หน้าแรก / รายงานการพํฒนาที่ยั่งยืน 2560 / ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่คุณค่า การจัดการของเสีย และการใช้ประโยชน์จากของเสีย
GRI 103-1, GRI 103-2, GRI 306-2

“ ไทยเบฟมุ่งมั่นบริหารจัดการของเสีย อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในกรอบ ของกฎหมายอย่างเคร่งครัด 43% ลดอัตราส่วนของเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557 ”


เป้าหมายปี 2563
80%
ของบรรจุภัณฑ์หลักมาจากการใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่และการเก็บกลับคืน
การป้องกันการเกิดของเสียคือการบริหารจัดการของเสียที่ดีที่สุด ด้วยแนวคิดนี้ไทยเบฟจึงคำนึงถึงเรื่องการเลือกสรรและใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงกระบวนการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์หลังการบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการสรรสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหาร บริษัทไทยเบฟใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติโดยผ่านขั้นตอนต่างๆ อย่างประณีตเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งกระบวนการแปรรูปเหล่านี้อาจทำให้เกิดของเสียที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ บริษัทจึงมุ่งมั่นให้มีการบริหารจัดการของเสียให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้วิธีบำบัดหรือกำจัดของเสียตามมาตรฐานสากลและถูกต้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย บริษัทไทยเบฟนำหลักการ “เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ” มาใช้ในการดำเนินงาน ดังนี้


การออกแบบและการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค
การป้องกันการเกิดของเสียคือการบริหารจัดการของเสียที่ดีที่สุด ด้วยแนวคิดนี้บริษัทไทยเบฟจึงคำนึงถึงเรื่องการเลือกสรรและใช้ทรัพยากร ในกระบวนการผลิตตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์หลังการบริโภค เช่น ออกแบบขวดน้ำดื่มให้ใช้ ปริมาณพลาสติกลดลง นำขวดแก้วและไส้กล่องหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในการผลิตเครื่องดื่ม ฯลฯ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการบรรลุ วัตถุประสงค์ดังกล่าว บริษัทได้มีการตั้งเป้าหมายด้านบรรจุภัณฑ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผลสำเร็จปี 2560
บริษัทสามารถลดการใช้ทรัพยากรในบรรจุภัณฑ์หลักได้ทั้งสิ้น 831,124 ตัน


พลาสติก
1,610
ตัน

แก้ว
797,485
ตัน

กระดาษ
32,029
ตัน


การส่งเสริมและพัฒนาให้พนักงานมีส่วนร่วมในการลดของเสีย
บริษัทไทยเบฟนำ “เครื่องมือการบริหารคุณภาพแบบทุกคนมีส่วนร่วม ” (Total Quality Management: TQM) และ “เครื่องมือการบำรุงรักษา ทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ” (Total Productive Maintenance: TPM) มาใช้เป็นหลักในกระบวนการผลิต ซึ่งนอกจากจะเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนในการผลิต และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอีกด้วย

จากการที่ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับรางวัล “TPM Excellence, Category A” จากงาน TPM Award 2016 จัดโดย Japan Institute of Plant Maintenance (JIPM) โดยยึด 8 เสาหลักของ TPM ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตจากการใช้ เครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา การบำรุงรักษาที่ดี การให้การศึกษา และการฝึกอบรม ฯลฯ ส่งผลให้ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ลดลงและใช้ทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพ ถือเป็นการรับรองถึงคุณภาพ ในการบริหารจัดการของเสียของบริษัทไทยเบฟได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างการส่งเสริมพนักงานให้มีส่วนร่วมในการลดของเสียของกลุ่มธุรกิจอาหาร
การบริหารจัดการของเสียที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย บริษัทโออิชิซึ่งเป็นธุรกิจอาหารของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ ได้ส่งเสริมให้ พนักงานมีส่วนร่วมในการลดของเสีย โดยพนักงานช่วยกันหาวิธีการ ใช้ชิ้นส่วนของปลาแซลมอนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนำมาพัฒนาให้เป็น อาหารให้มากที่สุดเพื่อลดปริมาณของขยะอาหาร ผลที่ได้คือ สามารถ ออกแบบอาหารที่ทำจากปลาแซลมอนได้หลากหลายถึง 12 เมนู โดยใช้ทุกส่วนของปลาแซลมอนอย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นซูชิ ซาชิมิ เทมากิ เทปปันยากิ และหนังปลาแซลมอนทอดกรอบ ฯลฯ นอกจาก ช่วยลดปริมาณของขยะอาหารแล้ว ยังสร้างความหลากหลายของ อาหารเพื่อดึงดูดผู้บริโภคอีกด้วย แม้แต่ส่วนก้างปลาแซลมอน บริษัทก็ยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของซุปเพื่อลดขยะอาหารเช่นกัน

การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของของเสีย
บริษัทไทยเบฟมองเห็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของของเสียหรือ “ผลผลิตพลอยได้” (By-Product) ที่สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในภาค เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ สร้างคุณค่าด้านธุรกิจ สังคมและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับ ทั้งภาครัฐและมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กากข้าวมอลต์ กากส่าธัญพืช จากการผลิต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการจะถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ หรือจะเป็นกากตะกอนส่าและน้ำกากส่า ที่ผ่านการหมักจากกระบวนการผลิตสุราสามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดินในการปลูกพืช เช่น อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งสุดท้ายก็จะหมุนเวียนไปเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของการผลิตตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นการสนับสนุนเกษตรกร ในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในภาคเกษตรกรรมอีกด้วย

บริษัทไทยเบฟได้ร่วมวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องกับทั้งภาครัฐและมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ในการนำผลผลิตพลอยได้จากการผลิต มาสร้างประโยชน์สูงสุด ซึ่งงานวิจัยล่าสุดคือ “โครงการผลิตหินมวลเบาสังเคราะห์” เป็นการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) ร่วมกับสวทช. (NSTDA)

หินมวลเบาสังเคราะห์ เป็นวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ที่เกิดจากกระบวนการเผาวัตถุดิบที่ได้จากของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้คุณสมบัติความแข็งแรงเทียบเท่าเม็ดเซรามิกที่มีรูพรุนภายในเป็นจำนวนมาก (> 70 % air pores) เป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปใช้ในการผสมคอนกรีตที่ใช้ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างผลิตเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูป (Paving) อิฐบล็อกมวลเบา (Lightweight block) และผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast concrete) ซึ่งมีคุณสมบัติความแข็งแรง ความหนาแน่นต่ำ จึงมีน้ำหนักเบา เป็นทั้งฉนวนความร้อนและความเย็น รวมทั้งสามารถดูดซับเสียงได้ดี คาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตหินมวลเบาสังเคราะห์ ออกจำหน่ายได้ในเดือนเมษายน 2561


การพัฒนาของเสียสู่พลังงาน


บริษัทไทยเบฟดำเนินการวิจัยและพัฒนาโดยนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาสร้างมูลค่าและนำไปผลิตพลังงาน (Waste-to-Energy) อย่างต่อเนื่อง เช่น นำน้ำกากส่าซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตสุราและน้ำเสียจากการผลิตเบียร์มาผลิตก๊าซชีวภาพ หรือผลิต เชื้อเพลิงชีวมวลในรูปน้ำกากส่าเข้มข้นเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงน้ำมันเตาในการผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในการผลิต บริษัทสามารถนำของเสียไปใช้เป็น เชื้อเพลิงทดแทนการใช้น้ำมันเตาได้ถึง 24.84 ล้านลิตร หรือคิดเป็นเงิน 278 ล้านบาทในปี พ.ศ.2560 จากการดำเนินการดังกล่าวเป็นการ สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ลดการปลดปล่อยมลพิษ และลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้บริษัทมีโครงการ ก่อตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำกากส่าซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตสุรามาพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลใช้ในการผลิตไฟฟ้า เป็นการนำของเสีย ที่เกิดขึ้นมาสร้างพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ


การจัดการของเสียอย่างมีความรับผิดชอบ
แม้จะมีมาตรการป้องกันการเกิดของเสียเพื่อลดการนำขยะไปฝังกลบให้น้อยที่สุด แต่ไม่อาจเลี่ยงของเสียที่เกิดจากการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ ดังนั้นการบำบัดหรือกำจัดของเสียอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมายจึงถือเป็นระเบียบปฏิบัติของบริษัท ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบกับชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม

จากการบริหารจัดการของเสียในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ในปี 2560 บริษัทมีปริมาณของเสียรวมทั้งสิ้น 63,681 ตัน ซึ่งอัตราส่วนของเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (กิโลกรัมต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์) ลดลงกว่าร้อยละ 43 เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้




หน่วย : กิโลกรัมต่อเฮกโตลิตรผลิตภัณฑ์


14%
ลดอัตรส่วนของเสียอันตรายต่อหน่วยผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

31%
ลดอัตรส่วนของเสียทั่วไปต่อหน่วยผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560