หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทไทยเบฟดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงความสำคัญ การเคารพในสิทธิ และความเป็นธรรมต่อผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสําหรับทุกหน่วยงานและพนักงานทุกระดับ รวมถึงป้องกันความเสี่ยงหรือผลกระทบ จากการดำเนินธุรกิจ บริษัทจึงได้กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม ซึ่งมุ่งเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายผ่านกิจกรรมและช่องทางการสื่อสารต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังความต้องการ ความคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะต่างๆ โดยที่ความถี่ของการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปตามแผนการดำเนินงาน ของบริษัท ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดกลยุทธ์ ทิศทาง แผนการดำเนินงาน และแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน

บริษัทไทยเบฟจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่
1. พนักงาน

2. คู่ค้า

3. ลูกค้า

4. ผู้บริโภค

5. นักลงทุน

6. ชุมชน

7. หน่วยงานกำกับดูแล

8. องค์กรพัฒนาเอกชน
พนักงาน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • ข้อความทาง SMS
  • แอปพลิเคชั่นไลน์ (Line Application)
  • เฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage)
  • อินทราเน็ต (Intranet)
  • การประชุมประจำปี เช่น การประชุม ผู้บริหารประจำปี การประชุม คณะกรรมการลูกจ้าง การประชุม คณะกรรมการสวัสดิการ การประชุม คณะกรรมการความปลอดภัย การประชุมสหภาพแรงงาน และการประชุมของหน่วยงาน
  • กล่องรับความคิดเห็น
  • การเดินสายพบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เช่น “Core Values Roadshow” และ “Vision 2020 Roadshow”
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี
  • การสำรวจความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ตัวอย่างของประเด็น
  • ความปลอดภัยในการทำงาน
  • การอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ทำงาน
  • สวัสดิการพนักงาน
  • การจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ ให้แก่สังคม
  • การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ

บทรายงาน
  • โอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ (Limitless Opportunities for ThaiBev’s Employees)
  • การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก (Sharing the Value with the World)
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)

คู่ค้า
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การจัดประชุมร่วมกับคู่ค้า
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • ระบบการจัดซื้อจัดหาที่ชัดเจน
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

บทรายงาน
  • การจัดหาอย่างยั่งยืน (Responsible Sourcing)
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ (Water Stewardship)
  • พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (Energy and Climate Change)
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ลูกค้า
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • งานนิทรรศการและสัมมนาประจำปี (ThaiBev EXPO 2017)
  • การประชุมลูกค้าประจำปี
  • การจัดอบรมและให้ความรู้ลูกค้า
  • กิจกรรมพัฒนาธุรกิจ
  • กิจกรรม Business Review ประจำปี
  • การเยี่ยมชมโรงงานประจำปี
  • โครงการ Agent “The Next Gen”
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • ความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค
  • ความชัดเจนของนโยบายในการดำเนินธุรกิจ
  • ความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ
  • การรับผิดชอบต่อการบริโภค ของผู้บริโภค
  • การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน
  • การอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการทำงานของบุคลากร
  • การสร้างความร่วมมือ และเครือข่าย เพื่อสร้างคุณค่าสู่สังคม
  • การประกอบการค้าที่ยืดหยุ่นและตรงตามความต้องการของสภาวะตลาด

บทรายงาน
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)
  • การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (Governance, Risk and Compliance)
  • แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของไทยเบฟ (ThaiBev’s Sustainability Approach)
  • โอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ (Limitless Opportunities for ThaiBev’s Employees)
  • การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก (Sharing the Value with the World)

ผู้บริโภค
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • กิจกรรมนอกสถานที่และกิจกรรม ส่งเสริมการตลาดในช่องทางการขาย
  • ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
  • ราคาสินค้าที่เป็นธรรมและเหมาะสม
  • การให้บริการและนำเสนอสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ
  • ความรับผิดชอบต่อการจัดการ สิ่งแวดล้อม
  • ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ ให้แก่สังคม

บทรายงาน
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ (Water Stewardship)
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  • พลังงานและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Energy and Climate Change)/li>
  • การกำกับดูแล ความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (Governance, Risk and Compliance)
  • การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก (Sharing the Value with the World)

นักลงทุน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี
  • การประชุมประจำไตรมาส
  • การเข้าเยี่ยมชมโรงงานประจำปี
  • การเดินสายพบปะนักลงทุน (Investor Roadshows)
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • ความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล
  • ผลประกอบการของบริษัท
  • การให้ข้อมูลด้านธุรกิจของไทยเบฟ และรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน
  • การบริหารและพัฒนาตราสินค้า

บทรายงาน
  • การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (Governance, Risk and Compliance)
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)

ชุมชน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • กิจกรรมร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การสัมภาษณ์ตัวแทนจากชุมชน
  • การประชุมร่วมกับตัวแทนชุมชนประจำปี
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • การส่งเสริมการศึกษาให้กับชุมชน
  • การสร้างงานหรือส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชน
  • การส่งเสริมด้านสาธารณสุขและสุขภาพให้กับชุมชน
  • การส่งเสริมการต่อต้านยาเสพติด ร่วมกับชุมชน
  • การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
  • การพัฒนาทักษะด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ
  • การจัดการฝุ่นโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การคมนาคมหรือสัญจรโดยรอบสถานที่ ปฏิบัติงาน
  • การเปิดเผยข้อมูลและช่องทางการสื่อสาร กับชุมชน
  • การใช้แรงงานเด็กและสิทธิมนุษยชน

บทรายงาน
  • การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก (Sharing the Value with the World)
  • การส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม (Preserving and Promoting Arts and Culture)
  • โอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ (Limitless Opportunities for ThaiBev’s Employees)

หน่วยงานกำกับดูแล
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การปฏิบัติงานร่วมกัน
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • การจัดการภาษีที่โปร่งใส
  • การปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • การโฆษณาและการขายอย่างมีจริยธรรม และเหมาะสม
  • การใช้แรงงานอย่างถูกกฎหมาย
  • สิทธิมนุษยชน
  • ความปลอดภัยในการทำงาน
  • ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

บทรายงาน
  • การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (Governance, Risk and Compliance)
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)
  • โอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ (Limitless Opportunities for ThaiBev’s Employees)
  • การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ (Water Stewardship)
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

องค์กรพัฒนาเอกชน
แนวทางการมีส่วนร่วม
  • การสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืน ประจำปี

ตัวอย่างของประเด็น
  • สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย
  • ความรับผิดชอบต่อสังคม

บทรายงาน
  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค (Consumer Health, Safety and Well-Being)
  • การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติตามกฏระเบียบ (Governance, Risk and Compliance)
  • การแบ่งปันคุณค่าจากองค์กรสู่ระดับโลก (Sharing the Value with the World)


กระบวนการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
1. การกำหนดประเด็น
บริษัทไทยเบฟคัดเลือกประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความสอดคล้อง กับการดำเนินธุรกิจโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญจากสายงานธุรกิจ ทุกสายงาน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนจากภายนอก ในบริบทที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยศึกษาแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกและ ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตลอดจนสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรอีกด้วย

2. การจัดลำดับความสำคัญ
บริษัทไทยเบฟนำประเด็นที่ได้จากขั้นตอนการกำหนดประเด็น มาจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มในด้านความสำคัญและความสนใจที่มีต่อผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อกลั่นกรองประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อความยั่งยืน ขององค์กร

3. การทวนสอบ
คณะทำงานเพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจของบริษัทดำเนินการทวนสอบ ความครบถ้วนของประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กร และนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณายืนยันและอนุมัติประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

4. การกำหนดขอบเขตการรายงาน
บริษัทไทยเบฟกำหนดขอบเขตการรายงานประเด็นสำคัญ ทั้ง 17 ประเด็น โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ และ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว มากที่สุด

5. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บริษัทไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างต่อเนื่องโดยนำมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อประเด็น สำคัญ รวมถึงข้อเสนอแนะ มาใช้ในการพัฒนาแนวปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อไป


สาระสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ

ความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในปี 2560 บริษัทไทยเบฟทำการสำรวจประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 8 กลุ่ม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก ดำเนินการสัมภาษณ์และส่งแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งผลที่ได้จากการสำรวจ Stakeholder engagement survey นี้ ได้นำมาใช้ในกระบวนการประเมินสาระสำคัญด้านการพัฒนา ที่ยั่งยืนขององค์กร

ด้ด้านเศรษฐกิจ
  • นวัตกรรม
  • การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์
  • การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • การกำกับดูแลองค์กรและจรรยาบรรณในการดำเนินการ


ด้านสิ่งแวดล้อม
  • การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบริหารจัดการน้ำและการอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • การจัดการของเสีย


ด้านสังคม
  • การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี
  • สิทธิมนุษยชน
  • การเป็นองค์กรที่ดีของสังคม
  • ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  • การพัฒนาบุคลากร และสร้างแรงจูงใจ และรักษาพนักงานที่มีความสามารถ
  • การสร้างความร่วมมือ และเครือข่ายเพื่อสร้างคุณค่าสู่สังคม
  • การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์
  • ฉลากผลิตภัณฑ์และการตลาด


Martin Hart-Hansen
Deputy Resident Representative UNDP Thailand

"หากดูจากศักยภาพของไทยเบฟในการก้าวไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) จะเห็นว่ามีปัจจัยสำคัญสองด้านซึ่งอาจส่งผลทางด้านบวกกับธุรกิจและชื่อเสียงของไทยเบฟในฐานะที่เป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในประเทศไทย นั่นคือ ความยั่งยืนของปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและการบริหารและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ในส่วนของปัจจัยหลักในการผลิตของไทยเบฟมีสองอย่างคือ น้ำตาลและน้ำ ซึ่งในขณะที่ไทยเบฟมีโครงการพัฒนา เพื่อความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งสองนี้อยู่แล้ว ผมก็พร้อมที่จะสนับสนุนให้โครงการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นของห่วงโซ่อุปทานให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เช่น ร่วมทำงานกับชาวไร่อ้อยเพื่อสร้างผลผลิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงช่วยชาวไร่อ้อยแก้ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและร่วมมือกับชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำในแม่น้ำให้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มแม่น้ำของประเทศไทยมีความสมบูรณ์มากขึ้นด้วย เป็นการแสดงความรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่แหล่งผลิตหรือชุมชนไปจนถึงผู้บริโภค"


ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหาร นโยบายของนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Delivery Unit: PMDU)

“ประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมประเด็นใดที่ไทยเบฟควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไทยเบฟอาจเริ่มจากการพิจารณา Core business เทียบกับเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (United Nation Sustainable Development Goals) ว่าตรงกับเป้าหมายและเป้าประสงค์ข้อไหน ซึ่งหากพิจารณาด้านลักษณะทางธุรกิจของไทยเบฟ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ค่อนข้างเกี่ยวข้องที่สุดคือเป้าหมายที่ 12 เรื่องแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ไทยเบฟอาจลองพิจารณาจาก Core business เพื่อดูว่ากิจกรรมไหนตรงกับเป้าหมายดังกล่าวบ้าง นอกเหนือไปจากการปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าซึ่งตอบเป้าประสงค์ของเป้าหมายที่ 12 แล้ว ไทยเบฟยังสามารถริเริ่มการทำ Data Flow Platform เพื่อช่วยให้ภาครัฐและภาคเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูล แก้ปัญหาการกระจัดกระจายของข้อมูลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หากมีศูนย์กลางข้อมูลในลักษณะนี้ จะทำให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบว่าการดำเนินงาน หรือการพัฒนาของแต่ละฝ่ายอยู่ในระดับไหนซึ่งเอื้อต่อการพัฒนา อย่างแท้จริง จุดนี้ถ้าภาคเอกชนสามารถริเริ่มก่อนได้ ภาครัฐยินดีเข้ามามีส่วนร่วมแน่นอน”

ตารางแผนภูมิความเสี่ยงของไทยเบฟ

ทั้งนี้ คณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้บริหาร เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจของไทยเบฟให้พิจารณาอนุมัติ ผลจากการดำเนินการทำให้ไทยเบฟได้คัดเลือก 17 ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของไทยเบฟ



ผลการประเมินสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560