เพื่อขับเคลื่อนความพยายามในการลดความสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ไทยเบฟได้ตั้งเป้าหมายเชิงรุกเพื่อลดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยได้ดำเนินการตามมาตรฐาน “การทำแผนที่และการวัดขยะอาหารและเครื่องดื่ม” ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งใช้จัดวางลำดับชั้นของวัสดุอาหารและเครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่การป้องกัน การเพิ่มประสิทธิภาพ การรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ตลอดจนถึงการกำจัดขยะอาหาร
ในปัจจุบัน การสูญเสียอาหารทั้งหมดภายในกลุ่มธุรกิจเบียร์ สุรา
และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยเบฟได้รับการจัดการให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในกระบวนการผลิตได้ ส่งผลให้ปริมาณการสูญเสียอาหารและของเสียทั้งหมดที่ส่งไปกำจัด
ณ สถานที่ฝังกลบจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ลดลงเป็นศูนย์
จึงทำให้เหลือเพียงกลุ่มธุรกิจอาหารเท่านั้นที่ยังจำเป็นต้องบริหารจัดการปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะจากการดำเนินงานให้เสร็จสิ้น
คณะทำงานด้านการจัดการความสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการและผู้จัดการร้านอาหารและโรงงาน
ของกลุ่มธุรกิจอาหาร ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2563
เพื่อบริหารจัดการความสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่เกิดขึ้น
ในสถานที่ผลิตและร้านอาหารของบริษัท ในช่วงปลายปี 2564
ทางกลุ่มธุรกิจอาหารได้เริ่มทำความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น
บริษัท อาหารเสริม จำกัด, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจรีไซเคิล จำกัด,
และบริษัท ฮาวี ลอจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการการจัดการความสูญเสียอาหารและขยะอาหารอย่างครบวงจร
โดยโครงการนี้ครอบคลุมทั้งการติดตามและการจัดการความสูญเสียอาหาร ขยะอาหาร และของเสียจากบรรจุภัณฑ์ นับจากโรงงานผลิต
ไปจนถึงร้านอาหารของบริษัท โดยมีเป้าหมายหลักในการป้องกัน
ไม่ให้มีการสูญเสียอาหารและขยะอาหารเหลือไปกำจัด ณ พื้นที่ฝังกลบ นอกจากนี้ ทางกลุ่มธุรกิจอาหารได้ค้นคว้าหาวิธีสร้างรายได้
จากความสูญเสียอาหารและขยะอาหารอยู่อย่างต่อเนื่อง
เพื่อสร้างทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการนำไปบริจาคเพียงอย่างเดียว
เป้าหมาย 12.3 ของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) คือการเรียกร้องให้ลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
ต่อประชากรลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ดังนั้น เป้าหมายของไทยเบฟในการลดขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573
จึงถือได้ว่าเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายอย่างมากเนื่องจากทางบริษัทจำเป็นต้องหาวิธีการใช้ประโยชน์จากความสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกจุดของการดำเนินงาน ทั้งนี้ ไทยเบฟได้กำหนดกลยุทธ์หลายประการในกลุ่มธุรกิจทั้งสี่เพื่อลดปริมาณการเกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมถึงปริมาณของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่ถูกทิ้งฝังกลบ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวรวมถึงโครงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ
ในการลดขยะอาหาร และโครงการในการนำความสูญเสียอาหารและขยะอาหารไปจำหน่ายเพื่อแปรรูปและใช้ประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้
ไทยเบฟยังมีเป้าหมายที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในห่วงโซ่คุณค่า
อย่างสร้างสรรค์
การสูญเสียอาหารและขยะอาหารมีความหมายที่เกี่ยวข้องแต่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าความสูญเสียนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนใดในห่วงโซ่คุณค่า การสูญเสียอาหารคือปริมาณหรือคุณภาพของอาหารที่ลดลง
ในช่วงการเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการผลิต แต่ไม่รวมถึงขั้นตอน
การจัดจำหน่าย ในขณะที่ขยะอาหารเกิดขึ้นในขั้นตอนการจัดจำหน่าย
และการบริโภค ไทยเบฟได้จำแนกหมวดหมู่การสูญเสียอาหารและขยะอาหารตามขั้นตอนที่เกิดโดยใช้ระบบต่าง ๆ ในการวัดปริมาณ ในพื้นที่การผลิต การสูญเสียอาหารจะถูกรวบรวม ประเมิน แบ่งประเภท
และจัดเก็บก่อนที่จะได้รับการจัดการ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถย้อนกลับไปติดตามรายละเอียดการสูญเสียอาหารในแต่ละขั้นตอนได้ นอกจากนี้ ไทยเบฟยังใช้วิธีอื่นในการวัดปริมาณการสูญเสียอาหาร
อีกด้วย เช่น การคำนวณความแตกต่างของน้ำหนักระหว่างรถบรรทุกเต็มและบรรทุกเปล่าระหว่างขั้นตอนการขนส่ง และในขั้นตอนการจัดจำหน่ายปลีก ไทยเบฟได้ใช้วิธีการชั่งน้ำหนักเศษอาหารที่ร้านอาหารแต่ละแห่งและคำนวณปริมาณของเสียโดยผ่านระบบสินค้าคงคลังของบริษัท
ในกระบวนการดำเนินงาน ข้อมูลการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
จะถูกรวบรวมโดยผู้เก็บข้อมูลที่โรงงานผลิตอาหารของบริษัทที่จังหวัดชลบุรีและที่ร้านอาหารในเครือของบริษัทผ่านระบบฐานข้อมูลออนไลน์ Sustainability Data Management System (SDMS)
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมจากแผนกและคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง
ผ่านการสรุปและวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ จากนั้นจะถูกส่งไปยังสำนักงานบริหารโครงการ (PMO) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาหารือและปรับปรุงกระบวนการลดขยะอาหารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
ไทยเบฟได้คัดแยกการสูญเสียอาหารออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น เศษปลา เศษผัก เศษขนมปัง และเศษอาหารอื่น ๆ โดยมีการติดตามปริมาณและวิธีการกำจัดเศษอาหารแต่ละประเภทในแต่ละเดือน
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำไปจำหน่ายให้กับคู่ค้าหรือบริจาคให้
กับชุมชนเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยข้อมูลนี้ได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ไทยเบฟสามารถติดตามรายละเอียดข้อมูลการสูญเสียอาหารแต่ละประเภทตามน้ำหนักได้ นอกจากนั้น ปัญหาหรือข้อเสนอแนะใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจะถูกส่งต่อไปยังหัวหน้าโครงการเพื่อตรวจสอบและดำเนินการ ขั้นตอนเหล่านี้สามารถช่วยลดการสูญเสียในแต่ละกระบวนการให้เหลือน้อยที่สุด และเพิ่มปริมาณการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ ไทยเบฟยังร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อสร้างความมั่นใจว่า
วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ดี
และไม่เกิดการสูญหายโดยไม่จำเป็นในช่วงการบรรจุหรือการขนส่ง
ที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ไทยเบฟยังคงเดินหน้าปรับปรุงข้อมูลขยะอาหารอย่างต่อเนื่อง
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากร้านอาหาร เช่น ชาบูชิ โออิชิราเมน
