หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าของการเติบโตเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน โอกาสไร้ขีดจำกัดที่ไทยเบฟ
GRI 103-2, GRI 401-1, GRI 403-2, GRI 404-1, GRI 404-2, GRI 443-3





“ด้วยความเชื่อว่า บุคลากรของเราคือทุนมนุษย์ เป้าหมายหลัก ในการทำงานของเราจึงมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อการเจริญเติบโต…”
ดร.เอกพล ณ สงขลา
รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)


บริษัทไทยเบฟเชื่อมั่นว่าพนักงานทุกคนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ 2020 โดยบริษัทมุ่งหวัง ที่จะเป็นองค์กรนายจ้างดีเด่นในภูมิภาคอาเซียน ด้วยเหตุนี้ ไทยเบฟจึงให้ความสำคัญในการบริหารบุคลากรเพื่อสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่ง และเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ ภายใต้วัฒนธรรมองค์กร ที่ส่งเสริมการเติบโตของพนักงานอย่างไร้ขีดจำกัด บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิแรงงานเพื่อนำพาองค์กรสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

โอกาส...ไร้ขีดจำกัด
เพราะ... ไทยเบฟเชื่อมั่นในศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของคนทุกคน
เพราะ... ไทยเบฟเชื่อว่า ทุกคนจะเติบโตขึ้น หากได้รับโอกาสทำงานที่ท้าทายมากขึ้น
เพราะ... ไทยเบฟเชื่อว่าเมื่อพนักงานผลักดันให้ผู้อื่นเติบโตขึ้น พนักงานผู้นั้นก็จะเติบโตขึ้นด้วย
ที่ไทยเบฟมี “โอกาส...ไร้ขีดจำกัด” สำหรับพนักงานทุกคน

โอกาส..ที่จะได้รับการพัฒนาเพื่อแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่
ในฐานะบริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจก้าวไกลในระดับสากล (Thai Company with Global Aspiration) บริษัทไทยเบฟให้ความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพพนักงานให้เติบโตในสายอาชีพ โดยมุ่งมั่นที่จะมอบโอกาสอันท้าทายให้กับพนักงานทุกคน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ควบคู่กับการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ ที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่ม เพื่อให้พนักงานมีทักษะ และขีดความสามารถในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

โอกาส..ที่จะสานสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง
บริษัทไทยเบฟให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ การประสานพลังการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานทั้งใน และนอกองค์กร และส่งเสริมให้พนักงานมีความรัก ความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ส่งผ่านและต่อยอดประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงาน ในหน้าที่ และการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ รวมถึงการสานสัมพันธ์ กับหน่วยงานภายนอกองค์กรและสังคมโดยรวม

โอกาส..ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและทำประโยชน์เพื่อสังคม
บริษัทไทยเบฟให้ความสำคัญกับการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ โดยให้พนักงานทุกคนมีโอกาสร่วมแบ่งปัน สร้างสรรค์คุณค่าและความหมายให้ชีวิต และมอบความสุขให้ผู้อื่น ด้วยการให้ความช่วยเหลือสังคมผ่านโครงการต่างๆ รวมไปถึง ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและโครงการสาธารณประโยชน์ หลากหลายทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน




บริษัทไทยเบฟกำหนด 7 ยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการบุคลากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของบุคลากรเพื่อรองรับ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กร และเตรียมความพร้อมให้พนักงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์ที่ 1: โครงสร้างและบทบาทการบริหารที่ชัดเจน (Clear Structure and Roles)
บริษัทไทยเบฟใส่ใจในการจัดโครงสร้างองค์กรอย่างเหมาะสม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่การทำงานของพนักงาน แต่ละคนให้ชัดเจน รวมไปถึงเชื่อมโยงการประสานงาน ทั้งใน ระดับบุคคล ระหว่างทีมงาน แผนก และฝ่ายงานต่างๆ อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ โครงสร้างองค์กรยังเป็นกลไกรองรับ การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ของแต่ละสายงานเพื่อให้เกิด การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ทางธุรกิจ

บริษัทไทยเบฟยึดโครงสร้างองค์กรในรูปแบบกลุ่มธุรกิจ (Product Group) และกลุ่มสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Support Group) ซึ่งครอบคลุมกลุ่มบริษัททั้งภายในและ ภายนอกประเทศไทย

ในการบริหารบุคลากร บริษัทได้จัดให้มีคณะกรรมการกำกับ งานด้านการบริหารบุคลากร (Human Capital Steering Committee) โดยทำหน้าที่กำกับดูแลภาพรวมของการบริหาร บุคลากรของบริษัททั้งหมด ซึ่งโครงสร้างการบริหารบุคลากร ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  • การพัฒนาองค์กรและสมรรถนะกลุ่มบริษัท (Organization Development and Group Capabilities) เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศของการบริหารบุคลากร ซึ่งมีหน้าที่ออกแบบ พัฒนาและกำหนดนโยบายและ ขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับงานการบริหารบุคลากรทั้งองค์กร
  • การบริหารบุคลากรแบบพันธมิตรทางธุรกิจ (Human Capital Business Partner) เพื่อตอบโจทย์ การขยายตัวของธุรกิจด้านที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งให้คำแนะนำ และบริการที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้แต่ละสายงานของบริษัท บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
  • การปฏิบัติการและบริการงานบุคลากร (Human Capital Operations and Services) เป็นส่วน ปฏิบัติงานกลางที่ดำเนินงานต่างๆ ด้านการบริหารบุคลากร ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงให้บริการงานด้านบุคลากรต่างๆ แก่พนักงาน

โดยรวมแล้ว บริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงสร้างองค์กรให้พร้อม สำหรับการพัฒนาบริษัทเป็นองค์กรชั้นนำของอาเซียนที่มี ความมั่นคงและยั่งยืน โดยมีการวางกรอบโครงสร้างและ ตำแหน่งงานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 2: ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้กับตลาด (Market-oriented Compensation and Benefits)
บริษัทไทยเบฟบริหารค่าตอบแทนให้เป็นไปอย่างยุติธรรม สามารถเทียบเคียงได้กับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน นอกจากนั้น ยังจัดให้มีสวัสดิการให้กับพนักงานเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และคุ้มครองสวัสดิภาพของพนักงาน เช่น ค่ารักษาพยาบาล การตรวจ สุขภาพประจำปี การประกันอุบัติเหตุ และการประกันชีวิตให้กับพนักงาน

ในการวางระบบบริหารค่าตอบแทน บริษัทไทยเบฟได้ร่วมงานกับบริษัท ชั้นนำระดับโลกในการออกแบบแนวทางค่าตอบแทนและสวัสดิการ ให้เทียบเคียงได้กับจุดอ้างอิงที่เหมาะสมกับตลาด และสอดคล้อง กับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ขณะเดียวกัน บริษัทได้ผสมผสาน ค่าตอบแทนคงที่และค่าตอบแทนผันแปรตามผลงานอย่างเหมาะสม โดยสัดส่วนผลตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

นอกจากนี้ บริษัทยังได้วางระบบประเมินค่างาน (Job Evaluation) ตามมาตรฐานสากล ให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร โดยในปี 2560 ได้ประเมินค่างานตำแหน่งสำคัญครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ

บริษัทได้ตระหนักดีว่า การสร้างแรงจูงใจสำหรับบุคลากรที่มีความตั้งใจ มุ่งมั่น และทุ่มเทในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งและเพื่อ ความยั่งยืนขององค์กร บริษัทจึงได้จัดโครงการค่าตอบแทนจูงใจ ระยะยาวหรือ Long Term Incentive Plan (“LTIP”) โดยให้ ผู้บริหารมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการในรูปแบบหุ้นบริษัท เพื่อตอบแทนการทุ่มเทในการทำงานอย่างต่อเนื่องของผู้บริหาร และรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฏิบัติงานกับบริษัทต่อไปในระยะยาว ซึ่งเป็นผลดีในการดำเนินธุรกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 3: การบริหารผลการดำเนินงานที่โดดเด่น (Recognition-based Performance Management)
บริษัทไทยเบฟเน้นการสร้างความชัดเจนในเป้าหมาย การทำงานด้วยความเชื่อมั่นว่า “ความชัดเจน คือพลัง Power of Clarity” ซึ่งจะสร้างความแตกต่างในการปฏิบัติงานได้ และจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของหน่วยงานและองค์กรในระยะยาว

ในส่วนของการบริหารผลการปฏิบัติงานนั้น บริษัทได้พัฒนาแนวทาง ในการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) และการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) ไว้อย่างเป็นระบบและดำเนินการ อย่างเป็นรูปธรรม โดยบริษัทพร้อมสนับสนุนให้พนักงานออกเดินทาง ไปสู่เป้าหมายด้วยความชัดเจนกับ “โอกาส...ไร้ขีดจำกัด” ขององค์กร

ในการตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) ผู้บังคับบัญชาและ ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเป็นกลไกหลักในการสร้างความชัดเจน โดย ตั้งเป้าหมายภายใต้แนวคิด SMART (Specific เจาะจง, Measurable วัดได้, Attainable สำเร็จได้, Relevant เกี่ยวข้อง, Time-bound กำหนดระยะเวลา) ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องสื่อสารระหว่างกัน ตลอดจนสื่อสารไปยังทีมงานทั้งหมดเพื่อให้ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้รับการถ่ายทอดในระดับองค์กรจนไปถึงระดับบุคคล เพื่อให้เกิด ความสอดคล้องและทำงานในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นที่กลยุทธ์ขององค์กรเป็นหลัก ซึ่งการเชื่อมโยงเป้าหมายโดยการไล่ลำดับ จากบนลงล่างอย่างชัดเจนนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิด การปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์กรอย่างครบถ้วน ทั่วถึงและประสบผลสำเร็จ ก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าแก่องค์กรในระยะยาว

ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment) เป็นโอกาสสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้ ทบทวนความชัดเจนของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผลการทำงาน และ การพัฒนาความสามารถของตัวพนักงาน โดยที่บริษัทกำหนดให้มี การประเมินผลการปฏิบัติงานปีละ 2 ครั้ง คือ กลางปีและปลายปี การประเมินผลการปฏิบัติงานกลางปีจะเป็นโอกาสในการหารือ ความคืบหน้าของเป้าหมายโดยใช้หลักการ coaching ความเป็นไปได้ ในการบรรลุผลสำเร็จ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง (ถ้ามี) และ การสนับสนุนที่ต้องการจากผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากร งบประมาณ และทักษะต่างๆ ที่ต้องการพัฒนา เพื่อให้ความคาดหวัง ของทั้งสองฝ่ายสอดคล้องกับทิศทางของเป้าหมายที่ต้องการเดินไป ซึ่งกระบวนการดังกล่าวยังจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานและหัวหน้างาน และความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรอีกด้วย สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานปลายปี จะเป็น การประเมินผลงานตลอด 12 เดือนที่ผ่านมาของพนักงาน โดยดูจากผลสำเร็จที่ชัดเจนตาม SMART KPI รวมทั้งการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สร้างสรรค์สอดคล้องกับวัฒนธรรมบริษัท

พนักงานแต่ละคนจะมีแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan หรือ IDP) ที่เกิดจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างพนักงานและผู้บังคับบัญชา ที่สร้างจากผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา โดยจะเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายของพนักงาน (Career Aspiration) และเป้าหมายขององค์กร (Organization Goal) เพื่อสร้างความชัดเจน ในบทบาท หน้าที่ และโอกาสที่จะก้าวต่อไปในอนาคตของพนักงาน ส่งผลให้เกิดความสำเร็จขององค์กร อันเป็นการพัฒนาความยั่งยืน ด้านการบริหารบุคลากรอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ เพื่อสร้างนโยบายที่สอดคล้อง บริษัทได้กำหนดให้ผู้บริหาร ระดับกลางขึ้นไป มีเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development) และการพัฒนาบุคลากร (People Development) โดยมีน้ำหนักประเภทละ 10% ซึ่งจะมีผลต่อ การประเมินค่าตอบแทนของพนักงาน โดยผู้บริหารสามารถถ่ายทอด เป้าหมายสิ่งเหล่านี้ไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาได้ เป็นการตอกย้ำว่า พนักงานทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ร่วมกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูงแบบองค์รวม (Holistic High Performer Development)
การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องถือเป็นปัจจัยสำคัญ ในการเพิ่มแรงผลักดันในการเติบโตของธุรกิจ บริษัทต้องการให้ พนักงานเชื่อมั่นในโอกาสการเติบโตในองค์กรอย่างไร้ขีดจำกัด บริษัท จึงช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านแผน การพัฒนารายบุคคล (Individual Development Planning: IDP) โดยไทยเบฟใช้หลักการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในรูปแบบ 70:20:10

70% คือการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เช่น การรับผิดชอบ งานใหม่ๆ การทำงานโครงการพิเศษ การเรียนรู้จากการ ปฏิบัติงานจริง

20% คือการเรียนรู้จากบุคคลอื่น เช่น การโค้ช การสอนงาน โดยผู้เชี่ยวชาญ การเข้าร่วมสมาชิกชมรม การรับฟังข้อคิดเห็น และคำแนะนำจากผู้อื่น การเรียนรู้จากการทำงานของผู้บริหาร

10% คือการเรียนรู้จากการเข้าอบรมอย่างเป็นทางการ เช่น เข้าเรียนตามโปรแกรมฝึกอบรม การเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) หรือเข้าเรียนในโปรแกรมระยะสั้น

หลักการพัฒนาศักยภาพแบบ 70:20:10 นี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว ส่งผลทำให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะ ในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

โครงการพัฒนาบุคลากรของบริษัท ในปี 2560 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  • โปรแกรมด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Competency) สำหรับพนักงานทุกระดับ โดยยึดตามขีดความสามารถผู้นำ 5 ระดับ (5 Levels of Leadership) ดังนี้
    • Responsibility ความรับผิดชอบ
    • Relationships การสร้างความสัมพันธ์
    • Result การสร้างผลลัพธ์
    • Regeneration การส่งต่อความสำเร็จ
    • Respect การเป็นที่ยอมรับนับถือ

  • โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) สำหรับพัฒนาความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่จำเป็นกับพนักงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของพนักงานในด้านที่สำคัญ อาทิ การสื่อสาร (Communication) การร่วมมือ (Collaboration) การสร้างสรรค์ (Creation)

  • โปรแกรมพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน (General Skills) สำหรับพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงานทุกระดับ และทุกสายงาน เช่น ทักษะคอมพิวเตอร์ ทักษะภาษาอังกฤษ

  • การอบรมหลักสูตรตามสายงาน (Functional Competency Development) พนักงานในแต่ละธุรกิจและหน่วยงานสามารถรับการอบรมหลักสูตร Functional Competency เพื่อเรียนรู้เฉพาะทางในบริบทที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานและธุรกิจของตนเอง

นอกจากนี้ บริษัทยังจัดการอบรมจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจให้พนักงานทุกคน ตลอดจนสื่อสารเกี่ยวกับนโยบายองค์กรผ่านการอบรมแบบออนไลน์

บริษัทไทยเบฟประยุกต์ใช้แนวทางการวัดประสิทธิผลการเรียนรู้จากการอบรมพนักงานของเคิร์ก แพทริก (Kirk Patrick Model) โดยวัด ความพึงพอใจของพนักงานและวัดการเรียนรู้ในหลักสูตร เพื่อนำไปพัฒนาโครงการอบรมอื่นๆ ในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทยังวัดผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากการที่พนักงานนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งในปี 2560 พบว่าพนักงานสามารถสร้างผลตอบแทนรวมจากการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ ไปก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่บริษัทหลายด้าน ดังนี้

ในปี
2560
ไทยเบฟใช้งบประมาณกว่า

178
ล้านบาท
ในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน


ในปี
2560

จำนวนชั่วโมงอบรมเฉลี่ย ของพนักงานเท่ากับ

18
ชั่วโมงต่อคนต่อปี


โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำสำหรับพนักงานที่มีศักยภาพโดดเด่น (Leadership Development Program)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้นำที่มีความพร้อมและความรอบรู้ทางธุรกิจในระดับสากล (Global Business Acumen) และส่งเสริม การพัฒนาทัศนคติและพฤติกรรม (Mindset and Behavior Development) โดยมีแผนในการปลูกฝังภาวะผู้นำขององค์กร 5 ระดับ สำหรับพนักงานระดับอาวุโสขึ้นไป ซึ่งในปี 2560 มีพนักงานที่มีศักยภาพโดดเด่นรวมทั้งสิ้น 124 คน เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้นำผ่านการเรียนรู้ในหลักสูตรต่างๆ ดังนี้


หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับสูง (SENIOR EXECUTIVE DEVELOPMENT PROGRAM: SEDP)
บริษัทไทยเบฟได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS) ภายใต้แนวคิดการพัฒนา ผู้นำไปสู่ระดับโลกหรือที่เรียกว่า ThaiBev - NUS Global Executive Leaders Program “Realizing Vision 2020: Strategies for Sustainable ASEAN Leadership” โดยในปี 2560 มีเป้าหมาย ที่จะพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับสูงจากทุกหน่วยธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ ทั้งในประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมทั้งสิ้น 24 คน ให้มีความพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจระดับภูมิภาคและระดับสากล และสอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ 2020 ของบริษัท โดยจัด การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Action-based Learning) และเน้น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน เพื่อส่งผลต่อการประสานการทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อในอนาคต

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสู่ระดับอาเซียน (Asean Management Development: AMD)
เป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทไทยเบฟและ C asean เพื่อให้ผู้บริหาร ได้เปิดโลกทัศน์ มุมมองการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้ามวัฒนธรรม และเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการรวมกลุ่มผู้บริหารทั้งจากบริษัทไทยเบฟ ในประเทศไทยและมาเลเซียทั้งสิ้น 60 คนได้มาเรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ มุมมองความคิด การทำความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ตลอดจนลงพื้นที่สำรวจตลาด ช่องทางการขาย และความเป็นไปได้ทางธุรกิจในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะใน ประเทศกัมพูชา เมียนมา ลาว และเวียดนาม พร้อมกับนำเสนอโครงการที่จะสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจในตลาดอาเซียน ให้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับบังคับบัญชา (Management Development Program: MDP)
เป็นความร่วมมือกับสถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2558-2560 ซึ่งในปี 2560 มีพนักงานระดับผู้บริหารระดับกลางเข้าร่วมหลักสูตร ทั้งสิ้น 40 คน โดยมีวัตถุประสงค์ให้พนักงานเข้าใจหลักการบริหาร ทักษะความเป็นผู้นำ เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวไปสู่การเป็นผู้นำ ระดับสูงที่มีศักยภาพ พนักงานจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้น การปฏิบัติจริง (Action-learning Project) และนำเสนอโครงการ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ต่อคณะผู้บริหารระดับสูง ตลอดจน คณาจารย์ที่มาร่วมรับฟังการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะ พร้อมสำหรับการนำไปปฏิบัติจริง

ทุกหลักสูตรจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสารและการสร้าง เครือข่ายการทำงานร่วมกัน (Communication and Collaboration) ภายในกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานที่มาจากหลากหลายหน่วยงานและต่างพื้นที่ทั้งในและนอกประเทศไทย พร้อมทั้งให้ ความสำคัญกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creation) หรือเปิดมุมมองความคิดให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อตอบสนอง ให้ทันต่อการเติบโตขององค์กรในอนาคต

คุณค่าที่องค์กรได้รับจากการพัฒนาบุคลากร
บริษัทไทยเบฟติดตามและวัดผลตอบแทนจากโครงการอบรม เพื่อวัดประสิทธิผลที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยในปี 2560 บริษัทขยาย การประยุกต์ใช้โครงการ 4DX ที่ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2558 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ให้ครอบคลุมทุกส่วนงานของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด (TBL) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทย่อยของไทยเบฟ ทั้งในส่วนของพนักงาน ในกลุ่มปฏิบัติการและกลุ่มสนับสนุนปฏิบัติการ รวมกว่า 4,200 คน โดยแนวทางการอบรม จะเป็นทักษะในการโค้ชระหว่างกัน ส่งผลให้หัวหน้างานสามารถถ่ายทอดและเสริมสร้างความสามารถ ของพนักงานในระดับปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงาน ให้คำนึงถึงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและกระบวนการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2560 พบว่าโครงการ 4DX ช่วยลดต้นทุนการผลิต ได้กว่า 23.1 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนโครงการอบรมพัฒนาระบบการบำรุงรักษา แบบ Total Productive Maintenance (TPM) ซึ่งร่วมกับสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้ร่วมกันระหว่างพนักงานจากกลุ่มโรงงานสุราโดยหมุนเวียนกันนำเสนอผลงานในการลดความสูญเสีย ด้านพลังงาน ลดต้นทุนด้านวัตถุดิบและลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากร ต่อยอดการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิผลด้านการผลิตอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ช่วยประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์ ได้กว่า 52 ล้านบาท ในปี 2560

การโค้ชและการแนะนำด้วยประสบการณ์ (Coaching and Mentoring)
บริษัทไทยเบฟจัดอบรมพนักงานระดับผู้บริหารระดับสูงด้วยหลักสูตร Coaching & Technique for Breakthrough Results (CTBR) ร่วมกับ Institute of Training and Development (ITD World) โดยมี Dr. Peter Chee กูรูด้านการโค้ช (Coaching) อันดับที่ 1 ของเอเชียและ อันดับ 6 ของโลกเป็นผู้สอน เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจในความสำคัญของการโค้ช ที่มุ่งเน้น ให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบผ่านการสร้างแรงบันดาลใจ โดยหน้าที่ของโค้ชคือให้ความเชื่อมั่น ในศักยภาพของทีมงานและให้คำแนะนำที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยใน ปี 2560 มีพนักงานระดับผู้บริหารระดับสูงจำนวน 5 คน สามารถผ่านการเป็น Master Coach และ Train The Trainer เพื่อสร้างโค้ชที่ผ่านการรับรองให้เป็นโค้ชภายในองค์กร และผ่านการอบรม โดย Dr. Peter Chee เพื่อเป็นโค้ชที่ผ่านการรับรองโดยสถาบัน ITD World และปัจจุบันมีพนักงาน ได้รับการอบรมหลักสูตรนี้จำนวน 550 คน จากการสนับสนุนให้พนักงานเป็นวิทยากรภายใน สำหรับการโค้ชช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างวิทยากรภายนอก กว่า 8.8 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่าง การสื่อสารและอบรมให้หัวหน้างานเพื่อนำสิ่งที่ตนได้เรียนรู้จากหลักสูตรการโค้ชมาถ่ายทอด ให้กับพนักงานที่อยู่ภายใต้การดูแล โดยจะตั้งให้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดผลการดำเนินงานอีกด้วย

การสร้างวัฒนธรรมการ Coaching ให้กับพนักงาน
ไทยเบฟเริ่มจัดตั้ง Coaching Club ในปี 2560 เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ที่ผ่านหลักสูตร CTBR ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความสำเร็จ จากการประยุกต์ใช้แนวทางการโค้ชไปต่อยอดในการทำงานและส่งเสริม ซึ่งกันและกัน โดยมีพนักงานที่ผ่านหลักสูตรการรับรองให้เป็นโค้ช มาเป็นวิทยากรร่วมแบ่งปันและสร้างวัฒนธรรมการโค้ชให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ บริษัทยังได้เชิญ Dr. Marshall Goldsmith โค้ชผู้บริหาร อันดับ 1 ของโลก และวิทยากรชั้นนำในระดับสากลด้านการโค้ช มาให้ความรู้และบรรยายให้กับพนักงาน โดยมีพนักงานที่ได้ผ่านการ อบรมจำนวน 890 คน

โครงการความร่วมมือระหว่างไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก (TBL) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากความสำเร็จในการร่วมมือจัดหลักสูตรอบรมด้านการขนส่ง ในปี 2558 และส่งผลให้เกิดการพัฒนากระบวนการทำงาน อย่างต่อเนื่องและช่วยลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 32.7 ล้านบาท บริษัทไทยเบฟได้สานต่อความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2559 จัดหลักสูตรการอบรมด้านการขนส่ง โดยจัดเป็นโครงการ ขนาดเล็กจำนวน 27 โครงการ มีพนักงานระดับปฏิบัติการร่วมโครงการจำนวนกว่า 3,600 คน ปฏิบัติการอยู่ที่ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานีและลำปาง ซึ่งช่วยปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งใน การใช้เชื้อเพลิงในการขนส่ง พื้นที่จัดเก็บสินค้าและการเช่าพาเลท ที่ใช้ในการขนส่ง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 11 ล้านบาท ระหว่าง ปี 2560 โดยพนักงานจะแบ่งปันความรู้และแผนงานที่ประยุกต์ใช้แล้วเกิดประโยชน์จริงเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่ปฏิบัติการอื่นๆ


คุณกวิณศักย์ เกษรทอง
(ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร จัดการลูกค้า กลุ่มธุรกิจช่องทางการขาย)
เข้าร่วมหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสู่ระดับอาเซียน (Asean Management Development: AMD) “หลักสูตรนี้เปิดโลกทัศน์ให้ผมได้ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงหลักการและแนวคิดที่จำเป็นต่อการเป็นนักบริหารที่ดีเพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวทั้งหมดมาพัฒนาต่อยอดหาโอกาสในการดำเนินธุรกิจขององค์กรในตลาดอาเซียนนอกจากนั้นยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของแต่ละคนทั้งในชั้นเรียนและการทำงานเป็นกลุ่ม จนทำให้เราพัฒนาทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือทักษะการจัดการภายใต้บุคลากรที่จำกัด”

คุณวิภาพร วงสัมพันธ์เวช
(รองผู้จัดการงานโปรแกรมระบบ สำนักสารสนเทศ)
ได้รับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาการบริหารจัดการ (MBA) ที่ Australian National University ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2558“ยุคนี้เป็นยุคดิจิทัลซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงาน ค่อนข้างมาก จึงตั้งใจจะนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับ จากการไปศึกษาต่อเข้ามาช่วยพัฒนาในส่วนงานของไอที เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรต่อไป”
ยุทธศาสตร์ที่ 5: การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและบุคลากรเชิงรุก (Proactive Succession and Workforce Planning)
เพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งแทนพนักงานระดับผู้บริหารระดับสูงที่ใกล้เกษียณ บริษัทไทยเบฟวางแผน การสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) เพื่อสานต่อการปฏิบัติตามพันธกิจและคำมั่นสัญญาของบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า และสังคม และรักษาวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดี โดยจัดทำแผนทดแทนตำแหน่งงาน ซึ่งประกอบไปด้วย

  • การกำหนดตำแหน่งงานหลัก (Key Position)
  • หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกที่กำหนดคุณลักษณะของผู้นำที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานหลัก
  • การประเมินความพร้อมของผู้บริหารที่ได้รับการพิจารณาเพื่อทดแทนตำแหน่งงานและ
  • การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ แผนทดแทนตำแหน่งงาน ไม่เพียงแต่พิจารณาตามความจำเป็นขององค์กรในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงความต้องการ เพื่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคตด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 6: การสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพและดูแลพนักงานใหม่ (Talent Acquisition and Onboarding)
การสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพและมีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาวและเดินหน้า สู่การเป็นองค์กรดีเด่นในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2563 บริษัทไทยเบฟ ได้ประยุกต์ใช้ช่องทางที่หลากหลายในการสรรหาพนักงาน ตัวอย่าง เช่นจัดกิจกรรม Job Fair ตามหน่วยงานราชการและมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง ในปี 2560

นอกจากนี้ บริษัทได้ทำการทบทวนกระบวนการจ้างงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีความสามารถและประสบการณ์ตรงตามที่บริษัท ต้องการในระยะเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังอบรมพนักงานผู้ทำหน้าที่ สัมภาษณ์ให้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้สัมภาษณ์ ขณะเดียวกันบริษัทยังส่งเสริมให้พนักงานภายใน องค์กรแนะนำผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงตามตำแหน่งที่รับสมัครภายใต้ โครงการ “เพื่อน ชวน เพื่อน”โดยผู้สมัครต้องผ่านกระบวนการสรรหาของบริษัทตามระบบและโปร่งใส โดยพนักงานที่เป็นผู้แนะนำ จะได้รับผลตอบแทนก็ต่อเมื่อผู้สมัครซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นพนักงาน ต้องได้รับการบรรจุและทำงานกับบริษัทครบ 6 เดือน ทั้งนี้ ในปี 2560 มีพนักงานใหม่ที่ผ่านการแนะนำโดยพนักงานของบริษัทไทยเบฟจำนวน 306 คน คิดเป็นร้อยละ 6.7 ของพนักงานใหม่ทั้งหมด ในกลุ่มไทยเบฟ

บริษัทยังเปิดช่องทางให้พนักงานสามารถสมัครตำแหน่งงานที่เปิดรับ ภายในผ่านระบบ Internal Job Posting เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน มีส่วนร่วมในการบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเองและ พัฒนาศักยภาพในด้านอื่นๆ ที่ตนสนใจ ซึ่งในปี 2560 มีพนักงาน ของบริษัทได้รับการบรรจุตำแหน่งภายในกว่าร้อยละ 15 ของตำแหน่ง ที่ว่างอยู่ทั้งหมด
ยุทธศาสตร์ที่ 7: การส่งเสริมวัฒนธรรมที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร (Engaging Corporate Culture)
บริษัทไทยเบฟสำรวจความผูกพันของพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มใช้วิธีการวัดผลตามแนวทางของ Aon Hewitt ตั้งแต่ ปี 2559 เพื่อวัดปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ใน 6 ด้าน ได้แก่ แนวทางการดำเนินงานของบริษัท สวัสดิการเบื้องต้น บริบทของงาน ความเป็นผู้นำ ผลการดำเนินงานด้านการบริหาร จัดการบุคลากร และชื่อเสียงและภาพลักษณ์องค์กร ซึ่งในปี 2560 ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงานสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ บริษัทได้นำผลสำรวจไปวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการบุคลากรให้มี ประสิทธิภาพและช่วยเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร มากขึ้น โดยบริษัทตั้งเป้าหมายความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เท่ากับร้อยละ 80 ในปี 2563

นอกจากนี้ผู้บริหารของบริษัทได้ร่วมวิเคราะห์ความสำคัญในการปรับปรุง การดำเนินงานเพื่อเพิ่มระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร โดยเน้นปัจจัยหลักๆ ได้แก่ สวัสดิการของพนักงาน สภาพความเป็นอยู่ที่ดี ของพนักงานในสถานที่ทำงาน ค่าตอบแทนของพนักงาน บทบาทหน้าที่ ในองค์กร และการชื่นชมผลการดำเนินงานของพนักงาน

ในขณะเดียวกัน บริษัทได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน เช่น การสื่อสารผ่านนิตยสารรายเดือนของบริษัท โดยผู้บริหารระดับสูงเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของบุคลากร หรือกิจกรรม ในโอกาสสำคัญต่างๆ อีกทั้งยังให้ความใส่ใจกับพนักงานอาวุโส ผู้ทรงคุณค่าอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหลักสูตร Mentor Training ติดต่อกัน เป็นปีที่ 2 เพื่อให้พนักงานอาวุโสได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ไปยังพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความใฝ่รู้และกระตือรือร้น และเพื่อรักษา องค์ความรู้ให้อยู่คู่กับองค์กรต่อไป นอกจากนี้ บริษัทยังเปิดโอกาส ให้พนักงานที่เกษียณอายุสามารถร่วมงานกับบริษัทต่อไปเพื่อเป็น ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำและแนวทางการดำเนินงาน เป็นการส่งต่อ ความรู้และประสบการณ์การทำงานของพนักงานจากรุ่นสู่รุ่น บริษัท ยังให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัวของพนักงานมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น กิจกรรมคิดส์เดย์ ตามภูมิภาคต่างๆ เพื่อสร้างสัมพันธ์ให้กับพนักงานและบุตร โดยจัดให้มีการฟังเทศน์จากพระสงฆ์ในตอนเช้า และไปทัศนศึกษา ตามสถานที่ท่องเที่ยวในตอนบ่าย

