับสินค้าจากคลังสินค้าของไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก (TBL) โดยตรงหลังจากส่งสินค้าให้ตัวแทนขายย่อยเสร็จสิ้น ซึ่งช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ของยานพาหนะของตัวแทนขาย และสร้างรายได้เพิ่มเติมให้ผู้ขับรถขนส่งสินค้า นอกจากนี้ ระบบนี้ยังช่วยให้ตัวแทนขายสามารถวางแผนการใช้น้ำมันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น และลดความจำเป็นในการใช้แรงงานเพิ่มเติม
  • การส่งสินค้าตรงถึงตัวแทนขาย: การขนส่งสินค้าโดยตรงจาก โรงงานผลิตถึงตัวแทนขายช่วยลดระยะเวลาในการขนส่ง เมื่อเทียบกับกระบวนการขนส่งสินค้ามาตรฐาน รวมทั้งช่วย ให้ตัวแทนขายได้รับสินค้าที่มีความสดใหม่มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โครงการ “Bring Back Home” ยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนขาย สามารถรวบรวมขวดใช้แล้วจากลูกค้า พร้อมกับนำไปขายกลับ ให้ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล (TBR) เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมด้วย
  • บัตร ThaiBev Fleet สำหรับตัวแทนขาย: ตัวแทนขายสามารถ สมัครเพื่อเข้าร่วมโครงการผ่านไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก เพื่อรับส่วนลดค่าน้ำมัน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และการดำเนินงานของตัวแทนขาย พร้อมทั้งลดความเสี่ยง จากการทุจริตในการเติมน้ำมัน
ระบบสนับสนุนด้านหลังบ้าน (Back-end System)
ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงในการขายผ่านหน่วยรถเงินสด เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในการดำเนินงานขายผ่านหน่วยรถเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งานในกรณีที่พบความผิดปกติของข้อมูล ซึ่งคุณสมบัติของระบบมีดังนี้
คุณสมบัติของระบบ:
  • การตรวจสอบใบแจ้งหนี้: เพื่อให้ใบแจ้งหนี้ที่บันทึกในระบบ การขายผ่านหน่วยรถเงินสดมีความถูกต้องและแม่นยำ
  • การติดตามและตรวจสอบการเบิกและคืนสินค้า: ติดตาม และตรวจสอบข้อมูลของกระบวนการเบิกและคืนสินค้าในระบบ การขายผ่านหน่วยรถเงินสด
  • การตรวจสอบการอนุมัติเอกสาร: ยืนยันความถูกต้องและ ความน่าเชื่อถือของการอนุมัติเอกสารในระบบการขาย ผ่านหน่วยรถเงินสด
  • การกระทบยอดข้อมูลกับระบบบัญชี: เปรียบเทียบและ ตรวจสอบข้อมูลกับระบบการจัดการบัญชีเพื่อความสอดคล้อง และถูกต้อง
ร้านโชคชัย
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม พร้อมทั้งพัฒนาระบบดิจิทัลให้กับห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้างความมั่นใจว่าร้านค้าปลีกสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด “ขายดี กำไรดี ความสัมพันธ์ดี”

ในปี 2567 จำนวนเจ้าของร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น 6,872 ราย ทำให้มีร้านค้าเข้าร่วมทั้งหมด 18,489 ราย ณ สิ้นปีงบประมาณ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังให้การสนับสนุนเครื่องมือ Point of Sales (POS) แก่เจ้าของร้านค้า 2,628 ราย โดยโครงการได้รับผลตอบรับ เชิงบวก เนื่องจากช่วยให้เจ้าของร้านค้าสามารถปรับปรุงการจัดแสดงสินค้า การจัดเรียงผลิตภัณฑ์ และการบริหารจัดการ สต๊อกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มยอดขายและกำไรที่สูงขึ้น

ก่อน - หลัง


การมีส่วนร่วมของผู้จำหน่ายและผู้บริโภคปลายทาง (B2C)
เพื่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภคปลายทาง กระตุ้นยอดขาย และดำเนิน กิจกรรมส่งเสริมการขาย เสริมสุขได้เปิดตัวช่องทางออนไลน์ แบบ B2C ที่นำเสนอประสบการณ์หลากหลายบนร้านค้าอย่างเป็น ทางการสำหรับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในชื่อ “Sermsuk Click” และบนแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ 4 แห่ง โดยผลการดำเนินงาน ในปี 2567 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ร้อยละ 380 พร้อมศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

การมีส่วนร่วมของคู่ค้าทางธุรกิจ (B2B)
“Chang Family” ครอบครัวช้าง บัญชี LINE Official “Chang Family” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยเบฟกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ กิจกรรมสะสมคะแนนที่สนับสนุนทีมขายในการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งในปี 2567 มีลูกค้าที่เชื่อมต่อกับ “Chang Family” จำนวนมากถึง 19,051 ราย

“Sermsuk Family” ครอบครัวเสริมสุข บัญชี LINE Official “Sermsuk Family” เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีสมาชิกมากกว่า 100,000 ราย ในปัจจุบัน โดยแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นช่องทาง สื่อสาร โปรโมชัน และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ รวมถึงเสริมสร้าง ความผูกพันกับคู่ค้าทางการค้า เช่น ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และลูกค้ารายใหญ

การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าในช่องทาง โมเดิร์นเทรด (CRM) ผ่าน Joint Business Plan (JBP)
โมเดิร์นเทรดได้จัดกิจกรรมการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ตลอดปี 2567 เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และความเข้าใจ เชิงลึกกับลูกค้ารายสำคัญ รวมทั้งขยายและรักษาโอกาสทางธุรกิจ

ความร่วมมือด้าน Joint Business Plan (JBP) กับ 7-11 ช่วยกำหนด ทิศทางธุรกิจร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือที่ดีระหว่างสองฝ่าย การเปิดตัว Chang Unpasteurized Beer ในขวดอะลูมิเนียม ครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2567 เป็นตัวอย่างที่ดี ของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ (NPD) ที่ทำให้เกิดการพูดถึงอย่าง กว้างขวาง

การประชุม Top-to-Top Meeting กับ CP Axtra (Makro & Lotus’s) เป็นการประชุมระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้งสององค์กร เพื่อกำหนดทิศทางและโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงการปรับปรุง กระบวนการทำงานร่วมกันเพื่อปลดล็อกศักยภาพของทั้งสองฝ่าย การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงช่วยผลักดันโครงการ เชิงพาณิชย์ เช่น การออกแบบ Festive Pack ของเบียร์ช้าง สำหรับจัดจำหน่ายที่ Lotus ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร เดือนมิถุนายน 2567 ิ

แผนธุรกิจประจำปีร่วมกับ Big C ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้าง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและเติบโตร่วมกัน ความร่วมมือ ในการเปิดตัว Siam Sapphire (ผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มสปิริต พรีเมียม) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ และการเพิ่มพื้นที่วาง สินค้าของ est จาก 0.5 เป็น 1 เบย์ ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือ ที่น่าประทับใจซึ่งช่วยสร้างการเติบโตร่วมกัน
ไทยเบฟได้ความพึงพอใจ จากลูกค้า
98%
F&N ได้ความพึงพอใจ จากลูกค้า
99%
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานในต่างประเทศ
ก้าวสู่อนาคต
เสริมสร้างการเข้าถึงตลาดด้วยเครือข่ายการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง
ไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้าและบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในทุกช่องทางการจัดจำหน่าย ด้วยการใช้เครือข่ายการกระจายสินค้าที่ครอบคลุม เชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ และมีความแข็งแกร่ง ไทยเบฟสามารถบริหารจัดการ ต้นทุน พร้อมทั้งส่งมอบบริการคุณภาพสูง ซึ่งช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันและเสริมสร้างการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ “ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเติบโต” (Digital for Growth)
ไทยเบฟให้ความสำคัญในการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะระบบการขายอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความคล่องตัว และความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ เรายังพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลล้ำสมัย เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และสนับสนุนการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