หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การบริหารจัดการของเสีย
การกำจัดของเสียที่ไม่ถูกวิธีเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหา สิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยเฉพาะการฝังกลบซึ่งสร้างผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงมลพิษทางอากาศและน้ำ เช่น น้ำชะล้างของเสียอาจไหลปนเปื้อนลงไปสู่แหล่งน้ำใต้ดินและก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนกว่าคาร์บอนไดออกไซด์หลายเท่าตัว นอกจากนั้น การจัดการของเสีย ที่ไม่ถูกวิธียังส่งผลเสียต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนอีกด้วย


จากการสำรวจ ในปี 2565 พบว่าประมาณร้อยละ 28 ของของเสีย ในประเทศไทยถูกนำไปฝังกลบ ไทยเบฟจึงมุ่งมั่นที่จะลดการฝังกลบ ของเสียจากกระบวนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ โดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนใกล้เคียง พร้อมทั้งคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงทรัพยากร เช่น อากาศ และน้ำที่สะอาด ไทยเบฟตระหนักถึงความรับผิดชอบในการจัดการ ของเสียที่เกิดจากโรงงานผลิตเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำระบบ การจัดลำดับของเสีย (Waste Hierarchy) มาใช้ร่วมกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

แนวทางการบริหารจัดการ
ด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟได้นำระบบการจัดลำดับของเสีย (Waste Hierarchy) มาใช้ และยึดมั่น ในหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเน้นการนำกลับมาใช้ซ้ำ การนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตและการรีไซเคิล เพื่อป้องกันและบรรเทา ผลกระทบจากของเสีย

ไทยเบฟเพิ่มมูลค่าของเสียและผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต โดยการนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อลดการใช้สารเคมี เช่น การนำกากมอลต์และกากธัญพืชจาก การผลิตแอลกอฮอล์ไปเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ และใช้น้ำทิ้งจากกระบวนการบำบัดน้ำกากล่าไปเป็นสารปรับสภาพดินในการปลูกพืช เช่น อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน

นอกจากนั้น ไทยเบฟยังส่งเสริมและฝึกอบรมพนักงานในการป้องกันการเกิดของเสียโดยใช้ระบบ Total Productive Maintenance (TPM) และเข้าร่วมในโครงการจัดการของเสียที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟมีการติดตามปริมาณและประเภทของของเสีย รวมถึงวิธีการกำจัดของเสียจากกระบวนการผลิตโดยใช้ระบบฐานข้อมูลแสดงของเหลือทิ้ง (Waste Inventory System หรือ WIN) และระบบจัดการข้อมูลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Data Management System หรือ SDMS) เพื่อรวบรวมและประมวลผลข้อมูลจากกลุ่มธุรกิจและคู่ค้า โดยนำข้อมูลนี้แสดงต่อทุกหน่วยธุรกิจ เพื่อสร้าง ความตระหนักถึงความจำเป็นในการลดปริมาณของเสียเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของไทยเบฟในการลดของเสียที่นำไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2583

