หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
ความร่วมมือในระดับนานาชาติ
ไทยเบฟยังคงขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนา ระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือ ด้านธุรกิจ การพัฒนาบุคลากร รวมถึงด้านศิลปะและวัฒนธรรม ผ่านศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำธุรกิจ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในภูมิภาคอาเซียน
โครงการสำคัญ


Sustainability Expo 2024 (SX 2024)
Sustainability Expo หรือ SX เป็นมหกรรมด้านความยั่งยืน ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) โดยในปีนี้เป็นการจัดงาน ที่ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5 จากความร่วมมือของเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่ อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) ร่วมกับ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำ ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เอสซีจี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

SX ได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการตามพระราชปณิธานในการ ”สืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นค่านิยมหลักในการจัดงานนี

ในปีนี้ SX 2024 ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญกว่า 750 คน ทั่วโลก และเครือข่ายพันธมิตรกว่า 27 องค์กรทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ รวมถึงสถานทูต และ องค์กรระหว่างประเทศ ร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้ แนวคิด เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ โดยเน้นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และร่วมผลักดันให้เกิดการลงมือทำจริงใน “ทศวรรษ แห่งการลงมือทำ (Decade of Action)” เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ให้โลกน่าอยู่อย่างยั่งยืน เช่น กิจกรรม SX REPARTMENT STORE ที่ผู้ร่วมงานสามารถเลือกซื้อและบริจาคสิ่งของมือสองสภาพดี โดยรายได้นำไปบริจาคเพื่อการกุศล นอกจากนี้ภายในงานยังมีการ คัดแยกขยะ และนำอาหารส่วนเกินไปบริจาคให้กับกลุ่มเปราะบาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังมีการทำปุ๋ยจากขยะเศษอาหาร รวมถึงส่งต่อบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเข้าสู่ระบบรีไซเคิลเพื่อ สนับสนุนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ิ

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประกาศแนวทางปฏิบัติสำ�หรับคู่ค้า เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN Business Partner Code of Conduct) และการมอบรางวัลด้านความยั่งยืน เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทยรางวัล (SX TSCN Sustainability Award 2024) ให้กับคู่ค้า 48 องค์กรที่มีการทำ� โครงการด้านความยั่งยืนและมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
SX Trash to Treasure Art and Design Contest 2024 ครั้งที่ 5
โครงการประกวดการแข่งขันการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากขยะ และเศษวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ภายใต้แนวคิด “ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)” เพื่อ ส่งเสริมศักยภาพ และการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านงานศิลปะ ของเยาวชน โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภทคือ สองมิติ (2D) และสามมิติ (3D) ผลงานนี้สะท้อนมุมมองของศิลปินต่อปัญหาขยะ ในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปีนี้ มีเยาวชนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 146 ผลงาน นอกจากนี้ โครงการฯ ยังได้ขยายการประกวดไปที่ประเทศเวียดนามในหัวข้อ เดียวกัน ซึ่งผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายจากทั้งสองประเทศถูกนำไป จัดแสดงในงาน Sustainability Expo 2024 เพื่อให้เห็นมุมมอง การสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างกันในบริบทของสิ่งแวดล้อมและ สังคมของแต่ละประเทศ
SX2024 Hackathon x Circular Innovation Challenge
การแข่งขันเพื่อค้นหาสุดยอดนวัตกรรุ่นใหม่ ในหัวข้อ “นวัตกรรม เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Innovation for Climate Adaptation)” โดยมีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 161 ทีม และมีทีมที่เข้ารอบสุดท้ายจำนวน 15 ทีม โดยทีม ชนะเลิศและทีมที่เข้ารอบสุดท้ายได้รับเงินรางวัลรวม 950,000 บาท ซึ่งปีนี้ทีมชนะเลิศคือ ทีม E-Hole จากประเทศมาเลเซีย นำเสนอระบบ ตรวจจับและติดตามท่อระบายน้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยระบบจะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลการระบายน้ำ แบบแสดงผลทันที เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการน้ำเสีย โดยการนำมาวิเคราะห์ปัญหาและวางแผน การแก้ไขปัญหาล่วงหน้า
โครงการประกวดสุนทรพจน์เยาวชน SX Youth Speech Contest
การประกวดสุนทรพจน์สำหรับเยาวชนอาเซียน เป็นเวทีสำหรับ เยาวชนในการพัฒนาทักษะการพูดในที่สาธารณะ ซึ่งปีนี้มีเยาวชน เข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้น 255 คน ในหัวข้อ “อยู่รอดในโลกเดือด (Surviving in Global Boiling)” โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนอายุ ระหว่าง 18-25 ปี ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางเพื่อ รับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น ซึ่งผู้ชนะเลิศในหมวดภาษาไทย คือ นายสิรวิชญ์ บุญประสิทธิการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ชนะเลิศในหมวดภาษาอังกฤษ คือ Mr. Janak Ashok Teckwani จาก Taylor’s University ประเทศมาเลเซีย
Win Win WAR Thailand Season 6

เป็นรายการที่บ่มเพาะทักษะของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Entrepreneurs) โดยใช้กลไกด้านธุรกิจในการแก้ไขปัญหา สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ชนะเลิศแต่ละปีจะได้รับรางวัลเงินสด 2,000,000 บาท พร้อมกับที่ปรึกษาสำหรับให้คำแนะนำในการดำเนิน ธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งรายการนี้ได้จัดทำอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และเคยได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำประจำปี 2561 รางวัลทีวีสีขาว ประจำปี 2562 และมียอดเข้าชมทางออนไลน์มากกว่า 24 ล้านครั้ง และได้สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมกว่า 100 ทีม
Win Win WAR OTOP Junior Season 3
เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้เยาวชนจากทั่วประเทศมีส่วนร่วม ในการสร้างธุรกิจเพื่อชุมชน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในยุคปัจจุบัน ซึ่งในปีนี้มีเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันกว่า 200 ทีม โดยทีมชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษาและรางวัลสำหรับการไป ทัศนศึกษาด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
C asean Forum 2024

เวทีแห่งการแสดงถึงความร่วมมือและการแบ่งปันความรู้จากวิทยากร ชั้นนำของภูมิภาค งานนี้ยังทำให้เกิดการรวมตัวของผู้นำทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล และประชาสังคม เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธภาพ และความ ร่วมมือทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ปีนี้ C asean Forum ได้จัดกิจกรรม ทั้งหมด 2 ครั้ง ได้แก่  

Two activities were held this year:
“ASEAN Action Towards Circular Economy: Move Forward with Extended Producer Responsibility”
เพื่อร่วมผลักดันให้ภูมิภาคอาเซียนดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการการขยายความรับผิดชอบ ของผู้ผลิต โดยมีวิทยากรจากองค์กรชั้นนำจากประเทศไทย ประเทศ ญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี ประเทศฟิลิปปินส์ และ ประเทศอินโดนีเซีย

”Pioneering the Future of ASEAN Green Procurement”
เพื่อผลักดันภูมิภาคอาเซียนให้มีการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศไทยและองค์กรระดับโลก กว่า 20 องค์กรเข้าร่วมแบ่งปันประสบการณ
Sustainability Talks: Towards a Green ASEAN
ศูนย์ ซี อาเซียน ร่วมกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ACSDSD) และ ไทยเบฟ จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “Sustainability Talks: Towards a Green ASEAN” ณ ศูนย์ การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย ศาสตราจารย์ Jeffrey Sachs ประธานเครือข่าย UN Sustainable Development Solutions Network และคุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สำนักข่าว THE STANDARD เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการบรรยายนี้ ครอบคลุม ถึงการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันในด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ สาธารณสุข พลังงานสะอาด เกษตรกรรมยั่งยืน การวางแผนเมือง และการ เปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล
ASEAN Week 2024
ไทยเบฟ ร่วมกับ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวง วัฒนธรรม สมาคมอาเซียน-ประเทศไทย ศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษา และการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (ACSDSD) และศูนย์อาเซียน ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนการจัดงาน ASEAN Week 2024 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 57 ปีของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ภายใต้แนวคิด “Shaping the Future of Sustainable ASEAN” เพื่อส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) การจัดการทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ การดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเยาวชน ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและ วัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน
วงดนตรี C asean Consonant

เป็นวงดุริยางค์ที่รวมตัวนักดนตรีเยาวชนจาก 10 ประเทศในอาเซียน ร่วมกันบรรเลงเครื่องดนตรีประจำชาติของตน เพื่อให้เยาวชน อาเซียนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความงดงามของการสืบทอด ศิลปวัฒนธรรม ได้เรียนรู้การเคารพความแตกต่างของกันและกัน พร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางดนตรี ในปีที่ผ่านมาวงดนตรี C asean Consonant ได้รับการเชิญไปแสดง ในประเทศเวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อแสดงถึง ความร่วมมือของแต่ละภูมิภาคผ่านดนตรี
  • วงดนตรี C asean Consonant ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวของประเทศวียดนามและสถาบันดนตรี แห่งชาติเวียดนาม (Vietnam National Academy of Music - VNAM) จัดคอนเสิร์ต “มิตรภาพไร้พรมแดน (Friendship Beyond Frontier)” ที่กรุงฮานอย พร้อมทั้งสัมมนา เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับดนตรีในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้าง ความตระหนักถึงความสำคัญทางวัฒนธรรมของภูมิภาค ของการแสดงดังกล่าว ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจาก ผู้เข้าชม และได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางผ่านสื่อต่าง ๆ ในประเทศเวียดนาม
  • วงดนตรี C asean Consonant ได้รับเชิญร่วมฉลองวาระ ครบรอบ 10 ปี โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative (BRI))” ในเทศกาลดนตรีจีน-อาเซียนซึ่ง จัดขึ้นที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกว่างซี (Guangxi Culture & Arts Centre) เมืองหนานหนิง มณฑลกว่างซี สาธารณรัฐ ประชาชนจีน นอกจากการแสดงดนตรีแล้ว มูลนิธิสิริวัฒนภักดี ไทยเบฟ และศูนย์ ซี อาเซียน ยังได้มอบเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้าน ให้พิพิธภัณฑ์ดนตรีชาติพันธุ์กว่างซี มหาวิทยาลัยศิลปะกว่างซี (Guangxi Arts University) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและ อนุรักษ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านของประเทศไทย พร้อมเผยแพร่ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีไทยสู่สากล
กิจกรรม Common Cultural Heritage: เมารี - ไทยทรงดำ
ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี คริสโตเฟอร์ ลักซัน แห่งนิวซีแลนด์ ไทยเบฟ และศูนย์ ซี อาเซียน ได้จัดกิจกรรม “Common Cultural Heritage” ที่นำอัตลักษณ์ร่วม ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองแนวทางการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยในกิจกรรมนี้ได้แสดงให้เห็น ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เมารีและ ไทยทรงดำ ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมร่วมกันที่โดดเด่น และสามารถสืบทอดความประณีตงดงามทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิต จากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างสมบูรณ์

ภายในงาน มีการแสดงทางวัฒนธรรมของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์ พร้อมนิทรรศการที่แสดงถึงความสัมพันธ์ เชื่อมโยงอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของชาวเมารี และกลุ่มไทยทรงดำ
เสวนาในหัวข้อ From Page to Perspective: Understanding ASEAN through Literature
ศูนย์ ซี อาเซียน จัดเสวนาในหัวข้อ “From Page to Perspective: Understanding ASEAN through Literature” เพื่อฉลองวาระ ครบรอบ 57 ปีของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน โดยมีแขกรับเชิญ พิเศษ 3 ท่าน คือ Dr. Nguyễn Phan Quế Mai นักเขียนชาว เวียดนามที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีผลงานได้รับการแปลถึง 25 ภาษา คุณวีรพร นิติประภา นักเขียนรางวัลซีไรต์สองสมัย และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. รัญวรัชญ์ กอบศิริธีร์วรา ผู้เชี่ยวชาญด้าน วรรณกรรมอาเซียนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมพูดคุย เสนอมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของวรรณกรรมในการเชื่อมโยงความ เข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน ในด้านประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การสร้าง ความสัมพันธ์และความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในภูมิภาค