หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การพัฒนาชุมชน และสังคม
ไทยเบฟมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการ มีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชนในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา เพื่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน อันจะนำไปสู่เป้าหมาย “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชน มีความสุข” ซึ่งเป็นพันธกิจของไทยเบฟที่ต้องการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต”
โครงการเด่น

โครงการไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว
เพื่อตอกย้ำแนวคิด “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ ที่ยั่งยืน” (BEYOND THE GREEN BLANKET…A SUSTAINABLE COMMUNITY OF GIVING ) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 ไทยเบฟร่วมมือกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และภาคเอกชน ส่งมอบ “ผ้าห่มผืนเขียว” ไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาว รวมแล้วเป็นจำนวน 4,800,000 ผืน และนับเป็นปีที่ 4 แล้วที่มีโครงการ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” (Eco Friendly Blanket) ซึ่งเป็นการนำขวดพลาสติก PET ปีละ 7,600,000 ขวด เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำไป ผลิตผ้าห่มได้ถึงปีละ 200,000 ผืน จนถึงปัจจุบันสามารถนำ ขวดพลาสติก PET กลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลได้แล้วทั้งสิ้น 30,400,000 ขวด ซึ่งนำไปผลิต “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ได้ถึง 800,000 ผืน
โครงการสำคัญ
โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม
ชุมชนดีมีรอยยิ้ม เป็นการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนควบคู่ไปกับ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคม โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area - based) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมพัฒนา เพื่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ใน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ เกษตร แปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้ชุมชม และสามารถบริหารจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน

5 ปีที่ผ่านมา การดำเนินโครงการในพื้นที่ 32 จังหวัด สามารถ สร้างรายได้สู่ชุมชนเป็นเงิน 65,814,260 บาท สำหรับปี 2566 สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชน 105 แห่ง รวมเป็นเงิน 24,380,712 บาท มีผู้ได้รับประโยชน์ จำนวน 3,122 ราย
พื้นที่ตัวอย่างการดำเนินงาน ชุมชนดีมีรอยยิ้ม เชียงใหม่
โครงการไผ่แม่แจ่มโมเดลพลัส
เป็นโครงการสำหรับยกระดับการแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันมาสู่ การแก้ไขปัญหาทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการจัดการป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมการปลูก “ไผ่” ตามแนวคิดวนเกษตรแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อป้องกัน และควบคุมการขยายพื้นที่ทำกิน การชะล้างหน้าดินซึ่งเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ รวมไปถึงการแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

ไทยเบฟสนับสนุนจัดซื้อกล้าไผ่ จำนวน 20,000 ต้น เพื่อปลูกในพื้นที่ 6 ตำบล รวม 326 ไร่ ได้แก่ ต.กองแขก ต.ปางหินฝน ต.บ้านทับ ต.ท่าผา ต.แม่นาจร และ ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยส่งเสริมให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการปลูกไผ่ซางหม่นและไผ่รวกดำ เริ่มปลูกแปลงแรกตั้งแต่ปลายปี 2560 จนถึงปัจจุบัน (ปี 2566) สามารถจำหน่ายไผ่ทั้งลำและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านกว่า 20 ชิ้น สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 1,637,200 บาท

โครงการทำฝายป้องกันดินสไลด์ลงอ่างเก็บน้ำบ้านแก่งทรายมูล ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ปัญหาน้ำหลากช่วงฤดูฝน และความแห้งแล้งในฤดูร้อน รวมทั้ง สภาวะโลกร้อน ทำความเสียหาย แก่ชุมชนและพืชผลการเกษตร อย่างมาก เนื่องจากพื้นที่บ้านแก่งทราย ต.ท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็นภูเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา มีความสูงชัน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้เกิดดินทรุดและถล่มลงมาทำความเสียหาย แก่บ้านเรือนของชาวบ้าน และไหลทับถมในอ่างเก็บน้ำ

ไทยเบฟจึงสนับสนุนชุมชมบ้านแก่งทรายมูลจัดทำฝายชะลอน้ำแบบกล่องเกเบี้ยน (Gabion) ในเส้นทางน้ำหลาก 3 สาย โดยทำฝายทั้งสิ้น 13 จุด เป็นแนวกั้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติและป้องกันดินถล่มในระยะยาว นอกจากนั้นยังช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย รวมถึงเป็นพื้นที่สร้างความชุ่มชื่นให้ป่าต้นน้ำของชุมชน 746 ครัวเรือน (1,897 คน)
ชุมชนดีมีรอยยิ้มสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
โครงการพัฒนาชุมชนรอบโรงงาน ใน อ.พุนพินและท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

ด้วยแนวคิด BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อย่างได้สมดุลเพื่อให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เน้นการเกษตรและการแปรรูป เช่น การผลิต ผักปลอดภัย การเพาะเห็ด ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การผลิต ปุ๋ยหมักชีวภาพจากน้ำกากส่าเพื่อลดต้นทุนให้เกษตรกร การบริหารจัดการขยะให้เป็นกองทุนสวัสดิการชุมชน ด้านเศรษฐกิจสีเขียว เช่น การปลูกป่าชุมชน การผลักดันให้เกิดธนาคารต้นยางเหียง เพื่อการอนุรักษ์

การดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้มีชุมชนเข้าร่วม 6 ชุมชน มีผู้รับ ผลประโยชน์ 395 ราย มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 20 องค์กร เพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ 65 ไร่ ที่สำคัญสามารถลดปริมาณของเสียจากโรงงานได้ปีละ 600 ตัน ทั้งยังได้รับมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) ปี 2566 สินค้าที่ขึ้นทะเบียน OTOP สร้างรายได้ให้ชุมชน เป็นเงิน 1,947,470 บาท
โครงการร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม
(จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์)
ไทยเบฟยังคงเปิดช่องทางการตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบออนไลน์ ได้แก่ Line@ร้านชุมชนดี มีรอยยิ้ม โดยส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้ทักษะการขายในช่องทางออนไลน์ รวมทั้งเชื่อมโยงให้ชุมชนนำสินค้ามาจำหน่ายในการจัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ สำหรับ Line@ร้านชุมชนดีมีรอยยิ้ม ปัจจุบันมีผู้ติดตามจำนวน 1,548 ราย สร้างรายได้ให้ชุมชน 359,240 บาท มีชุมชนเข้าร่วม 27 ชุมชน สมาชิกผู้รับผลประโยชน์ 1,197 ราย
โครงการเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม
ไทยเบฟร่วมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมาย “สร้างรายได้ ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข” จึงจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด หรือบริษัทส่วนกลาง ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด ซึ่งเป็นการบริหารองค์กรในรูปแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) 76 แห่ง

ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชนรวม 1,552 โครงการของ 3 กลุ่มงาน ประกอบด้วย เกษตร แปรรูป ท่องเที่ยว โดยชุมชน สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนไปแล้วกว่า 2,141 ล้านบาท สร้างงานให้ประชาชนกว่า 114,362 ครัวเรือนใน 4,852 ชุมชน ปี 2565 ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 414 ล้านบาท นับเป็นความสำเร็จในการ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันให้กับชุมชน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สืบสาน รักษา ต่อยอด
กลุ่มงานเกษตร : โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรเข้ากับโรงพยาบาลรัฐบาลในแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างตลาดให้กับสินค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขมีการบริหารจัดการความปลอดภัยของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นับแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน โครงการโรงพยาบาลอาหารปลอดภัยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนกว่า 322 ล้านบาท มีเครือข่าย ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดเข้าร่วม 40 จังหวัด โรงพยาบาลเข้าร่วม 53 แห่ง ผู้รับผลประโยชน์ประมาณ 5,724 คน
กลุ่มงานแปรรูป : โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย
เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 โดยมีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักรู้ และเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อผ้าขาวม้า สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการผลิต ให้แก่ชุมชน ตลอดจนสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

ตลอดปี 2566 โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิต 18 แห่ง มหาวิทยาลัย 16 แห่ง ด้วยโครงการ “Creative Young Designers” ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมเรื่องเส้นใยและสีธรรมชาติ และกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน มีชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือเข้าร่วมโครงการ 40 ชุมชน จาก 30 จังหวัด มีผู้ได้รับประโยชน์ 1,561 ราย สร้างรายได้รวมกว่า 235 ล้านบาท
กลุ่มงานท่องเที่ยวโดยชุมชน : โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2563 เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนเดินทางไปเรียนรู้ประวัติ วัตรปฏิบัติอันงดงาม รวมถึงธรรมะคำสอนขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตามเส้นทางที่หลวงปู่มั่นเคยจาริกไป 36 จุดหมาย ใน 12 จังหวัด โดยส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ตามหลักการ “บวร” และพัฒนาเป็นบริษัท วิสาหกิจชุมชน ราชการ ที่มีเป้าหมายให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

กิจกรรมในปี 2566 ที่มีการดำเนินงานขยายผลไปยังเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมธรรมะออนทัวร์ปีที่ 12, การปฏิบัติธรรมพัฒนาจิต 9 ครั้ง 175 คน, การจัดกิจกรรมอบรมนักเล่าเรื่องประจำชุมชนสืบสานตำนานองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จังหวัดสกลนคร รุ่นที่ 1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพื่อให้ข้อมูลนักท่องเที่ยว มีผู้ผ่านการอบรม 60 คน, การจัด Press Tour พาสื่อมวลชนตามรอยธรรมขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่จังหวัดนครนายก เผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ, การสนับสนุนการจัดทำบอร์ดนิทรรศการเรื่องราวขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ และวัดสิทธิยาราม จังหวัดอำนาจเจริญ, การสนับสนุนม้านั่งติดตั้งบริเวณถนนบิณฑบาต บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ปี 2566 โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามรอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สร้างรายได้ให้ชุมชนรวม 6,977,272 บาท