Home / ThaiBev's Sustainability
การบริหารความเสี่ยง
ธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายและความไม่แน่นอนที่หลากหลาย ความขัดแย้ง ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและการเติบโต ทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งกลายเป็นความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและ อาหารที่ต้องเผชิญกับการชะงักงันในระบบห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งยังมีการเพิ่มขึ้นของราคา สินค้าโภคภัณฑ์ และการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ นโยบายการเงินที่เข้มงวด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการความเสี่ยงในสภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเหล่านี้จำเป็นต้องใช้มาตรการ ที่ครอบคลุมทั้งในด้านการตอบสนองและการป้องกัน เพื่อให้มั่นใจในความต่อเนื่องและ ความยืดหยุ่นของธุรกิจ

ไทยเบฟมุ่งมั่นในการจัดการความเสี่ยงผ่านกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพและ การยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน เรามุ่งหวังที่จะใช้โอกาสและลดผลกระทบจากความผันผวน ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป้าหมายสูงสุดของเราคือ การตอบสนองต่อความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่ม และอาหารในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการ
กรอบการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มไทยเบฟกำหนดให้มีการระบุ และประเมินความเสี่ยงที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้ง บรรเทาผลกระทบและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทผ่าน คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างทันที ด้วยกรอบนโยบายนี้จึงสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงที่สำคัญทั้งหมด ในแต่ละกลุ่มธุรกิจและหน่วยธุรกิจทั่วทั้งกลุ่มไทยเบฟจะได้รับ การติดตามและจัดการอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ยังมีการมอบหมายความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้กับบุคลากร ที่เกี่ยวข้องในการจัดการความเสี่ยงภายใต้การควบคุม และสร้าง ระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำคัญของการบริหารจัดการตามปกติของกลุ่มไทยเบฟ

เพื่อให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล ไทยเบฟดำเนินธุรกิจในระดับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสนองตอบ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เราได้กำหนดให้การบริหาร ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนธุรกิจประจำปี การตัดสินใจ การจัดการโครงการ และการดำเนินการอันเป็นกิจวัตรประจำวัน หลักการสำคัญของการจัดการความเสี่ยงของไทยเบฟ คือ
  • 1. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนเป็นเจ้าของความเสี่ยง ซึ่งมีหน้าที่ รับผิดชอบในการระบุและประเมินความเสี่ยงในส่วนการดำเนิน ธุรกิจของตน และกำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสม
  • 2. ความเสี่ยงทั้งหมดที่กระทบต่อวัตถุประสงค์ของบริษัท จะต้อง
    • ระบุได้อย่างทันท่วงที
    • ประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
    • บริหารจัดการให้สอดคล้องกับเกณฑ์ความเสี่ยงของบริษัททั้งเรื่องต้นทุนและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    • ติดตามผลเพื่อให้มั่นใจว่าจัดการกับความเสี่ยงนั้นอย่างเหมาะสม
  • 3. ความเสี่ยงทั้งหมดต่อแผนธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัท ที่มีระดับความเสี่ยง “สูง” หรือ “สูงมาก” ต้องรายงานต่อ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและ ความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท เพื่อกำกับดูแลความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามโครงสร้าง การกำกับดูแลของไทยเบฟ
ดูรายละเอียดได้ที่นโยบายการบริหารความเสี่ยง Risk Management Policy ThaiBev conducts an annual review of risks impacting its sustainability across environmental, social, and economic dimensions. This process involves analyzing internal and external factors, significant trends, and stakeholder expectations. Based on these assessments, ThaiBev categorizes principal risks into three groups: Strategic, ไทยเบฟทบทวนความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ด้วยการวิเคราะห์ ปัจจัยทั้งภายในและภายนอก แนวโน้มที่สำคัญ และความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย จากผลการประเมินความเสี่ยง สามารถแบ่งความเสี่ยงหลักออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยง ด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ โดยระบุ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น การบรรเทาผลกระทบที่สำคัญ และ ความเชื่อมโยงกับสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่สำคัญด้วยระบบ การบริหารจัดการทั่วทั้งบริษัท นอกจากนี้ ไทยเบฟยังให้ความสำคัญ

กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใหม่จากปัจจัยภายนอกที่คาดว่าอาจ ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจในระยะยาว ทำให้บริษัทต้อง ปรับกลยุทธ์และ/หรือรูปแบบธุรกิจเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว

ไทยเบฟพัฒนาและดำเนินการตามกรอบการบริหารความยั่งยืนและ ความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของ COSO ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการ

โครงสร้างการกำกับดูแล
โครงสร้างการกำกับดูแลเป็นรากฐานของการพัฒนาความยั่งยืน และบริหารความเสี่ยงของไทยเบฟ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ รับผิดชอบการกำกับดูแลความเสี่ยงเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของ กลุ่มไทยเบฟประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คณะกรรมการบริหาร ความยั่งยืนและความเสี่ยง ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับคณะกรรมการ บริษัทประกอบด้วยกรรมการอิสระ ผู้บริหารระดับสูง (ผู้บริหาร ระดับสูงที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ขึ้นไป) และที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ได้รับการยอมรับ ทำหน้าที่รับผิดชอบการกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ ขององค์กรและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน รวมถึงการ ทบทวนระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และการยอมรับความเสี่ยง ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางการประเมินและการจัดการความเสี่ยงในสายงานหลัก กลุ่มธุรกิจ หน่วยธุรกิจ และบริษัทในเครือเพื่อให้มั่นใจว่าครอบคลุม ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและความเสี่ยงขององค์กร ทั้งหมด นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง ยังทำงานอย่างใกล้ชิด กับคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีหน้าที่ ตรวจสอบและติดตามความถูกต้องของกระบวนการรายงาน กระบวนการตรวจสอบ และระบบการควบคุมภายใน ไปพร้อม ๆ กับ การดูแลให้องค์กรมีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางป้องกันสามชั้นของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ (ThaiBev’s Three Lines of Defence)
ไทยเบฟปฏิบัติตามหลักการในการกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง ตามแบบจำลอง Three Lines Model (ปี 2020) ของสมาคม ผู้ตรวจสอบภายในสากล (The Institute of Internal Auditor: IIA) เพื่อควบคุมการบริหารความเสี่ยงโดยแยกโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจในการตัดสินใจอย่างชัดเจน เพื่อให้กระบวนการมีความโปร่งใสผ่านคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) คณะกรรมการตรวจสอบ (AC) คณะทำงานพัฒนาความยั่งยืน และ คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร ภายใต้กลุ่มงานความยั่งยืน และกลยุทธ์

ผู้บริหารระดับสูงของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์และหน่วยธุรกิจมีหน้าที่ รับผิดชอบในการดำเนินงานตามแนวทางด้านความยั่งยืนและ การบริหารความเสี่ยงของไทยเบฟในขอบเขตความรับผิดชอบ ของตน ในฐานะแนวป้องกันลำดับที่หนึ่ง (First Line of Defence) แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ได้จัดตั้งตัวแทนด้านการพัฒนาความยั่งยืน รวมถึงผู้ประสานงานความเสี่ยง เพื่อช่วยควบคุมและติดตาม ผลการปฏิบัติงาน และทำงานใกล้ชิดกับคณะทำงานพัฒนา ความยั่งยืนและคณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร ภายใต้ กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์

ในฐานะแนวป้องกันลำดับที่สอง (Second Line of Defence) คณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนและคณะทำงานบริหารความเสี่ยง องค์กร จะรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และผลกระทบ เพื่อให้แผนการบริหาร ความเสี่ยงของไทยเบฟมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริหาร ความยั่งยืนและความเสี่ยงจะมีการประชุมทุกไตรมาส และประธาน คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง จะรายงานต่อ คณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัท โดยรวมในทุกไตรมาส ขณะที่กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์มีหน้าที่ รายงานต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงาน ด้านการจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพและทันเวลาในการควบคุม ระดับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

สำนักตรวจสอบภายในซึ่งเป็นแนวป้องกันลำดับที่สาม (Third Line of Defence) รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (AC) เพื่อให้คำปรึกษาและประเมินผลมาตรการควบคุมการดำเนินงาน และนโยบายต่าง ๆ ให้สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่มีอยู่และ ความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัท โดยการประเมินมีความ เป็นอิสระ ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับ ผู้บริหาร ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะประชุมอย่างน้อยทุกไตรมาส

และมีการประชุมร่วมกันกับผู้ตรวจสอบภายในเพื่อให้ความคิดเห็น อย่างอิสระโดยไม่มีการแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบจะรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับการควบคุมโดยรวมของบริษัทและประเด็นที่เกี่ยวข้อง ในทุกไตรมาส ขณะเดียวกันสำนักตรวจสอบภายในยังรายงาน การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการบริหาร ความเสี่ยง การติดตามและการตรวจสอบต่อประธานเจ้าหน้าที่ บริหารเพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพครอบคลุม ทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตามข้อกำหนด

กระบวนการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง แบบบูรณาการ
ไทยเบฟบริหารจัดการการริเริ่มด้านความยั่งยืนและความเสี่ยง เชิงรุกทั้งในด้านกลยุทธ์และด้านการปฏิบัติการ ทั่วทั้งระดับองค์กร กลุ่มธุรกิจ และหน่วยงาน กระบวนการบริหารความยั่งยืนและ ความเสี่ยงของไทยเบฟมีการพิจารณาถึงแนวโน้มทั่วโลก ปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล และ การดำเนินการของคู่แข่งทางธุรกิจ ในกระบวนการวางแผนธุรกิจ และการลงทุน ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์เพื่อ ตอบสนองต่อทั้งความเสี่ยงและโอกาส ระบุตัวบ่งชี้ความเสี่ยง ที่สำคัญ และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลักเพื่อประเมินการควบคุม และติดตามสถานการณ์

กระบวนการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงของบริษัทประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
  • การเข้าใจบริบททางธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์และกำหนด วัตถุประสงค์ของกลุ่มไทยเบฟ กลุ่มธุรกิจ และหน่วยงานที่ สอดคล้องกัน
  • การระบุและประเมินความเสี่ยง และโอกาสต่อการบรรลุ วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การใช้เทคนิคในการระบุ และประเมินความเสี่ยง อาทิ การใช้สถานการณ์จำลองและ แบบทดสอบความตึงเครียดเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กับไทยเบฟและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การกำหนดและดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านความยั่งยืน ควบคู่กับการควบคุมและจัดการความเสี่ยงตามระดับความเสี่ยง ที่ยอมรับได้ ในขณะเดียวกัน มีการใช้ประโยชน์จากโอกาสต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน ของไทยเบฟ
  • การติดตาม รายงาน ประเมินความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของ การบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างน้อยทุกไตรมาส
เพื่อให้มั่นใจถึงความเพียงพอและความมีประสิทธิผลของ กระบวนการบริหารความเสี่ยง สำนักตรวจสอบภายในซึ่งเป็น หน่วยงานอิสระภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่ตรวจสอบการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และกระบวนการกำกับดูแล

วัฒนธรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง
วัฒนธรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงของไทยเบฟมุ่งหวัง ที่จะปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรม ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนและธุรกิจร่วมกัน วัฒนธรรม การบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงที่แข็งแกร่งเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อประสิทธิผลของการพัฒนาความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง ขององค์กร โดยช่วยให้สามารถตอบสนองและเตรียมพร้อมรับมือ กับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็รักษาผลการดำเนิน ธุรกิจและสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไทยเบฟปลูกฝังการพัฒนา ที่ยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงานใหม่ทุกคนในการ ปฐมนิเทศ การฝึกอบรมประจำปีและกิจกรรมของพนักงาน นอกจากนี้ ไทยเบฟยังใช้ความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงเป็นเกณฑ์ใน การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และจัดงาน WOW (Way of Work) Awards ประจำปีเพื่อให้พนักงานสร้างสรรค์วิธี แก้ปัญหาและแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ช่วยปรับปรุงการพัฒนาที่ ยั่งยืนหรือลดความเสี่ยงให้กับไทยเบฟ โดยผู้บริหารระดับสูงเป็น กรรมการตัดสินและคัดเลือกโครงการที่ดีที่สุดเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ ในองค์กรต่อไป

สำหรับการรายงานความเสี่ยง พนักงานสามารถรายงานความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นหรือข้อกังวลใด ๆ ต่อหัวหน้างานได้ในขั้นต้น หรือผ่าน ช่องทางที่แนะนำ เช่น whistleblowing@thaibev.com whistleblowing@thaibev.com. นอกจากนี้ ไทยเบฟยังบูรณาการตัวชี้วัดความยั่งยืนและ/หรือการ บริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มในการประเมิน ผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้บริหารทุกคนในด้านต่าง ๆ เช่น
ด้านสิ่งแวดล้อม:
การจัดการด้านพลังงาน การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การพิทักษ์และฟื้ นฟูแหล่งน้ำ
ด้านสังคม:
ความปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของ พนักงาน การพัฒนาบุคลากร
ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงคิดเป็น ร้อยละ 5-10 ของการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของ ทั้งผู้บริหารและพนักงาน

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง
ไทยเบฟผนวกสาระสำคัญด้านความยั่งยืนเข้ากับกระบวนการบริหาร ความเสี่ยงแบบบูรณาการ โดยแบ่งความเสี่ยงเป็น 3 ประเภท คือ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ มีการระบุและจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงจากความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ของบริษัท นอกจากนี้ ไทยเบฟยังให้ความสำคัญกับความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นใหม่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัททั้งในระยะกลาง หรือระยะยาว ความเสี่ยงทั้งหมดจะได้รับการจัดการโดยเป็นส่วนหนึ่ง ของการบริหารความเสี่ยงองค์กร โดยผลลัพธ์ของกระบวนการนี้

ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่สำคัญและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งบริษัทต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด และนำมาตรการบรรเทา ผลกระทบที่มีประสิทธิภาพมาใช้รวมถึงการปรับกลยุทธ์และ/หรือ รูปแบบทางธุรกิจ สำหรับความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยง ไม่เปลี่ยนแปลงหรือมีระดับความเสี่ยงลดลง ไทยเบฟจะยังคง ติดตามและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของระดับความเสี่ยงเป็นระย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ปัจจัยความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงเพื่อความยั่งยืน” ในรายงานประจำปี 2567


เป้าหมาย
ท่ามกลางความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ไทยเบฟตระหนัก ถึงความจำเป็นในการพัฒนาไปไกลกว่าการจัดการความเสี่ยงแบบดั้งเดิม ซึ่งมุ่งเน้นที่การวางแผนและลดจุดอ่อนต่อความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ล่วงหน้าเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ เพื่อจัดการกับความซับซ้อนที่เกิดขึ้นใหม่ บริษัทได้ขยายแนวทางให้ครอบคลุมถึงการจัดการความยืดหยุ่น แนวทางที่ขยายออกนี้ หมายถึง การเตรียมพร้อมเชิงกลยุทธ์สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การสร้างความสามารถในการตอบสนอง ที่เข้มแข็ง และการปรับตัวที่ดีขึ้นเพื่อให้สามารถฟื้ นตัวอย่างรวดเร็วจากการหยุดชะงัก ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ด้านความยืดหยุ่นหลักเพื่อรักษาประสิทธิภาพทางธุรกิจที่โดดเด่นในช่วงวิกฤตและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังต่อไปนี้
1. ความยืดหยุ่นด้านการเงิน
สร้างสมดุลระหว่างการใช้จ่ายในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้ง จัดการแหล่งเงินทุนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการลงทุนและ กิจกรรมเชิงพาณิชย์ การมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งและสภาพคล่อง ที่เพียงพอจะช่วยให้ไทยเบฟสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นจากการลดลงอย่างรวดเร็วของรายได้ ต้นทุนที่สูงขึ้น และความผันผวนในตลาดการเงิน
2. ความยืดหยุ่นด้านการปฏิบัติงาน
กำลังการผลิตที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นช่วยให้ไทยเบฟสามารถปรับตัว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน ยังคงรักษาเสถียรภาพเมื่อเผชิญกับการหยุดชะงักในการดำเนินงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญ กับห่วงโซ่อุปทานและกลไกการจัดส่ง โดยการมีส่วนร่วม และความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อรักษาความสามารถ ในการปฏิบัติงานและการกระจายผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าและผู้บริโภค แม้ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การหยุดดำเนินการของคู่ค้า/ ผู้จัดจำหน่ายหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงเหตุการณ์ ทางภูมิรัฐศาสตร์ต่าง ๆ
3. ความยืดหยุ่นด้านเทคโนโลยี
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และยืดหยุ่นช่วยให้ไทยเบฟสามารถจัดการกับภัยคุกคามทาง ไซเบอร์และป้องกันการหยุดชะงักของระบบเทคโนโลยีได้ มีการ ดำเนินโครงการด้านไอทีที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถ แข่งขันและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ขณะเดียวกัน ไทยเบฟยังได้ยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของพนักงาน เพื่อรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจและความสามารถในการกู้คืน ระบบจากภัยพิบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักในการให้บริการ แก่ลูกค้าและการดำเนินงานภายในองค์กร
4. ความยืดหยุ่นด้านจัดการและชื่อเสียงขององค์กร
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้องค์กร รับผิดชอบต่อการทำตามคำมั่นสัญญาและจุดยืนในประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ไทยเบฟจึงได้กำหนด พันธกิจ ค่านิยม และกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนิน ธุรกิจและการปฏิบัติในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล นอกจากนี้ ไทยเบฟยังเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็น และสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สามารถคาดการณ์และ บริหารจัดการความคาดหวังของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ความยืดหยุ่นด้านรูปแบบธุรกิจ
ไทยเบฟได้พัฒนารูปแบบธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมที่ไม่หยุดนิ่งและไม่แน่นอน ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญในด้านความต้องการของผู้บริโภค สภาพการแข่งขัน ที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ และการเปลี่ยนแปลง ด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องกับโครงการ Transformation และวิสัยทัศน์ 2030 ที่มุ่งสร้างความยืดหยุ่นให้กับ รูปแบบธุรกิจในอนาคต โดยการ
  • สร้างความสามารถใหม่ ๆ ผ่านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับ รูปแบบธุรกิจ บริการ การนำเสนอผลิตภัณฑ์ และช่องทาง การขาย รวมถึงการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการริเริ่ม และดำเนินการด้านความยั่งยืน
  • สร้างความแข็งแกร่งในตำแหน่งผู้นำและความสามารถใน การแข่งขันในตลาดหลัก เช่น ประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน กระบวนการทางดิจิทัล และมุ่งเน้นการบริหารจัดการ พอร์ตโฟลิโอของตราสินค้าให้มีประสิทธิภาพ
  • ปลดล็อกศักยภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าของผู้ถือหุ้นโดยการสร้าง พันธมิตร สร้างมูลค่าสินทรัพย์ และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ และความสามารถที่สูงขึ้น
6. ความยืดหยุ่นด้านสภาพภูมิอากาศ
ไทยเบฟได้ปรับปรุงกระบวนการในการระบุ ประเมิน และบริหารความ เสี่ยงรวมถึงโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว ความ พยายามนี้ส่งผลให้เกิดการวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีความกว้างขวาง และลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยบูรณาการประเด็นเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ เข้ากับการกำกับดูแลและกลยุทธ์ทางธุรกิจของไทยเบฟ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้จัดการประชุมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ในด้านความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งกำหนดตัวชี้วัด และเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความรับผิดชอบด้าน ความยั่งยืนและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

หลังจากประเมินความเสี่ยงและโอกาสทางกายภาพและ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสภาพภูมิอากาศแล้ว ไทยเบฟเริ่ม ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ด้วยมาตรการบรรเทา ผลกระทบและมาตรการปรับตัวเพื่อรับมือ ซึ่งรวมถึงการลงทุน ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนวัสดุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ การมีส่วนร่วมของคู่ค้าและการ ปลูกป่า ส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ไทยเบฟได้รับการรับรองตามหลักการของการตั้ง เป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) ซึ่งสอดคล้องกับ ความพยายามในระดับโลก ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เป้าหมายของไทยเบฟคือการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ในทุกกระบวนการดำเนินงาน และตลอดห่วงโซ่ คุณค่า พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ คาร์บอนต่ำ

ไทยเบฟตระหนักดีว่าความสามารถในการคาดการณ์เหตุการณ์ ล่วงหน้าเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการสร้าง ความยืดหยุ่นตามที่กล่าวถึง ดังนั้นบริษัทจึงร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย โดยการรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อมูล และความรู้ความชำนาญ เพื่อนำมาส่งเสริมความสามารถในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลง โดยมีการรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อ พัฒนาแบบจำลองสถานการณ์และดำเนินการทดสอบความสามารถ ในการรับมือกับแรงกดดันในภาวะวิกฤต รวมถึงการค้นหาช่องว่างที่ สามารถปรับปรุงความยืดหยุ่นได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ใน การคาดการณ์และเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต ไทยเบฟได้พัฒนาและฝึกฝนความสามารถในการ ตอบสนองต่อภาวะวิกฤตเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่าง ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพในกรณีที่เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