นอกจากนั้นบริษัทยังมอบทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานมานาน ถึง 8 ปี โดยในปี 2560 บริษัทได้ให้ทุนการศึกษาจำนวนทั้งหมด 1,123 ทุน คิดเป็น 6.9 ล้านบาท ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ให้ทุนการศึกษาจำนวน 8,169 ทุน รวมเป็นเงิน 50,538,000 บาท

เพื่อส่งเสริมความผูกพันในองค์กร บริษัทจัดให้มีชมรมกว่า 10 ชมรม เปิดโอกาสให้พนักงานร่วมกันทำกิจกรรมตามความถนัดและความสนใจ ในช่วงว่างจากการทำงาน เช่น ชมรมรักษ์สุขภาพ ชมรมจักรยาน ชมรมถ่ายภาพ ชมรมโบว์ลิ่ง ชมรมฟุตบอล อีกทั้งยังสนับสนุน ให้พนักงานสามารถใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายและฟิตเนส โดยปัจจุบัน บริษัทมีฟิตเนส 9 แห่ง และสนามกีฬาประเภทต่างๆ กว่า 73 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทยังใส่ใจในการเสริมสร้างสุขภาพจิต ที่ดีให้กับพนักงาน โดยให้ความรู้กับพนักงานในการบริหารจัดการ ความเครียด ผ่านทางนิตยสารภายในองค์กร เว็บไซต์ภายใน รวมทั้ง จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อความสมดุลของชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว


จำนวนพนักงานที่เข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของไทยเบฟเพิ่มขึ้น
6.7%
ในปี 2560 เทียบกับปี 2559
สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน
บริษัทไทยเบฟปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพและไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยเงื่อนไขอื่นใดอย่างสิ้นเชิง โดยมุ่งปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิ มนุษยชนที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2559 และหลีกเลี่ยง การละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ รวมถึงไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงาน ที่มีความแตกต่างทางเพศ ศาสนา หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าว ครอบคลุมทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง

ในปี 2560 บริษัทได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยพิจารณา ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของบริษัท ใน 4 ด้านของห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ คือ การจัดซื้อจัดหา การผลิต การกระจายสินค้า รวมถึงการตลาดและการขายให้ครอบคลุม คนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานข้ามชาติ แรงงานบังคับ ชุมชนท้องถิ่น และคนพิการ

บริษัทได้ออกแบบเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับกลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มในระดับปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบกิจกรรม ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในทุกกระบวนการในธุรกิจของบริษัท เช่น กระบวนการผลิต กระบวนการขาย กระบวนการจัดซื้อ



ผลการประเมินพบว่า สถานการณ์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นใน 4 ด้านของห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ มีดังนี้
    li>การผลิต เช่น ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยของพนักงาน จากการบาดเจ็บขณะปฏิบัติงาน หรือสุขภาพของชุมชนจากกลิ่น ที่เกิดจากกระบวนการกลั่นแอลกอฮอล์
  • การจัดซื้อจัดหา เช่น ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยของผู้รับเหมา
  • การกระจายสินค้า เช่น ความเสี่ยงด้านการใช้แรงงานเด็กของ กลุ่มผู้กระจายสินค้าที่เป็นของคู่ค้าของบริษัทไทยเบฟ หรือ ความปลอดภัยในการจราจรของชุมชนจากการขนส่งของบริษัท
  • การขายและการตลาด เช่น ความเสี่ยงที่ร้านค้าตามชุมชน จำหน่ายสุราให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งบริษัท จัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขความเสี่ยงในประเด็นที่กล่าวมา ข้างต้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานและโอกาส ที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานทุกคน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีความสามารถได้เติบโตภายในองค์กรโดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติทั้งทางด้านเพศ ศาสนา ความเชื่อ และปัจจัยอื่นๆ ทุกประการ บริษัทไทยเบฟส่งเสริมความเท่าเทียมกันของพนักงาน โดยมีพนักงาน เพศหญิงอยู่ในกลุ่มผู้สืบทอดตำแหน่งในตำแหน่งงานหลัก คิดเป็น ร้อยละ 32

บริษัทไทยเบฟปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการ ในทุกบริษัทในเครือของไทยเบฟ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนพนักงานและผู้บริหารในนามตัวแทนบริษัท ร่วมหารือประเด็นด้านสวัสดิการและสิทธิแรงงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างบริษัทกับพนักงาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจในการทํางาน นอกจากนี้บริษัท ยังอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการสวัสดิการ เพื่อให้เข้าใจบทบาท และกระบวนการสื่อสารโดยปรึกษาหารือและเสนอแนะความคิดเห็น ร่วมกันอย่างสันติ

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560