หน้าแรก / สังคม
การสร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด
ไทยเบฟเชื่อมั่นว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จจะทำงานร่วมกับพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้และการเติบโต ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตัวพนักงานเอง และองค์กรด้วยการมอบโอกาสให้พนักงานทั้งด้านการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และการเติบโต จะช่วยให้ไทยเบฟขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง ไทยเบฟยึดมั่นที่จะมอบโอกาสให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมในการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ
ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการมอบโอกาสไร้ขีดจำกัดให้พนักงานเป็นลำดับแรก และมุ่งมั่นในการนำความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ กำหนดแนวทางและนโยบายการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานด้วยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของตนเองและมีโอกาสเท่าเทียมในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เติบโตตามสายอาชีพได้
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 1:
โครงสร้างและบทบาท ที่ชัดเจน
  • ปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของงานแต่ละตำแหน่ง เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจและ PASSION 2025
  • ขยายและพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางอาชีพในกลุ่มงานให้สอดคล้อง กับการออกแบบโครงสร้างและบทบาทการบริหารของไทยเบฟ

ยุทธศาสตร์ที่ 2:
ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ที่แข่งขันได้กับตลาด
  • บริหารและวิเคราะห์ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสวัสดิการ เพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ที่เหมาะสมในทุกบริษัทของกลุ่มไทยเบฟ โดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและความต้องการของบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 3:
การบริหาร ผลการดำเนินงาน ที่โดดเด่น
  • พัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างครอบคลุม ขยายช่องทางการเข้าใช้งาน เพื่อตอบโจทย์บุคลากรในทุกช่วงอายุ
  • การประเมินผลอย่างเป็นธรรม รวมถึงการวางแผนพัฒนาทักษะเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4:
การพัฒนาบุคลากร แบบองค์รวม
  • ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ผ่านการ เรียนรู้ในรูปแบบ 70:20:10 รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่ บุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการใช้แผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากร

ยุทธศาสตร์ที่ 5:
การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและบุคลากรเชิงรุก
  • ยกระดับการเตรียมพร้อมของบุคลากรและผู้บริหารในการสืบทอดตำแหน่งให้มีความพร้อมและความสามารถ เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการเปลี่ยนถ่าย อย่างราบรื่นและมีความต่อเนื่องทางธุรกิจ เสริมสร้างความยั่งยืนขององค์กร

ยุทธศาสตร์ที่ 6:
การสรรหาบุคลากร ที่มีศักยภาพ และ การดูแลบุคลากรใหม่
  • สรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสม ในการทำงานในตำแหน่งตามที่องค์กรต้องการ รวมถึงดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีความคล่องตัวและมีความสามารถในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ได้เป็นอย่างดี

ยุทธศาสตร์ที่ 7:
การส่งเสริมวัฒนธรรม ที่สร้างความผูกพัน ต่อองค์กร
  • สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวผ่านค่านิยมของกลุ่มไทยเบฟ รวมถึง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างต่อเนื่องให้เกิดพฤติกรรม ที่เหมาะสมตามค่านิยมองค์กร

โปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากร (People Analytics)
ไทยเบฟได้นำโปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากรมาใช้ช่วยในการวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ช่วยในการจัดทำการวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ ค้นหาช่องว่างทางทักษะ การสรรหาและว่าจ้าง ประเด็นความเสี่ยงในการลาออกของพนักงาน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการวิเคราะห์เครือข่ายองค์กร มีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมในการวางแผนและการตัดสินใจเพื่อให้ธุรกิจเติบโต
การพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม (Holistic People Development)
เพื่อการสนับสนุนธุรกิจและการเติบโตในสายอาชีพของบุคลากรอย่างยั่งยืน จึงมีการสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ โมเดลสมรรถนะ (Competency Model) เส้นทางอาชีพ (Career Path) และหลักสูตรฝึกอบรมในสายอาชีพ (Career-Based Training Program) ในการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้นั้น ไทยเบฟได้นำโมเดลเคิร์กแพททริก (Kirkpatrick) มาใช้ และได้เพิ่มวัตถุประสงค์อีกหนึ่งระดับที่นอกเหนือจากผลลัพธ์ทางธุรกิจ ซึ่งก็คือการเติบโตในสายอาชีพ

เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไทยเบฟส่งเสริมวัฒนธรรมที่ให้พนักงานพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องผ่านแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จคือการประสานงานร่วมกันระหว่างพนักงาน ผู้จัดการตามสายงาน และทีมทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital) ที่มีส่วนร่วมในการฝึกอบรม และการพัฒนาพนักงาน เช่น การโค้ช (Coaching) และการติดตามผล (Follow Up) ไทยเบฟเชื่อว่าการพัฒนาบุคลากรอย่างยั่งยืนเป็นกุญแจสำคัญไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ ขององค์กร และในขณะเดียวกันก็ช่วยเติมเต็มแรงบันดาลใจของพนักงาน
โครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาบุคลากร

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ไทยเบฟมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและสร้างทีมที่แข็งแกร่งด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง ไทยเบฟได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการด้วยรางวัลในระดับนานาชาติ
  • บริษัทที่น่าทำงานที่สุดในเอเชีย 2565 (HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2022)
    เป็นรางวัลที่มอบให้กับบริษัทที่ได้คะแนนจากผลสํารวจ ด้านวัฒนธรรมองค์กร ความผูกพันองค์กรของพนักงาน และแนวทางปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ
  • 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2565 (WorkVenture’s Top 50 Employers)
    ไทยเบฟเริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรุ่นใหม่ในฐานะนายจ้างองค์กรชั้นนำ โดยเป็นบริษัทอันดับ 7 ที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด ซึ่งเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ไทยเบฟอยู่ใน 10 อันดับแรกจากการโหวตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการมอบโอกาสที่ไร้ขีดจํากัดให้กับพนักงานรุ่นใหม่
  • รางวัลความเป็นเลิศทางทรัพยากรมนุษย์ โดย Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์
    • รางวัลยอดเยี่ยมในการรับมือกับโควิด-19 ไทยเบฟได้รับรางวัลเหรียญทองจากการดูแลพนักงาน อย่างดีเยี่ยมในช่วงโควิด-19
    • ความเป็นเลิศด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ไทยเบฟ ได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาที่เป็นเลิศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพนักงาน
    • ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทรัพยากรบุคคล ไทยเบฟได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการพัฒนานวัตกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลผ่านโครงการ “เครื่องมือพัฒนาอาชีพแบบองค์รวมและบูรณาการ”
  • รางวัลนวัตกรรมทรัพยากรบุคคลประเทศไทย (Thailand HR Innovation Award)
    รางวัลนี้จัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (IHPD) สมาคมบริหารงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย (FTPI) และบัณฑิต วิทยาลัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ไทยเบฟได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในสาขาการพัฒนาอาชีพ จากโครงการ “การพัฒนาอาชีพ แบบองค์รวม” (Holistic Career Development Ecosystem)
  • รางวัลองค์กรแห่งความเป็นเลิศประเทศไทย 2565 (Thailand Corporate Excellence Award 2022)
    ไทยเบฟคว้ารางวัลดีเด่น (Distinguished Award) สาขาความเป็นเลิศด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริการธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย