หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การกำกับดูแลองค์กร และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟยึดมั่นในการปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

ไทยเบฟเน้นย้ำความสำคัญของความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่า คณะกรรมการบริษัทสามารถปรึกษาหารือและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้าน รวมถึงผลกระทบทางสังคม สภาพแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับจรรยาบรรณของบริษัท ภายใต้กฎหมาย และกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัท รวมถึงการปฏิบัติตาม คู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ (SGX-ST Listing Manual) (“คู่มือเกี่ยวกับ การรับหลักทรัพย์”) และตามหลักการและแนวทางของหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดีปี 2561 (“หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2561”) โดยมีการวางแผนจัดการบริหารความยั่งยืนและ ความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ ให้แก่ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความเจริญเติบโต อย่างมั่นคงและยั่งยืน และเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นผู้นำขององค์กร ดูแลความเป็นผู้นำของธุรกิจโดยรวมในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และความสำเร็จในระยะยาวของ บริษัทในกลุ่มไทยเบฟทั้งในและต่างประเทศ (“กลุ่มบริษัทไทยเบฟ”) เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของไทยเบฟเป็นไปตามแผนธุรกิจหลักของ บริษัท ตามมติของผู้ถือหุ้นโดยสุจริต ภายใต้กฎหมาย และ กฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลให้บริษัท ในกลุ่มไทยเบฟปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (สามารถศึกษาโครงสร้าง องค์กรและรายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทได้จาก รายงานประจำปี 2567 บนเว็บไซต์ http://www.thaibev.com) โดยในปี 2567 บริษัทจัดให้มีการประชุมเชิงกลยุทธ์ของ คณะกรรมการในกลุ่มบริษัทไทยเบฟ เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการ ร่วมกันกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ระยะยาวของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ และส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างกรรมการ รวมทั้งจัดให้มี การประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและ คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงของบริษัท ในกลุ่มไทยเบฟ เพื่อรับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะด้านการพัฒนา กระบวนการบริหารความยั่งยืน ความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงระดับโลก ที่สำคัญ เพื่อผลักดันให้กลุ่มบริษัทไทยเบฟสามารถดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ไทยเบฟได้จัดการประชุม ประจำปีเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นในประเทศสิงคโปร์ (Annual Information Meeting หรือ AIM) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น ในประเทศสิงคโปร์ได้พบปะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ กลุ่มบริษัทไทยเบฟ โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร ระดับสูงได้นำเสนอข้อมูลโดยรวมของการดำเนินธุรกิจของ กลุ่มไทยเบฟ ข้อมูลการเงินที่สำคัญ และผลการดำเนินงาน ของกลุ่มธุรกิจหลัก ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมีส่วนร่วม ในช่วงถามตอบระหว่างการประชุม ทั้งนี้ ไทยเบฟยังได้เปิดเผยข้อมูล ที่นำเสนอในระหว่างประชุม ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGXNet) หลังจากการประชุม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมด จะได้รับทราบข้อมูลล่าสุดเช่นกัน

ทั้งนี้ ไทยเบฟได้ประกาศใช้นโยบายการรับข้อร้องเรียน เพื่อเน้นย้ำ ถึงการให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อร้องเรียนจากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของไทยเบฟ โดยในปี 2567 ไม่พบรายการ ขัดแย้งที่มีนัยสำคัญและไม่พบข้อร้องเรียนด้านจริยธรรมที่มี นัยสำคัญ ผ่านทางอีเมล
Whistleblowing@thaibev.com.
คุณนันทิกา นิลวรสกุล
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานกิจการองค์กรและธรรมาภิบาล เป็นตัวแทนในการรับรางวัลชนะเลิศ Most Transparent Company Award – Consumer Staples Category ในงาน SIAS Investors’ Choice Awards 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟได้กำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเพื่อยึดมั่น ในความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามกฎหมาย คุณธรรม และจริยธรรม รวมถึงการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทได้กำหนดกฎเกณฑ์ที่ครอบคลุมเพื่อป้องกันความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม โดยระบุไว้ในจรรยาบรรณ พนักงาน ข้อ 4.1 ความรับผิดชอบต่อบริษัท (2) พนักงานจะต้อง ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการที่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท หรือ กระทำการใด ๆ ที่อาจทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ น้อยกว่าที่ควรหรือเป็นการแบ่งผลประโยชน์ไปจากบริษัท นอกจากนี้ ข้อ 15 ของสัญญาจ้างงาน ยังระบุว่า ในระหว่างการทำงานกับบริษัท และภายในหนึ่งปีหลังจากพ้นสภาพการจ้างงาน พนักงานต้องตกลง ที่จะไม่กระทำการดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็น ลายลักษณ์อักษรจากบริษัท
  • 15.1 จ้างงานหรือเป็นลูกจ้างของนิติบุคคลหรือธุรกิจใด ๆ ที่เป็นคู่แข่งของบริษัทและ/หรือกลุ่มบริษัท
  • 15.2 ให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือความช่วยเหลือในลักษณะใด ๆ หรือทำสัญญากับนิติบุคคลหรือธุรกิจใด ๆ ของบุคคลที่เป็น คู่แข่งของบริษัทและ/หรือกลุ่มบริษัท ซึ่งอาจส่งผลกระทบ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจหรือการดำเนินงานของ บริษัทและ/หรือกลุ่มบริษัท
  • 15.3 ดำเนินธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับธุรกิจของบริษัทและ/ หรือกลุ่มบริษัท
ไทยเบฟมีหน้าที่รักษาความโปร่งใสในการดำเนินงาน ปกป้อง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงสภาวะทางการตลาดและ ปัจจัยเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงปฏิบัติต่อพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรม บริษัทมุ่งมั่น ในการส่งเสริมให้บุคลากรของบริษัททุกคนมีความเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ จะช่วยให้
  • บริษัทสามารถคงไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
  • สร้างความเป็นธรรมภายในองค์กร
  • พนักงานมีศักดิ์ศรีและความซื่อสัตย์
  • บริษัทได้รับการยอมรับจากสังคม
  • พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี
บริษัทจัดให้มีช่องทางการรายงานเรื่องการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ในการดำเนินธุรกิจ 3 ช่องทาง ดังนี้
  • 1. รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารของฝ่ายพนักงานสัมพันธ์และ การจัดการข้อร้องเรียน
  • 2. รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารสำหรับลูกค้าและผู้บริโภค โดยติดต่อผ่านทางบริการ Dhospaak Call Center
  • 3. รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทาง ธุรกิจ โดยส่งข้อเสนอแนะหรือข้อกังวลผ่าน ศูนย์บริการ ด้านการจัดซื้อ
ในปี พ.ศ. 2567 บริษัทพบกรณีการกระทำผิดวินัยที่เกี่ยวข้องกับ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวม 97 กรณี และอีก 1 กรณี ที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ

การต่อต้านการทุจริต
การทุจริตถือเป็นความผิดทางอาญาที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน แบบเสรี และเป็นการกระทำที่ขัดต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง ความเชื่อมั่นของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย และผลกำไรของบริษัท

เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนปฏิบัติตามนโยบาย ไทยเบฟกำหนดให้ พนักงานต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการฉ้อฉลและ การทุจริต รวมถึงผลกระทบทางกฎหมายและการลงโทษทางวินัย จากการทุจริตดังกล่าว

ไทยเบฟดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาล ด้วยความยุติธรรม และยึดมั่นตามจรรยาบรรณเครือไทยเบฟเวอเรจ พร้อมทั้งคำนึงถึง ผลประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทได้กำหนดนโยบายการต่อต้าน การคอร์รัปชัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันการทุจริต รวมถึงเป็น แนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมความมั่นคงและการเติบโต อย่างยั่งยืน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีหน้าที่ติดตามและกำหนดให้มีระบบรองรับ การต่อต้านการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ และรายงานต่อประธาน กรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ รวมถึงทบทวนและ นำเสนอนโยบายให้ทันสมัย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง ธุรกิจ กฎระเบียบ มาตรฐาน และกฎหมาย ต่อคณะกรรมการบริษัท โดยไทยเบฟได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กร ดังนี้
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารมีหน้าที่ส่งเสริมให้ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนปฏิบัติตามนโยบาย
  • คณะกรรมการบริษัทและพนักงานมีหน้าที่ในการรักษามาตรฐาน สูงสุดในการดำเนินธุรกิจ
  • พนักงานต้องไม่ละเลยหลักฐานหรือพฤติกรรมที่บ่งชี้ถึง การทุจริต
  • พนักงานต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง อย่างเต็มที่
การไม่ปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันของไทยเบฟถือเป็น ความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงที่ถือเป็นการละเมิดสัญญาจ้างและ เป็นความผิดทางอาญา ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อชื่อเสียงของบริษัท หากพบเห็นการทุจริต ต้องรายงานต่อ ผู้บังคับบัญชา บุคคลผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบของ บริษัทและอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

บริษัทจัดให้มีกระบวนการสอบสวนอย่างโปร่งใสและเคร่งครัดตามที่ กำหนดไว้ในจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งกำหนดบทลงโทษที่ เป็นธรรมและเหมาะสมสำหรับพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย โดยในรอบปีงบประมาณ 2567 พบว่ามีกรณีที่พนักงานไม่ปฏิบัติ ตามนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันของไทยเบฟที่ไม่รุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากตำแหน่ง ที่ได้รับแต่งตั้งมอบหมายจากไทยเบฟไปในทางที่มิชอบ ทั้งหมด 97 กรณี ซึ่งถูกลงโทษโดยการเลิกจ้าง ทั้งนี้ ไม่พบการทุจริต โดยพันธมิตรทางธุรกิจ

การรับข้อร้องเรียน
ไทยเบฟสนับสนุนให้พนักงานทั้งหมดแจ้งข้อเท็จจริงอันมีมูล เกี่ยวกับการกระทำที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจเป็นความผิดตาม นโยบายมายังช่องทางการรับข้อร้องเรียนของบริษัท พนักงานที่ แจ้งข้อเท็จจริงอันชอบธรรมจะไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หากเป็นการแจ้งข้อร้องเรียนโดยสุจริต ขั้นตอนการยื่นเรื่อง ร้องเรียนมีดังนี้
  • หากกรรมการมีเรื่องร้องเรียน ให้กรรมการแจ้งข้อร้องเรียน ดังกล่าวแก่ประธานกรรมการตรวจสอบ
  • หากพนักงานมีเรื่องร้องเรียน ให้พนักงานแจ้งข้อร้องเรียน ดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางที่แนะนำ โดยระบุชื่อ และรายละเอียดการติดต่อ และควรแจ้งไปยังผู้บังคับบัญชา ตามสายงาน/ส่วนงาน/สำนักงานหรือสำนัก
  • ในกรณีที่เป็นเรื่องร้ายแรง พนักงานสามารถแจ้งข้อร้องเรียน มายังสำนักประธานเจ้าหน้าที่บริหารผ่านทางอีเมล whistleblowing@thaibev.com.
  • ไทยเบฟพร้อมที่จะปกป้องพนักงานที่แจ้งข้อร้องเรียนโดยสุจริต โดยรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับและจะดำเนินการกับการกระทำ ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่าอาจเป็นความผิดที่เกิดขึ้นภายใน ไทยเบฟอย่างเข้มงวด
  • เมื่อมีพนักงานแจ้งข้อร้องเรียน ไทยเบฟจะพิจารณาดำเนินการ ขั้นต่อไป ซึ่งอาจเป็นการสืบสวนเป็นการภายในหรือส่งเรื่องต่อ เพื่อดำเนินการสืบสวนโดยบุคคลภายนอก
  • หากตรวจพบว่าการแจ้งข้อร้องเรียนอันเป็นเท็จหรือโดยทุจริต หรือมีลักษณะประสงค์ร้าย หรือโดยปราศจากความรอบคอบ หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล จะถือว่ามีความผิดทางวินัย ตามที่ระบุไว้ในคู่มือพนักงานของไทยเบฟ

การละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
ไทยเบฟกำหนดให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขององค์กร และข้อกฎหมายของทุกประเทศที่ไทยเบฟดำเนินกิจการ หากมีการละเมิดกฎระเบียบ ข้อบังคับด้านจริยธรรม มาตรฐาน ความเป็นเลิศขององค์กร หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน สถานประกอบการหรือสถานที่ดำเนินธุรกิจ จะต้องยุติการกระทำ ดังกล่าวทันที พร้อมทั้งดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับ ปัญหา ในปี 2567 ไทยเบฟพบการละเมิดบางกรณีที่ไม่รุนแรง (การละเมิดแบ่งตามมูลค่าเงินของการกระทำ คดีสำคัญมีมูลค่า ความเสียหายตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป และคดีเล็กน้อยมีมูลค่า ความเสียหายต่ำกว่า 300,000 บาท)

เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนกฎระเบียบ ไทยเบฟได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • จัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานและผู้บริหารใหม่
  • จัดหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์สำหรับพนักงาน
  • สื่อสารเรื่องจริยธรรมในการประกอบธุรกิจให้แก่พนักงาน
  • กำหนดให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามจรรยาบรรณเครือไทยเบฟเวอเรจ
  • ดำเนินการอย่างเด็ดขาดโดยทันทีเมื่อพบว่ามีการฉ้อโกงรวมถึงการเอาผิดทางกฎหมาย
  • จัดให้สำนักงานตรวจสอบภายในดำเนินการตรวจสอบภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าไทยเบฟปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับภายใต้กฎหมาย

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
กลุ่มไทยเบฟมีการติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบ และกฎหมายในประเทศไทยและประเทศอื่นที่เข้าไปดำ�เนินธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มไทยเบฟมีช่องทางติดตามการเปลี่ยนแปลง ของกฎหมายจากการเป็นสมาชิกหอการค้าไทย สภาหอการค้า แห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับ แจ้งข้อมูลจากที่ปรึกษากฎหมายภายนอก รวมทั้งสืบค้นข้อมูล กฎหมายและข่าวสารจากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำ�นักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ราชกิจจานุเบกษา สำ�นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมสรรพากร เป็นต้น ซึ่งในปี 2567 มีกฎหมายออกใหม่หลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างการเติบโตของกลุ่มไทยเบฟ กลุ่มไทยเบฟจึงได้ปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ บริษัทดังนี้ ิ

กฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2567 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 7)
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้นไป โดยกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นการแก้ไขปรับปรุงอัตราภาษี สรรพสามิตสำหรับสินค้าสุราประเภทไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ ที่ทำจากองุ่น สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น และสุราแช่พื้นบ้าน ดังนี้
  • สินค้าประเภทไวน์และสปาร์กลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น มีการปรับอัตราภาษีตามมูลค่าโดยปรับเพิ่มอัตราภาษีตามมูลค่าของสินค้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 1,000 บาท จากร้อยละ 0 ของราคาขายปลีกแนะนำเป็นร้อยละ 5 ของราคาขายปลีกแนะนำ และปรับลดอัตราภาษีตามมูลค่าของสินค้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกินกว่า 1,000 บาท จากร้อยละ 10 ของราคาขายปลีกแนะนำ เป็นร้อยละ 5 ของราคาขายปลีกแนะนำ และมีการปรับลดอัตราภาษีตามปริมาณจากอัตรา 1,500 บาทต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็น อัตรา 1,000 บาท ต่อ ปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
  • สินค้าประเภทสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น ซึ่งมีแรงแอลกอฮอล์เกิน 7 ดีกรี หรือมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี แต่มีขนาดบรรจุเกินกว่า 0.330 ลิตร มีการปรับลดอัตราภาษีตามมูลค่าลงจากร้อยละ 10 ของราคาขายปลีก แนะนำ เป็น ร้อยละ 0 ของราคาขายปลีกแนะนำ
  • สินค้าประเภทสุราแช่พื้นบ้านที่มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี มีการปรับลดอัตราภาษีตามมูลค่าลงจากร้อยละ 10 ของราคาขายปลีกแนะนำ เป็น ร้อยละ 0 ของราคาขายปลีกแนะนำ
  • สินค้าประเภทสุราแช่ที่มีการผสมสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์เกิน 7 ดีกรี มีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตตามปริมาณจากอัตรา 150 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตรา 255 บาท ต่อ ปริมาณ 1 ลิตร แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
ส่วนประกาศกระทรวงการคลังฉบับนี้เป็นการยกเว้นอากรขาเข้า ให้แก่สินค้าประเภทไวน์ทุกชนิดตามประเภทพิกัด 22.04 (ไวน์ที่ทำจากองุ่นสด และเกรปมัสต์) และพิกัด 22.05 (เวอร์มุท และไวน์ที่ทำจากองุ่นสด ปรุงกลิ่นรสด้วยพืชหรือสารหอม)

