หน้าแรก / รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560 / แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟ เกี่ยวกับไทยเบฟ
GRI 102-2 TO 9, GRI 201-1


“ วิสัยทัศน์ขององค์กร คือ การเป็นกลุ่มบริษัทไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่มครบวงจรในระดับโลก โดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศทางพาณิชย์ ความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และความเป็นมืออาชีพ ”

วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ขององค์กร คือ การเป็นกลุ่มบริษัทไทย ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่มครบวงจรในระดับโลก โดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศทางพาณิชย์ ความต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และความเป็นมืออาชีพ

พันธกิจ
พันธกิจของเรา คือ การประสาน “สัมพันธภาพ”กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีความสำคัญกับบริษัทในทุกๆ ด้าน โดยมอบคุณค่าที่สำคัญ 6 ประการ


  • มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้ลูกค้าทุกกลุ่ม
  • ตอบสนองความต้องการของผู้แทนจำหน่ายโดยให้บริการ อย่างมืออาชีพ
  • ให้ความสำคัญเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยการเติบโตของรายได้และผลกำไรที่มั่นคงและต่อเนื่อง
  • เป็นแบบอย่างในด้านความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล
  • มอบความไว้วางใจ อำนาจและรางวัลแก่พนักงาน เพื่อสร้างความรับผิดชอบ
  • สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม

กลยุทธ์

  • การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความหลากหลายของตลาดและผลิตภัณฑ์
  • ตราสินค้าที่โดนใจ
  • การขายและการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่ง
  • ความเป็นมืออาชีพ

ไทยเบฟก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อ รวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนำของไทยที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“SGX”) ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดกว่า 16,740 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2560) ภายหลังจากจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจจากเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร เพื่อเพิ่ม ความหลากหลายของสินค้า เพิ่มประสิทธิผลในช่องทางการกระจายสินค้า รวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ

ปัจจุบัน ไทยเบฟ ไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนำในประเทศไทย แต่ยังเป็น ผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจ ออกเป็น 4 สาย ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร

สินค้าและบริการ
ปัจจุบันบริษัทในกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2560) มีทั้งสิ้น 138 บริษัท ดังต่อไปนี้

  • บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทในประเทศไทย 93 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทย่อย 92 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย 1 บริษัท คือ บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จำกัด

  • บริษัทในต่างประเทศ 44 บริษัท (แบ่งเป็นบริษัทย่อย 41 บริษัท และบริษัทซึ่งเป็นบริษัทร่วมของบริษัทย่อย 3 บริษัท คือ Liquorland Limited, Fraser and Neave, Limited* และ Frasers Centrepoint Limited*

  • โรงงานผลิตสุรา 18 แห่ง โรงงานผลิตเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อีก 12 แห่ง อีกทั้งยังมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ครอบคลุมกว่า 400,000 จุด ทั่วประเทศไทย โดยมีผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง ดังนี้

    • กลุ่มสุรา ได้แก่ รวงข้าว แสงโสม แม่โขง หงส์ทอง และเบลนด์ 285

    • Bกลุ่มเบียร์ คือ เบียร์ช้างเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ได้รับ การยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มนักดื่มเบียร์ชาวไทย

    • กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย ชาเขียวโออิชิ เครื่องดื่มอัดลมเอส 100 พลัส น้ำดื่มคริสตัล และโซดาร็อคเมาเท็น

    • กลุ่มอาหาร ประกอบไปด้วย ร้านอาหารที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจดังนี้ Oishi Grand, Oishi Eaterium, Oishi Buffet, Shabushi, Oishi Ramen, Nikuya, Kakashi, Hyde & Seek, Man Fu Yuan, MX Cake & bakery, SO asean, Food Street


  • บริษัทไทยเบฟจำหน่ายสินค้าครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก และมีโรงงานกลั่นสุรา 5 แห่งในประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเป็น แหล่งผลิตที่มีชื่อเสียงในการผลิตเหล้าวิสกี้ชั้นนำระดับโลก อย่าง Balblair, Old Pulteney และ Speyburn นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตสุราอีก 1 แห่งในประเทศจีนได้แก่ Yulinquan
หมายเหตุ * โดยไม่มีบันทึกบริษัทอื่นในกลุ่ม Fraser and Neave, Limited และ Frasers Centrepoint Limited ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้อง
ยอดขาย
189,997 ล้านบาท

กำไร
34,681 ล้านบาท

จำนวนพนักงาน
41,367 คน

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
0.47 เท่า

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
27.07%

“ 18 ปีที่ผ่านมา ไทยเบฟมอบผ้าห่ม 3,600,000 ผืน เข้าถึงชุมชน 578 อำเภอ 45 จังหวัด 10 ปีที่ผ่านมา ไทยเบฟสนับสนุนเยาวชนด้านกีฬา จำนวนกว่า 500,000 คน ไทยเบฟมีโครงการที่สร้างสรรค์พัฒนาสังคม 100% หรือ ครอบคลุม 77 จังหวัดของประเทศไทย



11%
อัตราส่วนการใช้พลังงานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

5%
อัตราส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

14%
อัตราส่วนการใช้บาดาลต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

43%
Rอัตราส่วนของเสียต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลดลง
เปรียบเทียบกับปีฐาน 2557

รายงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560