TH
EN
×
SEARCH
SEARCH
หน้าแรก
การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด
search
หน้าแรก
การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด
หน้าแรก
/ การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในโลกเป็นหนึ่งในผลกระทบ ร้ายแรงซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยเบฟจึงเร่งหา แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่การดำเนินงานทุกแห่งทั่วโลก เพื่อร่วมฟื้ นฟูระบบนิเวศ และลดผลกระทบต่อความสมดุล ทางสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ไทยเบฟตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพ และบทบาทสำคัญของธุรกิจในการรับมือกับความท้าทาย ระดับโลกนี้ เป้าหมายของเรา คือความมุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการตัดไม้ ทำลายป่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า และการดำเนินการประเมินแหล่ง ที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ในสถานที่ปฏิบัติงานทั่วโลก
แนวทางการบริหารจัดการ
เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายข้อตกลง “30x30” ในการประชุม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 15 (COP15) ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะปกป้องและอนุรักษ์ผืนดิน และมหาสมุทรของโลก ให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2568 เรามุ่งมั่นที่จะสานต่อพันธกิจด้านความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “การสร้างและแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” (Creating and Sharing the Value of Growth) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านพันธกิจต่อไปนี้:
สร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ในการดำเนินการขององค์กร
หยุดการตัดไม้ทำลายป่าและส่งเสริมการปกป้องและการจัดการ ระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มีคุณค่าสูง
ไทยเบฟส่งเสริมให้คู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจปกป้องสภาพ ธรรมชาติของระบบนิเวศ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน และหลีกเลี่ยงการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ที่มี ความอ่อนไหวต่อระบบนิเวศ เราได้ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายนอก เช่น คู่ค้า องค์กรนอกภาครัฐ และชุมชน และจะยังคง ดำเนินการตามพันธกิจต่อไป เนื่องจากการดำเนินงานโดยตรง ของไทยเบฟมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าในระดับ น้อยที่สุด ความพยายามดังกล่าวจึงมุ่งเน้นไปที่ห่วงโซ่อุปทาน และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงการให้ความรู้เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ
คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง พิจารณา ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ทุกไตรมาส ผู้ประสานงานความเสี่ยงของกลุ่มผลิตภัณฑ์/ หน่วยธุรกิจหลักของไทยเบฟ ต้องทำงานร่วมกับคณะทำงานบริหาร ความเสี่ยงองค์กรเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการตามขั้นตอน ในการลดผลกระทบตามลำดับชั้นอย่างเคร่งครัด (หลีกเลี่ยง ลดผลกระทบ ฟื้ นฟู ชดเชย และเปลี่ยนแปลง) โดยกำหนดให้เป็น ส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม และลดผลกระทบที่หลงเหลือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพใดก็ตาม ที่พบว่ามีนัยสำคัญต่อกลุ่มผลิตภัณฑ์/หน่วยธุรกิจจะต้องรายงาน ตรงต่อคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง เพื่อพิจารณาและดำเนินการต่อไป
เป้าหมาย
ไทยเบฟประกาศความมุ่งมั่นใหม่ 2 ประการเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ:
ผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในปี 2568
ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ ป่าไม้ ในการดำเนินการของ ไทยเบฟและคู่ค้าทางตรง ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สำคัญ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์กระดาษ จากกิจการในประเทศไทย ภายในปี 2568
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐาน และทบทวนเป้าหมายเพื่อรวม การดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568
โครงการสำคัญ
การประเมินที่อยู่อาศัยที่สำคัญและแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
ในปี 2564 ไทยเบฟได้เพิ่มเติมการประเมินข้อมูลความหลากหลาย ทางชีวภาพให้เป็นการประเมินที่อยู่อาศัยที่สำคัญ (Critical Habitat Assessment หรือ CHA) ในพื้นที่ปฏิบัติการและบริเวณใกล้เคียง ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ การประเมินนี้ประกอบด้วยการตรวจสอบชนิด พันธุ์อย่างใกล้ชิด ตามมาตรฐานการปฏิบัติที่ 6 ของบรรษัทเงินทุน ระหว่างประเทศ (International Finance Corporation Performance Standard 6) ว่าด้วยการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตอย่างยั่งยืน (IFC 2012) โดยได้รับคำปรึกษาที่ครอบคลุมจากผู้เชี่ยวชาญและ การทวนสอบโดยละเอียดเพื่อประเมินขอบเขตของการพัฒนาพื้นที่ และการผลิตที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำคัญ การประเมินครอบคลุมพื้นที่ 40 แห่ง ประกอบไปด้วยพื้นที่ ปฏิบัติการ 42 แห่ง ซึ่ง 34 แห่งอยู่ในประเทศไทย 2 แห่งในประเทศ เมียนมา และ 6 แห่งในประเทศสกอตแลนด์ พื้นที่ทั้งหมด 1,786.3 เฮกตาร์ พบว่าพื้นที่ปฏิบัติการ 31 แห่ง (29 พื้นที่) พบว่ามีศักยภาพ สูงต่อผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากตั้งอยู่ ใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพ
ในปี 2565 จากผลการประเมินที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ไทยเบฟ ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ ที่หลงเหลือ (Residual Biodiversity Impact Assessment หรือ RBIA) ) เพื่อประเมินผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มเติมในพื้นที่ปฏิบัติการ 31 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย 24 แห่ง ประเทศเมียนมา 1 แห่ง และประเทศสกอตแลนด์ 6 แห่ง การประเมินมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลกระทบความหลากหลาย ทางชีวภาพที่คงเหลือเบื้องต้น โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อพันธุ์สัตว์ ที่ได้รับการกำหนดให้เป็น “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง” หรือ “ถูกคุกคาม” ในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
การประเมินผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพที่คงเหลือ จากพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด 31 แห่ง พบว่ามี 3 แห่งที่ได้รับผลกระทบ สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และในปี 2566 ได้มีการ ดำเนินแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานสุราเฟื่ องฟูอนันต์ และโรงงานสุราธนภักดี ในขณะที่ พื้นที่แห่งที่ 3 คือเสริมสุข ชลบุรี และเสริมสุข เบเวอเรจ ตั้งอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ซึ่งได้รับการแจ้งให้ดำเนินการ จัดทำแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเรียบร้อยแล้ว
โรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่
ปลาซิวใบไผ่แม่แตง (DD) รูปโดย อรุณี รอดลอย
การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ ของกลุ่มสุราที่โรงงาน ธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเน้นไปที่สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งสายพันธุ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบที่คงเหลือจากพื้นที่นี้ มีความสำคัญ และจากการตรวจสอบพื้นที่และการปรึกษาหารือกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการยืนยันว่าสัตว์ชนิดนี้ (ปลาซิวใบไผ่ แม่แตง) หายไปจากพื้นที่ศึกษา
โรงงานสุราเฟื่องฟูอนันต์ จังหวัดปราจีนบุรี
การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มสุราที่โรงงานสุรา เฟื่องฟูอนันต์ จังหวัดปราจีนบุรี มุ่งเน้นที่สายพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบ 4 สายพันธุ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบที่คงเหลือจากพื้นที่นี้มี ความสำคัญ และจากการตรวจสอบและปรึกษาหารือของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและได้รับการยืนยัน คือปลาสองสายพันธุ์ (ปลากระเบนราหู น้ำจืด และปลาสายยู) ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ในขณะที่อีกสองสายพันธุ์ (ปลากระเบนขอบขาว และปลาซิวสมพงศ์) หายไปจากพื้นที่ศึกษา
ปลากระเบนขอบขาว (EN) รูปโดย ชวิน ตันพิทยคุปต์
ปลาซิวสมพงศ์ (CR) รูปโดย อรุณี รอดลอย
ปลากระเบนราหู (VU) รูปโดย ชวิน ตันพิทยคุปต์
ปลาสายยู (ตระกูลปลาเนื้ออ่อน) (CR) รูปโดย อรุณี รอดลอย
แผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
แผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (BMP) มีเป้าหมาย ในการดำเนินการตามกลยุทธ์สำหรับการอนุรักษ์ ฟื้ นฟู และส่งเสริม ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่โรงงานสุราเฟื่ องฟูอนันต์ และโรงงานสุราธนภักดี เพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดการทรัพยากร อย่างยั่งยืน และปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ต่อการดูแลสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักของแผนการจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพมีดังนี้ (สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ https://sustainability.thaibev.com/ ในหัวข้อความหลากหลาย ทางชีวภาพ)
ดำเนินการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อระบุโอกาส ในการชดเชยความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีที่สุดในพื้นที่ ใกล้เคียงกับสถานที่ปฏิบัติการ
กำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ โปรแกรมการติดตามผล และแผนการบริหารจัดการที่ที่เหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมาย ของผลกระทบเชิงบวกสุทธิ (NPI) และการไม่มีการสูญเสีย สุทธิ (NNL)
การประเมินแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญในเวียดนาม
ในปี 2566 ไทยเบฟยังดำเนินการประเมินแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญ ในการดำเนินงานขององค์กรในเวียดนาม ซึ่งครอบคลุมโรงเบียร์ 11 แห่ง ผลการประเมินคัดกรองแสดงให้เห็นว่า มีสถานที่แห่งเดียว ที่มีศักยภาพในระดับปานกลางต่อผลกระทบด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ เนื่องจากอยู่ใกล้กับพื้นที่คุ้มครอง (สำหรับข้อมูล เพิ่มเติม โปรดดูที่ https://sustainability.thaibev.com/ ในหัวข้อความหลากหลายทางชีวภาพ)
โรงงานสุรา Cardrona และโครงการ Kārearea
นกเหยี่ยวนิวซีแลนด์ (Karearea)
โรงงานสุรา Cardrona ในเครือไทยเบฟ ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้ร่วมมือกับ Real NZ เพื่อสนับสนุนโครงการ Kārearea ซึ่งเป็นความพยายามในการอนุรักษ์ที่นำโดยชุมชนริเริ่มโดย Cardrona Alpine Resort โครงการนี้ดำเนินงานร่วมกับ Parker Conservation, ชุมชนชาวอิวิในท้องถิ่น, กรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่น ๆ โดยมุ่งเน้นการปกป้องเหยี่ยว Kārearea ซึ่งเป็นเหยี่ยวพื้นเมืองเพียงชนิดเดียวที่มีถิ่นกำเนิด ในนิวซีแลนด์ และถือเป็นนกล่าเหยื่อที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด ด้วยจำนวนประชากรที่เหลือเพียง 5,000-8,000 ตัว ทำให้เหยี่ยว ชนิดนี้ถูกจัดให้อยู่ในประเภท “นกใกล้สูญพันธุ์และเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์ในระดับประเทศ” ซึ่งเน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของโครงการนี้
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อประเมินขนาดประชากรในฤดูผสมพันธุ์, อาณาเขตทำรัง และอัตราการรอดชีวิตของเหยี่ยวที่โตเต็มวัย ตลอดจนระบุสาเหตุของความล้มเหลวในการทำรัง และการ กำหนดกลยุทธ์การจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการ ฟื้ นตัวของสายพันธุ์ ในพื้นที่ 52,000 เฮกตาร์ในหุบเขา Cardrona นักวิจัยได้ค้นพบคู่ผสมพันธุ์จำนวน 25 คู่ โดยมีเหยี่ยว 27 ตัวที่ได้รับ การติดเครื่องหมายเฉพาะ และจากการเก็บข้อมูลการทำรัง 22 ครั้ง พบว่ามีรัง 11 รังที่ประสบความสำเร็จในการฟักลูกนก ในขณะที่ อีก 11 รังล้มเหลว อย่างไรก็ตาม การมีข้อมูลตัวอย่างจำนวนน้อย ทำให้การประมาณอัตราการรอดชีวิตที่แม่นยำเป็นไปได้ยาก ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามผลที่เพิ่มมากขึ้น
เพื่อส่งเสริมความพยายามในการอนุรักษ์ โรงงานสุรา Cardrona ได้จัดกิจกรรมให้ข้อมูลแก่สาธารณชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และให้คำมั่นที่จะสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบ เงินทุน และงานวิจัยภาคสนาม โดยการจัดสรรทรัพยากร ทั้งทางการเงินและบุคลากร ซึ่งโรงงานมุ่งมั่นที่จะให้โครงการ Karearea ประสบความสำเร็จในระยะยาว และการมีส่วนร่วม เพื่อปกป้องสายพันธุ์ที่โดดเด่น และถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน สำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต
โครงการปลูกต้นไม้ของ F&N ในประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย
ในปี 2567 F&N บริษัทในเครือของไทยเบฟ มีส่วนสนับสนุน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านโครงการปลูกต้นไม้ในหลายพื้นที่ ในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย F&N ได้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ สร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม จัดโดยวิทยาลัย Kirkby International College โดยปลูกต้นโกงกางจำนวน 210 ต้น เพื่อปกป้องแม่น้ำสุไหงเตลิปก ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่อยู่ใกล้ สถานที่ตั้งของบริษัท สำหรับในเมืองกูชิง พนักงานเกือบ 100 คน ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จำนวน 200 ต้น ในงานเฉลิมฉลองวันมาเลเซีย ของชมรมกีฬา ซึ่งยังเป็นการเปิดตัวโครงการอนุรักษ์น้ำของ F&N ณ ศูนย์มรดก Bung Jagoi Heritage Centre และในประเทศไทย F&N ได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้จำนวน 450 ต้น โดยมีพนักงานกว่า 360 คนร่วมกิจกรรม ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัด กาญจนบุรี เพื่อช่วยฟื้ นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ ความพยายามเหล่านี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของไทยเบฟในการรับมือกับความท้าทาย ด้านนิเวศวิทยา พร้อมสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการดูแล สิ่งแวดล้อม และความร่วมมือของชุมชน
โครงการป่าชุมชนร่วมกับมูลนิธิผืนป่าในใจเรา ประเทศไทย
ไทยเบฟ ร่วมกับมูลนิธิผืนป่าในใจเรา เดินหน้าส่งเสริมการอนุรักษ์ ธรรมชาติผ่านกิจกรรม “พิธีบวชป่า” ในหลายพื้นที่ พิธีนี้มีเป้าหมาย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า และเสริมสร้างความผูกพันระหว่าง ชุมชนกับป่า ด้วยการเชื่อมโยงกับจารีตประเพณีท้องถิ่น พิธีบวชป่า ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ และส่งเสริมให้ชุมชน สามารถบริหารจัดการและดูแลป่าได้อย่างยั่งยืน
ในปี 2567 ไทยเบฟได้สนับสนุนมูลนิธิผืนป่าในใจเรา ในการดำเนิน โครงการปลูกป่าชุมชน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ครอบคลุมพื้นที่ 19 แห่ง (16 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3 แห่งในจังหวัดอุทัยธานี) โดยความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในการนำระบบคาร์บอน เครดิตมาใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ควบคู่กับการฟื้ นฟู พื้นที่สีเขียว
นอกจากนี้ โครงการ “เยาวชนเจ้าบ้านผืนป่าในใจเรา” ยังได้ เชิญชวนเยาวชนกว่า 700 คนเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ในพื้นที่สงวนชีวมณฑล 2 แห่งที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก
ได้แก่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จังหวัดลำ�ปาง โดยเยาวชนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ทั้งการเดินศึกษา ธรรมชาติและการลงมือปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขามีบทบาทสำ�คัญ ในการดูแลระบบนิเวศของชุมชนอย่างยั่งยืน
ก้าวสู่ อนาคต
ในปี 2568 ไทยเบฟมีเป้าหมายที่จะขยายแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมด ที่มีความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่คงเหลือ โดยจัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายในการ สร้างแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิทัศน์ และระบบนิเวศ คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพจะถูกขยายให้ครอบคลุมพื้นที่การผลิตของ F&N อีกด้วย
นอกจากนี้ ไทยเบฟจะดำเนินการทบทวนแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการ 4 แห่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ ที่มีผลกระทบระดับความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ โรงงานหลักชัยค้าสุรา จังหวัดราชบุรี โรงงานโออิชิ เทรดดิ้ง จังหวัดสระบุรี โรงงานเสริมสุข จังหวัดนครสวรรค์ และโรงงานเอส.เอส.การสุรา จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขผลกระทบต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นหลัก เช่น การจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง ตลอดจนแสดงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อม ที่สะอาดยิ่งขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
การลดความสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร
ในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2567
© สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)