Sustainability Expo 2023 หรือ SX 2023 เป็นงานมหกรรม
ด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนและจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นค่านิยมหลักของกิจกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค
มุ่งเน้นให้เกิดการ “ลงมือทำจริง” ถือเป็นแพลตฟอร์มความร่วมมือขององค์กรชั้นนำระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า” Good Balance, Better World
งาน SX2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน ถึง 8 ตุลาคม 2566
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) และ ภายใต้ความร่วมมือของ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนาแพลตฟอร์มสู่มหกรรมด้านความยั่งยืนระดับภูมิภาค โดยการจัดงานอยู่บนแนวทาง B2C2B
(Business-to-Consumer-to-Business) ซึ่งให้ผู้บริโภคเป็นแกนหลัก
ในการดำเนินการเพื่อความยั่งยืน เมื่อผู้บริโภคได้รับทราบถึง
ความจำเป็นของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรขนาดใหญ่
และของผู้ปฏิบัติงานด้านความยั่งยืน พวกเขาจะลงมือทำและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งจะช่วยดึงผู้ประกอบการธุรกิจรายอื่น ๆ
รวมถึงรายที่เล็กกว่าให้เข้าร่วมระบบนิเวศแห่งความยั่งยืน
- โซน SEP Inspiration
นำเสนอประสบการณ์โลกคู่ขนาน
ที่สะท้อนภาพระหว่างโลกที่ถูกทำลายสลับกับโลกที่สวยงาม
ผลการทำงานภายใต้แรงบันดาลใจจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy)
และความรู้จากองค์กรที่เป็นนักปฏิบัติด้านความยั่งยืนตัวจริง
ทั้งในไทยและต่างประเทศ
- โซน Better Me
เน้นองค์ประกอบหลัก 3 ด้านที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ได้แก่ “สุขภาพกายที่ดี สุขภาพโลกที่ดี” (Healthy Life Healthy Earth) โดยนำเสนอการผลิตอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนและแพทย์ทางเลือก “สังคมสูงวัย อยู่อย่างไร
ให้เป็นสุข” (Aging Society) การวางแผนก่อนเกษียณ รวมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขร่วมกันในสังคมต่างวัย เรียนรู้และเข้าใจการดูแลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Life Long Learning) นำเสนอโครงการที่เน้นการเรียนรู้ทุกกลุ่มอายุ
- โซน Better Living
นำเสนอกิจกรรมและโครงการขององค์กรชั้นนำขนาดใหญ่แสดงกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
พร้อมความพยายามกอบกู้ฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุ
เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
(Net Zero) รวมถึงการจัดแสดงเพื่อการเรียนรู้เรื่อง
การจัดการบรรจุภัณฑ์ครบวงจร เคล็ดลับการใช้ชีวิตแบบ ECO-Living สะท้อนมุมมองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ตัวเราเพื่อสิ่งแวดล้อม
- โซน Better Community
จำลองสังคมเมืองในฝัน น่าอยู่ ปลอดภัย และยั่งยืน นำเสนอแบบบ้านพอเพียง แบบโครงสร้างเมืองใหม่เชื่อมถึงกันเต็มระบบ ชุมชนสร้างสรรค์เพื่อโอกาส
เท่าเทียมในสังคม การสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อผู้คนและทุกชีวิต
ในเมือง รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
- โซน Better World
นิทรรศการที่รวบรวมงานศิลป์สะท้อน
มุมมองความยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ภาพถ่ายจาก
Nat Geo ภาพจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ผลงานนานาชาติ 10 ประเทศอาเซียนจากโครงการ ASEAN SX PHOTO
CONTEST และโครงการ Trash to Treasure เปลี่ยนขยะ
เป็นงานศิลป์ทรงคุณค่า
- โซน Food Festival
เทศกาลอาหารเพื่อโลกจากเชฟชื่อดัง
นำเสนอในรูปแบบเสน่ห์อาหารริมทางของประเทศไทย
Thai Street Food Museum: ไทยสตรีทฟู้ด ไทยสตรีทกู้ด
ดีต่อไทย ดีต่อโลก พร้อมเสิร์ฟอาหารเลิศรสที่ดีต่อสุขภาพ
ดีต่อโลกกับแนวการปรุงอาหารแบบไม่ให้มีขยะ (Zero-Waste Cooking) นอกจากนี้ยังจัดให้มีสถานีจัดการเศษอาหาร (Food Waste Station) เพื่อเน้นปลูกจิตสำนึกการเรียนรู้การคัดแยกขยะอาหาร การรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืนแบบเต็มรูปแบบ
- โซน Sustainable Marketplace
รวบรวมร้านค้าจากดีไซเนอร์รักษ์โลก สินค้านวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ สินค้าตกแต่งบ้านและสินค้าชุมชนกว่า 200 ร้านค้า
- โซน Kids Zone
สนามเด็กเล่นเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับโลก
แห่งแมลงกับบทบาทที่สำคัญต่อโลกที่ยั่งยืน พร้อมกิจกรรมเสริมทักษะความคิด อาทิ เกมหมากรุก ไขความลับแมลงตัวจิ๋ว การรักษาธรรมชาติรอบตัว การเดินทางของอาหาร
และผู้พิทักษ์ขยะ
- โซน REPARTMENT STORE
จุดเรียนรู้การแยกขยะ
และจุดดรอปพอยต์ขยะหรือของมือสองที่ไม่ใช้แล้ว นำมาบริจาค
หรือขายเพื่อนำรายได้สู่การกุศลต่อไป โดยได้รับความร่วมมือ
จากพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน อาทิ ร้านปันกัน, โครงการ
เก็บกลับ-รีไซเคิล, โครงการเปลี่ยนขยะเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน),
โครงการเก็บกล่องสร้างบ้าน, โครงการ “คนไทยไร้ E-Waste”, โครงการโละบราเก่าไปเป็นพลังงานสะอาด และโครงการขยะกำพร้า
- โซน Park and Nature Walk Activities
จัดพื้นที่ของ
สวนเบญจกิติเพื่อทำกิจกรรม NATURE WALK ศึกษาเส้นทางธรรมชาติและระบบนิเวศ และกิจกรรมปีนต้นไม้สำหรับเด็ก
เพื่อให้เด็ก ๆ และผู้ปกครอง ได้เรียนรู้เรื่องความยั่งยืนจากแหล่งธรรมชาติและได้มาสูดอากาศบริสุทธิ์ในสวนป่าพื้นที่ขนาดใหญ
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ กว่า 500 คน จาก 246 องค์กรชั้นนำจากทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ในปี 2566 มีจำนวนผู้เข้าชมงานกว่า 360,000 คน ถือเป็นการสร้างการรับรู้เรื่องความยั่งยืนและสร้างจิตสำนึกให้แก่คนในสังคมวงกว้างได้อีกด้วย
นอกเหนือจากการจัดแสดงนิทรรศการในโซนต่าง ๆ แล้ว SX2023
ยังจัดให้มีการแข่งขันภาคปฏิบัติหลายรายการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เยาวชนเกิดการลงมือทำ
โครงการประกวดการแข่งขันการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากขยะ
และเศษวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน ภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์
สร้างค่า สร้างสมดุลโลก” โดยการประกวดมี 2 รูปแบบ คือ ผลงานศิลปะสองมิติ (2D) และผลงานศิลปะสามมิติ (3D) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยงานศิลปะของเยาวชนไทย สะท้อนมุมมองปัญหาขยะในชีวิตประจำวันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประกวดนี้มีเยาวชนสนใจสมัคร
เข้าร่วมประกวด รวม 156 ทีม (344 คน) จาก 28 สถาบันการศึกษา
ผลงานการประกวดที่เข้ารอบสุดท้ายมีทั้งหมด 19 ผลงาน และถูกนำไปจัดแสดงที่งาน Sustainability Expo 2023 เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจสู่สาธารณะ นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังมีการจัดการประกวดนี้
ครั้งแรกในประเทศเวียดนาม ภายใต้แนวคิด Creative-Value-
Balance โดยมีเยาวชนเวียดนามสนใจส่งผลงานประกวดทั้งสิ้น
24 ทีม จาก 2 สถาบันการศึกษา มีผลงานการประกวดเข้ารอบสุดท้ายทั้งสิ้น 5 ผลงาน โดยผู้ชนะนอกจากได้รับเงินรางวัลแล้ว ยังได้รางวัลสนับสนุนการเดินทางเข้าร่วมชมงาน SX2023 ที่กรุงเทพฯ อีกด้วย
การแข่งขันเพื่อค้นหาสุดยอดนวัตกรในหัวข้อ “กลมกลืนอย่างสร้างสรรค์และสร้างโอกาสสู่สังคมที่ยั่งยืน” (Innovation for Social Inclusion) มีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 89 ทีม (326 คน) จาก 55 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยมีทีมที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 7 ทีม ผู้ชนะเลิศและผู้เข้ารอบสุดท้ายได้รับเงินรางวัล
รวมกว่า 100,000 บาท ผู้ชนะคือ ทีม CARE จากการพัฒนา DIABETREAT หรือเครื่องตรวจเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวานและลดความเสี่ยงของการถูกตัดเท้า
เป็นรายการที่บ่มเพาะทักษะของผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม (Social Entrepreneurs) โดยใช้กลไกด้านธุรกิจช่วยแก้ไขปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม ผู้ชนะเลิศแต่ละซีซั่นจะได้รับรางวัลเงินสด
2,000,000 บาท พร้อมที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อสังคม ซึ่งรายการนี้ได้จัดทำอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
มีจำนวนผู้ให้ความสนใจสมัครร่วมรายการกว่า 6,300 ทีม และผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายรวมทั้งสิ้น 65 ทีม และยังได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำประจำปี 2561 รางวัลทีวีสีขาวประจำปี 2562 และมียอดเข้าชมทาง Online มากกว่า 24 ล้านครั้ง ออกอากาศทางโทรทัศน์ ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม - 1 ตุลาคม 2566 รวม 10 ตอน
ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) เป็นเวทีแห่งการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำ ผ่านการแบ่งปันความรู้และข้อมูลจากวิทยากรชั้นนำของภูมิภาค เป็นงานที่ทำให้เกิดการรวมตัวของผู้นำทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล
และประชาสังคม เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธภาพ และความร่วมมือทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 3 ครั้ง
- ครั้งที่ 1: หัวข้อ Masterplan on ASEAN Connectivity :
Strategy for Change
- ครั้งที่ 2: หัวข้อ ASEAN Matters: Epicentrum of Growth
- ครั้งที่ 3: หัวข้อ Battling Marine Debris to Preserve
Biodiversity
รายการแข่งขันประกวดสุดยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เอื้อประโยชน์ให้กับสังคม หรือสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนอายุ 9-14 ปี พร้อมคุณครูที่ปรึกษา มาร่วมแข่งขันเพื่อเพิ่มทักษะการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยแนวคิดที่เอื้อประโยชน์กับสังคมและ
สิ่งแวดล้อม โดยทีมผู้ชนะในซีซั่น 2 ได้แก่ โรงเรียนบ้านบุฤาษี จ.สุรินทร์ จากผลงานกระเป๋าเป้สาน ตลอดทั้ง 2 ซีซั่นมีจำนวนนักเรียนสมัครร่วมรายการกว่า 300 ทีม และมีผู้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายรวมทั้งสิ้น
24 ทีม รายการ Win Win WAR OTOP Junior Season 1 ที่ผ่านมา
ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 37 ประจำปี 2565 ในประเภทรางวัลรายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น รายการ Win Win War Otop Junior Season 2 มีกำหนดถ่ายทอดทางโทรทัศน์และออนไลน์ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม - 10 ธันวาคม 2566 รวมทั้งสิ้น 10 ตอน
การประกวดสุนทรพจน์เยาวชนอาเซียน เวทีสำหรับเยาวชน
ในการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลอง
“วันอาเซียน” โดยเชิญชวนให้นักเรียน นักศึกษา อายุระหว่าง 18-25 ปี ส่งผลงานเข้าประกวดในหัวข้อ “Embracing ASEAN Diversity”
ซึ่งมีเยาวชนให้ความสนใจสมัครมากกว่า 100 รายจาก 10 ประเทศอาเซียน ผู้ชนะเลิศ คือ Ms. Zeinab Abbaci จากประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ยังมีการจัดการประกวดสุนทรพจน์เยาวชน SX Speech contest 2023 ภายใต้หัวข้อ “Good Balance, Better World” หรือ สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า โดยมีเยาวชน 175 คน จาก 6 ประเทศ
ในอาเซียนเข้าร่วมการประกวด ผู้ชนะเลิศในหมวดภาษาอังกฤษ คือ Mr. Kyaw Wana Lin จากประเทศเมียนมา และผู้ชนะเลิศในหมวดภาษาไทย คือ นางสาวสิริโชค โกศัลวิตร
ศูนย์ ซี อาเซียน มุ่งสร้างเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรมระดับภูมิภาค โดยจัดเวิร์กช็อป สัมมนา แบ่งปันความรู้การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนและคนรุ่นใหม่ โครงการนี้สามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระดับภูมิภาคอาเซียน
วงดนตรี C asean Consonant เป็นวงดนตรีจากการรวมตัวกัน
ของนักดนตรีจาก 10 ชาติในอาเซียนเพื่อบรรเลงบทเพลงด้วย
เครื่องดนตรีประจำชาติของแต่ละประเทศ สะท้อนถึงเอกลักษณ์
ของภูมิภาค ใช้ดนตรีซึ่งเป็นภาษาสากล เชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของภูมิภาคไว้ด้วยกัน นำไปสู่การสร้างความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความงดงามของวัฒนธรรมพื้นบ้านของตน พร้อมกับยอมรับและเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย
ในปี พ.ศ. 2566 วงดนตรี C asean Consonant ใช้ดนตรีเป็นสื่อในการสร้างความร่วมมือ และมิตรภาพที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นในภูมิภาคอาเซียน
และกับประเทศจีน ผ่านกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อแบ่งปัน
ความรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านของอาเซียนและการแสดงคอนเสิร์ต
ทั้งที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และเมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมฉลองวาระครบรอบ 10 ปี การริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ด้วย
มูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ
ศูนย์ ซี อาเซียน ร่วมสนับสนุนเครื่องดนตรีไทยพื้นบ้านจากสี่ภาค
ให้กับพิพิธภัณฑ์ดนตรีชาติพันธุ์กว่างซี พิพิธภัณฑ์ที่มีพันธกิจใน
การอนุรักษ์ วิจัย และจัดแสดงเครื่องดนตรีพื้นเมืองของหลากหลายชาติพันธุ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและก่อให้เกิดความชื่นชมในมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่งเสริมการศึกษา และมีส่วนสำคัญในการสร้างแหล่งความรู้เกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างไทยกับจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น มูลนิธิสิริวัฒนภักดี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และศูนย์ ซี อาเซียน ร่วมกันส่งมอบพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และหนังสือภาษาไทยที่ผ่านการคัดสรร ให้ศูนย์ข้อมูลภาษาไทย
สิรินธร ณ มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนแหล่งความรู้ที่มีคุณค่า และช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาชาวจีนได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยมากขึ้น
ศูนย์ ซี อาเซียน เวียดนาม จัดงาน ASEAN Water Festival
หรือ เทศกาลสงกรานต์ในอาเซียน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมและ
เสริมสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ลาว
และเมียนมาในเวียดนามมาร่วมแบ่งปันเรื่องราววัฒนธรรมอันงดงามของเทศกาลสงกรานต์ในประเทศอาเซียน ซึ่งงานนี้สามารถสร้าง
บทสนทนาเกี่ยวกับความงดงามของเทศกาลน้ำซึ่งเป็นหนึ่ง
ในความภาคภูมิใจของวัฒนธรรมอาเซียน ถือเป็นพลังอันยิ่งใหญ่
ในการสร้างประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนและเจริญรุ่งเรือง
ศูนย์ ซี อาเซียน เวียดนาม สนับสนุนโครงการให้ความรู้แก่ครู
ตามโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 15 โรงเรียน
ในจังหวัดห่าติ๋ญ จังหวัดก๋วงบินห์ และจังหวัดกว๋างหงาย
ประเทศเวียดนาม เพื่อให้มีความรู้ในการเตรียมตัวเพื่อเอาตัวรอด
หากเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมุ่งหวังว่าคุณครู
ที่ผ่านการฝึกอบรม จะสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่นักเรียน
ในโรงเรียนของตน และคุณครูโรงเรียนอื่นๆ เพื่อกระจายความรู้เหล่านี้ออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยให้ทั่วประเทศเวียดนาม โดยในปี
ที่ผ่านมามีคุณครู 10 คนที่ได้รับการอบรมความรู้ดังกล่าว และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เด็กนักเรียนอีกกว่า 200 คน ให้ได้มีทักษะในการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
หนึ่งในชมรมสำหรับพนักงานไทยเบฟที่จัดตั้งขึ้นในปี 2565
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
ผ่านกิจกรรม และสร้างโอกาสการเติบโตทางสายอาชีพไปยัง
ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรม “Exploring Myanmar through Movies” นำเสนอเรื่องราวความสำเร็จในการกำกับภาพยนตร์ในประเทศเมียนมา ของผู้กำกับ
ชาวไทย คุณชาติชาย เกษนัส และกิจกรรม “Inspired Food in ASEAN-Vietnam” การสาธิตการทำอาหารเวียดนามโดยเชฟ
ชาวเวียดนาม พร้อมการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนของพนักงานไทยเบฟ กิจกรรมทั้ง 2 ได้รับ
ผลการตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน