การเติบโตที่ยั่งยืนเป็นการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญระหว่างบริษัทและตัวแทนขายซึ่งเป็นลูกค้าหลัก เรามุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์
ระยะยาวและพัฒนาวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตลอดจน
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังสอนให้เข้าใจ
แนวปฏิบัติและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายและผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
โดยแนะนำและช่วยเหลือผู้สืบทอดธุรกิจรุ่นต่อไปให้สามารถ
ดำเนินธุรกิจครอบครัวให้เติบโตต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
ฝ่ายขายทั้งหมดจากทุกช่องทาง ซึ่งครอบคลุมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม (เทรดดิชันนอลเทรด) โมเดิร์นเทรด
และภัตตาคาร ร้านอาหาร สถานบันเทิง รวมถึงช่องทางการค้าอื่น ๆ มีหน้าที่ประเมินและจัดลำดับความพึงพอใจของลูกค้าในแต่ละวัน
ฝ่ายขายของเรายึดมั่นในจรรยาบรรณและนโยบายการทำงานของ
ไทยเบฟซึ่งสอดคล้องกับกฎระเบียบตามกฎหมาย
บริษัทมีการจัดประชุมตัวแทนฝ่ายขายเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์ รวบรวมข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุง
และปรับปรุงข้อมูลของพันธมิตรทางธุรกิจให้ทันสมัย
ทั้งเรื่องวัตถุประสงค์และทิศทางในอนาคตขององค์กร
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและส่งเสริม
ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าด้วยกลยุทธ์ดังต่อไปนี้:
- สนับสนุนธุรกิจตัวแทนจำหน่ายให้เติบโตอย่างยั่งยืน
- พัฒนาความสามารถทางวิชาชีพของตัวแทนขาย
- ร่วมมือกับตัวแทนและพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเพิ่มความรู้
และทักษะด้านผลิตภัณฑ์ในการส่งเสริมการขายและบริการดิจิทัล
- ปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่และคิดค้นแพลตฟอร์มดิจิทัล
เพื่อดึงดูดลูกค้าและผู้บริโภค ให้รู้สึกผูกพันกับตราสินค้า
อย่างยั่งยืน
- สร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพและความปลอดภัยด้วย
การรณรงค์และการฝึกอบรม
- กำหนดคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า ร้อยละ 95
- พัฒนาและสนับสนุนการขายและแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของพันธมิตรทางธุรกิจ
- ขยายการเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ค้าปลีกในท้องถิ่น
ในปี 2566 ไทยเบฟสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าโดย
ศูนย์เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นกลาง ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของลูกค้าระหว่างตัวแทนและคู่ค้าทางธุรกิจสูงขึ้นกว่า ร้อยละ 95

แผนพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ (ออนไลน์)
ไทยเบฟกำลังพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันออนไลน์เพื่อสนับสนุนตัวแทนขายให้สามารถปรับปรุงคำสั่งซื้อ การขายและการดำเนินงาน
เพื่อให้ฝ่ายขายของไทยเบฟ สามารถทำงานร่วมกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนสร้างการเติบโตของช่องทางการขาย สำหรับโครงการนี้ช่องทางการขาย
ที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เทรดดิชันนอลเทรด ร้านอาหาร สถานบันเทิง
และพื้นที่กิจกรรมพิเศษ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการทำงานของฝ่ายขายและตัวแทนด้วยการวางแผนอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล
การขายเพื่อระบุปัจจัยของการเติบโตด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า
เครื่องมือการขายอัจฉริยะ เราสามารถใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้
ในการประมวลผลคำสั่งซื้อและติดตามธุรกรรมการขายทำให้
ความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง นอกจากนั้น
ยังช่วยตรวจสอบสินค้าคงคลังแบบครบวงจร พัฒนาเป็นโปรแกรมสร้างความสัมพันธ์ (Loyalty Program) ต่อไป
เครื่องมือการขายอัจฉริยะ
การทดสอบคุณสมบัติ 3 ประการ สำหรับแผนงาน การสำรวจ
และรายงานยอดขาย ของกลุ่มธุรกิจเบียร์และสุรา –
เริ่มต้นที่จังหวัดปทุมธานีในเดือนกันยายน 2566
กำลังพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ หรับการปฏิบัติการขายดิจิทัล
และดำเนินการทดสอบ
วางแผนขยายไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์และช่องทางอื่น เช่น เสริมสุข และแคชแวน (CVM) ในปี 2567-2568
OTC (Order to Cash):
- พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ OTC Web และ OTC Mobile
