รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562

Close
หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2562 / แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไทยเบฟได้กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายผ่านกิจกรรมและช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังความต้องการ ความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยที่ความถี่ของการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปตามแผนการดำเนินงานของบริษัท ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนการดำเนินงาน  และแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน รวมถึงป้องกันความเสี่ยงหรือผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ

พนักงาน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • ข้อความทาง SMS
  • แอปพลิเคชันไลน์ (LINE Application): LINE@ “We are ThaiBev Group”
  • เฟสบุ๊ค แฟนเพจ (Facebook Fanpage)
  • อินทราเน็ต (Intranet)
  • การประชุมประจำปี เช่น การประชุมผู้บริหารประจำปี การประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง การประชุมคณะกรรมการสวัสดิการ การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย การประชุมสหภาพแรงงานและการประชุมของหน่วยงาน
  • กล่องรับความคิดเห็น
  • การเดินสายพบปะพนักงาน เช่น Core Values Global Values Roadshow และประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การสำรวจความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านทางแอปพลิเคชัน Beverest Connect
  • การสื่อสารเรื่อง การสำรวจความผูกพันของพนักงานผ่านทางสำนักทรัพยากรบุคคลและผู้บังคับบัญชา
  • Jam application และ ThaiBev E-News ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างพนักงานในกลุ่มไทยเบฟโดยเฉพาะ
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • ความปลอดภัยในการทำงาน
  • การอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ทำงาน
  • สวัสดิการพนักงาน
  • การจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม
  • การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ
  • การพัฒนาทักษะให้แก่พนักงาน
  • ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กร
  • กิจกรรมที่องค์กรและผู้บริหารได้มีส่วนร่วม
  • ความสำเร็จ/รางวัลที่องค์กรได้รับ
  • กิจกรรมภายในองค์กร
  • รับสมัครอาสาสมัครในงานและโครงการต่าง ๆ
บทรายงาน
  • โอกาสไร้ขีดจำกัด
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • ความใส่ใจต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานและความสุขของพนักงาน
  • การพัฒนาชุมชนและสังคม

คู่ค้า
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การจัดประชุมร่วมกับคู่ค้า
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
  • การริเริ่มโครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ร่วมกับคู่ค้า
  • กิจกรรมสัมมนาพันธมิตรทางธุรกิจประจำปี (ThaiBev Business Partner Conference)
  • การมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้า (Business Partner Award Program)
  • การจัดอบรมให้กับคู่ค้า
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
  • Thailand Supply Chain Network
ตัวอย่างของประเด็น
  • วิสัยทัศน์ของผู้บริหารและแนวทางการดำเนินธุรกิจ
  • แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Supplier Code of Practice)
  • การรักษามาตรฐานด้านคุณภาพ การส่งมอบ การบริการและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า
  • การร่วมมือกันระหว่างบริษัท คู่ค้า และคู่ค้าของคู่ค้าในการบริหารจัดการความเสี่ยงตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
  • การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
  • การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างคู่ค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • การเปลี่ยนแปลงการจัดหาโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม (Digital Transformation)
บทรายงาน
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  • บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการด้านพลังงาน

ลูกค้า
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • งานนิทรรศการและสัมมนาประจำปี 2019
  • งานประชุมลูกค้าประจำปี
  • การจัดอบรมและให้ความรู้ลูกค้า
  • กิจกรรมพัฒนาธุรกิจผ่านการแบ่งปันความรู้และความคิดเห็นระหว่างไทยเบฟและลูกค้า
  • กิจกรรม Business Review ประจำปี
  • กิจกรรมการเยี่ยมชมโรงงานประจำปี
  • โครงการ Agent Development Program with ThaiBev : ADEPT
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
  • การสำรวจประเด็นการมีส่วนร่วมของลูกค้าในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวอย่างของประเด็น
  • ความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
  • ความชัดเจนของนโยบายในการดำเนินธุรกิจ
  • ความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ
  • การรับผิดชอบต่อการบริโภคของผู้บริโภค
  • การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน
  • การอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงานของบุคลากร
  • การสร้างความร่วมมือ และเครือข่ายเพื่อสร้างคุณค่าสู่สังคม
  • การประกอบการค้าที่ยืดหยุ่นและตรงตามความต้องการของสภาวะตลาด
บทรายงาน
  • การบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ
  • โอกาสไร้ขีดจำกัด

ผู้บริโภค
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • กิจกรรมนอกสถานที่และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในช่องทางการขาย
  • ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Fanpage, Website, LINE Application
  • การสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
  • ราคาสินค้าที่เป็นธรรมและเหมาะสม
  • การให้บริการและนำเสนอสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ
  • ความรับผิดชอบต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม
บทรายงาน
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
  • การจัดการของเสีย
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการพลังงาน
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

นักลงทุน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรายงานการดำเนินงานที่สิงคโปร์ประจำปี (Annual Information Meeting)
  • การเข้าเยี่ยมชมโรงงาน
  • การแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส
  • การเดินสายพบปะนักลงทุน (Investor Roadshows)
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • ผลประกอบการของบริษัท
  • ข้อมูลด้านธุรกิจของไทยเบฟ
  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของบริษัท
บทรายงาน
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ชุมชน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • กิจกรรมร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การสัมภาษณ์ตัวแทนจากชุมชน
  • การลงพื้นที่และประชุมร่วมกับชุมชนติดตามความคืบหน้าโครงการที่ร่วมมือกันดำเนินการ
  • การประชุมร่วมกับตัวแทนชุมชนรายเดือน และรายไตรมาส
  • การสำรวจความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถาม
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • การสร้างงานหรือส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชน
  • การส่งเสริมด้านสาธารณสุขและสุขภาพให้กับชุมชน
  • การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  • การพัฒนาทักษะด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ
  • การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการและฟื้นฟูแหล่งน้ำ
  • การประเมินผลกระทบที่มีต่อชุมชน
  • การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม และดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมในชุมชน
  • การส่งเสริมการศึกษาให้กับชุมชน
  • การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
  • ความปลอดภัยในวัด โรงเรียน และชุมชน
  • สิทธิมนุษยชนครอบคลุมไปถึงสิทธิแรงงานและสิทธิผู้บริโภค
บทรายงาน
  • การดูแลและแบ่งปัน การสร้างคุณค่าให้แก่สังคม
  • การพัฒนาด้านการศึกษา
  • การพัฒนาด้านสาธารณสุข
  • การพัฒนาด้านกีฬา
  • การอนุรักษ์และสร้างสรรค์วัฒนธรรมความเป็นชาติ
  • การพัฒนาชุมชนและสังคม
  • โครงการประชารัฐรักสามัคคี
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ

หน่วยงานกำกับดูแล
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นและการนำเสนอความคิดเห็นต่อการบังคับใช้กฎหมายที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐ
  • การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรด้านต่าง ๆ ที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐให้การรับรอง
  • การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและนโยบายของหน่วยงานกำกับดูแล
  • การสร้างความสัมพันธ์ผ่านการปฏิบัติงานร่วมกัน
  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการของหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
  • การรายงานผลการดำเนินธุรกิจและผลการปฏิบัติงานต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตามความถี่ที่หน่วยงานกำหนด
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายฉบับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
  • การบริหารและจัดการด้านภาษีอย่างโปร่งใส
  • การดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยด้านแรงงาน
  • การดูแลด้านสิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงานอย่างถูกกฎหมาย
  • การดูแลให้การโฆษณาและการขายสินค้าเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • การบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
  • เข้าร่วมการประชุม หรือชี้แจงการดำเนินงานต่าง ๆ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง
บทรายงาน
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • โอกาสไร้ขีดจำกัด
  • การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ

องค์กรพัฒนาเอกชน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี
ตัวอย่างของประเด็น
  • สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานให้ได้รับทราบ
บทรายงาน
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การกำกับดูแล และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
กระบวนการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
ในปี 2562 ไทยเบฟทำการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากข้อมูลทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเด็นความยั่งยืนของโลก สาระสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน (เครื่องดื่มและอาหาร) และประเด็นตามมาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล โดยไทยเบฟจัดทำการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืนใหม่ทุก 3 ปี และจะมีการทบทวนประเด็นทุกปี ตามกระบวนการดังนี้
1. การกำหนดประเด็น
ไทยเบฟจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากสายงานธุรกิจทุกสายงานในการคัดเลือกประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยศึกษาแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลก ประเด็นด้านความยั่งยืนของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน อีกทั้งมีการกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและประเด็นด้านความยั่งยืนขององค์กรอีกด้วย
2. การจัดลำดับความสำคัญขององค์กร
ไทยเบฟนำประเด็นสาระสำคัญจากขั้นตอนการกำหนดประเด็นด้านความยั่งยืนมาจัดลำดับความสำคัญผ่าน 2 กิจกรรมหลักประกอบด้วย
  • 1) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารระดับสูงของไทยเบฟ เพื่อพิจารณาและประเมินผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีต่อองค์กร
  • 2) การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทั้ง 8 กลุ่ม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจในด้านความสำคัญและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยผลลัพธ์ที่ได้จาก 2 กิจกรรมเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อกลั่นกรองเป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กร โดยประเด็นที่ถูกจัดลำดับว่าสำคัญมากทั้งในมุมมองของไทยเบฟ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะถูกกำหนดให้เป็นสาระสำคัญที่สุด
3. การทวนสอบ
คณะทำงานเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจของบริษัทดำเนินการทวนสอบความครบถ้วนของสาระสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร และนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจเพื่อพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณายืนยันและอนุมัติสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
4. การกำหนดขอบเขตการรายงาน
ไทยเบฟกำหนดขอบเขตการรายงานสาระสำคัญทั้ง 16 ประเด็น โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญดังกล่าวมากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและครบถ้วนแม่นยำ ตอบโจทย์ทุกประเด็นที่เป็นความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยเบฟ
5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยในทุก ๆ ปีจะมีการนำสาระสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรมาทบทวน โดยนำมุมมองและข้อเสนอแนะที่มีต่อสาระสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกในแต่ละปีมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กรให้เหมาะสมกับธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป

สาระสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ
ด้านสิ่งแวดล้อม
การดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่คุณค่า
  • การบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์
  • การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
ด้านสังคม
การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กร สู่ระดับโลก
  • การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
  • การเป็นองค์กรที่ดีของสังคม
  • ความร่วมมือทางสังคม
  • การพัฒนาบุคลากร และการสร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงานที่มีความสามารถ
  • ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี
  • สิทธิมนุษยชน
ด้านเศรษฐกิจ
การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
  • การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การบริหารจัดการลูกค้า
  • ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการ
  • การกำกับดูแลองค์กรและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดการนวัตกรรม
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
ตารางแผนภูมิความเสี่ยงของไทยเบฟ
โอกาส/ความถี่ในการเกิดเหตุการณ์
ระดับผลกระทบ 1
น้อยมาก
2
น้อย
3
ปานกลาง
4
ค่อนข้างมาก
5
มาก
5 สูงมาก H5 H10 H15 E20 E25
4 สูง M4 M8 H12 H16 E20
3ปานกลาง M3 M6 H9 H12 H15
2 เล็กน้อย L2 L4 M6 M8 H10
1 ไม่มีผล L1 L2 L3 M4 M5
มาตรการตอบสนองความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง มาตรการ
สูงมาก (E) การปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงนั้นทันที
สูง (H) ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสนใจหรือความสำคัญ
ปานกลาง (M) ต้องมีการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ฝ่ายจัดการ (ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้อำนวยการสำนัก)
ต่ำ (L) บริหารจัดการโดยวิธีการปฏิบัติงานประจำ

ทั้งนี้คณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้บริหาร คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจของไทยเบฟได้พิจารณาอนุมัติ 16 ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ

สรุปประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในการรายงาน