หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ไทยเบฟมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยมีรากฐานมาจากการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มีนัยสำคัญที่สุดของการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดขององค์กร ด้วยตระหนักถึงบทบาทสำคัญ ของคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราจึงให้ความสำคัญกับการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลก
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ไทยเบฟจึงมุ่งเน้นการพัฒนาคู่ค้า และสนับสนุนการบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการคัดกรองคู่ค้า เราทำงานร่วมกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิดโดยมีการจัดอบรมและพัฒนาคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสามารถนำแนวปฏิบัติไปปรับใช้ในการจัดทำรายงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการประเมินผลการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ด้วยการใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ากับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้คู่ค้าปฏิบัติ ตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และยึดมั่นในหลักการความรับผิดชอบ ต่อสังคมและการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม

ไทยเบฟยึดถือแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ (Supplier and Business Partner Code of Practice) โดยครอบคลุม สาระสำคัญในด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกไปจนถึงกฎเกณฑ์ การจ้างงานที่เป็นธรรม นอกจากนี้ ไทยเบฟยังคัดกรองและประเมิน คู่ค้าทั้งหมดโดยใช้เกณฑ์ด้าน ESG เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟและลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสีย ต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ ด้วยความ ร่วมมืออันแข็งแกร่ง ไทยเบฟจึงสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของไทยเบฟ
แนวทางการบริหารจัดการ
คณะกรรมการจัดหาวัตถุดิบหลัก (Group Procurement Committee หรือ GPC) มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางกรอบกลยุทธ์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานของไทยเบฟเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง ปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ (Supplier and Business Partner Code of Practice) ไทยเบฟคำนึงถึงประเด็นสำคัญ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 5 ประการ ได้แก่ กลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำ สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ ไทยเบฟกำหนดให้คู่ค้าต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและ พันธมิตรทางธุรกิจอย่างเข้มงวด โดยมีกระบวนการประเมินผลการ ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาศักยภาพ รวมถึงจัดให้มีการอบรมด้านการ พัฒนาอย่างยั่งยืนและการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ทีมปฏิบัติงานมีความพร้อมทางด้านทักษะสามารถทำงานได้ ตามมาตรฐาน นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมุ่งเน้นพัฒนาคู่ค้าด้านความ ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานผ่านเครือข่ายธุรกิจ ห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) และโครงการยกย่องคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศ เช่น โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้า

กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของไทยเบฟมุ่งเน้นที่ เสาหลักสามประการเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว ในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน
  • 1. การจัดซื้อจัดจ้างแบบรวมศูนย์:
    แนวทางการบริหารงานแบบรวมศูนย์ทำให้ไทยเบฟสามารถ รวบรวมการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ทำให้เกิดความโปร่งใสและเป็นไปตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยรูปแบบ การรวมศูนย์ ไทยเบฟสามารถเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เร็วขึ้น และเสริมสร้างการกำกับ ดูแลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
  • 2. การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน:
    ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะจัดหาสินค้าและบริการอย่างมีความรับผิดชอบ โดยให้ความสำคัญกับคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนสอดคล้อง กับค่านิยมของไทยเบฟ ในการคัดเลือกวัตถุดิบ ไทยเบฟใช้ เกณฑ์ด้าน ESG เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 และสนับสนุนแนวทางเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน เสาหลักนี้ยัง มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าที่ใส่ใจในการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมทางธุรกิจ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 3. การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้าเชิงกลยุทธ์:
    ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง กับคู่ค้า ไทยเบฟจึงมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระยะยาว เราผสานการทำงานเชิงรุกกับคู่ค้าเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา อย่างยั่งยืน เปิดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ และมั่นใจว่า คู่ค้าดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับเป้าหมายของไทยเบฟ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมความรับผิดชอบ ต่อสังคม การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจช่วยสร้างคุณค่า ไทยเบฟร่วมกันและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น
ประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

วัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน (ESG) ในการจัดการ ห่วงโซ่อุปทาน
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของไทยเบฟยึดถือวัตถุประสงค์ ด้านความยั่งยืน 3 ประการ ดังนี้
1. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3)
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 ตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญกับกลุ่ม สินค้าและบริการที่มีความเข้มข้นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในระดับสูง และทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าเพื่อติดตาม รายงาน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา สอดคล้องกับ ความมุ่งมั่นของไทยเบฟที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อย ทางอ้อมอื่น ๆ สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593

2. การพัฒนาและการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้า
ไทยเบฟดำเนินโครงการพัฒนาคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้น การนำแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนไปปฏิบัติจริง ไทยเบฟ จัดฝึกอบรม จัดหาทรัพยากร และสนับสนุนคู่ค้าให้ปฏิบัติตาม มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และยกย่องคู่ค้าที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศด้วยการมอบ รางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้า

3. การพิจารณาปัจจัยด้านความยั่งยืนในการคัดเลือกคู่ค้า
ไทยเบฟกำหนดเกณฑ์ความยั่งยืนในการคัดเลือกคู่ค้า เพื่อให้ มั่นใจว่ามีการพิจารณาด้าน ESG เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ จัดซื้อจัดหา โดยเริ่มต้นจากกระบวนการนำคู่ค้าเข้าสู่ระบบ ซึ่ง คู่ค้าจะต้องยอมรับแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทาง ธุรกิจและผ่านขั้นตอนการคัดกรองคู่ค้า (Supplier Screening) และการประเมินคู่ค้า (Supplier Assessment) โดยกระบวนการ ประเมินคุณสมบัติเบื้องต้นของคู่ค้าประกอบไปด้วยการประเมิน ความยั่งยืนผ่านแบบประเมิน การตรวจสอบเอกสารรับรอง จากหน่วยงานภายนอก และการตรวจประเมินคู่ค้า ณ สถาน ประกอบการ เพื่อระบุและสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าที่สอดคล้อง ตามมาตรฐานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของไทยเบฟ

แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
เป้าหมาย
เป้าหมายของกลุ่มไทยเบฟ เป้าหมายของประเทศไทย
  • 100% ของคู่ค้าของไทยเบฟรับทราบและยอมรับแนวทางปฏิบัติ สำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ภายในปี 2573
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3) ภายในปี 2593
  • 100% ของวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ (เช่น ข้าวมอลต์ ฮอปส์ น้ำตาล ปลายข้าว ใบชา และน้ำมันปาล์ม) มาจากการ จัดซื้อจัดจ้างอย่างมีความรับผิดชอบ ภายในปี 2568
  • 100% ของคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ (Strategic Suppliers) จัดทำ และบังคับใช้แนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าของตนเอง ภายในปี 2573
  • 100% ของคู่ค้าที่มีการซื้อขาย (Active Suppliers) จะได้รับ การประเมินและตรวจสอบความเสี่ยงด้านความยั่งยืนหรือใช้ ฐานข้อมูลความเสี่ยงจากองค์กรอิสระ ภายในปี 2573
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N โดยไทยเบฟจะประเมินข้อมูลพื้นฐานและทบทวนเป้าหมายเพื่อรวมการดำเนินงานของ F&N ไว้ในปี 2568
คำนิยาม
  • คู่ค้าที่มีการซื้อขาย (Active Suppliers) หมายถึง คู่ค้าที่มีการทำธุรกรรมทางธุรกิจกับไทยเบฟในปีที่มีการรายงาน โดยมีมูลค่าการทำธุรกรรมรวมขั้นต่ำ ที่ 100,000 บาทต่อปี
  • คู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ (Strategic Suppliers) หมายถึง คู่ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีผลกระทบสูงต่อศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทและมีความเสี่ยง ด้านอุปทานสูง โดยอ้างอิงตามหลักการ Kraljic Matrix

แนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การบูรณาการปัจจัยด้านความยั่งยืนเข้าไปสู่การจัดซื้อจัดจ้าง

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
แพลตฟอร์มภายในองค์กร
แพลตฟอร์มภายนอกองค์กร
โครงการสำคัญ

เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN)
ไทยเบฟและคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ได้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่ อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network หรือ TSCN) เพื่อสร้างระบบนิเวศห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นและมี ความรับผิดชอบในประเทศไทย โดยการเชื่อมโยงคู่ค้าและพันธมิตร ทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน TSCN ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเติบโตจากการผสาน ความร่วมมือ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยสนับสนุนแนวทางสู่ความยั่งยืน ของประเทศไทย
ความร่วมมือในงาน Sustainability Expo 2024
TSCN มีบทบาทโดดเด่นในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและ ให้ความรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน ในงานนี้ TSCN ได้นำเสนอนวัตกรรมสีเขียวจากสมาชิก หลากหลายกลุ่ม พร้อมทั้งจัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ เวิร์กช็อป แบบโต้ตอบ และโอกาสในการจับคู่ธุรกิจ ความร่วมมือนี้สะท้อน ถึงความมุ่งมั่นของ TSCN ในการส่งเสริมความตระหนักรู้ด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ให้กับผู้ประกอบการไทย และสังคมโดยรวมอย่างยั่งยืน
รางวัลด้านความยั่งยืนเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่ง ประเทศไทย (SX TSCN Sustainability Award 2024)
รางวัล SX TSCN Sustainability Award 2024 ซึ่งเป็นรางวัล แรกที่ TSCN ได้ริเริ่มขึ้น เพื่อยกย่องบริษัทสมาชิก TSCN ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยยึดถือแนวทาง ปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลอย่างโดดเด่น หลักเกณฑ์การมอบรางวัลพิจารณาจากประโยชน์ที่วัดผลได้ ในมิติต่าง ๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม และ ความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รางวัลดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ของประเทศไทย โดยกระตุ้นให้สมาชิกรายอื่น ๆ ยกระดับ ความพยายามด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และมีส่วนสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น
แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN Business Partner Code of Conduct)
แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน แห่งประเทศไทยระบุหลักการพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่คาดหวังจากสมาชิก TSCN ทุกราย เพื่อให้ สมาชิกยึดถือในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและ ปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับสูง แนวทางปฏิบัติ ดังกล่าวสนับสนุนให้สมาชิกนำหลักปฏิบัติด้านความยั่งยืนมา ใช้ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานของตนเอง และปรับแนวทาง การดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์โดยรวมของ TSCN ในการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ยั่งยืนและมีจริยธรรม
โครงการฝึกอบรม Train-the-Trainer
TSCN ในฐานะส่วนหนึ่งของภารกิจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการไทย จึงได้ริเริ่มโครงการ ฝึกอบรม Train-the-Trainer ร่วมกับบริษัทผู้ก่อตั้ง TSCN โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะให้กับตัวแทนจาก บริษัทผู้ก่อตั้ง เพื่อให้นำแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนที่มี ประสิทธิผลไปปรับใช้ในองค์กรโดยเน้นประเด็นสำคัญ เช่น การติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลยุทธ์การลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการจัดการด้านความยั่งยืน รวมถึง โครงการเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ก้าวไปสู่การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยโครงการนี้ TSCN พร้อม ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน และมี ส่วนสำคัญในการสนับสนุนเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทย
การขยายผลไปยังประเทศเวียดนาม
TSCN ได้ต่อยอดความสำเร็จจากการผสานความร่วมมือกัน ในประเทศไทยไปสู่ประเทศเวียดนาม ผู้ก่อตั้ง TSCN ได้จัด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่าง ยั่งยืน นวัตกรรมสีเขียว และผสมผสานแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม กับคู่ค้าในพื้นที่และสอดคล้องกับมาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก ได้แก่ การจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และการลดขยะ กิจกรรมดังกล่าว ยังช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้ระหว่างคู่ค้าในประเทศไทยและ ประเทศเวียดนาม รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดน เพื่อเสริมสร้างความพยายามด้านความยั่งยืนโดยรวมของ ภูมิภาค การต่อยอดความร่วมมือนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ของ TSCN ในการขยายของโครงการตลอดทั้งภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้คู่ค้าในประเทศอื่น ๆ ได้รับประโยชน์จากโอกาสที่เท่าเทียม กันในการเติบโตและการยอมรับ TSCN จึงเน้นย้ำถึงบทบาทของ เครือข่ายในฐานะผู้ขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล และความเข้มแข็งภายในห่วงโซ่อุปทาน ในภูมิภาค ผ่านการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน

เกษตรกรรมที่ยั่งยืนและการจัดหาวัตถุดิบอย่างมี ความรับผิดชอบ
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืนโดยร่วมมือกับคู่ค้า ที่จำหน่ายวัตถุดิบหลักทางการเกษตร เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกร ในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่วัตถุดิบหลัก เช่น ข้าวมอลต์ ฮอปส์ น้ำตาล ปลายข้าว ใบชา และน้ำมันปาล์ม ไทยเบฟส่งเสริมแนวทาง การเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร รักษาระบบนิเวศ และปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล ได้แก่ Bonsucro, RSPO, SAI Platform, SEDEX / SMETA และ Rainforest Alliance

น้ำมันปาล์มเป็นองค์ประกอบสำคัญของห่วงโซ่อุปทาน ในประเทศ มาเลเซียโดยเฉพาะการดำเนินงานของ F&N ปัจจุบัน น้ำมันปาล์ม ที่ใช้ทั้งหมดผ่านการรับรองมาตรฐาน Roundtable for Sustainable Palm Oil (RSPO) โดยมีสัดส่วนน้ำมันปาล์มที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน Certified Sustainable Palm Oil (CSPO) ร้อยละ 80 และเป็นน้ำมันปาล์มที่ใช้เครดิต RSPO ชดเชยอีกร้อยละ 20 นอกจากนี้ กระดาษสำหรับบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ได้รับการรับรอง มาตรฐาน FSC เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ากระดาษที่นำมาใช้มาจากป่าไม้ ที่ได้รับการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ แนวทางการดำเนินงาน ในประเทศไทยและประเทศมาเลเซียสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ไทยเบฟในการส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน พร้อมทั้ง สร้างห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรที่ยืดหยุ่นและมีความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังร่วมมือกับคู่ค้าวัตถุดิบหลักทางการเกษตร ได้แก่ น้ำตาลและปลายข้าว เพื่อส่งเสริมแนวทางการทำเกษตรอย่าง ยั่งยืนสำหรับคู่ค้าทางอ้อม (Non-tier 1 Supplier) ในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการจัดการสารอาหาร การควบคุมศัตรูพืชเพื่อรักษาระบบ นิเวศ การอนุรักษ์น้ำ และการปรับปรุงคุณภาพของดิน นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบอัตโนมัติ เช่น รถแทรกเตอร์นำทางด้วย GPS การใช้โดรน และการชลประทานด้วยระบบ IoT (Internet of Things) ช่วยเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกรและยังลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนวทางดังกล่าวช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงสนับสนุน วัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟและเป้าหมายด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

โครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้าของไทยเบฟ
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคู่ค้า ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน สนับสนุนการดำเนินธุรกิจ อย่างยั่งยืน และผลักดันนวัตกรรม โดยมอบรางวัลให้แก่คู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ของไทยเบฟ รวมถึงคู่ค้ารายสำคัญ คู่ค้าที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจแน่นแฟ้น และคู่ค้าที่มีมูลค่าการจำหน่ายสินค้าสูง การมอบรางวัลพิจารณาจากความโดดเด่นในการสร้างความยั่งยืน และความเป็นเลิศทางธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Silver, Gold และ Platinum สำหรับคู่ค้าที่ได้รับรางวัลระดับ Gold ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี

ตั้งแต่ปี 2565 ไทยเบฟได้ขยายผลโครงการนี้ไปยังประเทศมาเลเซียร่วมกับ F&N เพื่อให้คู่ค้าในประเทศอื่น ๆ ที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมได้รับการยอมรับในระดับเดียวกับคู่ค้าในประเทศไทยในปี 2567 คู่ค้า 2 รายจากมาเลเซียได้รับรางวัล Silver และ Gold จากผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โครงการนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ไทยเบฟและ F&N ในการเสริมสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งพร้อมสนับสนุนการพัฒนาคู่ค้า โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

การจัดกลุ่มและสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ค้าเพื่อการ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3)
ไทยเบฟจัดกลุ่มคู่ค้าตามศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 โดยแบ่งคู่ค้าออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
  • 1. ระดับเริ่มต้น (Beginner):
    คู่ค้าที่ยังไม่มีการจัดทำบัญชี ก๊าซเรือนกระจกและกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก
  • 2. ระดับมีศักยภาพ (Competence):
    คู่ค้าที่มีการจัดทำบัญชี ก๊าซเรือนกระจก แต่ยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นทางการ
  • 3. ระดับต้นแบบ (Role Model):
    คู่ค้าที่มีการจัดทำบัญชี ก๊าซเรือนกระจกและได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก แม้ว่าเป้าหมายอาจไม่สอดคล้องกับการ ตั้งเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (SBTi)
  • 4. ระดับผู้นำ (Leader):
    คู่ค้าที่มีการดำเนินการด้านความยั่งยืน ในระดับสูงและครบถ้วน โดยครอบคลุมการจัดทำบัญชี ก๊าซเรือนกระจกและกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ SBTi
ไทยเบฟเข้าใจความต้องการและความท้าทายที่หลากหลายของคู่ค้า ในการเปลี่ยนผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงได้ปรับกลยุทธ์ การมีส่วนร่วมให้เหมาะสมกับการจัดกลุ่มของคู่ค้าแต่ละราย สำหรับ คู่ค้าระดับเริ่มต้นและระดับมีศักยภาพ ไทยเบฟมุ่งเน้นการสร้าง ขีดความสามารถเป็นหลัก โดยให้การสนับสนุนด้านทรัพยากร การฝึก อบรม และการจัดเก็บข้อมูล เพื่อวางรากฐานการจัดทำรายงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรขั้นพื้นฐาน สำหรับคู่ค้าระดับ ต้นแบบและระดับผู้นำ ไทยเบฟเน้นการปรับเป้าหมายและดำเนิน โครงการความร่วมมือเพื่อเร่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอาศัยศักยภาพและความพร้อมด้านความยั่งยืนของคู่ค้าเหล่านี้ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

ไทยเบฟได้เริ่มโครงการนำร่องในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ของเรา เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานและสร้างรากฐาน ที่มั่นคง จากนั้นจะขยายโครงการไปยังตลาดสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมา ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
หมายเหตุ: วงกลมสีเขียว ( ) หมายถึง มี และ วงกลมสีแดง ( ) หมายถึง ไม่มี
ความสำเร็จ
ThaiBev is committed to the following ESG objectives to advance business partners’ adoption of sustainable business practices:
1. การพัฒนาและการร่วมมือกับคู่ค้า
2. คู่ค้าปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
3. การปฏิบัติตามนโยบายการจัดซื้อจัดหาอย่างยั่งยืน
4. เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
หมายเหตุ: ไม่รวมการดำเนินงานภายใต้ F&N
ก้าวสู่ อนาคต
ไทยเบฟมีแผนที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั้งกลุ่ม โดยเริ่มจากตลาด ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมา ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมกับคู่ค้า ในแต่ละประเทศมีความสอดคล้องกันตลอดทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยเบฟในการ บูรณาการหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และขับเคลื่อนความก้าวหน้าที่สำคัญ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน