มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพให้คุณค่า
ทางโภชนาการแก่ผู้บริโภค และพัฒนาขีดความสามารถของศูนย์วิจัยและพัฒนา คณะที่ปรึกษานำโดยผู้บริหารสูงสุด
กลุ่มธุรกิจอาหาร (ประเทศไทย) ของไทยเบฟซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 25 ปี ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มและในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของไทยเบฟ คณะที่ปรึกษาจะทำหน้าที่เป็น
คณะกรรมการกลุ่มนวัตกรรมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
โดยมีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
- สนับสนุนการศึกษาข้อมูลเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีและ
แนวโน้มทางการตลาดของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์
- ริเริ่มกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
- ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์
นวัตกรรมด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค
“สุขภาพและโภชนาการ” เป็นปัจจัยสำคัญที่นำพาไทยเบฟและบริษัทในกลุ่มไทยเบฟไปสู่ความสำเร็จด้านความยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิสัยทัศน์ Vision 2020 และตามพันธกิจ PASSION 2025
มีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้การบรรลุการเติบโตที่ยั่งยืน ตามที่กำหนดไว้ใน Vision 2020 และ PASSION 2025 ของบริษัท ไทยเบฟผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์หลากหลายประเภท เช่น น้ำดื่ม น้ำอัดลม ชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มเกลือแร่และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ไทยเบฟพัฒนาผลิตภัณฑ์
ทางเลือกใหม่เพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรักสุขภาพที่สามารถดื่มได้ทุกโอกาส
ไทยเบฟให้คำมั่นที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในกลุ่มธุรกิจ
เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดย
- เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
- สื่อสารและสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
- สนับสนุนไลฟ์สไตล์รักสุขภาพ
อาหารและเครื่องดื่มเป็นธุรกิจหลักของไทยเบฟอาจส่งผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพของ
ผู้บริโภคอาจเกิดขึ้นในขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า แต่ส่วนใหญ่
อาจมาจากการปนเปื้อนระหว่างการผลิตและส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าว โดยใช้การควบคุมคุณภาพอย่าง
เข้มงวดตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้สังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยและผู้บริโภคหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น ไทยเบฟจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่และการปรับสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพให้มี
ความหลากหลาย และเปิดเผยข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และปริมาณการบริโภคในแต่ละวัน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่มุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างสุขภาพ
นอกเหนือจากการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตที่เข้มงวดแล้ว ไทยเบฟยังมีการจัดตั้งทีมวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าสุขภาพที่มี
ความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนั้นบริษัทยังผสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย
และพันธมิตรทางธุรกิจ ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้บริโภค
โดยมีตัวอย่างประเด็น
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังนี้
- ลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์
- การควบคุมและลดปริมาณโซเดียม
- เสริมสร้างคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้นในผลิตภัณฑ์
- ไม่ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) และสารกันบูด
อีกทั้งไทยเบฟยังคงร่วมมือกับคู่ค้าในการจัดหาวัตถุดิบที่มี
คุณภาพสูง ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการส่งมอบผลิตภัณฑ์
ที่ใส่ใจสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
|
ผลงาน
ปี 2566 |
เป้าหมาย |
ปี 2568 |
ปี 2573 |
จำนวนเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สำหรับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมดที่ขายในประเทศไทย |
79% |
67% |
80% |
จำนวนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทยได้รับการรับรอง “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” |
73% |
70% |
75% |
- ตั้งแต่ปี 2557 ลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ 25 รายการ
- ปี 2566 สัดส่วนยอดขายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 79 ของเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมดที่ขายในประเทศไทย
- ปี 2566 ผลิตภัณฑ์จำนวน 30 รายการ หรือร้อยละ 73
ของเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย (จำแนกตามรสชาติของผลิตภัณฑ์) ได้รับเครื่องหมายรับรอง “ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟทั้งหมดได้รับการรับรองมาตรฐาน
ISO 22000 จากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน
ความปลอดภัยด้านอาหาร
- เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยเบฟทั้งหมด รวมถึงร้านอาหารในเครือโออิชิ ได้รับการรับรองมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและ
ความปลอดภัยอาหารต่อผู้บริโภค (GMP & HACCP)
- น้ำดื่มและผลิตภัณฑ์น้ำแร่ของไทยเบฟทั้งหมดได้รับการรับรองจากสมาคมสุขาภิบาลแห่งชาติ (NSF)
- บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) และกระบวนการผลิตเครื่องดื่ม
โออิชิ ได้รับการรับรองระบบความปลอดภัยด้านอาหาร
(Food Safety System Certification: FSSC 22000)
- นำโมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) ออกจากส่วนผสม 9 ชนิด
- ปี 2566 ไม่พบการละเมิดข้อปฏิบัติตามกฎระเบียบที่จะส่ง
ผลกระทบด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
และบริการ
* “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ” หมายถึง น้ำดื่ม น้ำแร่ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่าเป็น “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ”

ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 73 ของเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ขายในประเทศไทย (จำแนกตามรสชาติของผลิตภัณฑ์) ได้รับการรับรอง “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