โครงการเด่น

โครงการแปรรูปของเสียเป็นพลังงาน
ไทยเบฟได้นำผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้และของเสียจากกระบวนการผลิตมาแปรรูปเป็นพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดปริมาณของเสีย ที่นำไปฝังกลบ รวมถึงสามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต ในปี 2566 หลังจากติดตั้งเครื่องกำเนิด ไอน้ำจากเชื้อเพลิงชีวมวล ที่โรงงานเบียร์ทิพย์ฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไทยเบฟสามารถลดของเสียปริมาณ 6,000 เมตริกตัน ที่จะนำไปฝังกลบ และเปลี่ยนของเสียเป็น เชื้อเพลิงผลิตไอน้ำในกระบวนการผลิต ซึ่งของเสียที่นำมา จัดการด้วยวิธีนี้ ได้แก่ กากตะกอนจากกระบวนการบำบัด น้ำเสีย กากใบชา และเศษฉลากจากกระบวนการล้างขวด โดยการนำของเสียเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นพลังงานสามารถช่วยลด ก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 48,632 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
โครงการสำคัญ
โครงการเพิ่มมูลค่าจากเศษฉลาก
ไทยเบฟนำขวดแก้วเกือบหนึ่งพันล้านขวดกลับมาใช้ซ้ำในกระบวน การผลิตทุกปี และหนึ่งในของเสียที่เกิดจากกระบวนการล้างขวดคือเศษฉลาก นอกจากนำไปเป็นเชื้อเพลิงแล้ว เศษฉลากเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างเพื่อช่วยป้องกันการนำ ของเสียไปฝังกลบ
  • โรงงานสุราธนภักดี จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการนำเศษฉลากจาก กระบวนการล้างขวดมาเป็นส่วนผสมในสารปรับปรุงดิน ซึ่งสามารถ ลดปริมาณของเสียที่นำไปฝังกลบได้ 8.5 เมตริกตัน โดยมีการนำไปทดลองปลูกพืชระยะยาวด้วยการใช้สารปรับปรุงดินที่มาจาก เศษฉลาก ร่วมกับน้ำกากส่าจากกระบวนการผลิต โดยมีการเก็บดิน ในแปลงทดลองไปวิเคราะห์ธาตุอาหารที่สำนักงานวิเคราะห์วิจัยค้นคว้าและพัฒนาสำนักเทคนิคการสุรา เพื่อทดสอบสารประกอบของดินและผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อผลผลิต
  • ในปี 2566 โรงงานสุราหลักชัยค้าสุรา จังหวัดราชบุรี จัดส่งเศษฉลากจากกระบวนการล้างขวดจำนวน 11.67 เมตริกตันให้กับบริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มหลังการบริโภคเพื่อนำไปผลิตเป็นกระถางต้นไม้และของตกแต่งบ้านอื่นๆ
โครงการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน
ไทยเบฟขยายโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล (Bring Back–Recycle) ไปสู่เยาวชน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของ การแยกขยะ โดยในปี 2566 ไทยเบฟเปิดโอกาสให้นักเรียน 300 คนจาก 40 โรงเรียนในโครงการสานอนาคตการศึกษา (Connext ED), โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) และโครงการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า(Our Khung Bang  Kachao) เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยให้ความรู้ในการคัดแยกประเภทขยะอย่างถูกวิธีตั้งแต่ต้นทาง ตลอดระยะเวลาโครงการ ไทยเบฟให้การสนับสนุนโรงเรียนเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยมี การประเมินผลเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ นอกจากโครงการลดปริมาณของเสียที่ถูกกำจัดด้วยการฝังกลบแล้ว โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการยังได้จัดกิจกรรมภายใน เช่น การจัดตั้งชมรมและ/หรือ คณะทำงานในด้านการบริหารจัดการขยะ และการเปลี่ยนขยะ ให้มีคุณค่าซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น
บล็อกก่อผนัง Green Block
ไทยเบฟร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาเม็ดเซรามิกมวลเบา (Green Rock) โดยใช้ผงขี้เถ้าจากการเผาน้ำกากส่าจากกระบวนการกลั่นสุราเพื่อผลิตเป็นพลังงานความร้อน และได้มีการนำเม็ดเซรามิกมวลเบา ไปใช้ในการผสมคอนกรีตโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม คือ บล็อกก่อผนัง Green Block ซึ่งเหมาะสำหรับงานก่อสร้างผนัง ทั้งภายในและภายนอกอาคารในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

บล็อกก่อผนัง Green Block เป็นวัสดุก่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบรีไซเคิลประมาณร้อยละ 10-15 โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่มีการเผาหรืออบ บล็อกก่อผนัง Green Block มีคุณสมบัติเฉพาะด้วยเทคโนโลยีการระบายอากาศ แบบสองชั้น (Double Ventilation) จากความเป็นรูพรุนของ เม็ดเซรามิกมวลเบา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของอากาศ ทำให้สามารถระบายความร้อนออกจากผนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำกว่าร้อยละ 14 จึงช่วยป้องกันการแตกร้าวของผนังได้ บล็อกก่อผนัง Green Block ได้การรับรองมาตรฐาน Made in Thailand และ Material ConneXion
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ผลการดำเนินงานปี 2566 (หน่วย: เมตริกตัน)
ของเสียที่แบ่งตามประเภทและวิธีการกำจัด (หน่วย: เมตริกตัน)
  FY2020 FY2021 FY20220 FY2023
Total weight of waste generated 38,006 33,878 48,700 98,290
Total weight of waste diverted from disposal 33,268 30,181 40,457 72,375
Waste that is reused / recycle /sold 33,268 30,181 40,457 72,375
Total weight of waste directed to disposal 4,738 3,697 8,243 11,885
Waste disposed to landfill 4,135 3,028 2,366 4,135
Waste incinerated with energy recovery 546 598 5,862 7,325
Waste incinerated without energy recovery 23 61 5 423
Wasted otherwise disposed 34 10 10 2
Total weight of onsite composting and landfilling N/A N/A N/A 14,030