หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ และด้านพลังงาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดผลกระทบในหลายมิติ ไม่เพียงแต่ในด้าน สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาวะเศรษฐกิจและชุมชนด้วย ไทยเบฟจึงเร่งดำเนินการ วางแผนรับมือกับวิกฤตจากสภาพภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในความพยายาม จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ปารีส และเพื่อให้บริษัทสามารถรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจเกิดขึ้น ไทยเบฟจึงให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศตลอดจนแสวงหาโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อความยั่งยืน ในการดำเนินธุรกิจด้านเครื่องดื่มและอาหารในระยะยาว
ไทยเบฟตั้งเป้าที่จะปรับการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Emissions) โดยให้ความสำคัญกับการจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า มุ่งเน้นการลดการใช้พลังงานโดยรวม เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงาน หมุนเวียน (Renewable Energy) รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทำงานร่วมกับคู่ค้าด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา กระบวนการให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด และกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์ และของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เราจึงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2593
แนวทางการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟครอบคลุมเป้าหมายด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทาง ตรง (ขอบเขตที่ 1) ทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) และทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3) ภายในปี 2593 ภายใต้กลยุทธ์ “สรรสร้างการเติบโต ที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) ซึ่งจะช่วยให้ไทยเบฟ สามารถขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น ในธุรกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและยกระดับ ธรรมาภิบาล
ไทยเบฟมุ่งมั่นในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยเพิ่ม การลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ที่ช่วยลดผลกระทบและ ปรับตัวต่อการเปลี่บนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการใช้ พลังงานโดยรวมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แนวทางนี้รวมไปถึง การสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มคู่ค้าและพันธมิตรเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เราได้บูรณาการความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศไว้ในกลยุทธ์และการดำเนินงานของเรา เพื่อเพิ่มความ ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันก็เพิ่ม การสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจและชุมชนที่เชื่อมโยงกัน บริษัทใช้กลยุทธ์นี้ ในการเปิดเผยความเสี่ยงและโอกาสทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ สภาพภูมิอากาศ โดยใช้แนวทางของ Task Force on Climate- related Financial Disclosure (TCFD) และ International Financial Reporting Standards (IFRS) S2 เพื่อให้เกิด ความโปร่งใสกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ ที่ดีที่สุดในระดับโลก
การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร
เพื่อเร่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขับเคลื่อนการลงทุน คาร์บอนต่ำภายในองค์กร ไทยเบฟกำหนดราคาคาร์บอนภายใน องค์กร (Internal Carbon Pricing: ICP) เพื่อประเมินผลกระทบ ทางการเงินของการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อธุรกิจของเรา ไทยเบฟ ใช้การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่มีการปล่อยมลพิษสูง ไทยเบฟกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ที่ 20 เหรียญ สหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าสำหรับการลงทุนใน โครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาทในช่วงปี 2563-2567 และใช้ ราคา 32 เหรียญสหรัฐต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าสำหรับ การลงทุนในโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 5 ล้านบาทในช่วงปี 2568-2573
การตรวจสอบพลังงาน
ไทยเบฟดำเนินการตรวจสอบการใช้พลังงานในแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการ ต่าง ๆ รวมถึงการค้นหาวิธีลดการใช้พลังงานโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมหรือแหล่งพลังงานทางเลือก โดยแต่ละหน่วยธุรกิจจะมี กลุ่มงานการจัดการพลังงานเพื่อประเมินการใช้พลังงานและหาวิธี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจน แหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก โดยโรงงานจะมีการ รายงานการใช้พลังงานของตนเองต่อกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานและเข้าร่วมการ ประเมินการรับรองตามมาตรฐาน ISO 50001 โดยสมัครใจ ซึ่งรวมถึงการรับรองการจัดการพลังงานจากหน่วยงานภายนอก และในปี 2567 มีโรงงาน 14 แห่งในไทยเบฟที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 50001
ไทยเบฟใช้นวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเสริม ความได้เปรียบในการแข่งขันและปรับปรุงคุณภาพสภาพแวดล้อม ในการทำงานของพนักงาน นอกจากนี้ ยังใช้นวัตกรรมในการช่วย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วย
ในปี 2567 เราใช้งบประมาณ 221.37 ล้านบาทสำหรับโครงการ ประหยัดพลังงานและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งโครงการเหล่านี้ เป็นการลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • โครงการพลังงานหมุนเวียน: การติดตั้งแผงพลังงาน แสงอาทิตย์ และการลงทุนในโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและ เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิง ฟอสซิลและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: การติดตั้งเครื่องกำเนิด ไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG) ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หลายร้อยตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน: การลดการใช้ พลังงาน ผ่านการติดตั้งระบบมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง และเครื่องอัดอากาศใหม่

การตั้งเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
ไทยเบฟได้รับการประกาศและรับรองจากโครงการริเริ่มการตั้ง เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets Initiative: SBTi) จากการตั้งเป้าหมาย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะสั้นในปี 2573 และเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระยะยาวสำหรับ ปี 2593 เป้าหมายแรกคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทาง ตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ลงร้อยละ 42 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3) ลงร้อยละ 25 ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ภายในปี 2593 ไทยเบฟ มีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับ ขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 เราตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมิตรของเรา โดยทำงานร่วมกัน อย่างใกล้ชิดเพื่อนำเทคโนโลยีและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ มาใช้ และร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรามั่นใจว่าการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกบูรณาการตลอดทั้งห่วงโซ่ คุณค่าผ่านความร่วมมือเหล่านี้
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N

หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวมการดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2569

โครงการสำคัญ

โครงการพลังงานหมุนเวียน
โครงการพลังงานหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อ ความต้องการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระดับสากล รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอนาคตการใช้พลังงาน ที่ยั่งยืน โครงการเหล่านี้มีความสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ด้านพลังงานหมุนเวียน ส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และผลักดันนวัตกรรมในภาคพลังงาน
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ครอบคลุมการติดตั้งแผงพลังงาน แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ลอยน้ำในประเทศไทย เมียนมา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และฝรั่งเศส ซึ่งได้ติดตั้งแล้วเสร็จจำนวนทั้งหมด 41 โรงงานและ 8 สถานประกอบการอื่น ๆ ซึ่งรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด ทั้งสิ้น 61.86 เมกะวัตต์ (MWp)
แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 67,536 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายจาก การซื้อไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลัก (Grid) ได้ถึง 250.02 ล้านบาทต่อปี และในปี 2567 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 32,917 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ
ในปี 2567 ไทยเบฟได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแห่ง ที่ 8 ที่โรงงานสุราในจังหวัดราชบุรี ด้วยเงินลงทุน 187.275 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 และโครงการนี้จะสามารถลดการใช้ เชื้อเพลิงน้ำมันสำหรับการผลิตไอน้ำได้ถึง 1.77 ล้านลิตร ต่อปี และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 57,193 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า
โครงการเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวล
ปัจจุบัน ไทยเบฟมีเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลจำนวน 2 แห่ง ในประเทศไทยและเมียนมา เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวล เหล่านี้ใช้สารอินทรียวัตถุ เช่น เศษไม้ ขี้เลี่อย แกลบ และกะลาปาล์ม เป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เศษ ฉลาก ตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และกากใบชาเป็น เชื้อเพลิงเพื่อผลิตไอน้ำทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้อีกด้วย
เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลเหล่านี้สามารถผลิตพลังงาน ความร้อนได้ 869,880,693 เมกะจูล (MJ) ซึ่งนำไปสู่การลดการใช้ น้ำมันเตา และถ่านหิน สำหรับการผลิตไอน้ำลงได้ 1 ล้านลิตร และ 32.15 ล้านกิโลกรัมต่อปี ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 80,516 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปีและลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานประมาณ 30.81 ล้านบาทต่อปี


โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยทิ้งมาใช้ประโยชน์
โรงงานเบียร์ของไทยเบฟทุกแห่งในประเทศไทย เวียดนาม และ เมียนมา ได้มีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) ที่ปล่อยทิ้งกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยการดักจับ CO2 ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักในการผลิตเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์กลับมาใช้ในการผลิตเบียร์ และเครื่องดื่มอัดลม เช่น โซดาและเบียร์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โครงการนี้สามารถลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานประมาณ 171.41 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ 28,569 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2567
เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงจากก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ในปี 2567 ไทยเบฟลงทุน 12 ล้านบาท ในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไอน้ำ ที่ใช้เป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG) เป็นเชื้อเพลิงที่โรงงานเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในจังหวัด นครสวรรค์ ในประเทศไทย โดยเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิง LPG นี้ สามารถทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันเตาในการผลิตไอน้ำ และสามารถผลิตพลังงานความร้อนได้ 21,984,000 เมกะจูล (MJ) โครงการนี้คาดว่าจะช่วยลดการใช้น้ำมันเตาได้ 207,912 ลิตร ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 207 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบ เท่า และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ประมาณ 1.05 ล้านบาทต่อปี
โครงการระบบเผาทำลายก๊าซแบบปิด
ในปี 2567 ไทยเบฟลงทุน 24.35 ล้านบาท เพื่อพัฒนาปรับปรุง กระบวนการเผาก๊าซชีวภาพส่วนเกิน จากระบบเผาไหม้แบบเปิด เป็นระบบเผาไหม้แบบปิด การปรับปรุงครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อลด การรั่วไหลของก๊าซมีเทน (CH4) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง และการเปลี่ยนมาใช้ระบบเผาไหม้แบบปิดจะส่งผลให้ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 43,082 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
51
ผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรอง การลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (CFR)
90
ผลิตภัณฑ์ได้การรับรองเครืองหมาย คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ (CFP)
9.2%
ของรายได้มาจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนตา (คิดเปน % ของรายได้รวม)
70,675
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทังหมด ทีหลีกเลียงได้จากการพัฒนา ผลิตภัณฑ์คาร์บอนตาต่ำ (คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี)
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N

โครงการส่งเสริมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การฝึกอบรมด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
เพื่อส่งเสริมการดำเนินการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการนำ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในกระบวนการ ไทยเบฟได้จัดการฝึกอบรม ให้กับพนักงานโดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งสร้างการมีส่วนร่วม ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิสัมพันธ์ การจัดฝึกอบรมนี้จะช่วยเพิ่ม ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการพัฒนาด้านการใช้พลังงานในปัจจุบัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการดูแลสิ่งแวดล้อม
การวางแผนเส้นทางการขนส่งเพื่อลดการใช้พลังงาน
F&N บริษัทในเครือของไทยเบฟ ได้วางกลยุทธ์ในระบบการกระจาย สินค้าเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ซึ่งสอดคล้อง กับหลักการของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบองค์รวม (Total Supply Chain Management: TSCM) และขยายไปถึงระบบ การขนส่ง ซึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่เราได้นำมาใช้คือ ระบบที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการการจัดเก็บและดึงสินค้าหรือวัสดุจากคลังสินค้าหรือ พื้นที่เก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ (Automated Storage and Retrieval System: ASRS) ที่ขณะนี้ได้เริ่มใช้งานเต็มรูปแบบใน คลังสินค้า ทั้งในประเทศมาเลเซียและศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคใน ประเทศไทย ระบบนี้ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานของเรา โดยการทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยให้สามารถ บริหารจัดการภาระงานที่สูงขึ้นในแต่ละวันได้ดียิ่งขึ้น ผลลัพธ์ ที่ตามมาคือการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้งานรถยกลงได้ถึง ร้อยละ 40 ซึ่งนำไปสู่การประหยัดเวลาและพลังงานจากลดเที่ยววิ่ง ภายในคลังสินค้า อีกหนึ่งประโยชน์ที่สำคัญจากการนำระบบ ASRS มาใช้คือการเลิกการเช่าคลังสินค้าภายนอก การเปลี่ยนแปลง เชิงกลยุทธ์นี้ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งได้ ร้อยละ 15 ต่อปี ประหยัดเวลาและประหยัดพลังงานได้ประมาณ 17,319 เมกะวัตต์-ชั่วโมง พร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงได้ 3,118 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานได้ 28 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ระบบ ASRS ยังช่วย กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วย ขั้นตอนการทำงานทั้งหมดได้ถูกบูรณาการให้เชื่อมต่อกัน และ ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บและการเบิกจ่าย สินค้า รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งช่วยสนับสนุน เป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา และยังช่วยลดระยะเวลาที่ พนักงานต้องใช้ในคลังสินค้าและเพิ่มความปลอดภัย

โครงการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่
โครงการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ที่โรงงานผลิตนม สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดอยุธยา ในประเทศไทย โดยการนำ ความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการแลกเปลี่ยนน้ำหล่อเย็น จากเครื่องฆ่าเชื้อแบบต่อเนื่อง และเครื่องฆ่าเชื้อขนาดใหญ่ มาใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำหรับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การผลิตน้ำ RO (Reverse Osmosis) การผลิตน้ำอ่อน (Soft Water) และการผลิตนมสด โดยระบบนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่นี้ สามารถดักจับความร้อนที่ถูกปล่อยทิ้งได้ทั้งหมด ทำให้สามารถลด พลังงานความร้อนได้ถึง 287 เมกะวัตต์-ชั่วโมงต่อปี สามารถช่วย สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและทำให้ความร้อนจากระบบ หล่อเย็นไม่ปล่อยออกสู่ภายนอก โครงการนี้ช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานได้ประมาณ 500,000 บาทต่อปี และลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ 64.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

โครงการประหยัดพลังงาน
ไทยเบฟได้ส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถลดการใช้พลังงานตามตัวอย่างต่อไปนี้

โครงการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การอบรมการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก
ด้วยตระหนักถึงความต้องการและความท้าทายของคู่ค้าที่มี ความหลากหลาย ในการเปลี่ยนผ่านสู่การดำเนินการคาร์บอนต่ำ ไทยเบฟจึงสนับสนุนการพัฒนาของคู่ค้าด้วยการแบ่งปันความรู้ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายคือการให้คู่ค้า มีความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการดำเนินการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร ด้วยการมุ่งเน้นที่การสร้าง ขีดความสามารถและการสนับสนุนการรวบรวมข้อมูล และมุ่งมั่น ที่จะสร้างแนวทางปฏิบัติด้านการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกและ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพื้นฐานสำหรับคู่ค้าทั้งหมด

ในปี 2567 ไทยเบฟได้จัดหลักสูตรอบรมเรื่อง “การทำบัญชีก๊าซ เรือนกระจก” สำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ให้กับคู่ค้า ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรมไปแล้ว 3 ครั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน และมี ผู้เข้าร่วมกว่า 80 คนจาก 40 บริษัท
โครงการฝึกอบรมวิทยากรด้านความยั่งยืนของธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ไทยเบฟร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคู่ค้า ผ่านเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่แห่งประเทศไทย (“TSCN”) โดยจัดการ อบรม/สัมมนาร่วมกับ Thailand Sustainability Academy (“TSA”)

ในปี 2567 TSA ประสบความสำเร็จในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการใน ครัวเรือนสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หัวข้อ “Train-the-Trainer Program on Business Sustainability จากการไม่นำขยะไปฝังกลบหรือนำไปเผา and Climate Change” ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ ในปี 2567 ไทยเบฟได้รับมอบคาร์บอนเครดิต 4,000 ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากโครงการนี้ ซึ่งเราจะนำไปใช้ เสริมสร้างศักยภาพของพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมภายในองค์กร เช่น 56 รายจาก 9 บริษัทผู้ก่อตั้ง TSCN
โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (การหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4))
ไทยเบฟได้ซื้อเครดิตคาร์บอนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ที่ได้รับการรับรองจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน โครงการนี้ส่งเสริมให้ครัวเรือนทั่วประเทศ (ยกเว้น กรุงเทพฯ) จัดทำถังขยะเปียกสำหรับครัวเรือน ซึ่งการนำขยะ เศษอาหารมาหมักในถังขยะดังกล่าวช่วยสร้างสารปรับปรุงดินที่ ในปี 2567 TSA ประสบความสำเร็จในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการใน ครัวเรือนสามารถนำไปใช้ได้ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หัวข้อ “Train-the-Trainer Program on Business Sustainability จากการไม่นำขยะไปฝังกลบหรือนำไปเผา

ในปี 2567 ไทยเบฟได้รับมอบคาร์บอนเครดิต 4,000 ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากโครงการนี้ ซึ่งเราจะนำไปใช้ เสริมสร้างศักยภาพของพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมภายในองค์กร เช่น 56 รายจาก 9 บริษัทผู้ก่อตั้ง TSCNงาน Sustainability Expo ประจำปี 2567 (SX 2024) ความคิดริเริ่มนี้ ไม่เพียงแต่ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาท สำคัญในการเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบของชุมชน ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นย้ำถึง ความสำคัญของการดำเนินการร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

โครงการป่าชุมชนร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ไทยเบฟเข้าร่วมโครงการป่าชุมชนกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โดยเดินหน้า ขยายพื้นที่ป่าชุมชนด้วยกลไกคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้เพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อผสานการพัฒนาชุมชนและการ อนุรักษ์ป่าไม้ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยการดำเนินโครงการระยะที่ 1-4 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 61,850 ไร่ (9,806 เฮกตาร์) ใน 11 จังหวัด

คาร์บอนเครดิตที่ไทยเบฟจะได้รับจากโครงการดังกล่าวผ่านการ รับรองตามมาตรฐานโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และสามารถ นำไปใช้เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

ความสำเร็จ
ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3)
  Unit 2024 Methodology
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 3,198,256  
การซื้อสินค้าและบริการ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2,413,817 ข้อมูลอ้างอิงจากคู่ค้าและข้อมูลอ้างอิงตามมาตรฐาน
สินทรัพย์ที่เป็นทุน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 38,576 ข้อมูลจากค่าใช้จ่าย
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และพลังงาน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 167,031 ข้อมูลเฉลี่ยจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
การขนส่งและกระจายสินค้าต้นน้ำ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 154,124 ข้อมูลจากค่าใช้จ่ายและข้อมูลระยะทางจากการขนส่งวัตถุดิบ
การกำจัดของเสียที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมขององค์กร ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 11,421 ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของเสียที่เกิดขึ้น
การเดินทางเพื่อธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,455 ข้อมูลระยะทางการเดินทาง
การเดินทางเพื่อธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 81,851 ข้อมูลระยะทางการเดินทาง
การเดินทางของพนักงาน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 199,546 ข้อมูลเฉลี่ยจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
การใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 368 ข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย
การกำจัดซากของผลิตภัณฑ์ที่องค์กรจำหน่าย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 107,663 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมารีไซเคิล
การลงทุน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 22,404 ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลงทุน
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N
การใช้พลังงานภายในองค์กร
รางวัล
รางวัลอาเซียน เอนเนอร์ยี อวอร์ด 2567
การประชุมอาเซียน เอนเนอร์ยี อวอร์ด ครั้งที่ 24 ได้จัดงานประกาศ ผลผู้ชนะรางวัลอาเซียน เอนเนอร์ยี อวอร์ด (ASEAN Energy Awards) 2024 ในคืนวันศุกร์ที่ 27 กันยายน ที่กรุงเวียงจันทน์ งานนี้จัดโดยศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy) และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน และเหมืองแร่ของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

รางวัลอาเซียน เอนเนอร์ยี อวอร์ด เป็นเกียรติยศที่ได้รับการยอมรับ อย่างสูง เพื่อเฉลิมฉลองการมีส่วนร่วมที่ยอดเยี่ยมในภาคพลังงาน ทั่วทั้งภูมิภาค และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการ พัฒนาพลังงานอาเซียน

ในปี 2567 ไทยเบฟได้รับรางวัลดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำ ถึงความมุ่งมั่นของเราในการบริหารจัดการพลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของเรา:
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 – โครงการผลิตพลังงานทดแทน ที่ใช้น้ำกากส่าจากการกลั่นสุราเป็นเชื้อเพลิง: บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขาหนองคาย)
  • รางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 - โครงการผลิตพลังงานทดแทนที่ใช้ น้ำกากส่าจากการกลั่นสุราเป็นเชื้อเพลิง: บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขานครสวรรค์)
ก้าวสู่ อนาคต
เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 42 ในขอบเขตที่ 1 และ 2 และร้อยละ 25 ในขอบเขตที่ 3 ภายในปี 2573 (เมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน 2566) เราจึงได้ริเริ่มโครงการต่อไปนี้
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์
ในปี 2568 ไทยเบฟมีแผนติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยมีเป้าหมายผลิตไฟฟ้า ที่ 21.83 เมกะวัตต์ (MWp) หรือคิดเป็นมูลค่าการลดค่าไฟฟ้า 106.75 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ถึง 18,221 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี การลงทุนทั้งหมดในโครงการนี้ประมาณ 652.59 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2569
โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ
ไทยเบฟกำลังดำเนินการขยายโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่โรงงานสุรากระทิงแดง จังหวัดสมุทรสาคร โรงงานสุรา มงคลสมัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และโรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่ โดยโครงการทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จ ภายในปี 2569 ด้วยการลงทุนรวม 438.08 ล้านบาท โครงการเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง น้ำมันเตาในการผลิตไอน้ำ 5.55 ล้านลิตรต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 79,014 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าภายในปี 2569/2570
โรงงานผลิตไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดผง
ในปี 2568 ไทยเบฟมีแผนจะติดตั้งโรงงานผลิตไอน้ำ โดยใช้ชีวมวลชนิดผงที่ผ่านการเผามาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับ การผลิตไอน้ำแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงงานผลิตไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดผงจะผลิตพลังงาน ความร้อนได้ 82,919,309 เมกะจูล (MJ) และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ 2.05 ล้านลิตรต่อปี ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานประมาณ 7.57 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ โครงการนี้ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6,495 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ระบบนวัตกรรมนี้ประกอบด้วยเครื่องจักรที่ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงแข็งบดละเอียด (pulverized solid fuel) ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ตรงตามมาตรฐานวิศวกรรมขั้นสูง โดยประกอบด้วยระบบตรวจจับพารามิเตอร์ และการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำอัตโนมัติที่ควบคุมโดยตัวควบคุมโปรแกรม (Programmable Logic Controller: PLC) ช่วยให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมของคู่ค้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ
กลยุทธ์ในการจัดการก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 จำเป็นที่จะต้องอาศัยร่วมมือกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิด แนวทางการ มีส่วนร่วมนี้รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ การสนับสนุนการเก็บข้อมูล การกำหนดเป้าหมาย การเปิดเผยข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ความร่วมมือเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ที่ถูกกำหนดให้เหมาะสมกับความพร้อมของคู่ค้าแต่ละกลุ่ม
ในปี 2567 ไทยเบฟได้ดำเนินการอบรมการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับคู่ค้าที่ถูกจัดกลุ่มอยู่ในระดับเริ่มต้น (Beginner) และมีศักยภาพ (Competence) เพื่อวางรากฐานการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ องค์กรในขั้นพื้นฐาน สำหรับคู่ค้าวัตถุดิบหลักทางการเกษตร มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าทางตรงในการพัฒนา ศักยภาพเกษตรกรท้องถิ่น ซึ่งเป็นคู่ค้าทางอ้อมของไทยเบฟ ในการนำแนวปฏิบัติด้านเกษตรกรรมยั่งยืนมาปรับใช้ โดยเฉพาะสำหรับอ้อยและปลายข้าว กิจกรรมนี้รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการจัดการธาตุอาหารในดิน การอนุรักษ์น้ำ และการบริหารจัดการที่ดิน ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผ่านผลผลิตที่ดีขึ้นและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