ไทยเบฟได้ตั้งเป้าหมายในการลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายใน
ปี 2573 เพื่อขับเคลื่อนความพยายามในการลดความสูญเสียอาหาร
และขยะอาหาร โดยดำเนินการตามมาตรฐาน “การจัดลำดับชั้น
และการวัดปริมาณขยะอาหารและเครื่องดื่ม” (Mapping and
Measuring Food and Drink Waste) ของโครงการสิ่งแวดล้อม
แห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีการจัดวาง
ลำดับขั้นของวัสดุอาหารและเครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่การป้องกัน
การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ การรีไซเคิล การนำกลับมา
ใช้ใหม่ ตลอดจนถึงการกำจัด
ในปัจจุบัน การสูญเสียอาหารทั้งหมดภายในกลุ่มธุรกิจเบียร์ สุรา
และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยเบฟได้รับการจัดประเภท
ให้เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by-products) ที่มีมูลค่า ซึ่งสามารถ
นำไปใช้เป็นทรัพยากรในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ปริมาณความ
สูญเสียอาหารที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้
ลดลงเป็นศูนย์
ในกลุ่มธุรกิจอาหาร คณะทำงานด้านการจัดการความสูญเสียอาหาร
และขยะอาหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการและผู้จัดการร้านอาหาร
และโรงงานของกลุ่มธุรกิจอาหารที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเมื่อปลายปี
2563 เพื่อบริหารจัดการความสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่เกิดขึ้น
ในโรงงานผลิตและร้านอาหารของบริษัท โดยในช่วงปลายปี 2564
กลุ่มธุรกิจอาหารได้เริ่มความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น บริษัท
อาหารเสริม จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจรีไซเคิล จำกัด
และบริษัท ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการ
การจัดการความสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างครบวงจร
โครงการนี้ครอบคลุมทั้งการติดตามและการจัดการความสูญเสีย
อาหาร ขยะอาหาร และของเสียจากบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่โรงงานผลิต
ไปจนถึงร้านอาหาร และมีเป้าหมายหลักในการป้องกันไม่ให้เกิด
ความสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และป้องกันการนำไปกำจัด
ด้วยการฝังกลบ นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจอาหารยังได้ศึกษาหาโอกาส
สร้างรายได้จากการสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการนำไปบริจาคเพียง
อย่างเดียว
การสูญเสียอาหารและขยะอาหารมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีความหมาย
ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าความสูญเสียนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนใด
ในห่วงโซ่คุณค่า การสูญเสียอาหาร (Food Loss) เกิดจากปริมาณ
หรือคุณภาพของอาหารที่เสียหายในช่วงการเก็บเกี่ยว การขนส่ง
และการผลิต แต่ไม่รวมถึงขั้นตอนการจัดจำหน่าย ในขณะที่ขยะอาหาร
(Food Waste) นั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดจำหน่ายและการบริโภค
เป้าหมายข้อ 12.3 ของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
(SDGs) กำหนดให้ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารต่อหัว
(per capita) ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ดังนั้น เป้าหมายของ
ไทยเบฟในการลดขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายใน
ปี 2573 จึงถือได้ว่าเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจาก
จำเป็นต้องหาวิธีการใช้ประโยชน์จากการสูญเสียอาหารและ
ขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน ไทยเบฟ
ได้กำหนดกลยุทธ์หลายประการในกลุ่มธุรกิจทั้งสี่ เพื่อมุ่งลดปริมาณ
การเกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมถึงลดปริมาณของ
การสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่ถูกนำไปทิ้ง โดยกลยุทธ์ดังกล่าว
ประกอบด้วย โครงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความ
ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการลดขยะอาหาร และโครงการ
การนำอาหารที่สูญเสียและเหลือทิ้งไปจำหน่ายเพื่อแปรรูปและใช้
ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้ ไทยเบฟยังตั้งเป้าหมายทำงานร่วมกับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อติดตามลดการสูญเสียอาหาร
และขยะอาหารในห่วงโซ่คุณค่าอย่างสร้างสรรค์
ไทยเบฟได้จำแนกหมวดหมู่การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
ตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น โดยใช้ระบบต่าง ๆ ในการวัดปริมาณ อาทิ
ในกระบวนการผลิต การสูญเสียอาหารจะถูกรวบรวม ประเมิน
แบ่งประเภท และจัดเก็บ ก่อนที่จะจัดการ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถ
ติดตามรายละเอียดของการสูญเสียอาหารย้อนกลับไปในแต่ละ
ขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังใช้วิธีการอื่น ๆ
ในการวัดปริมาณการสูญเสียอาหาร เช่น การคำนวณความแตกต่าง
ของน้ำหนักรถบรรทุกเต็มและรถบรรทุกเปล่าระหว่างขั้นตอน
การขนส่ง ส่วนในขั้นตอนการจัดจำหน่ายปลีก ไทยเบฟได้ใช้วิธีการ
ชั่งน้ำหนักเศษอาหารที่ร้านอาหารแต่ละแห่ง พร้อมคำนวณปริมาณ
ของเสียผ่านระบบสินค้าคงคลังของบริษัท
ข้อมูลการสูญเสียอาหารและขยะอาหารจะถูกรวบรวมโดยผู้เก็บ
ข้อมูลที่โรงงานผลิตอาหารของบริษัทที่จังหวัดชลบุรีในประเทศไทย
และที่ร้านอาหารในเครือทั่วประเทศ ผ่านระบบฐานข้อมูลออนไลน์
Sustainability Data Management System (SDMS) ซึ่งข้อมูล
เหล่านี้จะถูกรวบรวมจากแผนกที่เกี่ยวข้องและคู่ค้าของบริษัท
จากนั้นจะถูกสรุปและวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ข้อมูล ก่อนส่งต่อไป
ยังสำนักงานบริหารโครงการ (PMO) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณา
และหารือเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงกระบวนการลดขยะอาหาร
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวมการดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568
ไทยเบฟได้คัดแยกการสูญเสียอาหารออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น
เศษปลา เศษผัก เศษขนมปัง และเศษอาหารอื่น ๆ โดยมีการติดตาม
ปริมาณและวิธีการกำจัดเศษอาหารแต่ละประเภทในแต่ละเดือน
ซึ่งเศษอาหารส่วนใหญ่จะถูกนำไปจำหน่ายให้แก่คู่ค้าหรือบริจาคให้
ชุมชนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ โดยข้อมูลเหล่านี้ได้รับการติดตาม
อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไทยเบฟสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล
การสูญเสียอาหารแต่ละประเภทตามน้ำหนักได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ไทยเบฟยังร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่า
วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ดี
และไม่เกิดการสูญเสียโดยไม่จำเป็นในขั้นตอนการบรรจุหรือการ
ขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ทำการคิดค้นหาวิธีใหม่ ๆ
สำหรับนำอาหารที่เกิดจากการสูญเสียกลับมาใช้ประโยชน์และ
สร้างรายได้กลับคืนให้กับบริษัทต่อไป
ไทยเบฟยังคงเดินหน้าปรับปรุงการจัดการข้อมูลขยะอาหารจาก
ร้านอาหารในเครือภายในประเทศไทย เช่น ชาบูชิ โออิชิราเมน
และเคเอฟซี อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลที่รายงานสะท้อนถึงการ
ปฏิบัติการจริงของบริษัทได้มากที่สุด และเพื่อระบุจุดที่จะสามารถ
พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านความปลอดภัยและ
สุขอนามัยที่อาจเกิดขึ้นจากเศษอาหารเน่าเสียที่ต้องจัดการอย่าง
รวดเร็ว ไทยเบฟได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการจัดส่งที่ได้รับ
ใบอนุญาตในการกำจัดของเสีย เพื่อให้การรวบรวมและจัดการ
ขยะอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม และได้ทำการสำรวจวิธีการต่าง ๆ
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะอาหารของบริษัท นับตั้งแต่การ
แปรรูปชิ้นส่วนวัตถุดิบเหลือใช้ที่ถูกสุขอนามัยและมีคุณภาพดี
ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จนถึงการบริจาคอาหารส่วนเกินจาก
ร้านอาหารในเครือให้แก่องค์กรและชุมชนต่าง ๆ
ในปี 2567 ไทยเบฟได้ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลขยะอาหาร
โดยเพิ่มการนำเศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคของลูกค้า
มาคำนวณรวมในปริมาณขยะอาหาร ซึ่งส่งผลให้ข้อมูลการสูญเสีย
อาหารและขยะอาหารที่รายงานในปีนี้มีปริมาณสูงขึ้นอย่างมาก
นอกจากนี้ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตการเก็บข้อมูลและรายงาน
ขยะอาหารให้ครอบคลุมแบรนด์ร้านอาหารในเครือเป็นจำนวนแบรนด์
ที่มากขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะอาหารที่รายงาน
มีจำนวนเพิ่มขึ้น
น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากกลุ่มธุรกิจอาหารของไทยเบฟใน
ประเทศไทยสามารถนำมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ บริษัทจึงมองหา
คู่ค้าทางธุรกิจที่ยินดีรับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว เพื่อสร้างมูลค่า
ให้กับทั้งสองฝ่าย ควบคู่ไปกับการช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ และในปี 2567 กลุ่มธุรกิจอาหารได้ประกาศ
ความร่วมมือกับ BSGF บริษัทร่วมทุนภายใต้กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน
และสถานีบริการน้ำมันบางจาก เพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีในการ
จัดการน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว โดยนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน (SAF) ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิง
การบินแบบดั้งเดิม ภายใต้โครงการนี้ น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจาก
ร้านอาหารจำนวน 1,463,460 กิโลกรัม ถูกขายเพื่อนำไปผลิตเชื้อ
เพลิงชีวภาพ สร้างรายได้ประมาณ 38.90 ล้านบาท
ภายใต้โครงการนี้ อาหารส่วนเกินจะถูกนำไปบริจาคโดยตรงให้แก่
ผู้ด้อยโอกาส โดยบริษัทเดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) ซึ่งเป็น
หน่วยธุรกิจที่รับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการสาขาร้านอาหาร
เคเอฟซีภายใต้การบริหารของไทยเบฟในประเทศไทย จะนำอาหาร
ส่วนเกินไปบริจาคให้แก่สถานสงเคราะห์ 8 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่
บ้านเมตตา (จังหวัดนครราชสีมา) บ้านวังทอง (จังหวัดพิษณุโลก)
บ้านมหาราช (จังหวัดปทุมธานี) บ้านทับกวาง (จังหวัดสระบุรี)
และสถานสงเคราะห์อื่น ๆ ในรูปแบบเดียวกัน รวมไปถึง
มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (Scholars of Sustenance: SOS)
อีกด้วย โดยในปี 2567 ร้านอาหารเคเอฟซีภายใต้การดำเนินงาน
ของ QSA ได้ทำการบริจาคอาหารที่ยังคงคุณภาพดีปริมาณ
5,922 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.09 ล้านบาท
ชาบูชิ (เครือร้านอาหารบุฟเฟต์สไตล์ชาบู) ได้จัดกิจกรรม “กินหมด
เกลี้ยง” เพื่อให้ลูกค้าของทางร้านได้เข้าร่วม โดยเชิญชวนให้ลูกค้า
บริโภคอาหารที่ตักหรือสั่งมาให้ได้ทั้งหมดโดยไม่เหลือทิ้ง ซึ่งเป็น
การส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญของการลดขยะอาหาร
ที่เหลือทิ้งอย่างไม่จำเป็น เนื่องจากชาบูชิเป็นร้านอาหารที่ให้บริการ
แบบบุฟเฟต์ซึ่งเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเลือกตักอาหารได้
ตามต้องการ จนในบางครั้งอาจมากเกินไปจนรับประทานไม่หมด
กิจกรรมนี้จึงจัดขึ้นเพื่อมุ่งสร้างความตระหนักให้ลูกค้าเลือกตัก
อาหารในปริมาณที่เหมาะสม โดยจัดขึ้นใน 205 สาขาทั่วประเทศไทย
(ได้แก่ ชาบูชิ 185 สาขา โออิชิ บุฟเฟต์ 6 สาขา โออิชิ อีทเทอเรียม
9 สาขา และนิคุยะ 5 สาขา) มีลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้
รวมทั้งสิ้น 436,860 คน
กลุ่มธุรกิจอาหารของไทยเบฟในประเทศไทยร่วมมือกับ
มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) เพื่อบริจาคอาหารส่วนเกิน
ให้กับชุมชนด้อยโอกาส โดยมูลนิธิทำงานร่วมกับร้านอาหารต่าง ๆ
ในการรับอาหารส่วนเกิน (ทั้งอาหารดิบและอาหารปรุงสุก) ที่ยังคงมี
คุณภาพดีและสามารถรับประทานได้ ซึ่งทางร้านอาหารจะได้รับคำ
แนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บอาหาร รวมถึงการใช้ภาชนะที่เหมาะสม
และประเภทอาหารที่รับบริจาค เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้รับบริจาค
นั้นได้รับอาหารที่ปลอดภัย
ในปี 2567 โครงการได้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมสู่ร้านอาหารภายใต้
กลุ่มธุรกิจอาหารเป็นจำนวน 21 สาขา (ได้แก่ ชาบูชิ 14 สาขา โออิชิ
บุฟเฟต์ 5 สาขา และนิคุยะ 2 สาขา) โดยมีการบริจาคอาหารส่วนเกิน
เป็นปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,268.50 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ
119,349.12 บาท