หน้าแรก / ห่วงโซ่คุณค่า การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดหา
ไทยเบฟฯบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการจัดซื้อจัดหาผ่านกระบวนการที่หลากหลาย เช่น ระบุคู่ค้ารายสำคัญ (Critical Suppliers) การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยครอบคลุมไปถึงคู่ค้าทางอ้อมของบริษัทฯอีกด้วย (Non-tier 1 suppliers)
คู่ค้ารายสำคัญ
+ 2,500
จำนวนคู่ค้าของไทยเบฟฯ

26
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญ
  1%
ของจำนวนคู่ค้าของทั้งหมดเป็นคู่ค้ารายสำคัญ
อัตราส่วนมูลค่าการจัดซื้อจากคู่ค้ารายสำคัญ

24%
นิยาม
60
คู่ค้าที่มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 60 จากการประเมินความสำคัญของคู่ค้า
การประเมินความสำคัญของคู่ค้าใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้

ระดับการพึ่งพาคู่ค้า

ความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน

ความสามารถในการทดแทน

การให้บริการและการส่งมอบ

ผลกระทบต่อต้นทุน
การแบ่งประเภทของคู่ค้ารายสำคัญ

ประเภท # จำนวนคู่ค้ารายสำคัญ อัตราส่วนมูลค่าการจัดหาต่อปี

บรรจุภัณฑ์
12 22%

สินค้าโภคภัณฑ์
7 2%

สารเคมี
7 < 1%
จำนวนคู่ค้าจำแนกตามเกณฑ์การประเมินความสำคัญ

จำนวนคู่ค้าจำแนกตามภูมิศาสตร์


ขอบเขตการประเมิน
ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
ไทยเบฟฯมีมาตรการในการตรวจสอบความเสี่ยงด้านความยั่งยืนตลอดกระบวนการจัดซื้อ จัดหา โดยเริ่มตั้งแต่ การลงทะเบียนคู่ค้ารายใหม่ การคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้า การตรวจประเมินคู่ค้า (audit) ไปจนถึงการติดตามผลการดำเนินของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนถูกจำแนกเป็นสามมิติตามหลักสากล ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืนหลากหลายประเด็น เช่น การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission) การจัดการทรัพยากรน้ำ สิทธิมนุษยชน จริยธรรมทางธุรกิจ เป็นต้น


สิ่งแวดล้อม

  • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
  • ระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
  • กระบวนการติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

    พลังงาน
    การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission)
    ของเสีย
    ทรัพยากรน้ำ


สังคม

  • นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
  • ระบบการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
  • กระบวนการติดตามผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

    แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงาน
    ความเท่าเทียม
    แนวทางปฏิบัติในการจ้างงาน
    การพัฒนาบุคลากร
    อาชีวอนามัย และความปลอดภัย


การกำกับดูแล

  • หลักจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
  • แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
  • มาตรการรับมือความไม่สอดคล้อง (non-compliance)

    การต่อต้านการผูกขาด
    ความขัดแย่งทางผลประโยชน์
    การทุจริต
    การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ
การบูรณาการความยั่งยืนในกระบวนการจัดซื้อจัดหา


คู่ค้ารายใหม่
01
การลงทะเบียนคู่ค้ารายใหม่
  • แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
  • การประเมินความยั่งยืน
02
การคัดกรองคู่ค้ารายใหม่
  • แบบประเมินด้านความยั่งยืนโดยละเอียด
  • การตรวจประเมินคู่ค้า ณ สถานประกอบการ


คู่ค้ารายปัจจุบัน
03
การพิจารณาซื้อสินค้า
  • ผนวกเรื่องความยั่งยืนในกระบวนการพิจารณาซื้อสินค้า
  • ระบุเงื่อนไขด้านความยั่งยืนลงในสัญญาซื้อขาย
04
การประเมินผลงานคู่ค้า
  • ตรวจประเมินคู่ค้ารายสำคัญ และ คู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ณ สถานประกอบการ
05
การพัฒนาศักยภาพคู่ค้า
  • จัดทำแผนการดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียน
  • การจัดประชุมร่วมกับคู่ค้า
  • การมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณคู่ค้า
กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการประเมิน
ระดับการบังคับใช้นโยบายและมาตรฐาน

+2,500
จำนวนคู่ค้าทั้งหมด
หมายเหตุ ไม่นับซ้ำคู่ค้าที่ได้รับการประเมินมากกว่า 1 ช่องทาง อ
คู่ค้าที่ได้รับการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ
จำนวนคู่ค้ารายสำคัญ และคู่ค้าอื่นๆที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ที่ได้รับการตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ อ
วิธีการตรวจประเมินคู่ค้า
  การตรวจสอบเอกสารและการประเมินผ่านระบบออนไลน์ การตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ *การตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ โดยผู้ทวนสอบภายนอก
คู่ค้าที่มีการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ  
คู่ค้ารายสำคัญ    
คู่ค้าทางอ้อมรายสำคัญ  
คู่ค้าผู้จำหน่ายสินค้ากลุ่มสำคัญ    
คู่ค้าผู้จำหน่ายวัสดุสัมผัสอาหาร    
คู่ค้าผู้ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง  
*การตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการของคู่ค้า โดยผู้ทวนสอบภายนอก
หมายถึง การตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการโดยบุคคลภายนอกองค์กร ได้แก่ ลูกค้าของคู่ค้า องค์กรอิสระ เป็นต้น
เกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้า


คู่ค้ารายใหม่



คู่ค้ารายปัจจุบัน

กระบวนการตรวจประเมินคู่ค้า
การกำหนดแผนการดำเนินการแก้ไข  
ในกรณีที่ตรวจพบความไม่สอดคล้องในระหว่างกระบวนการตรวจประเมินคู่ค้า ไทยเบฟฯกำหนดให้คู่ค้าส่งมอบแผนการดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งมีมาตรการในการติดตามการดำเนินการแก้ไขจนสิ้นสุดกระบวนการ สำหรับคู่ค้ารายที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขตามแผนได้ในระยะเวลาที่กำหนด ไทยเบฟฯจะระงับการซื้อขายจนกว่าคู่ค้ารายดังกล่าวจะสามารถแก้ไขประเด็นปัญหาและปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ครบถ้วน
ประเด็นที่แสดงถึงความไม่สอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญ (major non-compliances)

การปฏิบัติโดยมิชอบด้วยหลักจริยธรรมทางธุรกิจ

การกระทำการใดๆที่ผิดกฎหมาย

การละเมิดข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

การละเมิดสิทธิมนุษยชน

การดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่กำหนด
มาตรฐานการรับรองจากภายนอกที่พิจารณา


สิ่งแวดล้อม


สังคม


หลักธรรมาภิบาล

การจำแนกคู่ค้าตามระดับความเสี่ยง
ไทยเบฟฯจำแนกคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนออกเป็นสามระดับ ได้แก่ ต่ำ กลาง และสูง

การจำแนกคู่ค้าตามระดับความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
ไทยเบฟฯจำแนกคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนออกเป็นสามมิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาล

คู่ค้าที่มีมาตรการด้านการความยั่งยืนตามที่กำหนด


* *การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเท่านั้น
การบริหารจัดการคู่ค้าทางอ้อม
นิยาม

คู่ค้าทางอ้อม ได้แก่คู่ค้าที่ไม่ได้มีการซื้อขายกับบริษัทฯโดยตรง
แต่ทำการซื้อขายกับคู่ค้าของบริษัทฯ

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง



การใช้ฐานข้อมูลความเสี่ยงที่จัดทำโดยองค์กรอิสระ

การประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรม

การตรวจประเมินคู่ค้า ณ สถานประกอบการ

การร่วมมือกับคู่ค้าโดยตรง (tier 1 supplier) ของไทยเบฟฯ
แผนการบริหารความเสี่ยงคู่ค้าทางอ้อม
2559

ระบุคู่ค้าทางอ้อมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

2560

การใช้ฐานข้อมูลจากองค์กรอิสระเพื่อระบุประเด็นความเสี่ยงจากคู่ค้าทางอ้อม

2561

ตรวจประเมินคู่ค้าทางอ้อมรายสำคัญ ณ สถานประกอบการ

2562

ร่วมมือกับคู่ค้าโดยตรงของไทยเบฟฯเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าทางอ้อมและระบุประเด็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากคู่ค้าทางอ้อม

2563

ครอบคลุมคู่ค้าทางอ้อมรายสำคัญทุกรายในกระบวนการประเมินความเสี่ยง

2564-2568

  • การวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงเชิงลึกของคู่ค้าทางอ้อม
  • ขยายผลการดำเนินงานไปยังคู่ค้าทางอ้อมขั้นที่ 2 (tier 2 supplier)
  • มีศักยภาพเข้าถึงข้อมูลองค์รวมในห่วงโซ่อุปทานของสินค้ากลุ่มสำคัญ

เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
จุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
ไทยเบฟฯเชื่อว่าการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ให้แก่ผู้บริโภคมีความสำคัญทัดเทียมกับการสรรหาวัตถุดิบอันมีที่มาจากแหล่งกำเนิดที่ยั่งยืน ด้วยหลักการดังกล่าว เราจึงได้จัดทำแนวทางปฏิบัติสู่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อกำหนดมาตรฐานและความคาดหวังของเราที่มีต่อคู่ค้า

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

การควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรอินทรีย์

การใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กากน้ำตาล (โมลาส)
กากน้ำตาล หรือโมลาส เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล และเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของไทยเบฟฯที่ใช้ในกระบวนการกลั่นสุรา

กลยุทธ์การจัดหา
ไทยเบฟฯร่วมมือกับผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตผลทางการเกษตร และสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรอินทรีย์


ข้าวมอลต์
ข้าวมอลต์เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตสุราและเบียร์ ไทยเบฟฯมีการกำหนดมาตรฐานในการจัดหาข้าวมอลต์ เพื่อรักษามาตรฐานข้าวมอลต์ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพดี แม้ว่าจะมีแหล่งที่มาต่างกันก็ตาม

กลยุทธ์การจัดหา
ไทยเบฟฯพัฒนาคู่ค้าข้าวมอลต์ภายนอกทวีปยุโรป โดยยึดถือแนวทางปฏิบัติเรื่องเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนและกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพที่ทัดเทียมกัน
41%
ของข้าวมอลต์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตผ่านการรับรองระบบการจัดการคุ้มครองแรงงาน SEDEX และปฏิบัติตามข้อกำหนดของ SAI Platform

แนวทางปฏิบัติเรื่องเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน
เพื่อความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน

บทนำ
กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ (“ไทยเบฟ”) มุ่งมั่นที่จะผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ตอบรับความต้องการของผู้บริโภค อันมีที่มาจากแหล่งกำเนิดที่ยั่งยืน เราให้ความสำคัญต่อการร่วมมือกับคู่ค่าในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและมีประสิทธิผลโดยเสมอมา

แนวทางปฏิบัติสู่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของไทยเบฟ (“แนวทางปฏิบัติ”) จักเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับคู่ค้าของเรา เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่เราจัดหาเป็นไปตามมาตรฐานที่เรากำหนดไว้

ขอบเขต
ข้อกำหนดที่ระบุไว้นับจากนี้จักมีผลบังคับกับคู่ค้าวัตถุดิบทางการเกษตรของไทยเบฟ (“คู่ค้า”) และยังหมายรวมไปถึงหน่วยธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องของคู่ค้า อาทิ บริษัทในเครือ

วัตถุดิบ หมายถึง ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรมที่ไม่ผ่านการแปรรูป

หลักการ
เราคาดหวังว่าคู่ค้าจะนำแนวทางเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนไปปฏิบัติ โดยใช้หลักการดังต่อไปนี้

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
คู่ค้าจักรักษาสภาพของระบบนิเวศตามธรรมชาติ และงดเว้นการเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบนิเวศ ในกรณีที่สามารถกระทำได้ คู่ค้าจักต้องไม่จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรประเภทใดก็ตามที่จัดอยู่ในกลุ่มที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูงหรือได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

การประกาศการใช้วัตถุดิบตัดต่อพันธุกรรม
คู่ค้าจักแจ้งไทยเบฟให้รับทราบหากวัตถุดิบของตนมีการดัดแปลงพันธุกรรม หรือมีส่วนประกอบ หรือมีที่มาจากส่วนผสมที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม นอกจากนี้ คู่ค้าจักต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องวัตถุดิบที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมภายในประเทศที่ตนมีการดำเนินกิจการ สำหรับจุดยืนของไทยเบฟเกี่ยวกับเรื่องการดัดแปลงพันธุกรรม กรุณาอ่านแนวทางปฏิบัติเรื่องการดัดแปลงพันธุกรรมของไทยเบฟ

การเคารพสิทธิในที่ดิน
คู่ค้าจักต้องไม่ละเมิดสิทธิของชุมชนในการเข้าถึงที่ดิน และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และจักเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองและชนเผ่าต่างๆ รวมถึงสิทธิในการให้ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้ บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (FPIC) นอกจากนี้ เราส่งเสริมให้คู่ค้าของเรารักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนในพื้นที่ประกอบการของตน รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นจากการดำเนินกิจการของตนอย่างสม่ำเสมอ และริเริ่มโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาชุมชน ในกรณีที่จำเป็น

เกษตรกรรมท้องถิ่น
คู่ค้าจักให้การส่งเสริมเกษตรกรรมภายในประเทศและลดมลภาวะจากการขนส่งวัตถุดิบ เราส่งเสริมให้คู่ค้าของเราแบ่งปันความรู้และให้การสนับสนุนตามที่สมควรแก่เกษตรกรท้องถิ่นผู้เก็บเกี่ยววัตถุดิบให้กับคู่ค้า เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนและจัดหาวัตถุดิบได้ในระยะยาว

เกษตรอินทรีย์
คู่ค้าจักนำเกษตรอินทรีย์มาใช้ในการทำเกษตรกรรมของตน หรือให้การส่งเสริมหลักปฏิบัติแบบเกษตรอินทรีย์ เมื่อสามารถกระทำได้ เราส่งเสริมให้คู่ค้าได้มาซึ่งใบรับรองว่าด้วยเกษตรอินทรีย์จากองค์กรอิสระหรือปฏิบัติตามมาตรฐานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศที่คู่ค้ามีการจัดหาวัตถุดิบ

การควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
คู่ค้าจักควบคุมและตรวจสอบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนใดใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง เรากำหนดให้คู่ค้าจำกัดปริมาณสารพิษตกค้างในวัตถุดิบที่จำหน่าย กรณีที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คู่ค้าควรใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบในปริมาณที่เพียงพอต่อการป้องกันศัตรูพืชเท่านั้น และควรมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อมิให้เกิดผลกระทบเชิงลบใดใดต่อชุมชนรอบข้าง

การจัดการดิน
คู่ค้าควรรักษา และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น การรักษาสภาพหน้าดิน การปลูกพืชหมุนเวียน และการดูแลปริมาณแร่ธาตุในดินให้สมดุล

การใช้น้ำ
คู่ค้าจักมีกระบวนการวัดปริมาณน้ำที่ใช้และหาโอกาสในการลดปริมาณการใช้ตามที่เหมาะสม นอกจากนี้ เราส่งเสริมให้คู่ค้าของเราประเมินความเสี่ยงเรื่องน้ำ ณ สถานประกอบการโดยใช้มาตรฐานสากล และกำหนดแผนบรรเทาความเสี่ยงหากตรวจพบระดับความตึงเครียดของน้ำ (water stress level) ที่มีนัยสำคัญ

วัตถุดิบทางการเกษตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากภายนอก
กลุ่มผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์
วัตถุดิบ

ข้าวมอลต์
มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

SAI

SEDEX
กลุ่มผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
RAW MATERIALS

น้ำตาล

ใบชา
มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

BONSUCRO

ORGANIC PRODUCT

กลุ่มผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์อาหาร
วัตถุดิบ

น้ำมันปาล์ม
มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

RSPO
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม
จุดยืนของไทยเบฟฯ
วัตถุดิบส่วนมากของเราได้มาจากแหล่งผลิตภายประเทศ ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายครอบคลุมเรื่องการเพาะปลูกและการแสดงฉลากการดัดแปลงพันธุกรรมอยู่แล้ว ไทยเบฟปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านั้น สำหรับวัตถุดิบบางส่วนที่มีการจัดหามาจากแหล่งต่างประเทศ อาทิ ข้าวมอลต์ พืชเหล่านี้ล้วนมาจากแปลงเพาะปลูกที่ไม่ได้มีการดัดแปลงพันธุกรรม หากมีส่วนประกอบใดในผลิตภัณฑ์ของเราซึ่งมีแหล่งที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมหรือประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม เราจะระบุไว้บนฉลากให้เห็นชัดเจน รวมถึงกำหนดมาตรการสืบกลับและสื่อสาร เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคของเราได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าของเรา
กระบวนการ

วัตถุดิบปราศจากจีเอ็มโอ
ไทยเบฟฯมีข้อกำหนดในการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรที่ปราศจากจีเอ็มโอ

การเปิดเผยข้อมูล
คู่ค้าจะต้องแจ้งให้ทราบว่าวัตถุดิบที่จำหน่ายปลอดการดัดแปลงพันธุกรรม

ใบรับรอง
ไทยเบฟฯกำหนดให้คู่ค้าส่งมอบหลักฐานใบรับรองว่าวัตถุดิบที่จำหน่ายปลอดการดัดแปลงพันธุกรรม

การสุ่มตัวอย่าง
ไทยเบฟสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบที่คู่ค้าจำหน่ายมาตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัตถุดิบปลอดการดัดแปลงพันธุกรรม

การตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ
ไทยเบฟตรวจสอบวัตถุดิบหลักในห้องปฏิบัติการว่ามีส่วนประกอบที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่
การตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ
ในฐานะผู้นำในการผลิตเครื่องดื่มและอาหารรายใหญ่ของประเทศ กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ (“ไทยเบฟ”) ตระหนักถึงความต้องการที่สูงขึ้นจากการเติบโตของจำนวนประชากรในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา เราพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้บริโภคและลูกค้าของเรา ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษามาตรฐานอันมีคุณภาพไว้ ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจึงส่งเสริมและสนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ

ในระดับสากลโลกมีการใช้เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมอย่างแพร่หลายเพื่อยกระดับการผลิต แม้จะเป็นประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันอย่างมากก็ตาม ไทยเบฟทราบดีถึงศักยภาพของการดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตาม เราเองตระหนักถึงความอ่อนไหวในเรื่องนี้ และเคารพความคิดเห็นในแต่ละพื้นที่ เรายอมรับการควบคุมดูแลจากภาครัฐในการเพาะปลูก และดัดแปลงพันธุกรรมภายในประเทศ

วัตถุดิบส่วนมากของเราได้มาจากแหล่งผลิตภายประเทศ ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายครอบคลุมเรื่องการเพาะปลูกและการแสดงฉลากการดัดแปลงพันธุกรรมอยู่แล้ว ไทยเบฟปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านั้น สำหรับวัตถุดิบบางส่วนที่มีการจัดหามาจากแหล่งต่างประเทศ อาทิ ข้าวมอลต์และข้าวมอลต์ พืชเหล่านี้ล้วนมาจากแปลงเพาะปลูกที่ไม่ได้มีการดัดแปลงพันธุกรรม หากมีส่วนประกอบใดในผลิตภัณฑ์ของเราซึ่งมีแหล่งที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมหรือประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม เราจะระบุไว้บนฉลากให้เห็นชัดเจน รวมถึงกำหนดมาตรการสืบกลับและสื่อสาร เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคของเราได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าของเรา

นอกจากนี้ ไทยเบฟตั้งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบอันมาจากแหล่งที่ปลอดภัยและการส่งมอบถึงมือผู้บริโภคอย่างบริสุทธิ์ วัตถุดิบทั้งหมดจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารก่อนที่จะมีการวางจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งเราใช้กระบวนการเดียวกันนี้กับส่วนประกอบทั้งหมด ไม่ว่าจะมีที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่ก็ตาม เราจะตรวจสอบและไขข้อสงสัยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภค

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO)
การดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) คืออะไร
การดัดแปลงพันธุกรรม (GMO หรือ Genetically Modified Organisms) คือ พืช หรือสัตว์ ที่ผ่านการดัดแปลงหรือตัดต่อทางพันธุกรรมในห้องทดลอง ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติหรือพันธุวิศวกรรม

ไทยเบฟใช้ส่วนผสมที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมในผลิตภัณฑ์หรือไม่
ไทยเบฟฯเปิดเผยข้อมูลเรื่องการใช้วัตถุดิบที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมในผลิตภัณฑ์ตามข้อบังคับของกฎหมายไทย (เกี่ยวข้องกับ ข้าวโพด และ ถั่ว) โดยผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทั้งหมดของไทยเบฟฯ ทั้งที่มี และไม่มีแอลกอฮอล์ ปราศจากส่วนผสมของวัตถุดิบที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม

ไทยเบฟมีจุดยืนต่อการดัดแปลงพันธุกรรมอย่างไร
ไทยเบฟทราบดีถึงศักยภาพของการดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตาม เราเองตระหนักถึงความอ่อนไหวในเรื่องนี้ และเคารพความคิดเห็นในแต่ละพื้นที่ เรายอมรับการควบคุมดูแลจากภาครัฐในการเพาะปลูก และดัดแปลงพันธุกรรมภายในประเทศ และเคารพความคิดเห็นในแต่ละพื้นที่ เรายอมรับการควบคุมดูแลจากภาครัฐในการเพาะปลูก และดัดแปลงพันธุกรรมภายในประเทศ หากเราจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศที่มีข้อกำหนดทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ เราจะระบุข้อมูลต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ หากท่านมีคำถามอื่นๆเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมในผลิตภัณฑ์ที่เราจำหน่าย กรุณาติดต่อเรา