หน้าแรก / ห่วงโซ่คุณค่า กลยุทธ์และนโยบาย
ไทยเบฟเชื่อว่ากลยุทธ์และนโยบายในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่นำไปปฏิบัติได้จริง คือหัวใจสำคัญในการนำหลักปฏิบัติด้านความยั่งยืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทำงานทุกขั้นตอน เริ่มต้นตั้งแต่การประเมินคู่ค้าก่อนการซื้อขายไปจนถึงการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้าหลังการซื้อขาย
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูล
ยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อผลักดันการบังคับใช้นโยบายและมาตรฐานด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าและมองเห็นถึงความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

แนวทางปฏิบัติ
  • สร้างฐานข้อมูลของคู่ค้าผ่านการลงทะเบียนในระบบ SLCM: Supplier Life Cycle Management
  • ใช้ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลการจัดหา เพื่อสร้างความโปร่งใสและพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง 
การบังคับใช้นโยบายจัดหาอย่างยั่งยืน
คู่ค้าทุกรายที่ลงทะเบียนในระบบ SLCM จะต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและเข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี

เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าที่ยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
  • 100% ของคู่ค้ารายใหม่เข้ารับการตรวจประเมินก่อนการซื้อขายด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)
ผสานความร่วมมือ
ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนเสียภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเติบโตร่วมกัน

แนวทางปฏิบัติ
  • ดำเนินโครงการประกาศเกียรติคุณคู่ค้าเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าและกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ
  • เปิดให้บริการศูนย์การให้บริการด้านการจัดซื้อ ซึ่งเป็นศูนย์รวมในการตอบคำถามและแก้ไขปัญหาทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจากลูกค้าผู้ใช้บริการงานจัดซื้อภายในองค์กรและคู่ค้าของบริษัท
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง 
  • การพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า
    คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG) ในการพิจารณามอบรางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้า
  • การมีส่วนร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า
    สร้างช่องทางในการยื่นคำร้องเรียนต่างๆแก่ลูกค้าผู้ใช้บริการงานจัดซื้อภายในองค์กรและคู่ค้า รวมถึงประเด็นการละเมิดแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าและจรรยาบรรณการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อรักษาหลักธรรมาภิบาลขององค์กร
เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าจัดทำแผนและดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนตามที่กำหนด
  • 80% ของประเด็นปัญหาด้านการจัดซื้อที่ได้รับการแก้ไขภายในเป้าหมายการให้บริการที่กำหนด
การบริหารจัดการความเสี่ยงแบบบูรณาการ
คำนึงถึงความเสี่ยงในมิติต่างๆนอกเหนือจากความเสี่ยงทางการเงินในการประเมินคู่ค้ารายใหม่และการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้าหลังการซื้อขาย

แนวทางปฏิบัติ
  • ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการจัดหาเพื่อติดตามความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาสินค้าและอุปทานสินค้าสำหรับวัตถุดิบหลัก
  • กำหนดกลยุทธ์ในการจัดหาและบริหารจัดการคู่ค้า โดยยึดถือตามระดับความสำคัญ (criticality) เพื่อจัดลำดับความสำคัญความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
การบังคับใช้นโยบายจัดหาอย่างยั่งยืน
นำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดหาตั้งแต่การประเมินคู่ค้ารายใหม่ไปจนถึงการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้าหลังการซื้อขาย

เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าที่ยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
  • 100% ของคู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ (active supplier) เข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้ารายใหม่เข้ารับการตรวจประเมินก่อนการซื้อขายด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)
  • 100% ของคู่ค้าจัดทำแผนและดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนตามที่กำหนด
  • 100% ของมูลค่าสัญญาที่ระบุเงื่อนไขด้านความยั่งยืน
การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์
มุ่งมั่นสร้างกระบวนการทำงานอันเป็นเลิศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การบังคับใช้นโยบาย และความโปร่งใส

แนวทางปฏิบัติ
  • กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการจัดหาแบบรวมศูนย์ เพื่อควบคุมคุณภาพและความโปร่งใสในกระบวนการทำงาน รวมถึงการยกระดับศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
  • ใช้การบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีมาตรฐาน เพื่อจัดกลุ่มสินค้าและคู่ค้าได้อย่างเป็นระบบ ภายใต้รหัสและโครงสร้างข้อมูลรูปแบบเดียวกัน
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
การบังคับใช้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลขององค์กร ความโปร่งใส และการสืบกลับข้อมูล โดยใช้ระบบ SLCM: Supplier Life Cycle Management

เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าที่ยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
  • 100% ของคู่ค้ารายใหม่เข้ารับการตรวจประเมินก่อนการซื้อขายด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)
การสร้างมาตรฐาน
กำหนดกระบวนการทำงานที่มีมาตรฐานและพัฒนาความเป็นมืออาชีพของบุคลากรเพื่อความเติบโตและการขยายธุรกิจขององค์กร

แนวทางปฏิบัติ
  • พัฒนาประสิทธิภาพในการจัดหาด้วยระบบอัตโนมัติและการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์
  • กำหนดให้บุคลากรจัดซื้อได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดหาทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติโดยองค์กรอิสระ ได้แก่ มาตรฐาน PSCMT และ IFPSM
  • สร้างฐานข้อมูลของคู่ค้าผ่านการลงทะเบียนในระบบ SLCM: Supplier Life Cycle Management
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
  • รบังคับใช้นโยบายจัดหาอย่างยั่งยืน นำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดหาตั้งแต่การประเมินคู่ค้ารายใหม่ไปจนถึงการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้าหลังการซื้อขาย
  • การพัฒนาบุคลากร  ปลูกฝังให้บุคลากรจัดซื้อมีความตระหนักด้านความยั่งยืน โดยการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ
  • การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า  ยกระดับทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีของคู่ค้า โดยให้คู่ค้าบริการตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ได้
เป้าหมายด้านความยั่งยืน
  • 100% ของคู่ค้าที่ยอมรับและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าli>
  • 100% ของคู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ (active supplier) เข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนli>
  • 100% ของคู่ค้ารายใหม่เข้ารับการตรวจประเมินก่อนการซื้อขายด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล (ESG)li>
  • 100% ของคู่ค้าจัดทำแผนและดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนตามที่กำหนดli>
  • 100% ของมูลค่าสัญญาที่ระบุเงื่อนไขด้านความยั่งยืน
นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน
ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง

สำหรับบุคลากรจัดซื้อ
จรรยาบรรณการจัดซื้อจัดจ้าง

การบริหารความสัมพันธ์คู่ค้า

การเปิดเผยผลประโยชน์

การรับผลประโยชน์

การเจรจาต่อรอง

สำหรับคู่ค้า
แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

จริยธรรมทางธุรกิจ

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

สิทธิมนุษยชน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
แนวทางปฏิบัติ

สำหรับบุคลากรจัดซื้อ
จรรยาบรรณการจัดซื้อจัดจ้าง  

สัมภาษณ์งาน

ลงนามสัญญาว่าจ้างและลงนามยอมรับหลักจรรยาบรรณ

บรรจุเป็นพนักงาน

สำหรับคู่ค้า
แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

ยอมรับปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ

เข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

ลงนามสัญญาที่ระบุเงื่อนไขด้านความยั่งยืน

เข้ารับการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ
ผลการดำเนินงาน
สำหรับบุคลากรจัดซื้อ
จรรยาบรรณการจัดซื้อจัดจ้าง  
100%
จำนวนบุคลากรจัดซื้อที่ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ
สำหรับคู่ค้า
แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
จำนวนคู่ค้าที่ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