TH
EN
×
SEARCH
SEARCH
หน้าแรก
การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด
search
หน้าแรก
การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
สิ่งแวดล้อม
สังคม
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด
หน้าแรก
/ การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO
2
) คิดเป็นสัดส่วนกว่าหนึ่งในสามของปริมาณทั้งหมดทั่วโลก
เนื่องจากการกระจายสินค้าเป็นกิจกรรมสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ ไทยเบฟเล็งเห็นความสำคัญของการนำ ระบบโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนมาใช้ และมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ทั้งภายในและภายนอกบริษัท โลจิสติกส์ภายในบริษัทบริหารโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด (Thai Beverage Logistics Co., Ltd. หรือ TBL) กำกับดูแลการขนส่งอุณหภูมิปกติสำหรับกลุ่มธุรกิจสุรา เบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และบริษัท ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (HAVI Logistics (Thailand) Co., Ltd., หรือ HAVI) บริหารงานขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิสำหรับธุรกิจอาหาร
แนวทางการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการการขนส่งของไทยเบฟสอดคล้องกับกลยุทธ์ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ วิสัยทัศน์ ผสานความร่วมมือ การบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ การบริหารแบบรวมศูนย์ และการสร้างมาตรฐานให้สอดคล้องกับ PASSION 2025 นอกจากนี้ ไทยเบฟให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในการบริหารจัดการขนส่ง และการกระจายสินค้า เพื่อลดผลกระทบเชิงลบด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อให้สอดคล้อง ตามเป้าหมายของไทยเบฟที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 และ 2) เป็นศูนย์ภายในปี 2583 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) เป็นศูนย์ภายในปี 2593
ไทยเบฟมุ่งเน้น 3 เรื่อง ในการบริหารจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ประสิทธิผลด้านต้นทุน และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง ห่วงโซ่อุปทาน
เพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการดำเนินงาน ด้านการขนส่ง ทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้
เสริมสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์และความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการด้านการขนส่งและห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ
เสริมศักยภาพให้กับพันธมิตรด้านการขนส่งผ่านโครงการพัฒนาคู่ค้าเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกในห่วงโซ่อุปทาน
ไทยเบฟได้นำหลักการในการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับบริหารจัดการผู้ให้บริการขนส่งจากภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ให้บริการดังกล่าวปฏิบัติตามมาตรฐานความยั่งยืน ซึ่งผู้ให้บริการขนส่งถือเป็นคู่ค้า ของไทยเบฟ โดยคู่ค้าจะต้องรับทราบและยอมรับแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจของไทยเบฟ ผ่านกระบวนการ คัดกรองและการประเมินคู่ค้าซึ่งกล่าวถึงประเด็นสำคัญด้าน ความยั่งยืน เช่น กลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำ สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และจริยธรรม ทางธุรกิจ ก่อนที่จะเริ่มให้บริการ
นอกจากนี้ ได้มีการตรวจสอบประสิทธิภาพและพฤติกรรมของผู้ขับขี่ทั้งภายในและภายนอกบริษัทผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของการขนส่ง เช่น การใช้เชื้อเพลิง และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีตรวจสอบและเก็บข้อมูลการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) จากกิจกรรมการขนส่ง โดยผู้รับจ้างภายใต้หมวด “การขนส่งและการกระจายสินค้าต้นน้ำ และปลายน้ำ” (Upstream and Downstream Transportation and Distribution) คิดเป็นร้อยละ 6.53 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทางอ้อมอื่น ๆ (Scope 3) ของไทยเบฟ
โครงการสำคัญ
เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยเบฟในการลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมจากการขนส่ง ไทยเบฟได้กำหนดวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ประการ ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ การบริหารจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า ดังนี้
พัฒนาการดำเนินงานด้านการขนส่งและคลังสินค้าไปสู่เป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
ปี 2564 ไทยเบฟนำร่องการเปลี่ยนจากการใช้รถบรรทุกเครื่องยนต์สันดาปภายใน มาเป็นรถบรรทุกไฟฟ้าในการ ขนส่งสินค้า และปี 2565 ภายในคลังสินค้าของไทยเบฟ ยังเปลี่ยนจากการใช้รถยกที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นรถยกไฟฟ้าที่ชาร์จไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาโรงงาน (Solar rooftop) ในปี 2566 ไทยเบฟมีรถบรรทุกไฟฟ้า 2 คัน รถยนต์ไฟฟ้า 18 คัน และรถยกไฟฟ้า 147 คัน โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 500 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีแผนจะดำเนินการเพิ่มสัดส่วน การใช้รถยนต์ไฟฟ้าขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่ง ในแนวทางดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 และ 2) สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2583
ไทยเบฟติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์และเปลี่ยนมาใช้ หลอดไฟ LED ที่ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคในจังหวัดลำปาง ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไฟฟ้าปกติถึงร้อยละ 75 และลดสัดส่วนการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร้อยละ 50 ในปี 2566 ไทยเบฟมีแผนติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาที่ศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา และสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ HAVI ยังติดตั้งแผงพลังงาน แสงอาทิตย์บริเวณหลังคาของโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งช่วยลดสัดส่วนการซื้อไฟฟ้า จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร้อยละ 20 และในปี 2567 ไทยเบฟวางแผนที่จะติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาศูนย์กระจายสินค้าในจังหวัดชลบุรีและปทุมธานี
เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง
ไทยเบฟร่วมมือกับตัวแทนจำหน่าย (เอเย่นต์) เพื่อวางแผนการจัดส่งสินค้าโดยให้คู่ค้าเข้ารับสินค้าซึ่งอยู่ในเส้นทางขนส่งเดียวกัน เพื่อรวบรวมและจัดส่งสินค้าภายในเที่ยวเดียวโดยมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยในการขับขี่และติดตามการจัดส่ง
ไทยเบฟยังใช้รถขนส่งเที่ยวกลับในการบรรทุกขวดแก้ว หลังการบริโภค (Backhaul Logistics) เพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมผ่านการวางแผนเส้นทางและการจัดการพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2566 สามารถช่วยเก็บกลับขวดแก้วหลังการบริโภคได้กว่า 95 ล้านขวด และสามารถหลีกเลี่ยง การวิ่งรถเที่ยวเปล่าได้เป็นระยะทาง 1,251,823 กิโลเมตร
ไทยเบฟได้นำระบบ Certu มาใช้ในปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่ง โดยมีขั้นตอนการทำงานอัตโนมัติ สามารถติดตามการขนส่งในขณะที่ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ด้วยการใช้ข้อมูลเชิงลึกตามเวลาจริงและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ระบบ Certu ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่รถบรรทุกกับการขนส่งที่ใกล้ที่สุดทั้งขาไปและขากลับ ซึ่งช่วยลดระยะทางการตีรถเที่ยวเปล่า ปรับปรุงประสิทธิภาพของการขนส่งโดยรวม และลดการใช้เชื้อเพลิง ปัจจุบัน ระบบ Certu ได้ถูกนำไปใช้กับการขนส่งและส่งมอบงาน ให้ผู้รับจ้างที่ศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้สามารถตรวจสอบการขนส่งทั้งขาไปและขากลับ และติดตามการดำเนินการขนส่งในขณะที่ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
ผสานความร่วมมือและพัฒนาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไทยเบฟได้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ขับขี่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนของผู้ขับขี่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการขับขี่อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ขับขี่จะได้รับการตรวจสอบวินัยและพฤติกรรม การขับขี่โดยใช้เครื่องมือออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับระบบ GPS ในปี 2564 ไทยเบฟร่วมมือกับเครือซิเมนต์ไทย (SCG) ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์และผู้ร่วมก่อตั้ง TSCN เปิด “โรงเรียนโลจิสติกส์พัฒนา” เพื่อเป็นโรงเรียนสอนขับรถมืออาชีพสำหรับพนักงานขับรถมืออาชีพทั้งที่เป็นบุคลากรภายในและภายนอกองค์กร โดยมีอาจารย์สอนที่มีประสบการณ์ พร้อมสถานที่ ฝึกอบรมตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก ผู้ขับขี่จะได้เรียนรู้เทคนิคการขับขี่แบบประหยัดเชื้อเพลิง ซึ่งไม่เพียงช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัย บนท้องถนนอีกด้วย
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ผลลัพธ์การดำเนินงานของโรงเรียนโลจิสติกส์พัฒนา
พนักงานขับรถ ที่ได้รับการฝึกอบรม
588
คน
ประหยัดน้ำมัน
1.31
ลิตร ต่อคนต่อวัน
ประหยัดต้นทุน การใช้พลังงานได้
20%
ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก
580,424
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ลดการตัดต้นไม้
64,492
ต้น
ผลลัพธ์การดำเนินโครงการรถบรรทุกไฟฟ้า
ระยะเวลาในการใช้ รถบรรทุกไฟฟ้า
264
วัน
ระยะทางเฉลี่ย ขณะดำเนินโครงการ
1.8
เที่ยวต่อวัน
ระยะทางโดยรวม
22,045
กิโลเมตร
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
8,844
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2566
© สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)