และเคเอฟซี โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมร้านอาหารทุกแบรนด์
ในเครือไทยเบฟ ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านความปลอดภัยและ
สุขอนามัยที่อาจเกิดขึ้นจากเศษอาหารเน่าเสีย ไทยเบฟได้ทำงาน
ร่วมกับพันธมิตรด้านการจัดส่งที่ได้รับใบอนุญาตในการกำจัด
ของเสียเพื่อให้การรวบรวมและจัดการขยะอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม รวมถึงการสำรวจวิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้กับ
ขยะอาหารของบริษัท นับตั้งแต่การแปรรูปชิ้นส่วนวัตถุดิบเหลือใช้ที่ถูกสุขอนามัยและมีคุณภาพดีให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ไปจนถึงการบริจาคอาหารส่วนเกินจากเครือร้านอาหารของบริษัทให้กับองค์กร
และชุมชนต่าง ๆ
ในปี 2566 ไทยเบฟได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อช่วยยืนยันความถูกต้อง
ของข้อมูลขยะอาหาร ปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูลที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ร่างนโยบายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ
การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ติดตามความคืบหน้าของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในด้านการจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และนำเสนอแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของบริษัท โดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภายนอกนี้จะช่วยปรับปรุงโครงการการจัดการขยะอาหารของบริษัทให้มีความสอดคล้องกับ
เป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ไทยเบฟยังได้หารือกับเจ้าของพื้นที่ร้านอาหารต่างๆ
เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการร่วมมือกันจัดการขยะอาหาร
โดยมีแผนจะเริ่มจากภายในกรุงเทพฯก่อน จากนั้นจึงขยายออกไปยังต่างจังหวัด เช่น การจัดหาพื้นที่ส่วนกลางสำหรับเก็บขยะอาหาร พร้อมทั้งจัดเตรียมวิธีการกำจัดขยะอาหารที่สามารถสร้างรายได้
ให้กับเจ้าของพื้นที่ ในขณะเดียวกัน ทางฝ่ายผู้เช่าพื้นที่จะมีความ
รับผิดชอบในการนำขยะอาหารที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไปทิ้งที่พื้นที่เก็บขยะอาหารส่วนกลาง ซึ่งรูปแบบการร่วมมือดังกล่าวจะทำให้เกิด
ผลประโยชน์กับทั้งฝ่ายเจ้าของพื้นที่และผู้เช่า พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะอาหารไปในตัว
ไทยเบฟร่วมมือกับพันธมิตรต้นน้ำและปลายน้ำในการสร้างผลิตภัณฑ์และโครงการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อลดการสูญเสียอาหาร อาทิ:
- แปรรูปขยะผักเป็นปุ๋ย
- นำเศษขนมปังและเศษปลาแซลมอนกลับมาใช้เป็นส่วนหนึ่ง
ในผลิตภัณฑ์อาหาร
- บริจาคเศษวัตถุดิบเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
- จำหน่ายน้ำมันพืชใช้แล้วให้กับคู่ค้าเพื่อนำไปผลิตเป็น
น้ำมันไบโอดีเซล
การนำขยะอาหาร
ไปฝังกลบเป็นศูนย์
ภายในปี 2573
ขยายโครงการและแนวทาง
การลดขยะอาหารให้ครอบคลุม
เครือข่ายร้านอาหารทั้งหมด
ในเครือไทยเบฟ เพื่อสร้างคุณค่า
ให้กับบริษัทและสังคม
ชาบูชิ (เครือร้านอาหารบุฟเฟต์สไตล์ชาบู) ได้จัดกิจกรรม “กินหมดเกลี้ยง” ให้ลูกค้าของทางร้านได้เข้าร่วมสนุก โดยเป็นการ
ท้าให้ลูกค้าบริโภคอาหารที่ตนเองตักหรือสั่งมาให้ได้ทั้งหมดโดยไม่เหลือทิ้ง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญ
ของการลดขยะอาหาร เนื่องมาจากรูปแบบการให้บริการแบบบุฟเฟต์เปิดโอกาสให้ทางผู้บริโภคสามารถตักอาหารได้
ตามความต้องการ ซึ่งส่งผลให้เกิดขยะอาหารเหลือเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นใน 200 สาขาทั่วประเทศ
(ชาบูชิ 175 สาขา, โออิชิบุฟเฟ่ต์ 7 สาขา, โออิชิ อีทเทอเรียม 13 สาขา, และนิกุยะ 5 สาขา) มีลูกค้าเข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น
250,819 ราย และให้การตอบรับเป็นอย่างดี และคาดว่าจะสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะอาหารผ่านการมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมรณรงค์นี้
น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากกลุ่มธุรกิจอาหารของไทยเบฟ
สามารถนำกลับไปใช้ใหม่เป็นไบโอดีเซลได้ ดังนั้น บริษัทจึงมองหา
คู่ค้าที่ยินดีรับซื้อน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วเพื่อสร้างมูลค่าให้กับ
ทั้งสองฝ่าย พร้อมๆ กับช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศด้วย โดยในปี 2566 ได้มีการขายน้ำมัน
ปรุงอาหารใช้แล้วจากร้านอาหารเป็นจำนวน 1,316.36 เมตริกตัน
เพื่อนำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้บริษัท
ได้ถึง 35.23 ล้านบาท
เป็นโครงการนำอาหารส่วนเกินไปบริจาคโดยตรงให้กับผู้ด้อยโอกาส โดยบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด หรือ QSA
(ผู้ดำเนินธุรกิจอาหารของไทยเบฟที่ดูแลการบริหารจัดการ
สาขาร้านอาหาร KFC) จะนำอาหารส่วนเกินไปบริจาคให้กับ
สถานสงเคราะห์ 10 แห่งทั่วประเทศไทย ได้แก่ บ้านเมตตา
(จังหวัดนครราชสีมา) บ้านวังทอง (จังหวัดพิษณุโลก)
บ้านมหาราช (จ.ปทุมธานี) บ้านทับกวาง (จ.สระบุรี) เป็นต้น
โดยในปี 2566 ร้านอาหารเคเอฟซีภายใต้การดำเนินงานของ
QSA ได้บริจาคอาหารที่ยังคงคุณภาพดีให้แก่สถาบันต่างๆ
รวมทั้งสิ้น 10,019.06 กิโลกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
ร้อยละ 58.55
ปริมาณการบริจาค (กก.) |
8,454.61 |
6,319.06 |
10,019.06 |
กลุ่มธุรกิจอาหารของไทยเบฟร่วมงานกับมูลนิธิ SOS Foundation เพื่อบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับชุมชนด้อยโอกาส โดยทางมูลนิธิ
จะทำงานร่วมกับร้านอาหารต่างๆ เพื่อรับอาหารส่วนเกิน (ทั้งดิบหรือปรุงสุก) ที่ยังคงมีคุณภาพสูงและรับประทานได้เพื่อนำไปบริจาค
ซึ่งทางร้านอาหารได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บอาหาร
รวมถึงภาชนะบรรจุ และประเภทอาหารที่ยอมรับได้ เพื่อให้มั่นใจ
ในความปลอดภัยของผู้รับ
ในปี 2566 โครงการนี้ได้ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนรวม 31 สาขา (ชาบูชิ 15 สาขา, โออิชิ
อีทเทอเรียม 6 สาขา, นิกุยะ 2 สาขา, และเคเอฟซี 8 สาขา) และได้บริจาคอาหารส่วนเกินรวม 3,255.79 กิโลกรัม เทียบเท่ามื้ออาหาร 24,342 มื้อ และมีมูลค่าประมาณ 270,073 บาท
โครงการส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องการสูญเสียอาหารและ
ขยะอาหารนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่โออิชิราเมน
โออิชิบิซโทโระ และคาคาชิ โดยลูกค้าสามารถแจ้งพนักงาน
ได้ว่าไม่ต้องการให้ใส่วัตถุดิบอะไรในอาหารของตน ซึ่งวิธีการนี้
จะช่วยลดขยะอาหารได้พร้อมกับเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
ในเวลาเดียวกัน โครงการนี้มีเป้าหมายในการเสริมสร้าง
ความตระหนักรู้และความเข้าใจให้ลูกค้าในเรื่องของขยะอาหาร
ในชีวิตประจำวัน
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด |
2,542.05
เมตริกตัน |
38.42% |
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์อื่น |
1,565.44
เมตริกตัน |
ปริมาณขยะอาหารที่ถูกกำจัดโดยการนำไปฝังกลบ |
976.61
เมตริกตัน |
เมตริกตัน
เมตริกตัน
เมตริกตัน
เมตริกตัน
เมตริกตัน