รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562 / แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
การบริหารความเสี่ยง
GRI 102-18, GRI 102-29, GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 103-3
ไทยเบฟบริหารความเสี่ยงโดยการติดตาม ประเมิน และบริหารจัดการความไม่แน่นอน ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของไทยเบฟ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อช่วยให้เห็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญและโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สามารถตอบสนองต่อความท้าทายและบรรเทาผลกระทบ รวมถึงใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน
แบ่งปันคุณค่า
คุณประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบและประธานกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง
ไทยเบฟยึดมั่นการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟจึงครอบคลุมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนของบริษัท

เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ ไทยเบฟจึงดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามแนวทางของ COSO : Enterprise Risk Management โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของไทยเบฟ
1. โครงสร้างการกำกับดูแล

ครอบคลุมตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจ คณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจ คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร คณะกรรมการด้านความยั่งยืนและความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ หรือสายงาน และผู้ประสานงานความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจหรือสายงาน

2. ความเข้าใจในบริบทและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 โดยทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจ วิเคราะห์ติดตามและสื่อสารปัจจัยเสี่ยง และแนวโน้มสำคัญในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนิน​ธุรกิจหรือกลยุทธ์องค์กร

3. กระบวนการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ

 ทั้งในระดับองค์กร ระดับกลุ่มธุรกิจหรือสายงาน จนถึงระดับปฏิบัติการ การประเมินความเสี่ยงที่สำคัญและกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการ​สร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ

4. การติดตาม รายงาน และประเมินผล

 การบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสายงานและบริษัทย่อย ระดับสายธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจ และระดับองค์กร

5. การสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง

 โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงกับกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กร ผ่านการฝึกอบรม ปฐมนิเทศ เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านจดหมายข่าว ส่งเสริมให้พนักงานได้พูดคุยหรือเสนอความเห็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น การจัดประชุมวิชาการ “Thailand CorporateSustainability Symposium”,พื่อสร้างความเข้าใจและแบ่งปันความรู้ด้านความยั่งยืนระหว่างองค์กรชั้นนำที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices - DJSI) การจัดงาน ThaiBev Sustainability Day เพื่อสร้างความเข้าใจและแบ่งปันความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟให้แก่พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ คู่ค้า ลูกค้า เป็นต้น ตลอดจนการจัดโครงการ Ways of Work (WOW) Award เพื่อให้พนักงานนำเสนอผลงานที่เป็นแนวคิดหรือวิธีการที่สอดคล้องกับค่านิยมกลุ่มไทยเบฟ (ThaiBev Global Values) และสนับสนุนการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนหรือช่วยจัดการความเสี่ยงของบริษัทเข้าประกวดชิงรางวัล โดยผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกนำไปปฏิบัติจริง

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ

ไทยเบฟพิจารณา “ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร” จากสาระสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟในสามด้าน คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กรที่มีทั้งผลกระทบและโอกาสต่อธุรกิจในระดับ “สูง” และมีผลกระทบและอิทธิพลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับ “สูง” ถือเป็นความท้าทายที่องค์กรจะต้องหาวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงให้แตกต่างไปจากเดิม

ซึ่งในเบื้องต้น บริษัทได้ริเริ่มให้มีการประเมินด้านความยั่งยืนภายในแต่ละกลุ่มธุรกิจ (Internal Sustainability Assessment) เพื่อให้ทุกกลุ่มธุรกิจเกิดความตระหนักรู้และผนวกเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเสี่ยงให้เกี่ยวโยงกับกระบวนการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจ สำหรับประเด็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบระดับปานกลางหรือระดับต่ำ คณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีการประเมินและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและทันท่วงที

