หน้าแรก / ด้านสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
ไทยเบฟฯนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่การออกแบบ เพื่อลดผลกระทบระยะยาวของบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
สาระสำคัญ

เศรษฐกิจหมุนเวียน
นำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์


หลัก 3Rs
Reduce ลดการใช้
Reuse การใช้ซ้ำ
Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่


การสร้างความร่วมมือ
ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อลดปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์
ผลสำเร็จในปี 2561

+590,000 ตัน
ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถลดการใช้ได้

+600,000 ตัน
CO2e ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง คิดเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เป้าหมายปี 2563
80%
ของบรรจุภัณฑ์หลักมาจาก
การใช้ซ้ำ การนำหลับมาใช้ใหม่ และการเก็บกับคืน
โดยนับสัดส่วนเทียบกับยอดขาย
บรรจุภัณฑ์หลัก ได้แก่ ขวดแก้วที่ใช้บรรจุสุรา เบียร์ และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมสุข
ผลการดำเนินงานปี 2561
บรรจุภัณฑ์หลักของไทยเบฟฯ


หมายเหตุ ตัวเลขที่รายงานเป็นจำนวนที่คำนวนมาจากปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ระหว่าง ตุลาคม 2560 - กันยายน 2561
การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน
01
การเก็บกลับและการคัดแยก
การจำแนกประเภทของบรรจุภัณฑ์และลดปริมาณขยะที่ถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบ
02
การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่
การนำวัสดุบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคมาใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
03
การเพิ่มมูลค่าหลังการใช้งาน
สร้างสรรค์คุณค่าให้แก่บรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคผ่านการร่วมมือและการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
กลยุทธ์การจัดการบรรจุภัณฑ์ขององค์กร
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นแนวทางในการจัดการบรรจุภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิตบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง
การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดขยะบรรจุภัณฑ์

ไทยเบฟกำหนดกลยุทธ์การจัดการบรรจุภัณฑ์ขององค์กร โดยคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้


การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ต้นทุนของการผลิต
กลยุทธ์การบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ของวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท

แก้ว
กลยุทธ์
สร้างรูปแบบการจัดการบรรจุภัณฑ์แก้วแบบหมุนเวียน (closed-loop)
แก้วเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์หลักของไทยเบฟฯ มีปริมาณการใช้สูงสุดเมื่อเทียบกับวัสดุอื่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว ได้แก่ สุราขาว สุราสี บรั่นดี เบียร์ น้ำอัดลม น้ำดื่ม เป็นต้น

การลด
43,680 ตัน
ลดการใช้ทรัพยากร (ทราย) ในการผลิตแก้ว

การนำกลับมาใช้ใหม่
108,256 ตัน
ปริมาณเศษแก้วที่นำกลับมาใช้ใหม่ในการะบวนการผลิต

การใช้ซ้ำ
+1.4 พันล้าน
จำนวนขวดแก้วที่นำมากลับมาใช้ซ้ำ
ความสำเร็จ
สมุยโมเดล
การนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของขวดแก้วและเศษแก้ว ผ่านการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทยเบฟ

100%
ชองขวดและเศษแก้วบนเกาะสมุยถูกนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิต
1,134 TONS
ปริมาณเศษแก้วที่เก็บนำกลับมาใช้ใหม่
9 M
จำนวนขวดแก้วที่เก็บกลับคืน
สร้างรายได้ให้ผู้เก็บบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภครายย่อย


พลาสติกC
กลยุทธ์
ร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อลดปริมาณขยะ
พลาสติกเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ น้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่มผลมเกลือแร่ และชาเขียว

การลด
+340 ล้านชิ้น
จำนวนพลาสติกที่ลดได้
จากการยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด

บรรจุภัณฑ์จากพืช
30%
ของวัสดุที่นำมาผลิตขวดพลาสติก
ได้มาจากส่วนประกอบของพืช

บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
28%
ของถุงพลาสติกที่ใช้ในร้านเบเกอรี่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
ความสำเร็จ
LESS IS MORE
ลดน้ำหนักของขวดพลาสติกที่ใช้บรรจุน้ำดื่มคริสตัลและ น้ำดื่มช้าง ขนาด 600 มล.



2557 ถึงปัจจุบัน

21%
สัดส่วนน้ำหนักบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ลดลง
2,800 ตัน
ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ลดลง
11,350 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง


กระดาษ
กลยุทธ์
ใช้วัสดุให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มศักยภาพในการเก็บกลับคืน
กระดาษเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ได้แก่ กล่องสุราสีพรีเมียม
รวมถึงกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ สุราและเบียร์ในการขนส่งไปยังร้านค้า

การลด
7%
สัดส่วนน้ำหนักของกล่องลูกฟูกที่ลดลงต่อหน่วย

การนำกลับมาใช้ใหม่
78%
สัดส่วนของวัสดุที่ได้มาจากการนำกลับมาใช้ใหม่ต่อหน่วย (recycled content per unit)

การใช้ซ้ำ
+10 ล้านชิ้น
กล่องลูกฟูกและไส้กล่องที่เก็บกลับคืนมาได้และถูกนำกลับมาใช้ซ้ำ
ความสำเร็จ
เข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
การตั้งศูนย์รับซื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคในพื้นที่ซึ่งสะดวกต่อการคมนาคม และการวางแผนเส้นทางการเดินรถที่แม่นยำ

29
ศูนย์รับซื้อครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ


1
จุดรับซื้อใหม่


3
จุดรับซื้อที่ย้ายจากเดิม

+25,000 ตัน
ปริมาณกล่องกระดาษที่นำกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่

กล่องลูกฟูก
นำกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการคัดแยกขวดแก้วที่ใช้แล้ว
ไส้กล่อง
นำกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการขนถ่ายบรรจุภัณฑ์ภายใน
เศษกระดาษ
นำมาอัดก้อน เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่