หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่คุณค่า พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 302-1, GRI 302-3, GRI 302-4, GRI 305-1, GRI 305-2, GRI 305-4, GRI 305-5

“บริษัทไทยเบฟมุ่งมั่นใส่ใจ เพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการดำเนินธุรกิจ ด้วยเป็นหนึ่งในความท้าทาย ที่จะช่วยพัฒนาบริษัทควบคู่ ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน ”



เป้าหมาย
5%

การลดอัตราส่วนการใช้พลังงาน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2563
ความสำเร็จ
13%

การลดอัตราส่วนในการใช้พลังงาน ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์

เป้าหมาย
10%

การลดอัตราส่วนการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2563
ความสำเร็จ
11%

การลดอัตราส่วนการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นอีกหนึ่งภัยธรรมชาติที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากจะเป็นประเด็นปัญหาที่ใกล้ตัวแล้ว ยังเป็นภาวะที่ทุกประเทศทั่วโลก ให้ความสนใจและจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ที่ยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นกรอบการพัฒนาประเทศ โดยที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ไทยเบฟใส่ใจ ด้วยเป็นหนึ่งในผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทไทยเบฟ ตัวอย่างเช่น การเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ส่งผลให้มีผลผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรน้อยลง ซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนของผลิตภัณฑ์ได้และปัญหาต่างๆ อาจทวีคูณขึ้น หากบริษัท ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี

ด้วยความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจเชิงรุก ประกอบกับ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น บริษัทไทยเบฟจึงได้ริเริ่มให้มีการบริหารจัดการด้านพลังงานและการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก การประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยจัดทำโครงการต่างๆ เช่น การใช้พลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิตการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือพัฒนานวัตกรรมเพื่อปรับปรุงสมรรถนะของเครื่องจักรให้ใช้พลังงานน้อยลง

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานหมุนเวียน
บริษัทไทยเบฟให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนจึงได้ ศึกษาวิจัยเรื่องการใช้พลังงานทางเลือก ปัจจุบันบริษัทได้เพิ่ม ทางเลือกของชนิดเชื้อเพลิง โดยนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต มาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิต เช่น ก๊าซชีวภาพ น้ำกากส่า แอลกอฮอล์ หัว-หาง (ผลผลิตพลอยได้จากกระบวนการกลั่นสุรา) นอกจากนี้ ยังได้ริเริ่มโครงการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ ในกระบวนการผลิตไอน้ำอีกด้วย

ในปี 2560 พบว่า บริษัทมีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนมากถึง ร้อยละ 18 เทียบจากการใช้พลังงานทั้งหมด

บริษัทได้ก่อตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพที่โรงงานกลั่นสุราจำนวน 5 โรงงาน และในปีนี้ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานทดแทน จากน้ำกากส่าที่จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยงบประมาณลงทุน 798 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนสำหรับโรงงานกลั่นสุรา โดยพลังงาน จากเชื้อเพลิงชีวมวลที่ได้จะนำไปใช้งานใน 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพลังงานความร้อนนำไปใช้ในโรงงานกลั่นสุรา และส่วนที่เหลือนำมาผลิตไฟฟ้า จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือเรียกรวมว่าระบบผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration System) ปัจจุบันโรงงานผลิตพลังงานทดแทน อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2560 และจะเริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าประมาณเดือนมีนาคม 2561 โครงการนี้ เป็นโครงการนำร่องเพื่อใช้ขยายผลไปยังโรงงานต่างๆ ในกลุ่มบริษัทไทยเบฟที่มีศักยภาพในการนำเชื้อเพลิงชีวมวลดังกล่าวมาใช้เป็น เชื้อเพลิงในการผลิตซึ่งสามารถส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกได้อย่างแท้จริง

การผลิตไอน้ำและไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล

ลดการใช้พลังงานผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์ บริษัทไทยเบฟได้ลงทุนสนับสนุน ด้านนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีผลงานที่สำคัญดังนี้

การติดตั้งระบบบำบัด น้ำเสียแบบไร้อากาศ UPFLOW ANAEROBIC SLUDGE BLANKET
เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงลดปริมาณของเสียที่ เกิดขึ้น และยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 400 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถนำ ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากระบบกว่า 5,100,000 เมกะจูลต่อปี มาใช้ทดแทนเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำสำหรับใช้ใน กระบวนการผลิต ทำให้โรงงานเบียร์ทั้งหมดสามารถใช้พลังงาน ทดแทนจากระบบบำบัดน้ำเสียได้
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
1,200,000
เมกะจูลต่อปี

การติดตั้งพัดลมประหยัดพลังงาน สำหรับคอนเดนเซอร์ระบายความร้อน ด้วยน้ำผสมอากาศ
ดยปรับเปลี่ยนประเภทของใบพัดลมจากเดิมที่ใช้วัสดุอะลูมิเนียมมาเป็นใบพัดลมที่ผลิตจากพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย ซึ่งมีน้ำหนักเบา ส่งผลให้การใช้พลังงานในการขับเคลื่อนใบพัดลดลงลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ร้อยละ 25 ต่อปี หรือลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 190 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
7,500,000
เมกะจูลต่อปี

การติดตั้งหม้อไอน้ำแบบไหลทางเดียว (ONCE THROUGH BOILER)
เพื่อนำก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นผลพลอยได้จากบำบัดน้ำเสียมาใช้ ประโยชน์ในการผลิตไอน้ำสำหรับกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
32,000,000
เมกะจูลต่อปี

การติดตั้งอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนจากก๊าซแอมโมเนียเพื่อเพิ่มอุณหภูมิ ให้กับน้ำป้อนหม้อไอน้ำ
โดยพบว่าความร้อนจากก๊าซแอมโมเนียมีความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับน้ำป้อนหม้อไอน้ำ โดยสามารถเพิ่มอุณหภูมิของ น้ำป้อนจาก 30 เป็น 60 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถลด การใช้พลังงานในการผลิตไอน้ำ หรือลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 430 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
2,700,000
เมกะจูลต่อปี

การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VARIABLE SPEED DRIVES: VSD)
ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2559 โดยหลอด LED เป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำให้สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 390 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
3,000,000
เมกะจูลต่อปี

การติดตั้งอุปกรณ์เคลื่อนย้าย พาเลทไปยังคลังสินค้า (Pallet Traveler)
สามารถขนย้ายผลิตภัณฑ์ใส่พาเลทไปยังคลังสินค้า ทดแทนการใช้รถยก ซึ่งสามารถลดการใช้เชื้อเพลิง ลดความถี่ในการซ่อมบำรุง และลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ต่อพนักงาน รวมทั้งลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 95 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดการใช้พลังงานได้กว่า
30,000
เมกะจูลต่อปี
ผลการดำเนินงานด้านพลังงาน


สำหรับปี 2560 การใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของบริษัทลดลง 21.72 เมกะจูลต่อเฮกโตลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.73 เปรียบเทียบกับ ปีฐาน 2557 ทั้งนี้ในปี 2560 บริษัทได้มีการขยายกิจการและขอบเขตการรายงานให้รวมถึงธุรกิจการกระจายสินค้า ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการใช้ เชื้อเพลิงเป็นหลัก

ส่งผลให้อัตราส่วนการใช้พลังงานของบริษัทในภาพรวมมีการเพิ่มขึ้น 15.93 เมกะจูลต่อเฮกโตลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7.87

อัตราส่วนการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจเครื่องดื่ม)


หมายเหตุ:
  • * ข้อมูลปี 2560 ขอบเขตการรายงานข้อมูลเช่นเดียวกับปีฐาน 2557

  • ** ข้อมูลปี 2560 ขยายขอบเขตการรายงานดังที่กล่าวถึงในหัวข้อเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ (หน้า 12 – 13)

  • *** เป้าหมายปี 2563 มีอัตราส่วนการใช้พลังงาน 95% หมายถึงการลดอัตราส่วนการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง 5% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2557

  • การใช้พลังงาน = ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง x ค่าความร้อนของแต่ละประเภทเชื้อเพลิง

  • ค่าแฟคเตอร์เปลี่ยนหน่วยอ้างอิงจากรายงานสถานการณ์พลังงานประเทศไทย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และข้อมูลพลังงานเฉพาะจากคู่ค้า (สำหรับก๊าซอีเทน (C2+) ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และน้ำมันเตา) หรือนำมาจากการทดลอง

  • อัตราส่วนการใช้พลังงานทั้งหมด = พลังงานเชื้อเพลิงทั้งหมด (พลังงานสิ้นเปลือง + พลังงานหมุนเวียน) + พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำที่จัดซื้อมาใช้ทั้งหมด - พลังงาน ที่ขายสู่ภายนอก รายงานในหน่วยเมกะจูลต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์

  • การรายงานประเภทของพลังงานเป็นไปตาม GRI Standards


การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทไทยเบฟตระหนักดีว่าการประกอบธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทย่อมส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มากก็น้อย บริษัทจึงให้ความใส่ใจและริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รักษ์โลก การจัดทำโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
บริษัทไทยเบฟมุ่งมั่นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะบริษัทเชื่อว่า บรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นไม่ได้มีเพียงหน้าที่ในการปกป้องผลิตภัณฑ์และมีรูปลักษณ์ที่สวยงามน่าดึงดูด แต่ต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย บริษัทจึงยึดมั่นในหลัก 3Rs (Reduce, Reuse และ Recycle) และแนวทางปฎิบัติด้านบรรจุภัณฑ์ ของบริษัท

บรรจุภัณฑ์หลักของเรา
ในกระบวนการผลิตสุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ บรรจุภัณฑ์หลักที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ขวดแก้ว กล่องลูกฟูก และขวดพลาสติก
ผลสำเร็จปี 2560

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลัก 3Rs ได้กว่า
634,782

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขวดแก้ว
บริษัทนำขวดแก้วหมุนเวียนกลับมาใช้ ในกระบวนการบรรจุและผลิตเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์กว่า 1,800 ล้านขวด

และนำเศษแก้วมาใช้ใหม่ในกระบวนการ ผลิตเป็นจำนวนกว่า 31,000 ตัน

การเก็บกลับคืน
เก็บขวดแก้วกลับคืน หลังกระบวนการผลิตคิดเป็น 75% ของจำนวนขวดแก้ว ทั้งหมดในกระบวนการผลิต

การใช้ซ้ำ
นำขวดแก้ว 1,884,660,839 ขวด กลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต

การนำกลับมาใช้ใหม่
นำเศษแก้วมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตเป็นจำนวน 31,634 ตัน

ลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก 614,353 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


กล่องลูกฟูก
บริษัทนำไส้กล่องและเศษกระดาษเก่า นำมาใช้ซ้ำและใช้ใหม่ในกระบวนการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 31,000 ตัน และทยอยเปลี่ยนกล่องลูกฟูกใน กระบวนการผลิตเป็นชนิดที่ลดลอนแล้ว ไปได้กว่า 50 ล้านกล่อง

การใช้ซ้ำ
นำกล่องบรรจุพร้อมไส้กล่องจำนวน 37,293,070 กล่อง กลับมาใช้ซ้ำ

การนำกลับมาใช้ใหม่
นำกระดาษ 26,525 ตัน กลับมาใช้ใหม่

ลดการใช้
ลดน้ำหนักกล่องลูกฟูกโดยเฉลี่ย 22 กรัมต่อหน่วย และลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ในกระบวนการผลิตและบรรจุไปได้ทั้งสิ้น
708
ตัน



ลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก 15,784 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


ขวดพลาสติก
บริษัทลดน้ำหนักขวดพลาสติกที่ใช้ในการ บรรจุผลิตภัณฑ์น้ำดื่มและน้ำอัดลมในทุกขนาด โดยเฉลี่ย 11%

ลดการใช้
ลดพลาสติกที่ใช้ในกระบวนการผลิตไปได้ถึง 1,610 ตัน คิดเป็นน้ำหนักที่ลดไปโดยเฉลี่ย 2 กรัมต่อหน่วย



ลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก 4,645ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า


คาร์บอนฟุตพริ้นท์
เพื่อให้การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเป็นไปอย่างยั่งยืน บริษัทไทยเบฟได้จัดทำโครงการ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทให้ความสนใจ โดยขยายขอบเขต ของบริษัทในกลุ่มไทยเบฟให้ได้การรับรองทั้งเครื่องหมาย คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ในปัจจุบันบริษัทในกลุ่มไทยเบฟได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ขององค์กรจำนวน 18 บริษัท และมีผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้ใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์จำนวน 40 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้บริษัทยังได้การรับรองฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์

โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองจะต้องลด ค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 เทียบกับปีฐาน

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง
การใช้พลังงานในระบบการขนส่งกระจายสินค้าเป็นหนึ่งในส่วนหลักของห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ ทางบริษัทให้ความใส่ใจเทียบเท่าการผลิต บริษัทจึงได้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ Transportation Order Management System: TOMS เพื่อใช้ในการควบคุมและติดตามพฤติกรรม การขับรถขนส่งของพนักงานให้ส่งสินค้าในเส้นทางที่กำหนดได้ตรงเวลาปีตามที่นัดหมายกับลูกค้า และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง อันเนื่องมาจากการวางแผนงานที่ดี นอกจากนี้ยังนำโปรแกรม TOMS มาใช้ในการบริหารจัดการการใช้รถเที่ยวกลับ (Backhauling) ทำให้มี การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอีกด้วย

นอกจากนี้บริษัทได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง รวมไปถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้ลงทุน กว่า 400 ล้านบาทในการเปลี่ยนรถขนส่งสินค้ากว่า 100 คัน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการขนส่งสินค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาแนวความคิด ของผู้ขับรถขนส่งตามโครงการ “วินัย 4 ประการแห่งความสำเร็จ (4 Disciplines of Execution)” ได้แก่
วินัยที่ 1 มุ่งเน้นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
วินัยที่ 2 ปฏิบัติตามตัววัดผลแบบชี้นำ
วินัยที่ 3 สร้างตารางคะแนนที่ทรงพลัง และ
วินัยที่ 4 สร้างพันธะรับผิดชอบร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

การใช้แนวความคิดนี้ทำให้พนักงานมีการตั้งเป้าหมายและปฏิบัติตามตัวชี้วัด ทำให้สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงและเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น รถบรรทุกขนส่งประเภท 6 ล้อใหญ่ จากเดิมประสิทธิภาพการขับขี่อยู่ที่ 5.5 กิโลเมตรต่อลิตรเชื้อเพลิง แต่ภายใน ระยะเวลาเพียง 18 เดือนเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 กิโลเมตรต่อลิตรเชื้อเพลิง หรือสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 1,800 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี




การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
13,000

ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี
อุปกรณ์ทำความเย็นของไทยเบฟ
ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ตู้ทำความเย็นถือเป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสดชื่น ดับกระหาย และมีความพึงพอใจกับสินค้าและบริการ ทั้งยังช่วยคู่ค้าและลูกค้า ของบริษัทเข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันบริษัทมีตู้ทำความเย็น ในการจำหน่ายสินค้าอยู่มากกว่า 85,000 ตู้ โดยทางบริษัทมีแผน กำหนดเปลี่ยนสารทำความเย็นจากสาร R12 เป็นสาร R134a ซึ่งไม่ถือเป็นสารทำลายชั้นโอโซน (Ozone Depleting Substance: ODS) และยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าสารเดิม โดยสามารถลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 13,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี

การควบคุมคุณภาพอากาศ
ด้วยความเอาใส่ใจชุมชนรอบข้างเพราะเกรงว่าอาจได้รับผลกระทบจากมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต บริษัทไทยเบฟจึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพอากาศโดยใช้มาตรฐานการควบคุมคุณภาพอากาศของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (United States Environmental Protection Agency: U.S. EPA) ในการติดตามตรวจสอบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ขณะเดียวกันบริษัทได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549 โดยตรวจวัดจากแหล่งกำเนิดมลพิษอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของฝุ่นละออง (Total particulate matter: TSP) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และใช้เทคโนโลยีในการควบคุมและจัดการมลภาวะที่จะเกิดขึ้น เช่น การติดตั้งไซโคลน กำจัดฝุ่น (Cyclone deduster) การติดตั้งระบบบำบัดอากาศแบบเปียก (Wet scrubber) การติดตั้งถุงกำจัดฝุ่น (Bag filter) ส่งผลให้คุณภาพอากาศที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมีคุณภาพดีกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย


ผลการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก



ในปี 2560 บริษัทไทยเบฟมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง ร้อยละ 4.53 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557 ซึ่งสามารถแสดงถึง การบริหารจัดการด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ดีผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงาน ทั้งนี้ บริษัทได้มีการขยายกิจการและขอบเขตการรายงานให้รวมถึงธุรกิจการกระจายสินค้า รวมถึงรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) ในส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบ Biogenic ร่วมด้วย จึงทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาพรวมเพิ่มขึ้น 7.27 กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเฮกโตลิตร หรือคิดเป็นร้อยละ 47.73


อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (ธุรกิจเครื่องดื่ม)


หมายเหตุ:
  • * ข้อมูลปี 2560 ขอบเขตการรายงานข้อมูลเช่นเดียวกับปีฐาน 2557

  • ** ข้อมูลปี 2560 ขยายขอบเขตการรายงานดังที่กล่าวถึงในหัวข้อเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ (หน้า 12 – 13)

  • *** เป้าหมายปี 2563 มีอัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 90% หมายถึงการลดอัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง 10% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2557

  • ตารางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงครอบคลุมก๊าซจากการเผาไหม้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) และสารทำความเย็น โดยวัดปริมาณ GHG ชนิดนั้นๆ แล้วแปลงเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์ ตามแนวทางของ องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (GWP) อ้างอิงจากรายงานฉบับที่ 4 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC)

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560