หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
หลักการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ
ด้วยแรงบันดาลใจจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ไทยเบฟเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิผลจำเป็นต้องอาศัยแนวทางการทำงานร่วมกัน โครงสร้างการกำกับดูแลที่ดี การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ ด้วยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ยึดหลักการในการส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างการพัฒนาที่สมดุล
และยั่งยืนในภาพรวม ด้วยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไทยเบฟเชื่อว่าจะสามารถบรรลุถึงมาตรฐานระดับโลกในด้าน ESG
(สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) และสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น พร้อมทั้งตอบโจทย์ประเด็น
ระดับโลกและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
เพื่อให้มั่นใจถึงแนวทางที่ยึดหลักวิทยาศาสตร์และหลักฐานในด้านความยั่งยืน ซึ่งตอบสนองต่อความคาดหวังของสาธารณชนและมาตรฐาน กฎระเบียบระดับสากล ไทยเบฟคำนึงถึงความรับผิดชอบและความโปร่งใสผ่านการมีส่วนร่วมและการเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลทางการเงิน
ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) กรอบการรายงานความยั่งยืนสากล (Global Reporting Initiative:GRI) และการประเมิน
ผลดัชนีชี้วัดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Carbon Disclosure Project:CDP) นอกจากนั้นเรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการกําหนด
เป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นสาระสําคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับ
การดําเนินงาน ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม โดยในเดือนตุลาคม 2565 ไทยเบฟได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการประเด็น
ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัท และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยครอบคลุมเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero greenhouse gas emissions) รวมถึงเป้าหมายการคืนน้ำสู่ธรรมชาติ (Water Replenishment) และความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ในปี 2567
ไทยเบฟมีการจัดทำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนใหม่ภายใต้หลักการ “ทวิสารัตถภาพ” (Double Materiality) ซึ่งจะพิจารณาผลกระทบ
จากทั้งภายในและภายนอก โดยผลลัพธ์จะถูกเปิดเผยในรายงานหน้า 24

ไทยเบฟมีนโยบายและแผนงานที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการดําเนินการเกี่ยวกับ ESG ทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ ความร่วมมือกับพันธมิตร และการประเมินและปรับปรุงการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการพัฒนา
ความยั่งยืนของไทยเบฟ ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังคงเดินหน้าโครงการด้านความยั่งยืนภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” (Creating and Sharing the Value of Growth)
กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสร้างความผาสุกต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และโลก ไปพร้อม ๆ กัน

แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวม การดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568/2569


โครงสร้างการกํากับดูแล
การสร้างการมีส่วนร่วมและความเป็นผู้นำเริ่มจากคณะกรรมการบริษัทซึ่งมีหน้าที่ดูแล และกำหนดกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ด้านการบริหารธุรกิจและความเสี่ยง โดยรวมของบริษัท ตลอดจนวางแนวทางไปสู่การเติบโตที่มั่นคง และยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ภายใต้กลยุทธ์ด้าน ESG ที่มีแนวคิด “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) คณะกรรมการบริษัทเชื่อว่า ไทยเบฟสามารถขยายธุรกิจ ลดความเสี่ยง และสร้างโอกาส ที่หลากหลายให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงแบ่งปันผลประโยชน์กับสังคมโดยรวม

คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมบริษัท มีหน้าที่วางกลยุทธ์ ESG และนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยตรวจสอบ การดำเนินงานด้าน ESG และการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด

ในปี 2565 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้แต่งตั้งรองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ เพื่อบูรณาการกลยุทธ์ระดับกลุ่มและการพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับแผนงานด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) และขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะทำงานการพัฒนาด้านความยั่งยืน (SDWT) อันประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ เพื่อการพัฒนา แผนงานและโครงการ ESG รวมถึงการจัดทำแบบประเมิน ความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งช่วยทวนสอบประเด็นสาระสำคัญ ด้านความยั่งยืนขององค์กร รวมทั้งยังมีหน้าที่ติดตามและ รายงานความคืบหน้าของโครงการ ESG ต่อคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC)
ThaiBev Group’s Sustainability and Risk Management Structure