- OTC Web เริ่มทดสอบที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมีแผนสำหรับ
จังหวัดอื่น ๆ ในไตรมาสที่ 4 ในปี 2566
- OTC Mobile อยู่ระหว่างการพัฒนา โดยมีแผนจะทดสอบระบบ
ในปี 2567
แผนพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ (ออฟไลน์)
ไทยเบฟทุ่มเทให้ความสำคัญการจัดการฝึกอบรมและทำงานร่วมกับ
คู่ค้าทางธุรกิจเพื่อติดตามการเติบโตของยอดขายและผลกำไร
บริษัทจัดหลักสูตร Agent Development Program with ThaiBev (ADEPT) หรือหลักสูตรการพัฒนาตัวแทนจำหน่ายในหลาย ๆ ด้าน เช่น
- หลักสูตรพัฒนายานพาหนะตัวแทนจำหน่าย
เพื่อสร้างยอดขายที่มั่นคง ผลกำไรที่ดีขึ้น และเพิ่มความเข้าใจ
ในการขยายโอกาสในพื้นที่รับผิดชอบ
- หลักสูตรการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง
เพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายสามารถจัดการคลังสินค้าและการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- หลักสูตรการบริหารระบบการทำงานภายใน
เพื่อช่วยปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน ป้องกันการสูญเสียและลดความเสี่ยงทางธุรกิจในด้านอื่น ๆ
จำนวนยานพาหนะ |
75 |
82 |
9% |
ยอดขายสำหรับตัวแทนจำหน่าย |
1,037 ล้านบาท |
1,214 ล้านบาท |
17% |
จำนวนร้านค้าที่ได้รับการวางแผน
เส้นทางการขาย |
11,138 ร้าน |
13,889 ร้าน |
25% |
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า |
702 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
เทียบเท่า
(เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 78,000 ต้น) |
76% |
โครงการส่งเสริม Backhaul
เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตัวแทน |
รายได้รวม 77 ล้านบาท |
รายได้รวม 106 ล้านบาท |
38% |
โครงการส่งเสริมการใช้รถยก
เพื่อเพิ่มรายได้ให้ตัวแทน |
รายได้รวม 257 ล้านบาท |
รายได้รวม 309 ล้านบาท |
20% |
โครงการส่งมอบสินค้าจากโรงงาน
ให้ตัวแทนโดยตรง |
49 ราย |
51 ราย |
4% |
ตัวแทนเข้าร่วมครอบครัวไทยเบฟ
(ThaiBev Family) |
132 ราย |
137 ราย |
4% |

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม และสร้างระบบดิจิทัลให้กับห่วงโซ่คุณค่า เพื่อสร้าง
ความมั่นใจว่าพวกเขาสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ
และยั่งยืนมากขึ้น ตามแนวคิด “ขายดี กำไรดี ความสัมพันธ์ดี”
ในปี 2566 จำนวนเจ้าของร้านค้าชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น 11,898 ราย
จากเดิมในปี 2565 ที่มีเพียง 2,617 ราย มีการติดตั้ง POS มากกว่า 1,000 เครื่อง เพื่อสนับสนุนบริหารจัดการการขาย โดยมีแผนจะ
ติดตั้งเพิ่มเติมในอนาคต โดยร้านค้าส่วนใหญ่มีผลตอบรับเชิงบวกต่อโครงการนี้เนื่องจากมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น จากการที่พวกเขาสามารถจัดแสดงสินค้า จัดเรียงผลิตภัณฑ์ และจัดการคลังสินค้า
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไทยเบฟยังวางแผนพัฒนาโปรแกรมพิเศษร่วมกับร้านค้าเพื่อขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
และสร้างความผูกพันเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกัน ร้านโชคชัย
มีศักยภาพในการทำให้ผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟเข้าถึงผู้บริโภค
ได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้องค์กรและร้านค้าเข้าใจความต้องการของ
ผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผูกพันต่อร้านค้าและผลิตภัณฑ์
มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหมดเป็นไปตามข้อกำหนดกฎระเบียบของประเทศไทย จึงจัดทำหลักปฏิบัติด้านการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท กิจกรรมการตลาด ได้แก่ การโฆษณาแบรนด์ กิจกรรมที่เกี่ยวกับร้านค้าปลีกและส่งทั่วไป
และร้านอาหาร ผับ บาร์ นวัตกรรมของแบรนด์ การตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แผนการเข้าถึงผู้บริโภค การตลาดเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาเว็บไซต์
และเนื้อหาสำหรับแบรนด์ ตลอดจนชื่อแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกประเมินว่าปฏิบัติตามระเบียบการติดฉลากอาหารบรรจุหีบห่อ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 โดยกำหนดให้การติดฉลากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดต้องแสดงแหล่งที่มาของส่วนประกอบ ปริมาณ และการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย มีป้ายแสดงการกำจัดอย่างปลอดภัยบนผลิตภัณฑ์ด้วย
on our products.
ไทยเบฟเชื่อมั่นในการส่งเสริมความไว้วางใจและสร้างความสัมพันธ์
ที่ยาวนานกับลูกค้าโดยยึดมาตรฐานสูงสุดด้านจริยธรรมในการทำกิจกรรมการตลาด การโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า นอกเหนือจากหลักปฏิบัติด้านการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว แนวทางการตลาดและการสื่อสารแบรนด์อย่างมีจริยธรรมต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าไทยเบฟมีเป้าหมายที่การสื่อสารและกิจกรรมการตลาดอย่างมีจริยธรรม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างโปร่งใส ทั้งคุณประโยชน์และโทษ เพื่อป้องกันไม่ให้
ผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง เช่น เยาวชนเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย:
- ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
- ไม่กล่าวอ้างเกินจริง เรื่องผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการของเรา
- ปกป้องผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง
- หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของคู่แข่ง
ที่ไม่ถูกต้องแก่ลูกค้า
- ให้ความเคารพต่อเพศสภาพและความหลากหลาย
- ให้ข้อมูลโภชนาการที่ถูกต้อง
- เคารพความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
- การฝึกอบรมเน้นการสื่อสารและทำความเข้าใจกับคู่ค้า
ทางธุรกิจในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นเฉพาะ
ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA)
- การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องแก่พนักงานขายเพื่อให้มั่นใจว่ามี
ความเข้าใจแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งรวมถึงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การให้คำแนะนำ และทำความเข้าใจปฏิกิริยาของลูกค้า เพื่อให้มั่นใจว่าดำเนินธุรกิจถูกต้องและปราศจากความเสี่ยงภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมาย
- การฝึกอบรมหลักสูตรทบทวนและเสริมความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
และ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเด็นข้อกังวลใน
การปฏิบัติงาน และชี้แจงประเด็นทางกฎหมายเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไทยเบฟตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
โดยมีการเก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ในธุรกิจอาหาร (ร้านอาหารโออิชิ) เพื่อปรับปรุงความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ต่อไป สำหรับธุรกิจเครื่องดื่มโออิชิ มีแพลตฟอร์มดิจิทัล
ที่สื่อสารกับผู้บริโภคเพื่อสร้างการรับรู้และความผูกพันกับตราสินค้า
อย่างต่อเนื่อง
บริษัทโออิชิติดตามความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านอาหารและ
การบริการอย่างสม่ำเสมอ ในปี 2566 ผู้ตอบแบบสอบถามและคะแนนความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
โออิชิ กรีนที เดินหน้ากลยุทธ์การตลาดเชิงรุกด้านดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมแคมเปญการตลาดและการกระตุ้นแบรนด์ กลยุทธ์นี้ออกแบบมา
เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายหลักของโออิชิ คือ คนรุ่นใหม่ที่มีไลฟ์สไตล์
ทันสมัย โดยเพจ Facebook Oishi Drinks Station ซึ่งปัจจุบันมี
ผู้ติดตาม 3.7 ล้านคน และแอปพลิเคชัน Oishi Club มียอดดาวน์โหลด 409,921 ครั้ง ในเดือนตุลาคม 2566 สนับสนุนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โออิชิ กรีนที อย่างต่อเนื่อง