เนื่องจากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตและการยกเว้นอากร ขาเข้าดังกล่าวอาจเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคบางส่วนเปลี่ยน พฤติกรรมในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มไทยเบฟ จึงได้วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้ เหมาะสม เน้นการรักษาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่แล้วของกลุ่มไทยเบฟให้ดีอยู่เสมอ และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ ผู้บริโภค เพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ และสร้างการจดจำ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยเบฟ
พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายต้องแจ้งให้ทราบตาม พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แจ้งการประกอบธุรกิจดังกล่าว ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและการควบคุม ดูแลตามที่ระบุไว้ในหมวด 2 ซึ่งต้องมีการแจ้งปรับปรุงข้อมูลให้ สพธอ. ทราบทุกปีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี แต่ละคราว และแจ้งให้ สพธอ. ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ชื่อบริการ แพลตฟอร์มดิจิทัล ประเภทบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ช่องทางการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ยูอาร์แอล (URL) หรือแอปพลิเคชัน โดยผู้ประกอบธุรกิจที่เข้าข่ายต้องแจ้งให้ สพธอ. ทราบที่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ในวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับจะต้องแจ้งการประกอบธุรกิจให้ สพธอ. ทราบภายใน 90 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ คือ ภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 แต่หากเป็น ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดเล็กจะต้อง แจ้งแบบย่อให้ สพธอ. ทราบภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2567 กลุ่มไทยเบฟซึ่งได้มีการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีมาประยุกต์ ใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงได้ตรวจสอบการดำเนินการธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ของกลุ่มไทยเบฟและแจ้งการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม ดิจิทัลให้ สพธอ. ทราบตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลา ดังกล่าว รวมทั้งมีมาตรการในการกำกับดูแลและติดตามให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและ/หรือ การปรับปรุงข้อมูลต่อ สพธอ. ตามกำหนดเวลาดังกล่าวต่อไป

นอกจากนี้ กลุ่มไทยเบฟจะมีการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ ผู้บริหารและพนักงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของ สพธอ. และระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสำหรับการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรมที่มิได้ กระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย พ.ศ. 2566
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยประกาศ ฉบับนี้เป็นการจำกัดสิทธิของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรม ที่มิได้กระทำภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำได้เมื่อมีกฎหมายบัญญัติ ให้กระทำได้ หรือได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้วัตถุประสงค์ที่จำกัดไว้ ได้แก่ การพิจารณารับบุคคลเข้าทำงาน หรือการตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หรือพิจารณาความเหมาะสมของบุคคลที่จะให้ ดำรงตำแหน่งใด หรือการตรวจสอบคุณสมบัติหรือลักษณะ ต้องห้ามของบุคคลในการอนุญาต อนุมัติ รับรอง เห็นชอบ ให้ความเห็น พิจารณา พิจารณาอุทธรณ์ ร้องทุกข์ หรือร้องเรียน ดำเนินการ จ่ายเงิน ให้ได้รับสวัสดิการ หรือให้บริการอื่นแก่บุคคล เท่านั้น

กลุ่มไทยเบฟให้ความสำคัญและเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัว ของข้อมูลส่วนบุคคลจึงได้ให้หน่วยงานที่มีการเก็บข้อมูล ส่วนบุคคลทำการทบทวนถึงความจำเป็นในการเก็บประวัติ อาชญากรรม และดำเนินการให้มีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติ ให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ เช่น การปรับปรุงแบบฟอร์ม ใบสมัครงานและจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ ข้อมูลดังกล่าวตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยจะจัดเก็บ ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรมไว้ไม่เกินกว่า ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และเมื่อพ้นเวลาที่สามารถเก็บ รวบรวมข้อมูลดังกล่าวไว้หรือหมดความจำเป็นจะต้องมีการลบ หรือทำลายหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และมีมาตรการ ในการตรวจติดตามและสอบทานการดำเนินการดังกล่าว เป็นระยะ ๆ เพื่อลดความเสี่ยงขององค์กรและปกป้องสิทธิและ เสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
ไทยเบฟดำเนินธุรกิจภายใต้หลักธรรมาภิบาลด้วยระบบการบริหาร จัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบ และเป็นธรรม บริษัทมีส่วนร่วมและสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทาง การค้าและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ไทยเบฟ ให้คำแนะนำและแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ กลุ่มธุรกิจ และผู้บริโภค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานนโยบายภาครัฐ และเอกชน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรวมอย่างยั่งยืน
โครงการสำคัญ

การสนับสนุนสมาคมการค้า และองค์กรภาคประชาสังคม
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ไทยเบฟได้ทำงานร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย ซึ่งเป็นหอการค้าแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นโดยเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์กรชั้นนำทางธุรกิจ โดยประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการสื่อสาร ขับเคลื่อน และเชื่อมโยงนโยบายของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับ นโยบายรัฐที่สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันขององค์กร ภาคธุรกิจ ในปี 2567 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของไทยเบฟได้เข้าร่วม การบรรยายพิเศษถ่ายทอดองค์ความรู้ในฐานะนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ภายใต้ โครงการ Young Entrepreneur Chamber of Commerce (YEC) President Training ของหอการค้าไทย
สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ซึ่งดำเนินงานภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ไทยเบฟให้การสนับสนุนโครงการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ในประเทศไทย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการจัดการ บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคแบบหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะสมาชิกของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อ สิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ไทยเบฟมีบทบาทสำคัญ ในการส่งเสริมการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับ พันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงสถาบันวิจัย องค์กรภาคเอกชน และคู่ค้าผู้เก็บกลับบรรจุภัณฑ์รายสำคัญ ไทยเบฟเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนหลักด้านการพัฒนาหลักการ EPR นอกจากให้การสนับสนุนทางการเงินแล้ว ยังบริหารจัดการโครงการ PACKBACK ซึ่งนำร่องขึ้นในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย รวมถึง เก็บรวบรวมข้อมูลการรีไซเคิลแก้วเพื่อนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูล บรรจุภัณฑ์ระดับประเทศ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้จัดสรรสถานที่ รับซื้อและคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคของบริษัทให้เป็น ศูนย์กลางสำหรับโครงการนำร่อง PACKBACK ของ TIPMSE ซึ่งช่วยผลักดันโครงการ EPR ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประกอบด้วยผู้นำ ภาคอุตสาหกรรมที่รวมตัวกันกำหนดแนวทาง เสนอความคิดเห็น ปกป้อง และรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกในภาคอุตสาหกรรมของ ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมถึงประสานงานกับรัฐบาลในการกำหนดนโยบายระดับชาติ และให้คำปรึกษาแก่สมาชิก ทั้งนี้ ไทยเบฟสนับสนุนการดำเนินงาน ของส.อ.ท. ในทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ การร่วมเป็นสมาชิก และการสนับสนุนด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน มีการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค เพื่อช่วยลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้ การจัดการบรรจุภัณฑ์มีความยั่งยืนมากขึ้น
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)
ไทยเบฟมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กรที่ไม่แสวงหา ผลกำไร เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กร และระดับประเทศ โดยมีผู้บริหารของไทยเบฟดำรงตำแหน่งใน คณะกรรมการของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) นอกจากนี้ ไทยเบฟยังคงให้การสนับสนุน TMA ด้านงบประมาณ สำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดสัมมนาด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ในปี 2567 ไทยเบฟได้สนับสนุนงาน TMA 60th Years of Excellence ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่เชื่อมโยงผู้นำระดับโลกและระดับ ภูมิภาคจากองค์กรชั้นนำต่าง ๆ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอาเซียน รวมถึง ประเทศไทยในอนาคต
ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)
ไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาค เอกชน จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 โดย UNGC เป็นกรอบการ ดำเนินงานของสหประชาชาติเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนา ที่ยั่งยืน ซึ่งมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัท ในทุกภาคอุตสาหกรรม มูลนิธิ และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งกระตุ้นให้ทุกฝ่ายดำเนินงานอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึง หลักการสากล 10 ประการของ UNGC

หลักการสากลดังกล่าวครอบคลุม 4 มิติหลัก ได้แก่ การต่อต้าน การทุจริต มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน และการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ไทยเบฟตระหนักว่าการคุ้มครองและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา ที่ยั่งยืน บริษัทจึงมุ่งมั่นดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน อีกทั้งยังทุ่มเทพัฒนาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน น้ำ บรรจุภัณฑ์ และการจัดการของเสียให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ไทยเบฟตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ในการ ช่วยผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติที่ 17 เรื่อง “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยที่ผ่านมา บริษัทได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญ ของ GCNT เช่น การเผยแพร่บทความด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับธุรกิจอื่น ๆ
สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม (TVBC)
เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศ เวียดนาม รวมถึงผลักดันความร่วมมือในการเผชิญกับความท้าทาย ทางธุรกิจและเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนเพื่อความสำเร็จ ร่วมกันของทั้งสองประเทศ ไทยเบฟได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของ สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม (TVBC) และเข้าร่วมการประชุมเพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมของ TVBC โดยมุ่งเน้น การส่งเสริมความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่าง ผู้ประกอบการไทยและเวียดนาม ในเดือนธันวาคม 2566 ไทยเบฟ ให้การสนับสนุนงาน Viet Nam - Thailand Business Policy & Legislation Forum: Enhancing Trade And Investment Collaboration ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยโดย TVBC ร่วมกับ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมมิตรภาพ ไทย-เวียดนาม และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI)