หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การจัดการบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่าง การขนส่งและการจัดเก็บ และมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค ไทยเบฟได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และพัฒนาระบบเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสในการรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์หลัก เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดพลาสติก PET โดยมี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (Thai Beverage Recycle หรือ TBR) เป็นบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
ไทยเบฟคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภค โดยมุ่งมั่นใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ คู่ค้าทางตรง คู่ค้าทางอ้อม ผู้ประกอบการ รายย่อย และผู้บริโภค

ไทยเบฟได้กำหนดเป้าหมายที่มีแผนงานและกรอบระยะเวลาชัดเจน ในการลดปริมาณและ/หรือน้ำหนักของวัสดุบรรจุภัณฑ์ ไทยเบฟริเริ่ม โครงการ เพื่อเพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำและ รีไซเคิลได้ พร้อมงดเว้นการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง เพิ่มการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่า บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ถูกนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิล จึงได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านการจัดการ บรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการจัดการบรรจุภัณฑ์ โดยคำนึงถึง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้น ไทยเบฟได้บูรณาการ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ากับห่วงโซ่คุณค่าของบรรจุภัณฑ์ นับตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการ บริโภค โดยแนวทางการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ของไทยเบฟ เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียน ได้แก่
1.การลดน้ำหนักและปริมาณการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์
ไทยเบฟทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง ในขณะที่ยังคงคุณภาพและ ประสิทธิภาพการใช้งาน
  • การดำเนินธุรกิจของไทยเบฟในประเทศไทย ประสบความสำเร็จ ในการลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม ลดปริมาณวัตถุดิบ ที่ใช้ในการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมลงได้ 2,583 ตัน เมื่อเทียบกับ ปี 2563 และภายในปี 2573 ไทยเบฟตั้งเป้าที่จะลดปริมาณ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมลงอีก 2,700 ตัน นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีโครงการสำหรับบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ การลดน้ำหนักขวดพลาสติก PET การลดความหนาของฟิล์ม พลาสติก LDPE การใช้ขวดแก้วน้ำหนักเบา (NNPB) และการ ออกแบบไส้กล่องให้เป็นชิ้นเดียวที่สามารถลดปริมาณการใช้ กระดาษและประกอบง่ายขึ้น
  • กลุ่มธุรกิจเบียร์ SABECO ในประเทศเวียดนามได้ลด ความหนาของแผ่นอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตกระป๋องจาก 0.245 มิลลิเมตรลงเหลือ 0.240 มิลลิเมตร ซึ่งโครงการนี้เป็น นวัตกรรมที่ร่วมมือกับคู่ค้า ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยัง แสดงถึงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์
  • F&N ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการลดน้ำหนักวัสดุบรรจุภัณฑ์ โดยลดปริมาณการใช้วัสดุให้เหมาะสมกับขนาดสินค้า และลด การใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนฉลาก ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่นเป็นวัสดุประเภท PET และการเลือกใช้วัสดุอื่นทดแทนกระดาษเคลือบ
2. การเก็บกลับและการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล (“TBR”) รับผิดชอบในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคจากพันธมิตรทางธุรกิจทั่วประเทศไทย และนำมา คัดแยกที่โรงงานคัดแยกของบริษัท ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ TBR เก็บกลับ ได้แก่ แก้ว เศษแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม ขวดพลาสติก PET และกล่องกระดาษลูกฟูก
3. การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
TBR ร่วมมือกับพันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า นับตั้งแต่ซาเล้ง ไปจนถึงโรงงานรีไซเคิลในประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการเก็บ บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค นอกจากนี้ ไทยเบฟ และ SABECO ยังได้ดำเนินการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ช้ำเพื่อ ส่งเสริมความยั่งยืนและการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อตอบสนองต่อนโยบายใหม่ของรัฐบาลที่อนุญาตให้ใช้บรรจุ ภัณฑ์ใส่อาหารที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ในปี 2567 ไทยเบฟได้ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “เอส โคล่า” ขนาด 515 มล. ที่ใช้บรรจุภัณฑ์จาก เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (rPET) ร้อยละ 100 ที่เป็นทางเลือกที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้วัสดุหมุนเวียนอยู่ในระบบและลดการใช้ ทรัพยากรใหม่ โดยไทยเบฟตั้งเป้าหมายที่จะใช้ rPET ร้อยละ 30 ในการผลิตขวดพลาสติก PET ภายในปี 2573
4. นวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ อย่างยั่งยืน
  • ไทยเบฟได้จัดตั้งบริษัท เบฟเทค จำกัด (BevTech) ขึ้นในปี 2561 เพื่อเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางเลือกเพื่อความ ยั่งยืน นอกจากนี้ BevTech ทำการวิจัยในเรื่องเครื่องจักรและ หุ่นยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกในโรงงานผลิตของไทยเบฟ โดยการนำเทคโนโลยีคัดแยกขวดด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อแยกขวดที่มีสภาพดีออกจากขวดที่ชำรุด
  • เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลัง การบริโภคให้ดียิ่งขึ้น ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการสะสมคะแนน (Loyalty Program) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คู่ค้า ลดต้นทุน และเพิ่มอัตราการเก็บกลับขวดแก้วใช้แล้ว โดยนำระบบจูงใจ แบบสะสมคะแนนที่ใช้อยู่กับตัวแทนขายมาปรับใช้ โครงการนี้ ช่วยให้ TBR สามารถระบุพื้นที่ที่มีอัตราการเก็บกลับขวดแก้วต่ำ เมื่อเทียบกับยอดขาย และขยายเครือข่ายของคู่ค้าที่เก็บกลับ บรรจุภัณฑ์ในพื้นที่ดังกล่าว
5. ผสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไทยเบฟขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยผสาน ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึง คู่ค้า พันธมิตรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ องค์กรสาธารณะ และผู้บริโภค ทำงานร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์ และ การรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (“TIPMSE”) ภายใต้สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (“FTI”) โดยมีผู้บริหารของไทยเบฟดำรงตำแหน่ง ประธานและรองประธาน นอกจากนี้ ไทยเบฟยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (“TSCN”) ที่มี การร่วมมือกันพัฒนาแนวทางปฏิบัติเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และตั้งแต่ปี 2562 TBR ได้ริเริ่มโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล (Bring Back–Recycle) เพื่อส่งเสริมการคัดแยกและสนับสนุน การเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค รณรงค์การรีไซเคิล การจัดอบรมการคัดแยกขยะ และการติดตั้งจุดคัดแยกบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน อาคารสำนักงาน และตามสถานที่ที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่น ในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืนในระยะยาว
ห่วงโซ่คุณค่าการจัดการบรรจุภัณฑ์ของไทยเบฟ

เป้าหมาย
โครงการสำคัญ
บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
  • เครื่องดื่ม “เอส โคล่า” ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการเปิดตัวแคมเปญ “เอส โคล่า เปลี่ยนขวดเพื่อโลก ที่ดีกว่า Gen ซ่ารักษ์โลก เริ่มที่ขวด” เพื่อกระตุ้นให้กลุ่ม คนรุ่นใหม่ หรือ Gen Z มีพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสนใจกับการรีไซเคิลโดยเริ่มที่ขวดพลาสติก โดย “เอส โคล่า” ได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ขนาด 515 มิลลิลิตร เป็นขวดที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100% (rPET) เพื่อลด ขยะพลาสติกและส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มผู้บริโภค โครงการนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน Sustainability Expo 2024 มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2567
  • กลุ่มธุรกิจเบียร์ในประเทศไทยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ “เบียร์ช้าง อันพาสเจอไรซ์” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกใน ประเทศไทยที่บรรจุเบียร์ลงขวดอะลูมิเนียมพร้อมฝาเกลียว ที่มีคุณสมบัติเย็นเร็ว น้ำหนักเบา และมีส่วนผสมจาก วัสดุรีไซเคิลถึงร้อยละ 76 นอกจากนี้ทุกชิ้นส่วนของขวด อะลูมิเนียมที่ผ่านการบริโภคยังสามารถรีไซเคิลได้ร้อยละ 100 และสามารถนำกลับมาผลิตเป็นกระป๋องอะลูมิเนียม ใบใหม่ได้แบบไม่รู้จบ ขวดอะลูมิเนียมใช้แล้วจึงไม่กลายเป็น ขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเรียกได้ว่าเป็นการ หมุนเวียนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพที่แท้จริง
  • กลุ่มธุรกิจสุราในประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการเปลี่ยนขวด สุราขาวขนาด 330 มิลลิลิตร ให้เป็นขวดแก้วน้ำหนักเบา โดยใช้กระบวนการเป่าขวดแบบ Narrow Neck Press & Blow (NNPB) ซึ่งช่วยให้ขวดมีน้ำหนักเบาลง นอกจากนี้ ยังออกแบบไส้กล่องให้เป็นชิ้นเดียวที่สามารถประกอบ ง่ายขึ้น ลดปริมาณการใช้กระดาษ และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขนส่ง
  • กลุ่มธุรกิจอาหารในประเทศไทย โออิชิได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ พลาสติกชนิดเดี่ยว (Mono-layer packaging) เพื่อทดแทน การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดหลายชั้น (Multi-layer packaging) สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารญี่ปุ่นสำเร็จรูป พร้อมทาน (Oishi Eato) ทำให้สามารถช่วยลดปริมาณบรรจุ ภัณฑ์พลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และโออิชิยังมีการ ออกแบบใหม่และลดการใช้ชามและถาดพลาสติกสำหรับ การจัดส่งอาหาร โดยยังคงรักษาคุณภาพและความสด ของอาหารไว้เหมือนเดิม นอกจากนี้คู่ค้าของโออิชิยังมี การออกแบบ Relock มาใช้กับกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร ทำให้โออิชิเป็นบริษัทแรกที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดการใช้ เทปกาวพลาสติกและสายรัด
  • โออิชิ กรีนที ได้พัฒนานวัตกรรมฝาขวดรักษ์โลก (Tethered Caps) เป็นฝาออกแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ฝาขวดยังยึดติดที่คอขวดเมื่อเปิดใช้ ทำให้ง่ายต่อ การเก็บรวบรวมเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และลด ขยะตกค้าง อีกทั้งยังลดการพิมพ์บนฝาที่ช่วยลดขั้นตอน ทำความสะอาดก่อนนำไปรีไซเคิล การออกแบบนี้เป็นไป ตามระเบียบ Directive (EU) 2019/904 ของสหภาพยุโรป ที่กำหนดให้ฝาปิดพลาสติกของเครื่องดื่มที่มีความจุไม่เกิน 3 ลิตร ต้องยึดติดกับคอขวดในระหว่างการใช้งาน นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์กระดาษของโออิชิ กรีนที ยังได้รับการรับรอง จากโครงการการรับรองป่าไม้ PEFC เพื่อรับประกันการ จัดการป่าไม้และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล
โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิลในประเทศไทย (Bring Back-Recycle) มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคตั้งแต่ผู้บริโภค จากแนวคิดที่ว่า “การดูแล สิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา” โดยมุ่งเน้น การสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งสร้างรายได้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและ เป็นรูปธรรม ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรม และตั้งจุดคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการ บริโภคจากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ กว่า 200 กิจกรรม ร่วมมือกับ องค์กรต่าง ๆ รวมถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย และอาคารสำนักงาน เพื่อบริหารจัดการขยะและเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ครอบคลุมกว่า 34 แห่งทั่วกรุงเทพฯ

ในปี 2567 ไทยเบฟสามารถเก็บบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปสู่ กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 194 ตัน ในจำนวนนี้มีขวดพลาสติก PET จำนวน 1.82 ล้านขวด ที่ถูกแปรรูปเป็นผ้าห่มจาก rPET จำนวน 47,894 ผืน เพื่อนำไปบริจาคภายใต้โครงการ “ไทยเบฟ…รวมใจ ต้านภัยหนาว”

ภายใต้โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล (TBR) ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายรายเพื่อต่อยอดและขยายผล อย่างต่อเนื่อง ในโครงการต่อไปนี้
  • ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับโครงการ Aluminium Loop ส่งผลให้มีการเก็บกลับกระป๋องอะลูมิเนียมและบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคได้มากกว่า 17 ตันจากพันธมิตร เช่น บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์, กรมควบคุมมลพิษ และกิจกรรมวิ่งมาราธอน เช่น “We Can Run Fund for Legs” และ “UD Town Songkran Festival 2024” โดยเงินที่ได้จากการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคจำนวน 371,208.39 บาท จะถูกนำไปสนับสนุน โครงการ “Recycle for Life” สำหรับบริจาคสมทบทุนเข้า มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  • ตลอดระยะเวลา 5 ปี TBR ได้ติดตั้งสถานีรีไซเคิลในงานบุรีรัมย์ มาราธอน และงานสุพรรณบุรีเมืองเหน่อมาราธอน ซึ่งนับว่าเป็น งานมาราธอนที่ยิ่งใหญ่ในประเทศไทย โดยในปีนี้สามารถเก็บกลับ ขวดพลาสติก PET ได้มากถึง 23,442 ขวด
  • TBR ร่วมมือกับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิล เพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) และบริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด ในการส่งกล่องเครื่องดื่ม (UHT) จำนวน 65,000 กล่องเข้าสู่ กระบวนการรีไซเคิล โดยการแยกกระดาษกลับมาเป็นวัตถุดิบ และแยกส่วนอื่น ๆ เป็นวัสดุใหม่ เช่น วัสดุทดแทนไม้ อิฐบล็อก เป็นต้น เนื่องจากกล่องเครื่องดื่มเป็นวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล จึงมีการรณรงค์การเก็บบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องเครื่องดื่มผ่าน นักเรียนในโรงเรียน พนักงานในบริษัท และองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจ
  • ในปี 2567 โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน (Waste Management) โดยริเริ่มที่ชุมชนแฟลตตำรวจเฉลิมลาภเป็นแห่งแรก และมี เป้าหมายเพื่อขยายผลไปยังชุมชนอื่นในอนาคต นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบในการบริหารจัดการคัดแยกขยะและเก็บกลับ บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคในการจัดกิจกรรมร่วมกับ Sustainability Expo ทั่วประเทศอีกด้วย
หลักการ “ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” (Extended Producer Responsibility หรือ EPR)
การดำเนินธุรกิจของไทยเบฟในประเทศไทยร่วมมือกับสถาบัน การจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ในการพัฒนา หลักการ “ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) ในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด การปลูกจิตสำนึกของผู้ผลิตให้มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของตนเอง ตลอดทั้งวงจร รวมไปถึงขั้นตอนหลังการบริโภค

ในปี 2567 TIPMSE ร่วมกับ 149 องค์กรเพื่อวางรากฐานในการนำ บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ที่ผ่านมา TIPMSE และพันธมิตรได้เริ่มโครงการ “PACKBACK...เก็บกลับ บรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยังยืน” ร่วมกับ 12 หน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัด ชลบุรี ได้แก่ เทศบาลเมืองแสนสุข เทศบาลเมืองบ้านบึง และเทศบาล ตำบลเกาะสีชัง เป็นต้น เพื่อประเมินความพร้อมของชุมชนท้องถิ่น ในการรับมือกับบทบาทของผู้จัดเก็บและรวบรวม โครงการนี้ ยังมุ่งเน้นการศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชนท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับหน้าที่ขององค์กร ผู้แทนความรับผิดชอบ (Producer Responsibility Organization หรือ PRO) ผ่านโครงการนำร่องของ TIPMSE ที่ได้สร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับองค์กรสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ PPP Plastics (โครงการ ความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมเพื่อจัดการ พลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน), PRO Thailand Network (เครือข่ายองค์กรความร่วมมือจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน) และโครงการ Al Loop และในปี 2568 ได้มีการทดลองการดำเนินงาน ตามหลักการ EPR
ภาคสมัครใจในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค เพื่อถอด บทเรียนการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการจัดทำ กรอบการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ในวันที่ 2 ตุลาคม 2567 ภายในงาน Sustainability Expo 2024 ได้จัดกิจกรรม “PackBack in Action ปี 3 รวมพลังเดินหน้า: The Drive for EPR in Thailand” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและเอกชนในการประกาศเจตจำนงร่วมกันเพื่อผลักดัน การขับเคลื่อนระบบ EPR ในประเทศไทย กิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างแนวทางที่เป็นรูปธรรม ในการส่งคืนบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยปัจจุบัน EPR ได้รับการยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับความร่วมมือ ระหว่าง FTI ในการพัฒนาระบบ EPR สำหรับบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย

นอกจากนี้ วันที่ 28 มีนาคม 2567 ทาง C asean ร่วมกับเครือข่าย ธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) และศูนย์อาเซียน เพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (“ACSDSD”) จัดสัมมนาในหัวข้อ “ASEAN Action Towards Circular Economy: Move Forward with Extended Producer Responsibility” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและผลักดันกลยุทธ์เชิงปฏิบัติ สำหรับการนำหลักการ EPR มาใช้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
กลุ่มธุรกิจเบียร์ SABECO ในประเทศเวียดนาม ได้ดำเนินการเชิงรุก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) โดยร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานท้องถิ่น และพันธมิตร เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของ EPR นอกจากนี้ SABECO มีการวิเคราะห์ และเลือกองค์กรที่ได้รับการอนุญาตอย่างเต็มรูปแบบอย่าง PRO-Vietnam เพื่อดำเนินการด้านการรีไซเคิล
โครงการบริหารจัดการขยะบนเกาะ (Island Model)
ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล (TBR) ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ท้องถิ่น รวมถึงซาเล้ง และร้านค้าของเก่าในพื้นที่เกาะสมุย เพื่อดำเนินโครงการ “Samui Model” สำหรับโครงการนี้ ไทยเบฟ สามารถดำเนินการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วและเศษแก้ว ได้เกินกว่าร้อยละ 100 ของน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วของบริษัท ที่ถูกส่งไปจำหน่ายในพื้นที่เกาะสมุย และยังสามารถสร้างรายได้ ให้แก่ชุมชนจากการขายบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกว่า 17.38 ล้านบาทต่อปี เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหาขยะ และยังสามารถกระจายรายได้ให้กับชุมชน

นอกจากเกาะสมุย TBR ยังได้ดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะ บนเกาะที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้เกาะสีชังมีการขาย บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคประเภทแก้วในรูปแบบเศษแก้วซึ่งมีมูลค่า ต่ำกว่าขวดแก้ว โดยร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน เพื่อสร้างความรู้ในการคัดแยกวัสดุรีไซเคิล และพัฒนารูปแบบ ที่ช่วยให้ร้านขายของเก่าในพื้นที่สามารถขายและขนส่งขวดแก้ว ออกจากเกาะ ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 90

ในปี 2567 บรรจุภัณฑ์ประเภทขวดแก้วจากทั้ง 2 เกาะถูกนำกลับมา ใช้ซ้ำและเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 1,849 ตัน และ TBR มีแผนในการขยายโครงการบริหารจัดการขยะออกไปยังเกาะล้าน เกาะเสม็ด และเกาะอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

โครงการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนของ F&NHB ในประเทศมาเลเซีย
F&NHB ร่วมกับ SWCorp ในโครงการปลูกฝังหลักการ 3R (ลดการใช้ ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล) ในโรงเรียนประถมและมัธยมจำนวน 1,465 แห่งทั่วประเทศมาเลเซีย โครงการนี้มุ่งสร้างความตระหนักรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการขยะในกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อส่งเสริมแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน

F&NHB เป็นผู้สนับสนุนโครงการ และมอบเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 219,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยให้โครงการเติบโตและประสบ ความสำเร็จ โดยสามารถเก็บวัสดุรีไซเคิลได้มากกว่า 7,500 ตัน แสดงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการนี้

ความร่วมมือนี้เป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นของ F&NHB ในด้าน ความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยผ่านความร่วมมือ กับ SWCorp ในการส่งเสริมหลักการ 3R แสดงให้เห็นว่า F&NHB ส่งเสริมวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วย สร้างอนาคตที่มีความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สำหรับประเทศมาเลเซีย
โครงการติดตั้งเครื่องรับคืนบรรจุภัณฑ์ (Reverse Vending Machine หรือ RVM) ของ F&N ที่ Klang Valley ประเทศมาเลเซีย
F&N ได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรม ได้แก่ KLEAN GRAB และ Malaysian Research Accelerator for Technology and Innovation เปิดตัวเครื่องรับคืนบรรจุภัณฑ์ (Reverse Vending Machine หรือ RVM) จำนวน 18 เครื่อง ที่ตั้งในจุดสำคัญ ของ Klang Valley โครงการนำร่องนี้ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 9 เดือน โดยเครื่อง RVM ที่พร้อมใช้งาน สามารถรับวัสดุที่สามารถ รีไซเคิลได้หลากหลาย ไม่เพียงแค่กระป๋องอะลูมิเนียมและขวด พลาสติก PET ที่เป็นวัสดุยอดนิยมในการรีไซเคิล แต่ยังรวมถึง ภาชนะพลาสติกสำหรับใส่อาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกของการ รวบรวมวัสดุรีไซเคิลให้กับประชาชน และส่งไปยังผู้รับรีไซเคิลที่ได้รับ การรับรอง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบใหม่ เช่น เม็ดพลาสติก (plastic pellets) และเกร็ดพลาสติก (plastic flakes) ก่อนนำไป ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น เครื่องแต่งกาย เบาะเฟอร์นิเจอร์ และเฟอร์นิเจอร์พลาสติกหรือกล่องพลาสติก ส่งเสริมให้วัสดุเหลือใช้ เหล่านี้มีประโยชน์อีกครั้ง เป็นการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
ความสำเร็จ
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N
ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมลง
2,583 ตัน
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2563
ก้าวสู่ อนาคต
ในปีที่จะถึงนี้ ไทยเบฟมีแผนที่จะดำเนินการประเมินบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรทั่วทั้งกลุ่ม เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความ สามารถในการรีไซเคิลของวัสดุที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท การประเมินนี้จะดำเนินการร่วมกับกลุ่มธุรกิจของไทยเบฟ โดยมีการ สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเยี่ยมชมร้านค้าของเก่า และโรงงานรีไซเคิล ตลอดจนการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำไปวิเคราะห์ หาแนวทางในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ของไทยเบฟ โดยส่วนประกอบของแต่ละบรรจุภัณฑ์จะได้รับการประเมินและจัดอันดับตามอัตรา การเก็บรวบรวมและการรีไซเคิล เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางในการปรับปรุง รวมถึงความสามารถในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถในการรีไซเคิลจะถูกผนวกเข้าในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่า เราได้คำนึงถึงความยั่งยืนตั้งแต่ต้น กระบวนการเหล่านี้จะถือเป็นการเตรียมตัวของไทยเบฟสำหรับหลักการขยายความรับผิดชอบ ของผู้ผลิต (EPR) ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต และเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมแนวปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียน และการมีส่วนร่วมในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดขึ้น