หน้าแรก / ด้านสิ่งแวดล้อม
2562
การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเติบโตด้านเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้น้ำ และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ไทยเบฟได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อปรับปรุงการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพน้ำที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึงทำการประเมินความยั่งยืนของการใช้น้ำ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการใช้น้ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
โครงการประเมินความยั่งยืนของการใช้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
ไทยเบฟได้ริเริ่มการประเมินความยั่งยืนของการใช้น้ำ (Water Sustainability Assessment : WSA) ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ ในเชิงลึกทั้งในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตครอบคลุม 4 มิติ คือ
  • 1. ความพอเพียงของน้ำ
  • 2. คุณภาพน้ำ
  • 3. การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
  • 4. ทัศนคติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายทางดาวเทียมในการศึกษาภูมิประเทศ (Topography) ทิศทางการไหลของน้ำ (Flow Direction) พื้นที่รับน้ำ (Watershed) การระบายน้ำ (Drainage) ความลาดเอียงของพื้นที่ (Slope Pattern) รวมไปถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

วอเตอร์ฟุตพรินต์
วอเตอร์ฟุตพรินต์เป็นการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำในการผลิตสินค้าและบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะทำการคำนวณปริมาณน้ำจากผลรวมของทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารขยายผลให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดความเสี่ยงของปัญหาการขาดแคลนน้ำซึ่งมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยตรง

การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและดูแลแหล่งน้ำร่วมกับชุมชน
ไทยเบฟได้มีการบริหารจัดการน้ำสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และร่วมดูแลแหล่งน้ำร่วมกับชุมชนผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
  • โครงการกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน
  • โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
  • โครงการกำจัดวัชพืชในคลองสาธารณะเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม
  • โครงการน้ำดื่มสะอาดเพื่อน้อง
  • โครงการน้ำสะอาด (Clean Water) ในประเทศเมียนมา

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2562 ส่งผลให้เกิดอัตราส่วนการลดการใช้น้ำ การนำน้ำมาใช้ซ้ำ และการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

การลดการใช้น้ำ / REDUCE
8.79%
การนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ / REUSE
2.94%
การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ / RECYCLE
5.86%
เป้าหมายในปี 2562
5%
การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2563
เปรียบเทียบปีฐาน 2557


กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม
4.08
เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตร
อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อ หน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเครื่องดื่ม

อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม
ตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2562

หมายเหตุ : *แสดงอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย

**อัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟรวมต่างประเทศ
ปี 2562 คือ 4.08 เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตรของหน่วยผลิตภัณฑ์

***เป้าหมายปี 2563 ลดอัตราส่วนการใช้นํ้าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ 5% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2557
ความสำเร็จ

14%
การลดอัตราส่วนของการใช้น้ำ ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2562
เปรียบเทียบปีฐาน 2557


กลุ่มธุรกิจอาหาร
0.21
เฮกโตลิตรต่อกิโลกรัม
อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อ หน่วยผลิตภัณฑ์ของธุรกิจอาหาร

อัตราส่วนของการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มธุรกิจอาหาร
ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2562