หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ และด้านพลังงาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบในหลายมิติ ไม่เพียงแต่ สภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพเศรษฐกิจและชุมชนด้วย ไทยเบฟจึงเร่งดำเนินการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับ การมีส่วนร่วมในความพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงปารีส และเพื่อให้บริษัทสามารถรับมือ กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจเกิดขึ้น ไทยเบฟให้ความสำคัญ กับการจัดการความเสี่ยงด้านภูมิอากาศตลอดจนแสวงหาโอกาสอันอาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อการดำเนินธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีความยั่งยืน ในระยะยาว

ไทยเบฟตั้งเป้าที่จะปรับการดำเนินงานไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยให้ความสำคัญกับการจัดการ ด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยมุ่งเน้น การลดอัตราการใช้พลังงานโดยรวม เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน จากแหล่งพลังงานทางเลือก รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไทยเบฟทำงานร่วมกับคู่ค้า ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาดำเนินงานที่ใช้พลังงานต่ำและกำหนดกลยุทธ์ ในการจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์และของเสียให้มีประสิทธิภาพ
แนวทางการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟมีเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนให้บรรลุ เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทางตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ภายในปี 2583 กลยุทธ์นี้จะช่วยให้ไทยเบฟสามารถขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นในธุรกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม สนับสนุนชุมชน ท้องถิ่นและยกระดับธรรมาภิบาล ตามเป้าหมายทางกลยุทธ์ “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) เพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์

ไทยเบฟมุ่งมั่นในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยเพิ่มลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและศึกษาเทคโนโลยีพลังงานคาร์บอนต่ำ รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวมให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด ขณะเดียวกันได้สร้างจิตสำนึกและความเข้าใจในการลดการใช้พลังงานให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ไทยเบฟให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยได้สร้างแนวทางในการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง และเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปพร้อม ๆ กับการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจและชุมชน บริษัทใช้แนวทางนี้ ในการเปิดเผยความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวปฏิบัติของการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ หรือ Task Force on Climate-related Financial Disclosure (TCFD) เพื่อความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกฝ่ายและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากล
ธรรมาภิบาล
คณะกรรมการบริษัทของไทยเบฟติดตามผลการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการ ชี้นำกลยุทธ์องค์กร และบูรณาการมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ กรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูง เพื่อวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืน และบริหารความเสี่ยง ของกลุ่มไทยเบฟ ซึ่งคณะกรรมการนี้ต้องรายงานตรงต่อ คณะกรรมการบริษัท

ไทยเบฟทำการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ประเมินความเสี่ยงทางกายภาพและความเสี่ยงในการเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งวิเคราะห์โอกาสความเสี่ยงและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) โดยจัดการฝึกอบรมให้ทุกหน่วยงานในองค์กร ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจในความรับผิดชอบต่อความยั่งยืนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยเบฟได้นำตัวชี้วัด (KPI) ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล (ESG) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปเชื่อมโยงกับเป้าหมายการปฏิบัติงานและแรงจูงใจด้านการเงินของพนักงาน
กลยุทธ์
ไทยเบฟกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการจัดการ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจและชุมชนอีกด้วย

ไทยเบฟพัฒนากลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศและดำเนินโครงการตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมสร้างโอกาสจากผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิ โครงการเก็บกักน้ำใต้ดิน โครงการกักเก็บน้ำฝน โครงการสร้างความมีส่วนร่วมของคู่ค้า โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ โครงการปลูกป่า และฟื้นฟูป่าชายเลน และโครงการริเริ่มการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนั้นไทยเบฟใช้กลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งในการวางแผนทางการเงิน
การวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงและโอกาสด้านสภาพภูมิอากาศ
ไทยเบฟวิเคราะห์สถานการณ์เชิงลึกทางกายภาพ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยใช้สถานการณ์จำลองการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (RCP) จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) โดยพิจารณาถึง ภัยธรรมชาติ ดังต่อไปนี้: น้ำท่วมจากแม่น้ำ พายุ ความเครียดจากน้ำ การหนุนของน้ำทะเล และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น โดยการประเมิน ความเสี่ยงนี้ได้ดำเนินการตามมาตรฐาน Stated Policies Scenario (STEPS) และ Sustainable Development Scenario (SDS) ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)

วิสัยทัศน์:
ยกระดับการรับมือกับ ไทยเบฟและสนับสนุน เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ให้สอดคล้องกับทิศทาง การจำกัดการเพิ่มของ อุณหภูมิไว้ที่ 1.5-2 องศาเซลเซียส
เป้าหมาย:
เพื่อปรับตัวและการบรรเทา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าให้กับ ธุรกิจของไทยเบฟและชุมชน
การวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงและโอกาสด้านสภาพภูมิอากาศ
ไทยเบฟวิเคราะห์สถานการณ์เชิงลึกทางกายภาพ รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยใช้สถานการณ์จำลองการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (RCP) จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) โดยพิจารณาถึง ภัยธรรมชาติ ดังต่อไปนี้: น้ำท่วมจากแม่น้ำ พายุ ความเครียดจากน้ำ การหนุนของน้ำทะเล และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น โดยการประเมิน ความเสี่ยงนี้ได้ดำเนินการตามมาตรฐาน Stated Policies Scenario (STEPS) และ Sustainable Development Scenario (SDS) ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)
การบริหารความเสี่ยง
ไทยเบฟบูรณาการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงแบบสหสาขาวิชาชีพทั่วทั้งบริษัทด้วย 5 ขั้นตอนที่ครอบคลุมการประเมินขนาดและขอบเขตของความเสี่ยง

การจัดอันดับ ประเมิน และกำหนดขอบเขตความเสี่ยงอยู่ภายใต้ การดูแลของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการความเสี่ยงและความยั่งยืน และติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทตลอดจนการวางแผนและการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้อย่างครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศได้ถูกฝังอยู่ ในกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของไทยเบฟ
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
ไทยเบฟได้สร้างระบบและฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ การรวบรวมและคำนวณข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐาน โดยรวบรวมข้อมูลด้านพลังงาน การปล่อยมลพิษ การใช้น้ำ การปล่อยน้ำเสีย ของเสีย และข้อมูลการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงขยายการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก ไปยังการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร (ขอบเขตที่ 3) ตามมาตรฐานการทําบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Protocol) โดยไทยเบฟได้ทำการประเมินการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร (ขอบเขตที่ 3) ครั้งแรกในปีงบประมาณ 2562 และเริ่มจัดทำบัญชี เพื่อเปิดเผยต่อสาธารณชนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564

ฐานข้อมูลนี้ใช้ในการวัดปริมาณกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่
ขอบเขตที่ 1 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง
  • การเผาไหม้แบบอยู่กับที่ (รวมถึงการปล่อยก๊าซชีวภาพ)
  • การเผาไหม้แบบเคลื่อนที่ (รวมถึงการปล่อยก๊าซชีวภาพ)
  • การเผาก๊าซชีวภาพ
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการอัดลม (การปล่อยโดยตรง)
  • การปล่อยก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) และซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (SF6)
  • การปล่อยสารระเหยจากการบำบัดน้ำเสีย
ขอบเขตที่ 2 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
  • ไฟฟ้าและไอน้ำที่ซื้อมาเพื่อใช้เองโดยวัดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากพื้นที่การใช้งาน (ใช้ตัวแปรค่าการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าเท่านั้น) และจากการจำหน่ายสินค้า (ใช้ตัวแปรค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้ารวมกับเครื่องมือวัดปริมาณกิจกรรมจากการจำหน่ายสินค้า) เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2)
ขอบเขตที่ 3 กิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร
  • หมวดหมู่ 1-7, 9, 11, 12, 15 เท่านั้น
ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยเบฟผ่านการรับรองจากบุคคลภายนอกเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรายงานด้านความยั่งยืน (ดูหน้า 188-189 ของรายงานฉบับนี้) นอกจากนี้ท่านยังสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) ด้วย
เป้าหมายปี 2573

เป้าหมายปี 2583-2593

โครงการพลังงานหมุนเวียน
โครงการพลังงานหมุนเวียนมีส่วนสำคัญในการลดการพึ่งพา เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างอนาคต ทางพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้นทั่วโลก โครงการดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน สนับสนุนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมนวัตกรรมใน กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน

โครงการเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวล
ในปี 2566 ไทยเบฟได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวล ขนาด 30 ตัน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยงบประมาณลงทุน 160 ล้านบาท โดยใช้อินทรียวัตถุ เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย และกะลาปาล์ม และยังออกแบบให้สามารถใช้เศษฉลากจากกระบวนการล้างขวด กากตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสีย และกากใบชาเพื่อผลิตไอน้ำทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล

เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลนี้สามารถผลิตพลังงานความร้อน 273,000 เมกะจูล (MJ) ซึ่งนำไปสู่การลดการใช้น้ำมันเตา และถ่านหินสำหรับการผลิตไอน้ำลงได้ 1.8 ล้านลิตร และ 18 ล้านกิโลกรัม ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 48,632 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานประมาณ 93 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ โรงงานผลิตไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลนี้ยังสามารถลดของเสียที่ต้องฝังกลบได้ประมาณ 6,000 เมตริกตันต่อปี ขณะเดียวกัน โรงงานสุราในประเทศเมียนมายังใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตไอน้ำ โดยใช้แกลบและเศษไม้เป็นแหล่งพลังงาน

โครงการพลังงานแสงอาทิตย์
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 1-3 ครอบคลุมการติดตั้ง แผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาอาคารและแผงพลังงาน แสงอาทิตย์ลอยน้ำที่โรงงานสุรา โรงงานเบียร์ โรงงานเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ และโรงงานอาหารทั้งในประเทศไทย เมียนมา และเวียดนาม จำนวนทั้งหมด 40 โรงงาน รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า ทั้งสิ้น 42.48 เมกะวัตต์ โดยแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 29,383 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ซึ่งช่วยลด ค่าใช้ไฟฟ้าจากเดิมที่ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ถึง 123.41 ล้านบาทต่อปี และในปี 2566 สามารถลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ 13,799 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ในปี 2566 ไทยเบฟได้เริ่มขยายโครงการเฟส 4 เพื่อติดตั้ง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย โดยติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาอาคาร และ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำที่โรงงานเบียร์และโรงงานเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยมีเป้าหมายผลิตไฟฟ้าให้ได้ 14.05 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่าการลดค่าใช้ไฟฟ้า 107.3 ล้านบาทต่อปี และลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9,801 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี การลงทุนทั้งหมดในโครงการนี้ประมาณ 394.43 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2567 ส่วนในประเทศเวียดนามมีความมุ่งมั่นที่จะขยายโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณหลังคาอาคารให้ครอบคลุมทุกโรงงาน

โครงการโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biogas) ในประเทศไทย
ไทยเบฟมีโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรวม 7 แห่ง โดยใช้น้ำกากส่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์มาใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตไอน้ำแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล โรงงานเหล่านี้ผลิตพลังงานความร้อนได้สูงถึง 517,250,951 เมกะจูล (MJ) ซึ่งนำไปสู่การลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ถึง 12.8 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 220 ล้านบาทต่อปี โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพเหล่านี้ยังประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีได้ 11,891 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ก๊าซชีวภาพส่วนเกินจากกระบวนการผลิตไอน้ำสามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้ 37,219 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) และจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อีกด้วย

ในปี 2566 จะมีการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพที่โรงงานสุรา ในจังหวัดราชบุรี ด้วยเงินลงทุน 187 ล้านบาท โครงการนี้จะสามารถลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไอน้ำได้ถึง 1.5 ล้านลิตร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 20,205 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567
โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โครงการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ใหม่
โรงงานเบียร์ของไทยเบฟทุกแห่งในประเทศไทยและเวียดนาม ได้มีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมัก ในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตเบียร์และเครื่องดื่มอัดลม เช่น โซดาและเบียร์ ซึ่งเป็นกระบวนการ ที่ช่วยสร้างความยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

ในปี 2566 โครงการนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานประมาณ 268.33 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 53,667 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

แผนผังกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ใหม่

ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
ไทยเบฟยังคงขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (CFR) เพื่อแสดงการลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีฐานตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กำหนด โครงการลดคาร์บอนฟุตพรินต์ (CFR) ช่วยให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม ในการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย การซื้อผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
ปี 2566
53
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง การลดคาร์บอนฟุตพรินต์
91
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย คาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์
9.4%
รายได้จากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (% ของรายได้รวม)
โครงการประหยัดพลังงาน
ไทยเบฟได้ส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
โครงการอื่น ๆ
โครงการป่าชุมชนร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
ไทยเบฟเข้าร่วมโครงการป่าชุมชนกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โดยเดินหน้าขยายป่าชุมชนด้วยกลไกคาร์บอนเครดิตจากป่าไม้เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อผสานการพัฒนาชนบทกับการอนุรักษ์ ป่าไม้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยในปี 2567 โครงการระยะที่ 3 มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ 32,950 ไร่ (5,272 เฮกตาร์)

คาร์บอนเครดิตจะได้รับการขึ้นทะเบียนภายใต้บัญชีของไทยเบฟ ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน ของประเทศไทย (T-VER) และนำไปใช้เพื่อชดเชยการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกขององค์กรหรือนำไปบริจาคเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น คาดว่าโครงการนี้จะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในสิบปี
ที่ตั้งโครงการ (ระยะที่ 1 และ 2)
ระยะที่ 1
พื้นที่โดยรวม
ไร่
(2,182 เฮกตาร์)
ระยะที่ 2
พื้นที่โดยรวม
32,505 ไร่
(5,201 เฮกตาร์)
การสร้างความมีส่วนร่วมด้านสภาพภูมิอากาศกับพันธมิตร ในห่วงโซ่คุณค่า
ไทยเบฟร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคู่ค้าผ่านเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) โดยแบ่งปันองค์ความรู้ด้านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดทำการฝึกอบรม/สัมมนาผ่าน Thailand Sustainability Academy (TSA) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก 9 บริษัทเอกชนชั้นนำ ในประเทศผู้ก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย

ในปี 2566 TSA ประสบความสำเร็จในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งแรกในหัวข้อ “พลังหนึ่งเดียว การดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ที่ศูนย์ ซี อาเซียน (C asean) ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับเกียรติจาก บริษัทผู้ก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด พร้อมที่ปรึกษาชั้นนำด้าน การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมศักยภาพพันธมิตรทางธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 70 ราย จาก 49 บริษัท
โครงการกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets Initiative)
เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในทางตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ภายในปี 2583 และทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร (ขอบเขตที่ 3) ภายในปี 2593 ไทยเบฟได้สร้างแผนงานตามแนวทางการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets Initiative (SBTi) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อขอการรับรอง ซึ่งคาดว่าจะผ่านการรับรองภายในปีหน้า
การกำหนดราคาคาร์บอนภายใน
เพื่อเร่งลดการปล่อยมลพิษและขับเคลื่อนการลงทุนด้านคาร์บอนต่ำไทยเบฟใช้การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Price; ICP) เพื่อเชื่อมโยงด้านผลกระทบจากการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดกับต้นทุนการดำเนินงาน อัตรากำไร และผลประกอบการ โดยรวม และเพื่อคำนวณผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยคาร์บอนที่มีต่อธุรกิจและกิจกรรมของบริษัท รวมถึงความเสี่ยง และโอกาสในการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบรับความเปลี่ยนแปลงด้าน สภาพภูมิอากาศและการลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ โดย ไทยเบฟกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) เป็นราคาฐานเพื่อตัดสินใจในการลงทุนซื้อสินทรัพย์ระยะยาว (CAPEX) ในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจลงทุนซื้อสินทรัพย์ระยะยาว (CAPEX) ในโครงการที่ปล่อยมลพิษสูง ไทยเบฟ กำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในการลงทุน โครงการที่มูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท ในช่วงปี 2563-2567 และจะใช้ราคา 32 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในการลงทุนโครงการที่มูลค่ามากกว่า 5 ล้านบาท ในช่วงปี 2568-2573
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
% การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
8.72%
การลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก โดยรวม เมื่อเปรียบเทียบ กับปีฐาน 2562
อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
43.11
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อเฮกโตลิตร (กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม ในปี 2566)*
0.68
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลกรัม (กลุ่มธุรกิจอาหาร ในปี 2566)
หมายเหตุ:
ไม่รวมการดำเนินการในประเทศเวียดนาม
อัตราส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มรวมประเทศเวียดนามในปีงบประมาณ 2566 คือ 36.07 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อเฮกโตลิตร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร (ขอบเขตที่ 3)
  หน่วย 2566 วิธีการ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรทั้งหมด (ขอบเขตที่ 3) เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,956,471  
การซื้อสินค้าและบริการ เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,578,023 ผสมผสานข้อมูลอ้างอิงจากคู่ค้า และข้อมูลอ้างอิงตามมาตรฐาน
สินทรัพย์ที่เป็นทุน เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 56,283 ข้อมูลจากค่าใช้จ่าย
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และพลังงาน เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 103,871 ข้อมูลของเชื้อเพลิงและพลังงานที่ใช้
การขนส่งและกระจายสินค้าต้นน้ำ เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 86,771 ข้อมูลจากค่าใช้จ่ายและข้อมูลกิจกรรม จากการขนส่งวัตถุดิบ
การกำจัดของเสียจากการดำเนิน กิจกรรมขององค์กร เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 7,323 ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของเสียที่เกิดขึ้น
การเดินทางเพื่อธุรกิจ เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 182 ข้อมูลกิจกรรมการเดินทางเพื่อธุรกิจ
การเดินทางของพนักงาน เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 9,489 ข้อมูลจากการสำรวจของพนักงาน
การขนส่งและกระจายสินค้าปลายน้ำ เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 40,892 ข้อมูลกิจกรรมจากการขนส่งภายนอก
การใช้งานของผลิตภัณฑ์ ที่องค์กรจำหน่าย เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 39,939 ข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในผลิตภัณฑ์ที่ขายไป
การกำจัดซากของผลิตภัณฑ์ ที่องค์กรจำหน่าย เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 894 ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมารีไซเคิล
การลงทุน เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 32,804 ข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่รายงานโดยการลงทุน
การใช้พลังงานภายในองค์กร
% การใช้พลังงานหมุนเวียน
37%
สัดส่วนการใช้พลังงาน หมุนเวียนภายในองค์กร
อัตราส่วนการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
213.6
เมกะจูลต่อเฮกโตลิตร
(กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มในปี 2566)
6.87
เมกะจูลต่อกิโลกรัม
(กลุ่มธุรกิจอาหารในปี 2566)
หมายเหตุ:
  • ไม่รวมการดำเนินการในประเทศเวียดนาม
  • อัตราส่วนการใช้พลังงานของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มรวมประเทศเวียดนามในปีงบประมาณ 2566 คือ 189.40 เมกะจูลต่อเฮกโตลิตร
รางวัล Thailand Energy Awards ประจำปี 2566
กระทรวงพลังงานมอบรางวัล Thailand Energy Awards ให้กับองค์กรที่ขับเคลื่อนการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในประเทศไทย โดยมีแนวคิดว่า “สร้างผลงานเป็นที่โดดเด่นเห็นผลเป็นรูปธรรม พาประเทศไทยผงาดเป็นผู้นำด้านพลังงานระดับอาเซียนอย่างยั่งยืน”
ในปี 2566 ไทยเบฟได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
  • รางวัลดีเด่น – ด้านพลังงานทดแทน โครงการพลังงานทดแทนแบบที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (ความร้อน) - โครงการผลิตพลังงานหมุนเวียนจากน้ำกากส่าจากกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (จังหวัดหนองคาย)
  • รางวัลดีเด่น – ด้านพลังงานทดแทน โครงการพลังงานทดแทนแบบที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (ความร้อน) - โครงการผลิตพลังงานทดแทนจากน้ำกากส่าจากกระบวนการผลิตแอลกอฮอล์ โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (จังหวัดนครสวรรค์)
  • รางวัลดีเด่น – ด้านบุคลากร ทีมงานด้านการจัดการพลังงานโรงงานควบคุม โดยบริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด