หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การจัดการบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และยังมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค ไทยเบฟได้นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่าและพัฒนาระบบเก็บกลับบรรจุภัณฑ์แบบหมุนเวียนเพื่อเป็นช่องทางในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์หลัก เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดพลาสติก PET โดยมี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (Thai Beverage Recycle หรือ TBR) รับผิดชอบในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค

ไทยเบฟคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยมุ่งมั่น ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ คู่ค้าทางตรง คู่ค้าทางอ้อม ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้บริโภค ไทยเบฟได้กำหนดเป้าหมายที่มีแผนงานและกรอบระยะเวลาชัดเจน รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร ไทยเบฟริเริ่มโครงการ เพื่อเพิ่มการใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเลิกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เพิ่มการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมถึงจัดตั้งหน่วยงานเพื่อการวิจัยและพัฒนา ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟยึดมั่นในหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้นจากบรรจุภัณฑ์ นับตั้งแต่ การออกแบบไปจนถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยแนวทางการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ของไทยเบฟ ได้แก่
1. การลดน้ำหนักและปริมาณการใช้วัสดุบรรจุกัณฑ์
ไทยเบฟทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงในขณะที่ยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้งาน
  • กลุ่มธุรกิจไทยเบฟในประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการลดปริมาณอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตกระป๋องได้ 1,200 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 และภายในปี 2573 ไทยเบฟตั้งเป้าที่จะลดปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมลง 2,700 เมตริกตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีโครงการสำหรับบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ การลดน้ำหนักขวดพลาสติก PET การลดขนาดฝาจีบ การลดความหนาของแผ่นฟิล์มพลาสติก การลดขนาดกล่องกระดาษลูกฟูกหรือเปลี่ยนเป็นวัสดุที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ซ้ำหรือเลิกใช้ไส้กล่องใน กล่องกระดาษลูกฟูก
  • กลุ่มธุรกิจเบียร์ซาเบโก้ (SABECO) ในประเทศเวียดนามมีการ ลดปริมาณอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตกระป๋องเช่นเดียวกัน โดยลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ลง 1 กรัมต่อกระป๋องตั้งแต่ ปี 2562 และลดน้ำหนักกล่องกระดาษลูกฟูกลงประมาณ 25-36 กรัมต่อกล่องเมื่อเทียบกับปี 2562 โดยไม่กระทบ ต่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์
2. การเก็บกลับและการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล รับผิดชอบในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ หลังการบริโภคจากพันธมิตรทางธุรกิจทั่วประเทศและนำมาคัดแยก ที่โรงงานคัดแยกของบริษัท ซึ่งวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล รับซื้อ ได้แก่ แก้ว เศษแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม กล่องกระดาษลูกฟูก และขวดพลาสติก PET
3. การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
เพื่อให้เกิดการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคในระบบหมุนเวียน ที่มีประสิทธิภาพ ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ร่วมมือกับพันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า นับตั้งแต่คู่ค้าผู้เก็บกลับบรรจุภัณฑ์ในระดับท้องถิ่น จนถึงโรงงานรีไซเคิล ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบการจัดการบรรจุภัณฑ์ในระบบหมุนเวียน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรจุภัณฑ์หลัก เช่น แก้ว กระดาษ ขวดพลาสติก PET และกระป๋องอะลูมิเนียม นอกจากนี้เพื่อตอบสนองต่อนโยบายใหม่ของรัฐบาล ที่อนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลได้ ไทยเบฟได้ร่วมมือกับพันธมิตรศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ PET รีไซเคิล (rPET) กับกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในปี 2567 และตั้งเป้าหมายที่จะใช้ rPET ร้อยละ 30 ในการผลิตขวดพลาสติก PET ภายในปี 2573
4. นวัตกรรมเพื่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ไทยเบฟได้จัดตั้้งบริษัท เบฟเทค จำกัด (BevTech) ขึ้นในปี 2561 เพื่อเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางเลือกเพื่อ ความยั่งยืน นอกจากนี้ BevTech ยังวิจัยเครื่องจักรและหุ่นยนต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในโรงงานผลิตของไทยเบฟ โดยได้มีการนำเทคโนโลยีการคัดแยกขวดด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อแยกขวดที่มีสภาพดีออกจากขวดที่ชำรุด และเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

ในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วให้ดียิ่งขึ้น ในปี 2565 ไทยเบฟได้นำ OASIS ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มอัตราการเก็บกลับขวดแก้วหลังการบริโภค โดยการวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ปริมาณการขาย การขนส่ง ปริมาณการซื้อขวดแก้วหลังการบริโภค ข้อมูลของคู่ค้า และความหนาแน่นของประชากรในแต่ละพื้นที่ ทำให้สามารถระบุผู้รวบรวมขวดรายใหม่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์และใช้รถเที่ยวเปล่า (Backhaul) ในการเก็บกลับขวดแก้วหลังการบริโภค
5. ผสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไทยเบฟร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) โดยปัจจุบันผู้บริหารสูงสุดในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และสายธุรกิจต่อเนื่องประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานและรองประธานใน คณะกรรมการบริหาร TIPMSE และในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) ไทยเบฟ ได้มีส่วนร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งรายอื่นในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยในปี 2566 TSCN ได้จัดงานสัมมนา TSCN Sustainable Packaging Day เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ประกอบการในเรื่องผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ห่วงโซ่คุณค่าการจัดการบรรจุภัณฑ์ของไทยเบฟ
เป้าหมาย
โครงการเด่น
หลักการ “ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” (Extended Producer Responsibility หรือ EPR)
ไทยเบฟได้ให้การสนับสนุนสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และ การรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ในการพัฒนาหลักการ “ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต” หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) ในประเทศไทย ซึ่งรวมอยู่ในแผนการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยสำหรับปี 2562-2573 และวาระแห่งชาติของการจัดการทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green (BCG) ภายใต้แนวคิดการปลูกจิตสำนึกของผู้ผลิตให้มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ตลอดทั้งวงจร รวมไปถึงขั้นตอน หลังการบริโภค

ในเดือนธันวาคม 2564 ไทยเบฟ และบริษัทในเครือโออิชิและเสริมสุข ร่วมกับบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ในประเทศไทย ได้ร่วมกันแสดงเจตนารมณ์เพื่อขับเคลื่อนหลักการ EPR ผ่านโครงการ “PACKBACK...เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืน” โดยได้ริเริ่มโครงการนำร่องขึ้นในจังหวัดชลบุรี และในปี 2566 โครงการ PACKBACK ได้ร่วมมือกับหน่วยงานกว่า 100 องค์กร ประกอบไปด้วยผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ผู้ทำธุรกิจรีไซเคิล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันวิจัย เพื่อนำหลักการ EPR มาใช้ในการจัดบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค

ทั้งนี้ ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการ ขับเคลื่อนโครงการ PACKBACK โดยไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล เข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อเก็บกลับขวดแก้วบนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้เกาะสีชังมีการขายบรรจุภัณฑ์หลัง การบริโภคประเภทแก้วในรูปแบบเศษแก้วซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่าขวดแก้ว ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จึงดำเนินการปรับรูปแบบการขนส่งเพื่อให้สามารถขนส่งและขายขวดแก้วออกจากเกาะสีชังได้มากกว่า 20,000 ขวด เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นถึงร้อยละ 90 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ภายในงาน Sustainability Expo (SX) 2023 ซึ่งเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300,000 คน โครงการ PACKBACK ได้จัดงาน “PACKBACK in Action รวมพลังเดินหน้า EPR Voluntary” เพื่อขับเคลื่อนหลักการ EPR แบบสมัครใจ และขยายความร่วมมือกับผู้ผลิต พร้อมทั้งประกาศความร่วมมือ ของ 4 องค์กรภาคี ได้แก่ PPP Plastics (โครงการความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมเพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน), PRO Thailand Network (เครือข่ายองค์กร ความร่วมมือจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน), Aluminum Closed Loop Packaging System (Al Loop) และ TIPMSE

นอกจากนี้ไทยเบฟและผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน แห่งประเทศไทย (TSCN) ให้ความสำคัญกับหลักการ EPR โดยจัดงานสัมมนา TSCN Sustainable Packaging Day เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ยั่งยืนและความเสี่ยงด้านกฎระเบียบในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ตลอดจนผลกระทบทางธุรกิจ
โครงการสำคัญ
โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล
ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ได้ริเริ่มโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล (Bring Back–Recycle) เพื่อส่งเสริมการคัดแยกและสนับสนุนการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคตั้งแต่ปี 2562 ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การรณรงค์การรีไซเคิล การจัดอบรม และการติดตั้งจุดคัดแยกขยะตามสถานที่ต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงเรียน งานแข่งขันกีฬา และคอนเสิร์ต เป็นต้น ในปี 2566 โครงการนี้สามารถเก็บขวดแก้ว ขวดพลาสติก PET กระป๋องอะลูมิเนียม และกระดาษ เพื่อนำไปรีไซเคิลได้มากกว่า 122 เมตริกตัน โดยมีการนำขวดพลาสติก PET จำนวน 1.45 ล้านขวด ไปผลิตเป็นผ้าห่มจาก rPET จำนวน 38,000 ผืน เพื่อนำไปบริจาคภายใต้โครงการ “ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว” นอกจากนี้ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการรีไซเคิลหลังการบริโภคผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
  • บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับพันธมิตร สนับสนุน การเก็บกลับกระป๋องอะลูมิเนียมในเทศกาลมหาสงกรานต์ อุดรธานี โดยไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล เก็บกลับกระป๋องใช้แล้ว ได้ 42,813 กระป๋อง และบริจาคสมทบทุนเข้ามูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นเงิน 21,908.58 บาท
  • ความร่วมมือระหว่างบริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) ในโครงการ Recycle for Life “เปลี่ยนขยะเป็นบุญ” (เมื่อคุณหมุนเวียน) เพื่อมูลนิธิขาเทียมฯ โดยการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคจากบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ทั่วประเทศจำนวน 4.5 เมตริกตัน และสมทบทุนผ่านมูลนิธิการจัดการทรัพยากร อย่างยั่งยืน (3R) เป็นเงิน 29,458.94 บาท
  • ความร่วมมือระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) ขยายขอบเขตการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค โดยเริ่มที่อาคารสำนักงานของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย เพื่อเพิ่มการแยกคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น PP, HDPE และ LDPE ให้สามารถนำกลับมารีไซเคิล ปัจจุบันมี การรณรงค์และมีอาคารที่ดำเนินการแล้วจำนวน 12 แห่ง
  • เป็นเวลาสี่ปีติดต่อกันที่ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ได้ติดตั้งสถานีรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ในงานบุรีรัมย์มาราธอน ซึ่งเป็นหนึ่ง ในงานวิ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยสามารถดึงดูดนักวิ่งมากกว่า 20,000 คนต่อปี ภายในงานบุรีรัมย์มาราธอน 2023 สามารถเก็บกลับขวดพลาสติก PET ได้มากถึง 6,813 ขวด
  • ในงาน Sustainability Expo (SX) 2023 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ร่วมมือกับพันธมิตร เช่น สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และการรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) บริษัท โอ๊คลิน (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เอ็น15 เทคโนโลยี จำกัด เพื่อร่วมกันบริหารจัดการคัดแยกขยะและบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคภายในงาน SX 2023 ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ติดตั้งเครื่องรับคืนบรรจุภัณฑ์ (RVM) ที่สามารถเก็บขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม และขวดพลาสติก PET และติดตั้งสถานีรีไซเคิลขยะทั่วทั้งงาน SX 2023 โดยมีอาสาสมัครประจำสถานีรีไซเคิลขยะจากคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2566 ไทยเบฟได้ศึกษาและดำเนินโครงการดังต่อไปนี้:
  • กลุ่มธุรกิจเบียร์ในประเทศไทยได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงกล่อง กระดาษลูกฟูกและไส้กล่องโดยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงประมาณร้อยละ 3.5 ต่อชิ้น และปรับความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียม ซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้อะลูมิเนียมลงได้ร้อยละ 1.76 ต่อชิ้น
  • กลุ่มธุรกิจเบียร์ซาเบโก้ (SABECO) ในประเทศเวียดนามใช้แนวคิดการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ โดยบริษัทจะเก็บขวดแก้วและลังเกือบ ทั้งหมดกลับไปยังกระบวนการผลิต นอกจากนี้ SABECO ยังลดปริมาณอะลูมิเนียมที่ใช้ในการผลิตกระป๋องและลดน้ำหนักของกล่องกระดาษลูกฟูกลง
  • กลุ่มธุรกิจสุราในประเทศไทยมีโครงการที่จะเปลี่ยนประเภทวัสดุของฟิล์มหุ้มฝาขวดจากพลาสติก PVC มาเป็น rPET ในผลิตภัณฑ์บรั่นดี Meridian ขนาด 700 มิลลิลิตร และการนำไส้กล่องสภาพดีกลับมาใช้ซ้ำสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาด 330 และ 625 มิลลิลิตร
  • กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย มีโครงการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนหลายประการ ดังนี้

    บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย
    • โครงการลดความหนาของกระป๋องอะลูมิเนียมลง ส่งผลให้ลดปริมาณการใช้วัสดุลงถึง 37 เมตริกตันต่อปี
    • โครงการลดความกว้างและความยาวของแผ่นรองกระดาษสำหรับน้ำดื่มคริสตัล ซึ่งสามารถลดปริมาณกระดาษที่ใช้ได้ถึง 89 เมตริกตันต่อปี
    • โครงการลดน้ำหนักฝาพลาสติกชนิด PE ของสินค้าน้ำอัดลม โดยลดปริมาณการใช้พลาสติกมากกว่า 300 เมตริกตันต่อปี
    • บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อยู่ในช่วงพัฒนาออกแบบ บรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการรีไซเคิล เช่น ฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์ชาเขียวขนาด 500 มิลลิลิตร ที่มีรอยปรุ (Perforated Shrink Sleeve) ฝาขวดพลาสติกแบบยึดติดกับขวด (Tethered Cap) รวมไปถึงการเปลี่ยนวัสดุของฉลากจากพลาสติก PVC เป็นพลาสติก PET ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการลดวัสดุบรรจุภัณฑ์โออิชิมีการลดปริมาณ การใช้เส้นใยกระดาษในการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกลง แต่ยังสามารถรักษาคุณสมบัติความแข็งแรงได้เทียบเท่ากับกล่องกระดาษลูกฟูกชนิดเดิม
    • เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการบรรจุภัณฑ์ ของไทยเบฟ เสริมสุขและโออิชิกำลังศึกษาวิจัยการใช้ขวด rPET และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากขวด rPET เพื่อจำหน่ายในปี 2567 รวมถึงพัฒนาฟิล์มพลาสติกที่ใช้กับขวดชาเขียว โออิชิ โดยเพิ่มส่วนประกอบจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิล หรือ Post-Consumer Recycled Resins (PCR) ให้สูงถึงร้อยละ 30
  • กลุ่มธุรกิจอาหารในประเทศไทย โออิชิมีการออกแบบและลดขนาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้สำหรับจัดส่งอาหารได้ถึง 50 เมตริกตัน โดยยังคงคุณภาพและความสดของอาหารไว้ได้ตามเดิม นอกจากนั้น โออิชิยังได้พัฒนาวัสดุพลาสติกชนิดเดี่ยว (Mono-material) เพื่อทดแทนการใช้วัสดุพลาสติกชนิดหลายชั้น (Multi-layer material) สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารสำเร็จรูปแช่เย็น พร้อมทาน (Oishi Eato) และมีการปรับเปลี่ยนวัสดุของฟิล์มหุ้มฝา ขวดสำหรับซอสโออิชิ จากพลาสติกชนิด PVC ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ มาเป็นพลาสติกชนิด PET โดยเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ทำให้สามารถลดปริมาณพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้กว่า 138 กิโลกรัมต่อปี
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