หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
หลักการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ
ด้วยแรงบันดาลใจจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิผลจำเป็นต้องอาศัยแนวทางการทำงานร่วมกัน โครงสร้าง การกำกับดูแลที่ดี การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวม และการจัดลำดับความสำคัญของ ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ
แนวทางความยั่งยืนและการดำเนินงานได้รับแรงบันดาลใจจากความมุ่งมั่นของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นกรอบการทำงานที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น ไทยเบฟเชื่อว่าเราจะสามารถบรรลุมาตรฐาน ESG ระดับสากลและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันก็สามารถมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ไปพร้อมกัน นอกจากนั้น ไทยเบฟยังเป็น ผู้สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ Bio-Circular-Green (BCG) ของรัฐบาลไทย ซึ่งแสวงหาแนวทางใหม่เพื่อพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโต ควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ

ไทยเบฟคำนึงถึงความรับผิดชอบและความโปร่งใสผ่านการมีส่วนร่วมและการเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) กรอบการรายงานความยั่งยืนสากล Global Reporting Initiative (GRI) และการประเมินการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CDP) นอกจากนั้นเรายังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการกําหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เป็นสาระสําคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม โดยในเดือนตุลาคม 2565 ไทยเบฟได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัท และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยครอบคลุมเป้าหมาย การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งทางตรง (ขอบเขตที่ 1) และทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ภายในปี 2583 รวมถึงเป้าหมาย การคืนน้ำสู่ธรรมชาติ (Water Replenishment) และความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

ไทยเบฟมีนโยบายและแผนงานที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการดําเนินการเกี่ยวกับ ESG ทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มสาธารณะ ความร่วมมือกับพันธมิตร และการประเมินและปรับปรุง การดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ ด้วยเหตุนี้ไทยเบฟ จึงสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังคงเดินหน้าโครงการ ด้านความยั่งยืนภายใต้พันธกิจ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” (Creating and Sharing the Value of Growth) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนสร้างความผาสุกต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และโลก ไปพร้อม ๆ กัน
แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
โครงสร้างการกํากับดูแล
หลักธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งจะสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุภารกิจและเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้ ไทยเบฟได้ปรับปรุงโครงสร้างการกํากับดูแลด้านความยั่งยืนเพื่อบูรณาการกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนให้เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ โครงสร้างนี้ต้องการความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วม จากหน่วยธุรกิจในเครือในทุกประเทศโดยเน้นสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความยั่งยืน กลยุทธ์ทางธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง

โครงสร้างการกํากับดูแลด้านความยั่งยืนของไทยเบฟจะช่วยให้ สามารถนํากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนไปใช้ในทุกระดับของธุรกิจ และห่วงโซ่คุณค่า โดยเริ่มจากคณะกรรมการบริษัทซึ่งมีหน้าที่ดูแล และกําหนดกลยุทธ์ด้าน ESG ด้านการบริหารธุรกิจและความเสี่ยงโดยรวมของบริษัท ตลอดจนวางแนวทางไปสู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายภายใต้กลยุทธ์ด้าน ESG “สรรสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) คณะกรรมการบริษัทเชื่อว่าไทยเบฟสามารถขยายธุรกิจ ลดความเสี่ยง และสร้างโอกาสให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแบ่งปันผลประโยชน์เหล่านี้ กับสังคมโดยรวม คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมบริษัท มีหน้าที่กําหนด กลยุทธ์ ESG วางนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทและ ดูแลกิจกรรมด้าน ESG และการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่ได้กําหนด

ในปี 2565 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้แต่งตั้งรองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ ให้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงาน ความยั่งยืนและกลยุทธ์ เพื่อบูรณาการกลยุทธ์และการปรับปรุง ธุรกิจให้เข้ากับแผนงานด้านความยั่งยืน ผู้บริหารสูงสุดกลุ่มงาน ความยั่งยืนและกลยุทธ์ ยังดํารงตําแหน่งเลขานุการคณะกรรมการบริหาร ความยั่งยืนและความเสี่ยง (SRMC) และขับเคลื่อนงานผ่านคณะทํางาน การพัฒนาด้านความยั่งยืน (SDWT) อันประกอบด้วยตัวแทนจาก กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาแผนงานและโครงการ ESG และมีส่วนร่วม เพื่อตรวจสอบข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ครอบคลุมประเด็นความยั่งยืนที่สําคัญอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ SDWT ยังติดตามและรายงานความคืบหน้าของโครงการ ESG ต่อ SRMC อีกด้วย ยิ่งไปกว่านี้ ไทยเบฟได้เชื่อมโยงเป้าหมาย ESG กับค่าตอบแทน ที่เกี่ยวข้องกับผลการดําเนินงานประจําปี (เช่น โบนัส) เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงพันธกิจการบรรลุ ESG และยังได้กระจายพันธกิจนี้ไปยังคู่ค้าให้เกิดการประเมินผลการดําเนินงานและความเสี่ยง ด้านความยั่งยืนของตนเอง ดําเนินการตามจรรยาบรรณตลอดจนยกย่องคู่ค้าที่มีผลงานดีเด่นผ่านโครงการมอบรางวัลคู่ค้าประจําปี
โครงสร้างการพัฒนาความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพและสอดคล้อง ตามกรอบการรายงานตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จึงได้จัดทำการประเมิน/ทบทวนประเด็นสำคัญ ทางด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี โดยครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืน ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตามบริบทขององค์กร และสอดคล้องกับประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ รวมถึงสอดคล้องกับอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม
ไทยเบฟยึดถือแนวทางการประเมินผลกระทบ ได้ดำเนินการตาม หลักการทวิสารัตถภาพ หรือ Double Materiality Principle เพื่อประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่มีโอกาส ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืนขององค์กรในการนี้ไทยเบฟได้ดำเนินการตั้งแต่ ขั้นตอนการศึกษาและทำความเข้าใจบริบทด้านความยั่งยืนขององค์กร การระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นและมีโอกาสเกิดขึ้น (Identify Actual and Potential Impact) การประเมินความสำคัญของผลกระทบ (Assess the Significance of the Impact) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม (Engagement) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก รวมถึงที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน ก่อนเข้าสู่การจัดลำดับประเด็นสำคัญสูงสุด (Priorities Most Significant)

โดยยึดแนวทางการประเมินความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management) รวมถึงการทดสอบประเด็นกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันผลการประเมินก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ในการอนุมัติเห็นชอบประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ซึ่งขั้นตอน การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน มีรายละเอียดดังนี้
1. การศึกษาและทำความเข้าใจบริบท ด้านความยั่งยืนขององค์กร
ตามบริบทของการดำเนินงาน และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของ กลุ่มบริษัทฯ ไทยเบฟได้ทำการศึกษาประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน (Global Trends) โดยพิจารณากำหนดประเด็น ผ่านการทำการวิจัยจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย เช่น งานวิจัยของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) องค์กรผู้จัด ทำดัชนีและประเมินความยั่งยืน (S&P Global) ประเด็นสาระสำคัญ ที่ระบุโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีเพื่อความยั่งยืน (SASB) รวมไปถึงข้อกำหนดสากลต่าง ๆ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการศึกษารายงาน ของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และรายงานประเด็น ความสำคัญที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ให้ความสนใจ จนสามารถรวบรวมประเด็นด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทของไทยเบฟ และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ ความยั่งยืนของบริษัท เพื่อนำไปสู่การประเมินผลกระทบและโอกาส ที่จะเกิดขึ้นจากประเด็นสำคัญในขั้นตอนถัดไป
2. การระบุผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้น และการประเมินความสำคัญของผลกระทบ
เพื่อให้ได้ความเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน ในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้น (Actual Impact) และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Potential Impact) ไทยเบฟได้ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วม (Engagement ) กับผู้เชี่ยวชาญและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (Key Stakeholder) ทั้งภายในและภายนอก โดยในขั้นตอนแรกได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์และให้ความเห็นต่อประเด็นที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ รวมถึงส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงรูปแบบ ของผลกระทบที่มีโอกาสเกิดขึ้น

จากนั้น บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามหลักการทวิสารัตถภาพ หรือ Double Materiality Principle โดยจัดทำแบบประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนผ่านช่องทางออนไลน์ (Google Form) เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียหลัก (Key Stakeholder) ทั้งภายในและภายนอกได้มี ส่วนร่วมในการประเมินผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ (Positive และ Negative Impact) จากการดำเนินกิจกรรมของไทยเบฟ ในแต่ละประเด็น ซึ่งครอบคลุมทั้งประเด็น ด้านธรรมาภิบาล/ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแบบสำรวจได้มีการออกแบบตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management) จากความน่าจะเป็นของโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจริงและโอกาสที่คาดว่า จะเกิด (Actual และ Potential Likelihood)

รวมถึงประเมินความรุนแรง (Severity) ของผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ซึ่งได้แบ่งระดับความรุนแรงของผลกระทบออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (1) ต่ำ (2) ค่อนข้างต่ำ (3) ค่อนข้างสูงและ (4) สูง ดังภาพ

โดยผลจากการสำรวจที่ได้จากแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก จะถูกรวบรวมและนำมาทำการวิเคราะห์รวมกัน เพื่อนำเสนอให้ คณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน (SDWT) และผู้บริหารของกลุ่มไทยเบฟในลำดับถัดไป


3. การจัดลำดับประเด็นสำคัญสูงสุด เพื่อการรายงาน
ในขั้นตอนนี้ ไทยเบฟดำเนินการพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ อีกครั้งตามหลักการทวิสารัตถภาพ หรือ Double Materiality Principle โดยประเมินถึงผลกระทบของแต่ละประเด็นต่อ การดำเนินการด้านความยั่งยืน ซึ่งคณะทำงานด้านการพัฒนาความยั่งยืน (SDWT) จะร่วมกันกำหนดระดับความรุนแรงของผลกระทบของประเด็นที่มีความสำคัญ (Materiality Threshold) ทั้งในมิติการเงินและมิติอื่นที่ไม่ใช่การเงิน โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ ตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management) จากนั้นจะพิจารณาผลสำรวจที่ได้จากกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ก่อนดำเนินการประเมินและจัดลำดับประเด็น ที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบสูงสุด (Most Significant) ต่อไทยเบฟ

เพื่อเป็นการยืนยันผลการประเมิน ไทยเบฟได้ดำเนินการทดสอบประเด็น (Materiality Test) กับผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัท ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อขอความเห็นต่อกระบวนการประเมิน และประเด็นสาระสำคัญ ก่อนนำผลทั้งสองส่วนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขอความเห็น และลำดับความสำคัญสูงสุด (Priorities Most Significant) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน และการเปิดเผยข้อมูลในเล่มรายงานต่อไป

ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของไทยเบฟ
  • การบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบริหารจัดการของเสียและเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
  • การกำกับดูแลองค์กรและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
  • คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
  • ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  • การพัฒนาชุมชนและความร่วมมือ
  • การสร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงานที่มีความสามารถ
  • การพัฒนาบุคลากร