สาระสำคัญหลักด้านความยั่งยืน ของไทยเบฟ
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • การบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์
  • ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านสังคม
  • การเป็นองค์กรที่ดีของสังคม
  • การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
ด้านเศรษฐกิจ
  • การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การกำกับดูแลองค์กรและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดการนวัตกรรม
ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ของไทยเบฟ
1
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
2
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
3
ความเสี่ยงด้านกระบวนการจัดการห่วงโซ่คุณค่า
4
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ
5
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่
6
ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
1
2
3
4
6
  • สร้างระบบบริหารจัดการน้ำที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า
  • ประเมินความยั่งยืนด้านน้ำ (Water Sustainability Assessment) ของโรงงานผลิตแต่ละแห่งเพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ
  • ใช้น้ำและทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้มาตรการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) และการประเมิน Water Footprint
  • ร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านการใช้น้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ การจัดการปัญหาขยะและมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
2
3
4
5
6
  • ออกแบบ พัฒนาและบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • กำหนดและปฏิบัติตามนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ซึ่งเป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่สอดคล้องกับไทยเบฟ
  • กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยและคุณภาพ
  • ควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงการการใช้พลังงานทดแทน การส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์การใช้พลังงานและทรัพยากรให้คุ้มค่าในกระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า
  • เพิ่มมูลค่าของเสียหรือผลผลิตพลอยได้ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือผลิตอีกครั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  • นำของเสียจากกระบวนการผลิตเครื่องดื่มมาผลิตพลังงานจากชีวภาพและชีวมวล
  • ให้ความรู้ ฝึกอบรม และสนับสนุนพนักงานให้มีส่วนร่วมในการลดและป้องกันการเกิดของเสีย
  • การบำบัดหรือกำจัดของเสียอย่างรับผิดชอบ

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
4
6
  • สำนักกฎหมายของไทยเบฟ ทำหน้าที่ติดตามข่าวสารที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบของภาครัฐที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสื่อสารให้หน่วยงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อมีแนวโน้มการบังคับใช้หรือเมื่อมีการประกาศใช้ เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของบริษัท

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
5
  • กำหนดแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Master Plan) เพื่อรองรับและบริหารจัดการด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในระยะยาว
  • ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที
  • คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางธุรกิจ ตอบสนองความต้องการและการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคทุกช่วงวัย ในทุกช่วงเวลา
แบ่งปันคุณค่า
ดร.พล ณรงค์เดช
ผู้บริหารสำนักการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ
วัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและความเสี่ยง
การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะเกิดขึ้นภายในองค์กรที่มีการปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและความเสี่ยงให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนและร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงการป้องกัน ติดตาม และจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนขององค์กร ไทยเบฟได้กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจทางธุรกิจตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ การวางแผนงานตามกลยุทธ์ขององค์กร การจัดทำงบประมาณ และการปฏิบัติงานในแต่ละวัน โดยพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างความเสี่ยง โอกาสการเติบโตของธุรกิจ และผลประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับ

นอกจากนี้ยังได้จัดฝึกอบรมและสัมมนาให้พนักงานเป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดให้มี “คลินิกความเสี่ยง” เป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ผู้ประสานงานความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มธุรกิจหรือสายงาน สามารถปรึกษาและนำเสนอประเด็นความเสี่ยงต่าง ๆ กับคณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อรวบรวมข้อมูลในทะเบียนความเสี่ยงองค์กรและรายงานต่อผู้บริหารของหน่วยธุรกิจหรือสายงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง
ทิศทางการดำเนินงาน

จากการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม และเมียนมา ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยความมั่นคงและยั่งยืน ไทยเบฟได้กำหนดเป้าหมายระยะยาวด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ดังนี้

  • การนำเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ มาใช้ในการวิเคราะห์ ประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) และการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Scenario Analysis) เพื่อให้มั่นใจถึงความยั่งยืนโดยเฉพาะผลกระทบด้านทรัพยากรน้ำ สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสังคมที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของไทยเบฟทั้งในและต่างประเทศ โดยจะครอบคลุมกลยุทธ์การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการในระบบห่วงโซ่คุณค่า และชื่อเสียงขององค์กร
  • กำหนดและรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator) เพื่อใช้แจ้งเตือนล่วงหน้า และติดตามโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง ซึ่งทำให้บริษัทสามารถหรือมีเวลาที่จะแก้ปัญหาได้ก่อนที่จะกลายเป็นเหตุการณ์ร้ายแรง
  • การประเมินตนเองด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง (Sustainability and Risk Management Self-Assessment) ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารและพนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไป เพื่อวัดระดับความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน การรับรู้ความเสี่ยงภายในองค์กร และการนำองค์ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงไปประยุกต์ใช้ รวมถึงวัดผลความสำเร็จของการสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง

เป้าหมายปี 2568
100%
ของหน่วยธุรกิจและสายงาน ที่นำกรอบการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือ และกระบวนการต่าง ๆ มาใช้ปฏิบัติ
100%
ของข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยง ที่มีนัยสำคัญของหน่วยธุรกิจและสายงาน
100%
ของระดับบริหารประเมินตนเอง ด้านความยั่งยืน และการบริหารความเสี่ยง