หน้าแรก / การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
การกำกับดูแลองค์กร และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟยึดมั่นในการปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ โดยมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และเป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไทยเบฟเน้นย้ำความสำคัญของความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าคณะกรรมการบริษัทสามารถปรึกษาหารือและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินธุรกิจอย่างรอบด้าน

รวมถึงผลกระทบทางสังคม สภาพแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และการพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท

แนวทางการบริหารจัดการ
ไทยเบฟมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับจรรยาบรรณของบริษัท ภายใต้กฎหมายและ กฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัท รวมถึงการปฏิบัติตามคู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SGX-ST Listing Manual) (“คู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์”) และตามหลักการและแนวทางของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปี 2561 (“หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีปี 2561”) โดยมีการวางแผนจัดการ บริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน พนักงาน ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น ในระยะยาว

คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นผู้นำขององค์กร ดูแลความเป็นผู้นำของธุรกิจโดยรวมในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และความสำเร็จในระยะยาวของบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของไทยเบฟเป็นไปตามแผนธุรกิจหลักของบริษัทตามมติของผู้ถือหุ้นโดยสุจริต ภายใต้กฎหมาย และกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลให้บริษัท ในกลุ่มไทยเบฟปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (สามารถศึกษาโครงสร้างองค์กรและรายงาน การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทได้จากรายงานประจำปี 2566 บนเว็บไซต์ www.thaibev.com) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวรับกับสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศสิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้แก้ไขแนวปฏิบัติข้อ 7.5 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ มีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 โดยกำหนดให้บริษัทที่จัดประชุมผู้ถือหุ้นนอกประเทศสิงคโปร์ และมีข้อห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นในประเทศสิงคโปร์เข้าร่วมประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ควรจัดการประชุมประจำปีเพื่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นในประเทศสิงคโปร์ และด้วยข้อจำกัดภายใต้กฎหมายไทย เป็นผลให้ผู้ฝากหลักทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ซึ่งฝากหุ้นไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“ซีดีพี”) ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นของไทยเบฟที่จัดขึ้นในประเทศไทย (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานประจำปี 2566 บนเว็บไซต์ www.thaibev.com) ไทยเบฟจึงจำเป็นต้องจัดการประชุมประจำปีเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ไทยเบฟได้จัดการประชุมประจำปีเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้นในประเทศสิงคโปร์ (Annual Information Meeting) เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของกลุ่ม

บริษัทไทยเบฟได้พบปะผู้ถือหุ้นในสิงคโปร์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารระดับสูงได้นำเสนอข้อมูลโดยรวมของการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ ข้อมูลการเงินที่สำคัญ และข้อมูลกลุ่มธุรกิจหลัก โดยผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมีส่วนร่วมในช่วงถามตอบเกี่ยวกับธุรกิจและการดำเนินงานของบริษัทระหว่างการประชุม ทั้งนี้ ไทยเบฟ ยังได้เปิดเผยข้อมูลที่นำเสนอในระหว่างประชุม ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGXNET) หลังจากการประชุม เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะได้รับทราบข้อมูลล่าสุดเช่นกัน

นอกจากนี้ ไทยเบฟได้ประกาศใช้นโยบายการรับข้อร้องเรียน เพื่อเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อร้องเรียนจากกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของไทยเบฟ ทั้งนี้ ปี 2566 ไม่พบรายการขัดแย้ง ที่มีนัยสำคัญและไม่พบข้อร้องเรียนด้านจริยธรรมที่มีนัยสำคัญ
องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
ไทยเบฟได้กำหนดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจเพื่อยึดมั่น ในความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามกฎหมาย คุณธรรม และจริยธรรม รวมถึงการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งบริษัทได้ใช้กฎ ที่ครอบคลุมการป้องกันความขัดแย้งทั้งเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม ตามที่กล่าวไว้ในจรรยาบรรณพนักงาน ข้อ 4.1 เรื่องความรับผิดชอบต่อบริษัท (2) พนักงานต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อ ผลประโยชน์ของบริษัท หรือกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้บริษัทเสียประโยชน์หรือได้รับผลประโยชน์น้อยกว่าที่ควรหรือเป็นการกระจาย ผลประโยชน์จากบริษัท นอกจากนี้ ข้อ 15 ของสัญญาจ้างงาน (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://sustainability.thaibev.com) ยังกำหนดว่า ในระหว่างที่ได้รับการจ้างงานโดยบริษัทและภายใน หนึ่งปีหลังจากออกจากงาน พนักงานตกลงที่จะไม่กระทำสิ่งที่ ผิดต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท

ไทยเบฟมีหน้าที่คงไว้ซึ่งความโปร่งใสในการดำเนินงาน ปกป้อง ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงสภาวะทางการตลาดและ ปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันและอนาคต และจะปฏิบัติต่อพนักงาน ลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีจริยธรรม โดยมุ่งมั่นในการสร้างความเข้าใจ ให้แก่บุคลากรของบริษัทให้ยอมรับและปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะช่วยให้
  • บริษัทสามารถคงไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
  • สร้างความเป็นธรรมภายในองค์กร
  • พนักงานมีศักดิ์ศรีและความซื่อสัตย์
  • บริษัทได้รับการยอมรับจากสังคม
  • พนักงานมีความเป็นอยู่ที่ดี
ช่องทางเพื่อรายงานเรื่องการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย 3 ช่องทาง ได้แก่
  • รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารของฝ่ายพนักงานสัมพันธ์ และการจัดการข้อร้องเรียน
  • รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารสำหรับลูกค้าและผู้บริโภค โดยติดต่อผ่านทางบริการ Dhospaak Call Center
  • รายงานผ่านช่องทางการสื่อสารสำหรับซัพพลายเออร์ และคู่ค้าทางธุรกิจ โดยส่งข้อเสนอแนะหรือข้อกังวลผ่าน ศูนย์บริการจัดซื้อจัดจ้าง
ในปี 2566 บริษัทพบกรณีการกระทำผิดทางวินัยที่เกี่ยวข้อง กับจรรยาบรรณธุรกิจรวม 102 กรณี ซึ่ง 100 กรณีเกี่ยวข้อง กับการฉ้อโกง และอีก 2 กรณีที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิด
การต่อต้านการทุจริต
การทุจริตเป็นความผิดทางอาญา กระทบต่อการแข่งขันแบบเสรี และผิดต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งสร้าง ความเสียหายต่อชื่อเสียง ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลกำไรของบริษัท

เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนปฏิบัติตามนโยบาย พนักงานและคู่ค้าจำเป็น ต้องเข้าร่วมการบรรยายเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ฉ้อฉลและการทุจริต และผลทางกฎหมายหรือการลงโทษทางวินัยจากพฤติกรรมทุจริต ดังกล่าว ซึ่งผลการประเมินตนเองแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงาน ของไทยเบฟไม่มีความเสี่ยงในเรื่องการทุจริต

ไทยเบฟดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีคุณธรรม ยึดหลักความยุติธรรม และยึดมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ พร้อมทั้งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายจากการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริต เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจและ ดำเนินการป้องกันการทุจริต รวมถึงเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่มีหน้าที่ติดตามและดำเนินการต่อต้าน การทุจริตให้เกิดประสิทธิภาพและรายงานต่อประธานกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมทั้งทบทวนและแก้ไขนโยบายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจหรือกฎระเบียบ นอกจากนี้ ไทยเบฟได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายไว้ ดังนี้
  • ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามนโยบาย พร้อมทั้งร่วมมือกับกรรมการ ผู้บังคับบัญชา และพนักงาน ในการสอดส่องดูแล
  • กรรมการและพนักงานมีหน้าที่รักษามาตรฐานสูงสุด ในการดำเนินธุรกิจ
  • พนักงานต้องไม่เพิกเฉยหรือละเลยเมื่อพบเห็นการกระทำ ที่เข้าข่ายการทุจริต พนักงานต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
การไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตถือเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ถือเป็นการละเมิดสัญญาจ้าง และเป็นความผิดทางอาญา และอาจสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชื่อเสียงและสถานะของบริษัท หากพบเห็นการทุจริตควรรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือหากพบบุคคลที่กระทำความผิดจะถูกลงโทษตามกฎระเบียบ ของไทยเบฟ และถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

บริษัทจะดำเนินกระบวนการสอบสวนอย่างโปร่งใสและเคร่งครัด ตามที่กำหนดในจรรยาบรรณซึ่งกำหนดบทลงโทษสำหรับพนักงาน ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบาย ในปี 2566 พบว่า มีกรณีที่พนักงานไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตของไทยเบฟ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ทั้ง 100 กรณีถูกลงโทษโดยการเลิกจ้าง และไม่พบการทุจริตโดยพันธมิตร
การรับข้อร้องเรียน
เมื่อพบการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริต พนักงานทุกคนมีหน้าที่ ต้องยื่นเรื่องร้องเรียนมายังช่องทางการยื่นเรื่องที่เผยแพร่ผ่านสื่อภายในของบริษัท พนักงานที่ยื่นเรื่องร้องเรียนตามความจริงจะไม่ได้รับผลกระทบหรืออันตรายใด ๆ จากการร้องเรียนนั้น ขั้นตอนการยื่นเรื่องร้องเรียนมีดังนี้
  • หากกรรมการมีเรื่องร้องเรียน ให้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อประธานกรรมการตรวจสอบ
  • หากพนักงานมีเรื่องร้องเรียน ให้แจ้งเรื่องร้องเรียนเป็น ลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางที่แนะนำ โดยระบุชื่อและรายละเอียดการติดต่อ แล้วแจ้งไปยังบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
  • พนักงานทุกคนสามารถแจ้งข้อมูลที่อยู่ในข่ายอันควรสงสัย มายังกรรมการผู้อำนวยการใหญ่โดยตรงผ่านทางอีเมล whistleblowing@thaibev.com หรือส่งมายังผู้บริหาร ในสายงานของตนโดยตรง
  • ไทยเบฟพร้อมที่จะปกป้องพนักงานที่แจ้งข้อร้องเรียนที่มีมูล ความจริง โดยรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับและจะดำเนินการกับ การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นอย่างเข้มงวด
  • เมื่อมีพนักงานยื่นเรื่องร้องเรียน ไทยเบฟจะพิจารณาในการดำเนินการขั้นต่อไป ซึ่งอาจทำการสอบสวนภายในหรือขอให้องค์กรภายนอกเข้ามาดำเนินการสอบสวน
  • หากตรวจพบภายหลังว่าการร้องเรียนเป็นเท็จ ทุจริต มุ่งร้าย ประมาทเลินเล่อ หรือเพื่อประโยชน์ส่วนตน จะถือว่ามีความผิดทางวินัยตามที่ระบุไว้ในคู่มือพนักงานของไทยเบฟ
การละเมิดกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย
ไทยเบฟกำหนดให้พนักงานปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและข้อกฎหมายของทุกประเทศที่ไทยเบฟเข้าไปดำเนินกิจการ หากมีการละเมิดกฎระเบียบหรือข้อบังคับใด ๆ ทั้งด้านจริยธรรม มาตรฐานความเป็นเลิศขององค์กร หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสถานประกอบการหรือสถานที่ดำเนินธุรกิจ จะต้องหยุดการละเมิดนั้นทันทีและใช้มาตรการจัดการที่เหมาะสม ในปี 2566 กลุ่มไทยเบฟพบว่า มีการละเมิดที่ไม่รุนแรง (การละเมิดแบ่งตามมูลค่าเงินของการกระทำ คดีสำคัญมีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป ส่วนคดีเล็กน้อยมีมูลค่าความเสียหายต่ำกว่า 300,000 บาท)

เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนกฎระเบียบ ไทยเบฟได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • จัดให้มีการปฐมนิเทศพนักงานและผู้บริหารใหม่
  • จัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์สำหรับพนักงาน สื่อสารเรื่องจริยธรรม ในการประกอบธุรกิจให้แก่พนักงาน
  • กำหนดให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ดำเนินการอย่างเด็ดขาดโดยทันทีเมื่อพบว่ามีการฉ้อโกง รวมถึงการเอาผิดทางกฎหมาย
  • จัดให้สำนักตรวจสอบภายในดำเนินการตรวจสอบการทุจริต ภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าไทยเบฟปฏิบัติ ตามกฎระเบียบและข้อบังคับภายใต้กฎหมาย
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย
กลุ่มไทยเบฟมีช่องทางติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย จากการเป็นสมาชิกหอการค้าไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งสืบค้นข้อมูลกฎหมายและข่าวสารจากเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรมสรรพากร เป็นต้น ทั้งนี้ในรอบระยะเวลาบัญชี 2566 ที่ผ่านมากลุ่มไทยเบฟได้ปรับเปลี่ยนนโยบายในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรการทางกฎหมายที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังนี้
  • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565
    พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยบริษัทจำกัดในหลายประเด็น เช่น แก้ไขให้บริษัทจำกัดสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทได้ แก้ไขเรื่องการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่มีเฉพาะหุ้นชนิดระบุชื่อไม่มีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้เหลือเพียงการส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้น โดยไม่ต้องมีการโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ด้วย นอกจากนี้ยังมีการแก้ไของค์ประชุมในการประชุม ผู้ถือหุ้นโดยเพิ่มเติมว่าจะต้องมีผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 2 รายด้วยจึงจะเป็นองค์ประชุม ซึ่งในเรื่อง ของการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ข้อบังคับบริษัทของกลุ่มไทยเบฟมีการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเดิม เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายใหม่ จึงต้องมีการแก้ไข เพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่ด้วย บริษัทดังกล่าวจึงจะสามารถส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุม ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่นด้วยได้ กลุ่มไทยเบฟจึงได้เตรียมการที่จะแก้ไขข้อบังคับบริษัทของบริษัทจำกัดทุกบริษัท ที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับกฎหมาย ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ที่จะมีการจัดขึ้นหลังวันสิ้นรอบปีบัญชี 2566 นี้ เพื่อให้แต่ละบริษัทมีความคล่องตัวในการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ในคราวต่อ ๆ ไป
  • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566
    ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2566) ข้อ 8 กำหนดให้โรงงานที่ก่อให้เกิด หรือมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือโรงงานที่มีการกำจัด บำบัด หรือจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานจัดทำรายงานข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566 (ซึ่งยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับเดิม) กำหนด หลักเกณฑ์ในการรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยได้มีการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ก่อกำเนิด สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากเดิมที่ความรับผิดชอบจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับดำเนินการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วจากผู้ก่อกำเนิดเป็นความรับผิดชอบจะสิ้นสุดลงเมื่อ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วได้รับการจัดการจนแล้วเสร็จ โดยผู้ก่อกำเนิดจะต้องควบคุมผู้รับดำเนินการให้จัดการกับ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วด้วยวิธีการที่เหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการ ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย เพื่อให้เป็นไปตาม หลักการที่ว่าผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle หรือ PPP) ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ยกเว้นเรื่องการรายงาน การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

    ดังนั้น กลุ่มไทยเบฟจึงได้มีการปรับปรุงกระบวนการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีการแก้ไข มีการรายงานการจัดการสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแลให้ผู้รับดำเนินการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของกลุ่มไทยเบฟปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อดูแลป้องกันไม่ให้พื้นที่ข้างเคียง ระบบนิเวศและสังคมได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานของกลุ่มไทยเบฟ นอกจากนี้ยังมีการเตรียมแผนการรับมือกรณีที่ผู้รับดำเนินการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ ที่ไม่ใช้แล้วรายเดิมไม่สามารถจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย เพื่อให้สามารถรับมือในการจัดการกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
  • กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565
    ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดว่า ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต โดยการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

    ซึ่งก่อนการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ผู้ผลิตสุราจะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 (กฎกระทรวง ปี 2560) ที่มีการแบ่งประเภทของผู้ขออนุญาตผลิตสุราเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    • ผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรมสุรา ขนาดใหญ่ซึ่งจะต้องเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กล่าวคือ ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป และ/หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป และจะต้องมีคุณสมบัติและลักษณะของโรงอุตสาหกรรมตามชนิดของสุราที่ขออนุญาตผลิตตาม ที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ปี 2560 และ 2) ผู้ขออนุญาตที่เป็นสถานที่ทำสุราชุมชนซึ่งจะต้องไม่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานโดยใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมน้อยกว่า 5 แรงม้า และ/หรือใช้ คนงานน้อยกว่า 7 คน

      แต่ต่อมา รัฐบาลได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ. 2565 (กฎกระทรวง ปี 2565) แทนกฎกระทรวง ปี 2560 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยกฎกระทรวง ปี 2565 ได้มีการปรับเปลี่ยนประเภทของ ผู้ขออนุญาตผลิตสุราให้สอดคล้องกับนิยามคำว่า “โรงงาน” ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขใหม่ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดใหญ่จะต้องเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ที่แก้ไขใหม่ กล่าวคือ ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป และ/หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป และจะต้องมีคุณสมบัติและลักษณะของโรงอุตสาหกรรมตามชนิดของสุราที่ขออนุญาตผลิตตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ปี 2565
    • ผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้า แต่น้อยกว่า 50 แรงม้า และ/หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คน แต่น้อยกว่า 50 คน และ 3) ผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดเล็กที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าน้อยกว่า 5 แรงม้า และ/หรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน การแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ผู้ผลิตสุราที่เป็นโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กที่ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี สามารถขออนุญาตขยายกำลังการผลิตเป็นโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดกลางที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้า แต่น้อยกว่า 50 แรงม้า และ/หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คน แต่น้อยกว่า 50 คน ได้

      นอกจากนี้ ตามกฎกระทรวง ปี 2565 ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตาม กฎกระทรวง ปี 2560 โดยยกเลิกการกำหนดทุนทะเบียนขั้นต่ำ 10,000,000 บาท และกำลังการผลิตขั้นต่ำ 10,000,000 ลิตร ต่อปี สำหรับผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรมผลิตสุราแช่ ชนิดเบียร์ประเภทที่มิได้ผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต และ 100,000 ลิตรต่อปี แต่ไม่เกิน 1,000,000 ลิตรต่อปี สำหรับ ผู้ขออนุญาตที่เป็นโรงอุตสาหกรรมผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ประเภทผลิตเพื่อขาย ณ สถานที่ผลิต (Brewpub) ซึ่งการแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลทำให้การขออนุญาตผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ตามกฎกระทรวง ปี 2565 ทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของทุนจดทะเบียนและกำลังการผลิตขั้นต่ำแล้ว
    กลุ่มไทยเบฟจึงต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายดังกล่าวโดยการรักษาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วของกลุ่มไทยเบฟให้ดีอยู่เสมอ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค และสร้างการจดจำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยเบฟ นอกจากนี้ กลุ่มไทยเบฟยังมีโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะเพิ่มช่องทางการผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์เพื่อจำหน่าย ณ สถานที่ผลิตเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ได้อีกด้วย
    โครงการสำคัญ
    ตัวอย่างการมีส่วนร่วมสนับสนุนขององค์กรต่าง ๆ
    สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA)
    ไทยเบฟมุ่งมั่นในการร่วมกิจกรรมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กร และระดับประเทศ โดยผู้บริหารของไทยเบฟได้ร่วมเป็นสมาชิก คณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะกรรมการอำนวยการของศูนย์ TMA Center for Competitiveness นอกจากนี้ ไทยเบฟยังคงสนับสนุนงบประมาณของ TMA ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสัมมนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)
    ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคเอกชน ไทยเบฟจึงเข้าร่วมในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของสหประชาชาติเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรม มูลนิธิ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร รวมทั้งกระตุ้น ให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงความยั่งยืนในการดำเนินงานตามหลักสากล 10 ประการของ UNGC หลักสากลดังกล่าวครอบคลุม 4 มิติหลัก ได้แก่ การต่อต้านการทุจริต มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

    ไทยเบฟตระหนักดีว่าการปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมุ่งมั่นดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ยังทุ่มเทพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งด้านพลังงาน น้ำ วัสดุบรรจุภัณฑ์ และการจัดการขยะ ของเสีย

    ในฐานะสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ไทยเบฟเพิ่มความมุ่งมั่นเพื่อบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติข้อที่ 17 เรื่อง “ความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยที่ผ่านมาบริษัทได้ให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมสำคัญ ของ GCNT เช่น การเผยแพร่บทความด้านความยั่งยืนของไทยเบฟเพื่อเป็นต้นแบบแก่ธุรกิจอื่น ๆ
    เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN)
    เครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (TSCN) ก่อตั้งขึ้น ในปี 2562 จากความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนไทย 9 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ เพื่อการปกป้องมูลค่าของการลงทุนโดยมุ่งเน้นความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อการเพิ่มมูลค่าการลงทุนโดยสร้างพันธมิตรและพัฒนาประสิทธิภาพของการดำเนินงานที่มีอยู่ (เช่น การขายต่อเนื่อง การฝึกอบรมข้ามสายงาน การร่วมลงทุน การแบ่งปันทรัพยากร) และเพื่อการร่วมสร้างนวัตกรรมและขยายการลงทุนในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการใหม่ (เช่น การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วยเงินร่วมลงทุนสำหรับสตาร์ทอัพ การแบ่งปันทักษะของพนักงานข้ามสายงาน และการ ใช้นักพัฒนาโปรแกรม) และในปี 2566 TSCN มีส่วนสำคัญในการจัดงานนิทรรศการความยั่งยืนระดับภูมิภาค Sustainability Expo 2023 ที่กรุงเทพฯ
    สภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (TUBLC)
    ไทยเบฟดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (TUBLC) มาตั้งแต่ปี 2561 จนครบวาระไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 และยังคงสนับสนุนต่อไปในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ บริษัทมุ่งมั่นส่งเสริมการเติบโตและขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศผ่านการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างภาครัฐและเอกชน อีกทั้งส่งเสริมโอกาสทางการค้า และการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการจากทั้งสองประเทศด้วย ผลงานสำคัญในปีที่ผ่านมาคือการประชุมออนไลน์กับนายดอมินิก จอห์นสัน (Mr. Dominic Johnson) รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน ของสหราชอาณาจักร เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการขยายการลงทุน และการสนับสนุนนักลงทุนตามที่จำเป็น อีกทั้งได้เข้าประชุมสภา ผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักรร่วมกับนายมาร์ก การ์นิเย (Mr. Mark Garnier) ผู้แทนพิเศษด้านการค้าของนายกรัฐมนตรี แห่งสหราชอาณาจักร พร้อมทั้งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (JETCO) ระหว่างทั้งสองประเทศ และการเริ่มต้นการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (ETP) ในปีถัดไป ซึ่งจะนำไปสู่การทำข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในอนาคต
    สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม
    สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม ได้มุ่งมั่นทำหน้าที่กระชับความสัมพันธ์และขับเคลื่อนความร่วมมือ เพื่อเอาชนะความท้าทายทางธุรกิจและเพิ่มโอกาสทางการค้าและ การลงทุนเพื่อความก้าวหน้าทางธุรกิจของทั้งสองประเทศ ในฐานะสมาชิกคณะกรรมการของทั้งสององค์กร ไทยเบฟได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะงานสัมมนา Thailand-Vietnam Business Forum ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างการประชุม

    ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยประธานาธิบดีเวียดนามได้ให้เกียรติ เข้าร่วมงานนี้ อันเป็นการยืนยันถึงมิตรภาพระหว่างทั้งสองประเทศ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2566 ไทยเบฟซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของงาน Thailand-Vietnam Business Forum ครั้งที่ 2 ได้ยกระดับการสนับสนุน เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และขยายเครือข่ายธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการรุ่นใหม่และสตาร์ทอัพของไทยกับเวียดนาม