หน้าแรก / เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
2562
การบริหารความเสี่ยง
ไทยเบฟบริหารความเสี่ยงโดยการติดตาม ประเมิน และบริหารจัดการความไม่แน่นอน ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรเพื่อช่วยให้เห็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญและโอกาสใหม่ ๆ สามารถตอบสนองต่อความท้าทายและบรรเทาผลกระทบ รวมถึงใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มในภูมิภาคอาเซียนอย่างมั่นคงและยั่งยืน
กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของไทยเบฟ
  • โครงสร้างการกำกับดูแล ครอบคลุมตั้งแต่ระดับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจคณะทำงานพัฒนาความยั่งยืนทางธุรกิจ คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กร คณะกรรมการด้านความยั่งยืนและความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจหรือสายงาน และผู้ประสานงานความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจหรือสายงาน
  • ความเข้าใจในบริบทและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจ วิเคราะห์ติดตามและสื่อสารปัจจัยเสี่ยง และแนวโน้มสำคัญในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือกลยุทธ์องค์กร
  • กระบวนการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการ ทั้งในระดับองค์กรระดับกลุ่มธุรกิจหรือสายงานจนถึงระดับปฏิบัติการ โดยประเมินความเสี่ยงที่สำคัญและกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง รวมถึงสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟ
  • การติดตาม รายงาน และประเมินผล การบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสายงานและบริษัทย่อย ระดับสายธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจ และระดับองค์กร
  • การสร้างวัฒนธรรมด้านความยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยง โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารความเสี่ยงกับกรรมการบริษัท ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กร ผ่านการฝึกอบรม ปฐมนิเทศ เผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านจดหมายข่าว การจัดงาน Thailand Corporate Sustainability Symposium และ ThaiBev Sustainability Day เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้พูดคุยหรือเสนอความเห็นด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการบริหารจัดการความเสี่ยง
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
ไทยเบฟพิจารณา “ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร” จากสาระสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยเบฟในสามด้าน คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นประจำทุกปี โดยกำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กรที่มีทั้งผลกระทบและโอกาสต่อธุรกิจในระดับ “สูง” และมีผลกระทบและอิทธิพลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับ “สูง” สำหรับประเด็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบระดับปานกลางหรือระดับต่ำ คณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีการประเมินและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลา 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อเตรียมมาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและทันท่วงที
ความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ
1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • สร้างระบบบริหารจัดการน้ำที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของห่วงโซ่คุณค่า
  • ประเมินความยั่งยืนด้านน้ำของโรงงานผลิตแต่ละแห่งเพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ
  • ใช้น้ำและทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้มาตรการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle)
2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • ควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงการการใช้พลังงานทดแทน
  • ออกแบบ พัฒนาและบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
3. ความเสี่ยงด้านกระบวนการจัดการห่วงโซ่คุณค่า
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • กำหนดและปฏิบัติตามนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าซึ่งเป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่สอดคล้องกับไทยเบฟ
4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • ติดตามข่าวสารที่สำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบของภาครัฐที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสื่อสารให้หน่วยงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องทราบ เมื่อมีแนวโน้มการบังคับใช้หรือเมื่อมีการประกาศใช้ เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมใหม่
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • กำหนดแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Master Plan) เพื่อรองรับและบริหารจัดการด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในระยะยาว
  • คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางธุรกิจ ตอบสนองความต้องการและการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคทุกช่วงวัยในทุกช่วงเวลา
6. ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร
มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ
  • ปฏิบัติตามหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟได้รับการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยและคุณภาพ
ทิศทางการดำเนินงาน
100%
ของหน่วยธุรกิจและสายงาน ที่นำกรอบการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือ และกระบวนการต่าง ๆ มาใช้ปฏิบัติ
100%
ของข้อมูลตัวชี้วัดความเสี่ยง ที่มีนัยสำคัญของหน่วยธุรกิจและสายงาน
100%
ของระดับบริหารประเมินตนเอง ด้านความยั่งยืน และการบริหารความเสี่ยง