หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การสร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด
ไทยเบฟเชื่อมั่นว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จจะต้องทำงานร่วมกับพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และการเติบโต ที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับพนักงานและองค์กร การมอบโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และเติบโตในเส้นทางอาชีพจะช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่าง เข้มแข็ง

ไทยเบฟจึงมุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ไทยเบฟมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ดีที่สุดในอาเซียน และเชื่อว่าความพึงพอใจและความก้าวหน้าของพนักงานจะเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ส่งเสริมให้พนักงานร่วมงานกับองค์กรได้ยาวนาน
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการ เสริมสร้างศักยภาพองค์กร จึงได้จัดตั้ง กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล และสมรรถนะองค์กร หรือ HC&OC (Human Capital and Organization Capabilities) เพื่อสนับสนุนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียน

HC&OC ทำงานร่วมกับทรัพยากรบุคคลตามสายธุรกิจ หรือ Human Capital Business Partner (HCBP) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และแนวทางบริหารจัดการตามกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ ทางธุรกิจ

นอกจากนี้ HC&OC ส่วนกลางยังทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนและ ทีมปฏิบัติงานในประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริหารงานและกลยุทธ์ของ HC&OC รวมถึงความเป็นเลิศในการให้บริการ ของ HC เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานในทุกช่องทาง

แนวทางการจัดการนี้ช่วยให้ไทยเบฟสามารถพัฒนาและเตรียมพร้อมศักยภาพให้กับพนักงานทั่วประเทศในทุกกลุ่มธุรกิจ และยังช่วย ส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงแนวทางปฏิบัติที่ดีภายในองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้าง “โอกาสไร้ขีดจำกัด” ของไทยเบฟ
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบุคลากร
ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการมอบโอกาสไร้ขีดจำกัดให้พนักงาน และมุ่งมั่นในการนำความหลากหลาย ความเสมอภาคและการ มีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงาน มีโอกาสเท่าเทียมในการเติบโตตามสายอาชีพได้ นอกจากนี้เพื่่อสร้างความแข็งแกร่งของบุคลากรควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กร รวมถึงเตรียมความพร้อมให้พนักงานเพื่อรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไทยเบฟ ได้กำหนด 7 ยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการบุคลากร ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1:
โครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจน
  • ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของงาน แต่ละตำแหน่ง เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจและ PASSION 2025
  • ขยายและพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางอาชีพในกลุ่มงาน ให้สอดคล้องกับการออกแบบโครงสร้างและบทบาท การบริหารของไทยเบฟ
ยุทธศาสตร์ที่ 2:
ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ที่แข่งขันได้กับตลาด
บริหารและวิเคราะห์ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ เพื่อสร้างเป็น มาตรฐานที่เหมาะสมในทุกบริษัทของกลุ่มไทยเบฟ โดยให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและความต้องการ ของบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 3:
การบริหารผลการดำเนินงาน ที่โดดเด่น
  • พัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างครอบคลุม ขยายช่องทางการเข้าใช้งานเพื่อตอบโจทย์บุคลากรในทุกช่วงอายุ
  • การประเมินผลอย่างเป็นธรรม รวมถึงการวางแผนพัฒนาทักษะเพื่อ พัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4:
การพัฒนาบุคลากร แบบองค์รวม
ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ผ่านการ เรียนรู้ในรูปแบบ 70:20:10* รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่ บุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้แผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 5:
การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและบุคลากรเชิงรุก
ยกระดับการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้บริหารในการสืบทอด ตำแหน่งให้มีความพร้อมและความสามารถ เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการ เปลี่ยนถ่ายอย่างราบรื่นและมีความต่อเนื่องทางธุรกิจ เสริมสร้าง ความยั่งยืนขององค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 6:
การสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพ และการดูแลบุคลากรใหม่
สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ ที่เหมาะสมในการทำงานในตำแหน่งตามที่องค์กรต้องการ รวมถึง ดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีความคล่องตัวและมีความสามารถในการ ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
ยุทธศาสตร์ที่ 7:
การส่งเสริมวัฒนธรรม ที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวผ่านค่านิยมของกลุ่มไทยเบฟ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างต่อเนื่องให้เกิด พฤติกรรมที่เหมาะสมตามค่านิยมองค์กร
*70% เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ; 20% เรียนรู้จากบุคคลอื่น; 10% เรียนรู้จากการเข้าอบรม
การสร้างแรงจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ
องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพไว้ย่อมสามารถคาดหวังที่จะได้ผลประโยชน์ทางการเงินในระยะยาว ศักยภาพและผลงานของพนักงานที่เพิ่มขึ้นสามารถหักล้างกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมได้ และอัตราการลาออกที่ลดลงจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางการเงิน กลยุทธ์การรักษาพนักงานที่มีศักยภาพจะส่งผลให้อัตราการลาออกลดลง และการให้ผลตอบแทนที่จูงใจจะช่วยเพิ่มขวัญกำลังใจและประสิทธิภาพในการทำงานได้

ในระยะยาวพนักงานที่มีทักษะจะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตและ การพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับองค์กร ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ ภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีสามารถจูงใจพนักงานที่มีศักยภาพเไว้ได้ และการสืบทอดตำแหน่งให้คนที่มี ความสามารถจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะการขาดผู้นำองค์กร
กระบวนการบริหารจัดการ
การสร้างแรงจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพเกี่ยวข้องกับ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพและการดูแลบุคลากรใหม่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้กับตลาด และการบริหารผลการดำเนินงานที่โดดเด่น

ขอบเขตการทำงานของทีมสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพและการดูแลบุคลากรใหม่มีดังนี้:
  • การคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพ:
    พัฒนากลยุทธ์ที่สามารถดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความคล่องตัวและมีความสามารถในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
  • การคัดเลือกผู้สมัคร:
    ดำเนินการคัดกรองและสัมภาษณ์อย่างมี รูปแบบ เพื่อประเมินผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำงาน ในตำแหน่งตามที่องค์กรต้องการ
  • ประสบการณ์ของผู้สมัคร:
    ในการสรรหาและการคัดเลือกค้นหาบุคลากรที่มีประสบการณ์บวกและเป็นมืออาชีพ
  • การดูแลบุคลากรใหม่:
    ทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ เพื่ออำนวย ความสะดวกในกระบวนการฝึกบุคลากรใหม่ให้ผ่านไปด้วยดี
  • การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง:
    ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ ที่ดีและเป้าหมายขององค์กร
ในส่วนของการบริหารค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ไทยเบฟ มุ่งมั่นที่จะให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกคนในทุกประเทศ บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายในการจัดให้มีสวัสดิการ แก่พนักงาน รวมถึงรักษามาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับการบริหาร ค่าตอบแทน การบริหารผลการดำเนินงานและการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร ไทยเบฟมุ่งมั่นในการประเมินค่าตอบแทนที่ยุติธรรมสำหรับพนักงาน โดยเทียบเคียงกับตลาดแรงงานอย่างเหมาะสมเป็นประจำเพื่อให้คุณค่าของงานและระดับการจัดเกรดมีความสอดคล้องกัน ทั่วทั้งกลุ่มบริษัท

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังใช้กลยุทธ์ระบบค่าตอบแทนรวม หรือ Total Rewards Strategy ซึ่งประกอบด้วยการจ่ายผลตอบแทน และสวัสดิการแบบองค์รวม เพื่อแสดงความชื่นชมพนักงานที่มี ความสามารถและส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงบวก

ในด้านการบริหารผลการดำเนินงานไทยเบฟใช้แนวทางปฏิบัติในการประเมินผลการปฏิบัติงานหลายรูปแบบ ได้แก่
  • การบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์: พนักงานทุกคนมีหน้าที่ รับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและผลลัพธ์ ทางธุรกิจของไทยเบฟโดยขึ้นอยู่กับหน่วยงานธุรกิจและลักษณะงานของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ไทยเบฟได้นำดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ของงาน (KPI) มาใช้ร่วมกับการตั้งเป้าหมายและการกำหนดตัววัดผล (OKR) ให้สอดคล้องกับหลักการ SMART เพื่อกำหนด เป้าหมายทางธุรกิจที่ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (บรรลุผลได้จริง), Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน)
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานหลายมิติ: ไทยเบฟใช้การประเมิน ผลการปฏิบัติงานหลายมิติเพื่อระบุ “ค่าการมีส่วนร่วม” ของพนักงาน ซึ่งหมายถึงค่าตอบแทนจูงใจระยะสั้นหรือที่เรียกว่า “เงินโบนัส” แนวทางนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ ที่ยึดถือร่วมกันประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ (“3C”) คือ ร่วมกันผสานพลัง (Collaboration) สร้างสรรค์คุณค่า (Creating Values) และเอาใจใส่ต่อผู้เกี่ยวข้อง (Caring for Stakeholders) โดยพนักงานได้รับการประเมินตามตัวแปรต่อไปนี้:
    • ระดับการปฏิบัติงาน: พนักงานต้องปฏิบัติตามหน้าที่และ ความรับผิดชอบขั้นพื้นฐานเป็นอันดับแรก
    • บุคลิกลักษณะ:
      ไทยเบฟประเมินพนักงานตามคุณลักษณะ ต่าง ๆ เช่น ความเป็นผู้นำและการแสดงให้เห็นถึงคุณค่า
    • การมีส่วนร่วม:
      ใช้ “ระบบขอบคุณ” โดยพนักงานจะได้รับ “คะแนนขอบคุณ” จากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และ ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงการรับรู้ถึง การมีส่วนร่วมของเขา
  • การจัดอันดับเปรียบเทียบแบบเป็นทางการ:
    พนักงานทุกคน ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานทุกปีพร้อมตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับระดับการปฏิบัติงาน คะแนน การประเมินของแต่ละคนจะผ่านการตรวจสอบเปรียบเทียบ และการแจกแจงความถี่ของคะแนนเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม โดยให้สอดคล้องกับความเข้าใจและ ความคาดหวังของหัวหน้างานทุกคน การแจกแจงความถี่ของคะแนนยังเป็นเครื่องมือในการระบุคนที่มีความสามารถโดยการเปรียบเทียบและจัดอันดับบุคคลที่มีหน้าที่/ข้อกำหนดของงานเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน
  • การสนทนาอย่างต่อเนื่อง:
    เป็นกลไกการให้ฟีดแบ็กประจำวันหรือการพูดคุยแบบคล่องตัว ซึ่งส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นทีม การวางเป้าหมายร่วมกัน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระหว่างทีมขายและฝ่ายปฏิบัติการอย่างยั่งยืน การสนทนาต่อเนื่องเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2565 โดยบริษัทจัดให้มีการพูดคุยเป็นประจำ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้:
    • ติดตามผลการปฏิบัติงานประจำวัน
    • การจัดการเป้าหมายการขาย
    • การวางแผนและการดำเนินการส่งเสริมการขายและการตลาด
    • การจัดตารางเยี่ยมลูกค้า
    • การจัดการกับข้อกังวลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับงาน
    • ติดตามข่าวสารและกิจกรรมสำคัญจากสำนักงานใหญ่

ไทยเบฟยังสนับสนุนให้ใช้การพูดคุยแบบตัวต่อตัว เพื่อส่งเสริม ให้เกิดการสื่อสารสองทางสำหรับแบ่งปันข้อมูลและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจะช่วยให้หัวหน้างานและลูกน้องในทีมสามารถระบุและแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการสื่อสารและการโค้ชแบบตัวต่อตัว โดยเปิดโอกาสให้พนักงานได้แบ่งปันความคิด ประสบการณ์ และความรู้ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานเอาชนะความท้าทาย บรรลุเป้าหมาย และแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่วัดผลได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนช่วยในการพัฒนาอาชีพและการทำงานโดยรวมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากร People Analytics
ThaiBev focuses on understanding and predicting ไทยเบฟมุ่งเน้นในการทำความเข้าใจและคาดการณ์สถานการณ์ ของพนักงานและบริบทในการทำงานโดยทำการปรับข้อมูลพนักงาน ที่ซึ่งเก็บรวบรวมจากระบบต่าง ๆ ของกลุ่มบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งรวมถึง EC (ข้อมูลศูนย์พนักงาน), TMS (ระบบการบริหารเวลา), Beverest–PMS (ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน), My Career (โอกาสสายอาชีพ), My IDP (โปรแกรมการพัฒนา รายบุคคล) และ My Career Learning (ระบบการจัดการการเรียนรู้)

ในช่วงปีงบประมาณ 2565-2566 ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการสำคัญ 2 โครงการ ได้แก่
  • แดชบอร์ดการพัฒนาอาชีพ: ได้ริเริ่มร่วมพัฒนาโซลูชันวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กร เริ่มต้นด้วยแดชบอร์ดเส้นทางอาชีพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้จัดการกลุ่มงานและกลุ่มบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของพนักงานได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรมนี้ช่วยให้สามารถติดตามและตรวจสอบการวางแผนและการพัฒนารายบุคคลของพนักงาน โดยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแดชบอร์ดที่ใช้งานง่าย
  • แล็บวิเคราะห์ข้อมูลบุคคล: ไทยเบฟเปิดตัวโปรแกรมเพื่อการพัฒนาที่มุ่งยกระดับการวิเคราะห์ข้อมูลภายในทีมบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โปรแกรมนี้รวมเอาข้อมูลการเรียนรู้จากการปฏิบัติโครงการที่ได้รับมอบหมายเพื่อนำไปสร้างแดชบอร์ด ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ตัวอย่างเช่น แดชบอร์ดแสดงค่าตอบแทนจูงใจจากการขาย เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมและประสิทธิผลของโครงการค่าตอบแทนจูงใจ และแดชบอร์ดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่เพื่อคาดการณ์ปัจจัย ที่นำไปสู่อุบัติเหตุ และการออกแบบโซลูชันเพื่อลดความเสี่ยง
เป้าหมาย
  เป้าหมาย ปี 2566 เป้าหมาย ปี 2573
พนักงานที่มีความผูกพันและประสบการณ์เชิงบวก 83% 90%
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ความผูกพันของพนักงาน

จากการจัดทำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ เราได้วางแผนที่จะขยายการใช้ประโยชน์จากข้อมูลไปยังสายงานอื่น ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานด้วยทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานสร้างข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจขณะที่เราก้าวเดินสู่การเป็นองค์กร ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
โครงการเด่น
โปรแกรมนักศึกษาฝึกงานอาเซียน (ASEAN Internship Program)
โปรแกรมนักศึกษาฝึกงานอาเซียน เป็นโครงการที่ช่วยดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพซึ่งในปี 2566 ยังคงสร้างผู้สมัคร ที่มีความแข็งแกร่งให้กับบริษัท โปรแกรมนี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งในระดับภูมิภาค ซึ่งมอบโอกาสและประสบการณ์ที่ดี ในการเรียนรู้ให้กับเยาวชนทั่วทั้งภูมิภาค

ในปีนี้มีนักศึกษาฝึกงานจากต่างประเทศและในประเทศจาก 6 ประเทศอาเซียนเข้าร่วมในโครงการระยะเวลา 2 เดือน หัวใจสำคัญของโครงการคือการฝึกอบรมผ่านการเรียนรู้ ในงานจริงในหน่วยธุรกิจและกลุ่มสายงานต่าง ๆ เช่น การตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานการพัฒนาธุรกิจ งานทรัพยากรมนุุษย์ งานการเงิน และงานการจัดการห่วงโซ่ อุปทาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสร้างเครือข่ายเพื่อนอาเซียน รวมถึงโปรแกรมสร้างความเป็นผู้นำ กิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) และโครงการศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน รวมถึงโอกาสในการสร้างเครือข่ายกับผู้บริหารระดับสูงของไทยเบฟและกลุ่มคน รุ่นใหม่มืออาชีพจากอาเซียน นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนา ให้คำแนะนำด้านอาชีพอีกด้วย

โครงการได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วมโดยได้คะแนน ความพึงพอใจร้อยละ 95 จากการสำรวจ และนอกจากนี้ นักศึกษาฝึกงานทุกคน ยังแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมทำงานกับไทยเบฟหลังจากสำเร็จการศึกษา

โครงการสำคัญ
โครงการพัฒนา SCM Young Gen
ในปี 2566 ไทยเบฟได้พัฒนาโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่สายการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM) เพื่อพัฒนาพนักงานระดับปฏิบัติการ ที่มีศักยภาพสูงและส่งเสริมการเติบโตทางอาชีพในระยะยาวภายในบริษัท เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ PASSION 2025 และเป้าหมายทางธุรกิจ โครงการนี้ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการขององค์กรในความต้องการมีพนักงานที่มีทักษะและพร้อมสำหรับอนาคตเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นโครงการที่ทรงพลังในการรักษาผู้มีความสามารถรุ่นใหม่เอาไว้อีกด้วย

โครงการนี้ช่วยปลูกฝังทักษะความเป็นผู้นำ ความเป็นมืออาชีพ และการจัดการผ่านวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายซึ่งรวมถึงการเรียน ในห้องเรียน การแบ่งปันความรู้ที่นำโดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ และการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้จากการลงมือทำ พนักงานจึงได้ใช้ทักษะที่ได้เรียนรู้ใหม่เพื่อรับมือกับความท้าทาย ทางธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริงภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของผู้สนับสนุนโครงการและผู้ฝึกสอน

ผู้ร่วมโครงการรุ่นแรกแสดงความสามารถที่โดดเด่นในการแก้ปัญหาโดยการพัฒนาแผนธุรกิจที่ครอบคลุมทั้ง 6 แผนซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนของไทยเบฟ แผนนวัตกรรมนี้สร้างรายได้ประมาณ 140 ล้านบาท และช่วยประหยัดต้นทุนได้ประมาณ 30 ล้านบาทโดยการนำกระบวนการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพมาใช้

ทั้งนี้ โครงการยังแสดงให้เห็นถึงแนวทางของไทยเบฟในการพัฒนาและรักษาบุคคลากรที่มีความสามารถ ไทยเบฟส่งเสริมพนักงาน รุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำในอนาคตและขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืน ผ่านโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาที่ครอบคลุม การลงทุนครั้งนี้ทำให้มั่นใจว่าจะมีผู้นำที่มีความสามารถเข้ามาในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ไทยเบฟเป็นองค์กรที่น่าดึงดูดสำหรับคนรุ่นใหม่
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงภาพรวมธุรกิจอย่างรวดเร็วและความต้องการ ทักษะเพิ่มขึ้นอาจทำให้พนักงานรับมือไม่ทันกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงนี้ไทยเบฟจึงได้ลงทุนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาพนักงาน โดยมุ่งเน้นทักษะและความรู้ที่พนักงานจำเป็นต้องมีเพื่อสนับสนุนเป้าหมายทางธุรกิจของบริษัท และจัดให้มีการฝึกอบรม และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะและความรู้

การลงทุนในการพัฒนาพนักงานอาจส่งผลให้เกิดผลประโยชน์ หลายประการในระยะกลาง รวมถึงประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น การลาออกที่ลดลง และนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้น ทักษะใหม่ ๆ ยังสามารถช่วยขับเคลื่อนแหล่งรายได้ใหม่ ๆ ให้กับบริษัทอีกด้วย

การลงทุนของไทยเบฟในการพัฒนาพนักงานจะให้ผลประโยชน์ ระยะยาว รวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขัน มีความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งขึ้น ลดต้นทุนในการสรรหาบุคลากร และความสามารถ ในการดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูง
การพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม
เพื่อการสนับสนุนธุรกิจและการเติบโตในสายอาชีพของบุคลากร อย่างยั่งยืน จึงมีการสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวมซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ โมเดลสมรรถนะ (Competency Model) เส้นทางอาชีพ (Career Path) และหลักสูตรฝึกอบรมในสายอาชีพ (Career-Based Training Program) ในการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้นั้น ไทยเบฟได้นำโมเดลเคิร์กแพททริก (Kirkpatrick) มาใช้ และได้เพิ่มวัตถุประสงค์ อีกหนึ่งระดับที่นอกเหนือจากผลลัพธ์ทางธุรกิจซึ่งก็คือการเติบโต ในสายอาชีพ

ไทยเบฟส่งเสริมวัฒนธรรมการพัฒนาต่อเนื่อง ผ่านแผนพัฒนาตนเอง (IDPs) และการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงาน ผู้บังคับบัญชา และทีมงานทรัพยากรบุคคล โดยใช้กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนา เช่น การโค้ชและติดตามผล วิธีการนี้ช่วยให้การพัฒนาบุคลากร มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความเชื่อของบริษัท ในการเติบโต อย่างยั่งยืนของพนักงาน และบรรลุเป้าหมายของบุคลากร
โครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาบุคลากร
เป้าหมาย
การแบ่งประเภทของแรงงานโดยใช้เพศเป็นตัวกำหนด ปัจจุบัน เป้าหมายภายในปี 2573
แรงงานผู้หญิงทั้งหมด 40.49% 42%
ผู้หญิงในระดับบริหารทั้งหมด 43.17% 45%
ผู้หญิงในระดับบริหารระดับต้น 45.80% 50%
ผู้หญิงในระดับบริหารระดับสูง 35.65% 40%
ผู้หญิงในระดับบริหารที่อยู่ในสายการสร้างรายได้ 32.86% 50%
ผู้หญิงในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับ STEM (science, technology, engineering and mathematics) 51.23% 50%
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เห็นได้จากชั่วโมงการฝึกอบรมทั้งหมด 1,504,759 ชั่วโมง (ไม่รวมเวียดนาม) ในปี 2566 โดยพนักงานแต่ละคนเข้ารับการฝึกอบรมเฉลี่ย 29.73 ชั่วโมง นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการด้วยรางวัลอันทรงคุณค่า ดังนี้
  • รางวัลความเป็นเลิศทางทรัพยากรมนุษย์ 2566 โดย Human Resources Online, สิงคโปร์:
    • ความเป็นเลิศในกลยุทธ์การสนับสนุนผู้มีความสามารถ ภายใน: รางวัลเหรียญทอง
    • ความเป็นเลิศด้านอาสาสมัครนายจ้าง: รางวัลเหรียญเงิน
    • ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทรัพยากรบุคคล: รางวัลเหรียญเงิน
  • บริษัทที่น่าทำงานที่สุดในเอเชีย 2566 (HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2023):
    • รางวัลบริษัทที่ใส่ใจพนักงานมากที่สุด
    • รางวัลความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการไม่แบ่งแยก
    • รางวัลการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล
  • 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2566 (Work Venture’s Top 50 Employers in Thailand 2023)
โครงการสำคัญ
โครงการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงช่วยปลูกฝังพนักงาน จากหลากหลายสายงาน ประเทศ และภูมิหลังการทำงานทั่วทั้งบริษัทด้วยกรอบความคิดที่ถูกต้อง และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบทาง การแข่งขันซึ่งผลักดันให้บริษัทเติบโตไปพร้อมกับความมั่นคง และความยั่งยืน ตามแนวทางการเรียนรู้แบบผสมผสาน โครงการนี้สนับสนุนให้พนักงานสร้างความรู้ทางธุรกิจแบบองค์รวมและฝึกฝนทักษะความเป็นผู้นำผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ในห้องเรียน การแบ่งปัน การเยี่ยมชมสถานที่ และโครงการการเรียนรู้จาก การปฏิบัติที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมวิเคราะห์และนำเสนอแนวคิดที่ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในอนาคตของไทยเบฟ
โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับอาเซียน ( ASEAN Management Development Program: AMD) – ศิษย์เก่า 117 คน 3 รุ่น
โครงการนี้ได้รับการพัฒนาร่วมกับ C asean เพื่อยกระดับ ขีดความสามารถของผู้บริหารสำหรับภูมิทัศน์ธุรกิจที่กำลังขยายตัว ของอาเซียน ผู้บริหารไทยเบฟจากประเทศไทย เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย และเมียนมา เข้าร่วมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การสำรวจตลาด และการระบุโอกาสทางธุรกิจในภูมิทัศน์ของอาเซียน
โครงการพัฒนาพนักงานระดับผู้จัดการ (Management Development Program: MDP) – ศิษย์เก่า 315 คนใน 10 รุ่น
โครงการนี้ถูกพัฒนาโดยความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทักษะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเตรียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งผู้บริหารในอนาคต ประสบการณ์ การเรียนรู้จากโครงการนี้ครอบคลุมการเรียนรู้ตามโครงงาน การแบ่งปันความรู้ และการฝึกอบรมปฏิบัติการ
โครงการพัฒนาพนักงานระดับหัวหน้างาน (Supervisory Development Program: SDP) – ศิษย์เก่า 445 คนใน 11 รุ่น
ไทยเบฟร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแบบ SDP เพื่อขยายมุมมองทางธุรกิจของผู้เข้าร่วมผ่านการแบ่งปันประสบการณ์โดยผู้บริหารไทยเบฟ และเยี่ยมชมองค์กรชั้นนำ ของประเทศไทย
โครงการพัฒนาความสามารถพิเศษพนักงานรุ่นใหม่ (Young Talent Development Program) – ศิษย์เก่า 159 คนใน 5 รุ่น
ไทยเบฟร่วมมือกับผู้บริหารภายในและผู้ฝึกสอนมืออาชีพในการออกแบบและจัดทำโครงการพัฒนาเพื่อส่งเสริมและดูแลพนักงานรุ่นใหม่ให้เติบโตก้าวหน้าต่อไปในอนาคต โครงการนี้ครอบคลุมทักษะความเป็นผู้นำและการจัดการ บริบททางธุรกิจ และความเชี่ยวชาญในสายงาน โดยนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ทางธุรกิจจริง
โครงการพัฒนาพนักงานขายสุรา ช่องทางการจัดจำหน่าย แบบดั้งเดิม (The Spirits Sales Traditional Trade: TT)
กลุ่มธุรกิจสุราของไทยเบฟจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อยกระดับศักยภาพของผู้บริหารฝ่ายขายและรักษาความเป็นผู้นำในตลาดท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงของตลาด โครงการมุ่งเน้นที่ทักษะการเจรจาต่อรอง การตลาด และการขายเชิงให้คำปรึกษา โครงการนี้จัดทำโดย ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat Consulting Networking and Coaching Center) นำเสนอวิธีการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ รากฐานธุรกิจและการตลาดหลัก เทคนิคการขายเชิงที่ปรึกษา และความสามารถในการทำกำไรทาง การตลาด ผู้เข้าร่วมได้นำเสนอแผนการพัฒนาลูกค้าและฝึกฝนเทคนิคการขายเชิงที่ปรึกษา ด้วยอัตราความพึงพอใจร้อยละ 96 และ Net Promoter Score (NPS) ร้อยละ 94 โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการขาย และเป็นตัวอย่างของการนำไปใช้จริงในโลกภายนอกผ่านหลักสูตร Action Based Learning (ABL) ของเรา