หน้าแรก / ด้านสังคม
2562
การพัฒนาชุมชนและสังคม
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน รวมถึงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ราคาพืชผลและผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยลดลง ไทยเบฟเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยเน้นให้ความรู้และฝึกฝนอาชีพแก่เกษตรกร พร้อมทั้งสนับสนุนให้ชุมชนช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ไทยเบฟเดินหน้าขับเคลื่อนการทำงานอย่างต่อเนื่องนานกว่า 15 ปี เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งภายใต้โครงการ “ไทยเบฟร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม” โดยร่วมมือกับองค์กรภาคีดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เศรษฐกิจชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างการเรียนรู้ในกลุ่มเด็ก เยาวชน และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่าง ๆ
โครงการไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาว ปีที่ 20
โครงการไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาว ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2543 นับเป็น “20 ปีแห่งการส่งต่อไออุ่นที่ยั่งยืน” ด้วยผ้าห่มสีเขียวผืนใหญ่ ปัจจุบันกลายเป็นต้นแบบโครงการเพื่อสังคมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมายาวนาน และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้ว่าราชการจังหวัด ในการรวบรวมข้อมูลผู้ประสบภัยหนาวและจำนวนประชากรผู้ประสบภัยในแต่ละจังหวัด

ทุกปี ผ้าห่มผืนเขียวจำนวน 200,000 ผืน จะถูกนำไปมอบให้ผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจนถึงปัจจุบันนี้ได้ส่งมอบผ้าห่มไปแล้วถึง 4,000,000 ผืน ครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัดในประเทศไทย นอกจากนี้ ไทยเบฟยังเปิดโอกาสให้พนักงานและคู่ค้าของไทยเบฟร่วมกิจกรรมซื้อผ้าห่มเพิ่มเติมผ่านกิจกรรม 1 ปัน 1 อุ่น โดยในปี 2562 พนักงานและคู่ค้าของไทยเบฟได้ร่วมสมทบอีกจำนวน 1,000 ผืน ส่งมอบให้นักเรียนผู้ประสบภัยหนาวในจังหวัดอุทัยธานี

กิจกรรมชุมชนดีมีรอยยิ้ม
เป็นโครงการที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยมุ่งหวังที่จะสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนจำนวนกว่า 3,500 คนที่อยู่ในชุมชนรอบโรงงานและบริษัทในกลุ่มไทยเบฟได้พัฒนาความรู้ ความสามารถด้วยกิจกรรมเสริมทักษะ 3 ด้าน ดังนี้
  • ด้านกีฬาฟุตบอล
    นำผู้ฝึกสอนและวิทยากรจากไทยเบฟ ฟุตบอล อคาเดมี่ มาให้ความรู้และสอนทักษะพื้นฐานให้เยาวชนเหมือนกับการฝึกนักกีฬามืออาชีพ
  • ด้านดนตรีและการขับร้อง
    ฝึกสอนโดยวิทยากรจากมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข โดยคัดเลือกโรงเรียนที่มีความสนใจในการพัฒนาวงดุริยางค์และวงดนตรีสากล เพื่อฝึกฝนต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงสามารถเข้าประกวดในระดับสหวิทยาเขต จำนวน 5 คน และหารายได้เองในอนาคต
  • ด้านศิลปะ
    จัดกิจกรรมสอนศิลปะประดิษฐ์และการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น การทำลูกประคบ จักสานไม้ไผ่ และเขียนไหบ้านเชียง เป็นต้น โดยมีวิทยากรจากชุมชนมาเป็นผู้สอน เพื่อให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงาน และยังสามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองอีกด้วย
โครงการพัฒนาน้ำ พัฒนาชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิต
ไทยเบฟร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยน้อมนำหลักการทรงงาน คิดแบบภาพใหญ่ ทำแบบลงในรายละเอียด ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปรับใช้ เนื่องจากการบริหารจัดการน้ำของประเทศซึ่งต้องมองภาพรวมทั้งประเทศให้เป็นระบบภาพใหญ่ โดยมีพื้นที่เก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่เชื่อมโยงเข้าหากัน แต่เพราะเราไม่สามารถทำทั้งหมดไปพร้อมกันได้ จึงเริ่มต้นที่การบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน ใช้กระบวนการเรียนรู้และลงมือทำงานร่วมกับชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นเจ้าของและสนับสนุนการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ไทยเบฟได้ร่วมดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนบ้านหนองปิ้งไก่ ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและน้ำหลากในช่วงฤดูฝน โดยการฟื้นฟู ขุดลอกคลองเต่าใต้ และจัดทำโครงสร้างทางน้ำระยะทาง 3,100 เมตร เพื่อลดความแรงของน้ำในฤดูน้ำหลาก และปรับปรุงฝายเดิมเพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บ สำรองน้ำ และส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยชุมชนร่วมกันวางกฎกติกาการใช้น้ำ วิธีการแบ่งสันน้ำ และมีการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบคณะอนุกรรมการกลุ่มอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรได้รับผลประโยชน์ 9,564 ไร่ 588 ครัวเรือน ครอบคลุม 4 หมู่บ้าน

โครงการความร่วมมือห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไทยเบฟร่วมฟื้นฟูป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน
จากผลกระทบของป่าที่เสื่อมสภาพ ขาดสมดุลทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่บนภูเขาสูงที่ต้องเลือกปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ใช้น้ำเพียงช่วงฤดูฝนและต้องการการดูแลที่ไม่มากนัก รวมถึงปัญหาการแผ้วถางเผาทำลายป่า การใช้สารเคมีจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ไทยเบฟจึงได้ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ นำรูปแบบการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มาประยุกต์และปรับใช้ในการพัฒนาพื้นที่ที่จังหวัดน่าน เพื่อเป็นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร และสร้างคน สร้างป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยคัดเลือกเกษตรกรในหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการ 2 แห่ง คือ หมู่บ้านศรีนาป่าน อำเภอเมืองน่าน และหมู่บ้านน้ำปูน อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน จำนวน 217 ราย โดยนำองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ด้านการเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง เพื่อให้ชุมชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงนำชุมชนศึกษาดูงานที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตนเอง

นอกจากนี้ยังมอบปัจจัยการผลิต เช่น หมู ไก่ กบ ปลาดุก ปลานิล ให้แก่เกษตรกรได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมกับส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ สิ่งแวดล้อมโดยการเพาะต้นกล้า การปลูกป่า และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโครงการได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 5 โดยไทยเบฟได้ติดตามความก้าวหน้าของเกษตรกรอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ จากการสำรวจล่าสุดพบว่า เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาหารรับประทานและจำหน่ายสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง เดือนละไม่ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อครอบครัว และได้ผืนป่ากลับคืนมา 3 ไร่ต่อเกษตรกร 1 รายที่ร่วมโครงการ

โครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมสภาพ บนพื้นที่เขาสูงชัน (เขาหัวโล้น)
เพื่อส่งเสริมนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่เขาสูงชันที่เสื่อมสภาพหรือเขาห้วโล้น ในพื้นที่เป้าหมายหรือพื้นที่นำร่องใน 13 จังหวัด คือ เชียงใหม่ น่าน เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ ลำปาง ลำพูน และเลย ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ไทยเบฟจึงได้อาสาเข้าร่วมฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่จังหวัดตาก ที่หมู่บ้านศรีคีรีรักษ์ ตำบลเชียงทอง อำเภอวังเจ้า ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่มีประชากร 994 คน 189 ครัวเรือน มีพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพจำนวน 157.38 ไร่ โดยร่วมกันปลูกและดูแลต้นกล้า อีกทั้งนำพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่เหมาะสมกับพื้นที่และได้รับอนุญาตมาปลูกสลับกับไม้เบญจพรรณ

นอกจากนี้ยังนำความรู้และปัจจัยการผลิตทั้งด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และการประมง มาส่งเสริมสนับสนุนให้แก่ชุมชนรอบพื้นที่ป่า เช่น การเพาะเห็ด การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงไก่เนื้อ การเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลานิลเพื่อโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ทั้งนี้เพื่อลดรายจ่ายครัวเรือนและเสริมอาชีพให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยในระยะเวลาอีก 2-3 ปีข้างหน้า คาดว่าจะมีพื้นที่ป่าสีเขียวมากขึ้น เป็นจำนวนกว่า 50 ไร่

โครงการรวมพลังพลิกฟื้นคืนธรรมชาติสู่สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ
ไทยเบฟสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี ในพื้นที่จำนวน 17 ไร่ ภายใต้โครงการรวมพลังพลิกฟื้นคืนธรรมชาติสู่สิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ โดยมอบงบประมาณ 2,978,400 บาท และนำคณะผู้บริหารและพนักงานจิตอาสา ในกลุ่มไทยเบฟเข้าไปร่วมกันฟื้นฟูและปลูกป่า ทั้งป่าบกและป่าชายเลน ตลอดระยะเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2563

ในปี 2562 ไทยเบฟดำเนินการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ โดยใช้ระบบน้ำหยด และใช้รถบรรทุกฉีดน้ำพ่นในพื้นที่ปลูกต้นไม้ที่รถสามารถเข้าถึงได้ ใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว ปีละ 3 ครั้ง กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่งเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 แปลง
แปลงไทยเบฟ 1
12 ไร่

A total of ดำเนินการปลูกซ่อม ต้นไม้ที่ตายในพื้นที่ทั้งหมด
299 ต้น


การตรวจนับจำนวนและ อัตราการรอดตายของต้นไม้ ที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิม มีอัตราการรอดตาย
98.29%


การศึกษามวลชีวภาพของต้นไม้:
ผลการศึกษามวลชีวภาพของกลุ่มไม้ยืนต้น ในแปลงสุ่มเก็บตัวอย่าง 1 มีมวลชีวภาพเท่ากับ
8.4595
ตันต่อเฮกตาร์
ซึ่งประกอบด้วยมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน มีค่าเท่ากับ 7.2094 ตันต่อเฮกตาร์ และมวลชีวภาพใต้ดิน (ราก) มีค่าเท่ากับ 1.2501 ตันต่อเฮกตาร์

การประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพต่าง ๆ
พบว่ากลุ่มไม้ยืนต้นในแปลงสุ่มเก็บตัวอย่าง มีปริมาณการสะสมคาร์บอนเท่ากับ
3.98
ตันต่อเฮกตาร์
การวิเคราะห์ตัวอย่างดินในพื้นที่
ผลการวิเคราะห์ดินในแปลงสุ่มตัวอย่าง
พบว่า ดินมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในระดับกลางที่ pH 7.7 และมีค่าความเค็มอยู่ในระดับเค็มน้อยที่ 0.09 dS/m
แปลงไทยเบฟ 2
5 ไร่

ดำเนินการ ปลูกต้นไม้เสริม ในพื้นที่ ทั้งหมด
45 ต้น


การตรวจนับจำนวนและอัตราการรอดตายของต้นไม้ ที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิม มีอัตราการรอดตาย
100%


การศึกษามวลชีวภาพของต้นไม้
ผลการศึกษามวลชีวภาพของกลุ่มไม้ยืนต้น ในแปลงสุ่มเก็บตัวอย่าง 2 มีมวลชีวภาพเท่ากับ
9.8858
ตันต่อเฮกตาร์
ซึ่งประกอบด้วยมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน มีค่าเท่ากับ 8.4266 ตันต่อเฮกตาร์ และมวลชีวภาพใต้ดิน (ราก) มีค่าเท่ากับ 1.4592 ตันต่อเฮกตาร์

การประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพต่าง ๆ
มีปริมาณการสะสมคาร์บอนเท่ากับ
4.65
ตันต่อเฮกตาร์
การวิเคราะห์ตัวอย่างดินในพื้นที่
ผลการวิเคราะห์ดินในแปลงสุ่มตัวอย่าง
พบว่า ดินมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในระดับกลางที่ pH 7.1 และมีค่าความเค็มอยู่ในระดับเค็มน้อยที่ 0.37 dS/m
สรุปผลการดำเนินงานปี 2558-2562
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้
ในพื้นที่แปลงไทยเบฟ 1

การปลูกและการบำรุงดูแลรักษา ต้นไม้ที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิม
สามารถปลูกต้นไม้เสริมไปแล้ว
ทั้งหมดจำนวน 6,088 ต้น รวมชนิดพันธุ์ไม้ 39 ชนิด
การเจริญเติบโต และอัตราการรอดตายของต้นไม้
ปี 2562
92.65%
ปี 2561
98.29%
ปี 2560
98%
ปี 2559
97%




การศึกษาปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บ
คาร์บอนของต้นไม้ สามารถเริ่มเก็บข้อมูลได้ในปี 2561 ซึ่งมวลชีวภาพรวมทั้งหมดเท่ากับ
8.4595 ตันต่อเฮกตาร์
และในปี 2562 มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมดเท่ากับ
5.5118 ตันต่อเฮกตาร์
การฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้
ในพื้นที่แปลงไทยเบฟ 2

การปลูกและการบำรุงดูแลรักษา ต้นไม้ที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิม
สามารถปลูกต้นไม้เสริมไปแล้ว
ทั้งหมดจำนวน 130 ต้น
รวมชนิดพันธุ์ไม้ 17 ชนิด


100%
ยังไม่พบ ว่ามีอัตราการตายของต้นไม้ ทั้งที่ปลูกเสริมและต้นไม้เดิม



การศึกษาปริมาณมวลชีวภาพและการกักเก็บ คาร์บอนของต้นไม้
สามารถเริ่มเก็บข้อมูลในปี 2561 ซึ่งมวลชีวภาพรวมทั้งหมดเท่ากับ
9.8858 ตันต่อเฮกตาร์
และในปี 2562 มีมวลชีวภาพรวมทั้งหมดเท่ากับ
4.3732 ตันต่อเฮกตาร์
โครงการไทยเบฟร่วมสร้างต้นแบบ ตำบลสัมมาชีพ อำเภอศรีสวัสดิ์จังหวัดกาญจนบุรี
ตั้งแต่ปี 2560 โครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีกาญจนบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด สนับสนุนให้ชุมชนเป้าหมายจัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนนาสวน” ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 22 ราย ภายใต้การบริหารจัดการโดยชุมชนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพและเศรษฐกิจของชุมชนใน 3 กลุ่มงาน คือ การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ด้านการเกษตร
ส่งเสริมให้สมาชิกที่สนใจทำการเกษตรอินทรีย์ แต่ยังไม่มีพื้นที่หรือยังไม่กล้าเปลี่ยนวิถีจากการทำการเกษตรแบบใช้เคมี ให้มาใช้พื้นที่ 6 ไร่ร่วมกัน โดยสมาชิกจะหมุนเวียนมาดูแลบริหารจัดการต้นทุนและนำกำไรส่วนหนึ่งจัดสรรเข้ากลุ่มตามที่ได้ตกลง ปัจจุบันมีผู้รับผิดชอบ 5 ราย ซึ่งอยู่ในช่วงการปลูกแต่ยังไม่ได้เก็บผลผลิต

ด้านการแปรรูปสินค้า
ไทยเบฟร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ช่วยบริหารจัดการร่วมกับชุมชนเพื่อยกระดับมาตรฐานการแปรรูปสินค้าจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ให้ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การคิดต้นทุน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และตราสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าและราคา เช่น ปลา พริกกะเหรี่ยง งา ปัจจุบันมีสินค้าแปรรูปที่ขึ้นทะเบียนโอทอป (OTOP) จำนวน 10 รายการ โดยมีตราสินค้าของชุมชนและของไทยเบฟปรากฏอยู่บนสินค้านั้น ๆ ด้วย

ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ในชุมชนโดยเน้นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีและการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการยกระดับการทำบ้านพักเป็นโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ปัจจุบันมีโฮมสเตย์จำนวน 3 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 20 คน รวมถึงมีแพที่พักจำนวน 1 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 50 คน

กิจกรรมที่ไทยเบฟเข้าดำเนินการ
2560

ร่วมกิจกรรมปลูกป่าสะมะแก
เพื่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า
2561

พัฒนาแปลงพริกกะเหรี่ยงอินทรีย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
  • ประสานหน่วยงานเพื่อให้ความรู้
  • ได้งบประมาณจากโครงการ E5*
  • กำหนดการบริหารจัดการ
*โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ

นำพนักงานไทยเบฟ จิตอาสาจัดทำฝาย
10 ฝายร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดการจัดการน้ำในการ นำไปใช้ทางด้านการเกษตรของชุมชน



ส่งเสริมแปลงรวม เกษตรอินทรีย์
จำนวน 6 ไร่


ประชุมวางแผน/ จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์

  • กำหนดบทบาทหน้าที่
  • กำหนดโครงสร้างการทำงาน
  • กำหนดข้อบังคับกลุ่ม
  • กำหนดการบริหารจัดการ

ท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • ประชาสัมพันธ์โดยนำรายการชื่นใจไทยแลนด์ลงพื้นที่ถ่ายทำ และออกอากาศทางช่องอมรินทร์ทีวี
  • จัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับชุมชน
  • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แผ่นพับ
  • ทดสอบที่พักชุมชน
  • สนับสนุนงานชาวเขาสัมพันธ์ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม และการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
2562



อบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)




อบรมการแปรรูปปลาส้ม
ประสานหน่วยงานในการให้ความรู้



อบรมการหีบน้ำมันงา

ดำเนินการร่วมกับ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีกาญจนบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด




นำพนักงานไทยเบฟจิตอาสา ลงไปทำธนาคารน้ำใต้ดิน
บริเวณแปลงรวมเกษตรอินทรีย์


Clean Water for Community Project in Myanmar
นอกเหนือจากการพัฒนาชุมชนในประเทศไทยแล้ว ยังมีโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนที่โดดเด่นจากบริษัท แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (GRG) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มไทยเบฟอยู่ในประเทศเมียนมา โดยบริษัทเล็งเห็นว่าในบริเวณตอนกลางและตอนล่างของประเทศเมียนมากำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ และจากการศึกษารายงานของธน[าคารโลก ประจำปี 2557 พบว่า ประชากรเมียนมามากกว่าร้อยละ 30 ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำ และในบางภูมิภาคของเมียนมา ประชากรมีปัญหาการขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรง GRG จึงริเริ่มโครงการน้ำสะอาดเพื่อชุมชนขึ้นในปี 2559 เพื่อให้ความรู้ชุมชนเกี่ยวกับน้ำสะอาด และทำให้ชุมชนสามารถเข้าสู่แหล่งน้ำสะอาดเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ ชุมชนก็สามารถหาวิธีการบำบัดน้ำเพื่อความอยู่รอดได้เช่นกัน

ตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 จนถึงกันยายน 2562 GRG ได้สนับสนุนเงินจำนวนกว่า 800 ล้านจัต หรือ 15 ล้านบาท เพื่อสร้างบ่อน้ำ แท็งก์น้ำ และเครื่องกลั่นน้ำ พร้อมจัดหาอุปกรณ์และบุคลากรเป็นคณะกรรมการในการบำรุงรักษา และดำเนินการโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหมด 10 โครงการในปี 2562 โดย GRG ได้ริเริ่ม 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการสร้างแหล่งเก็บน้ำใต้ดิน บริเวณพื้นที่เมืองมัณฑะเลย์ และโครงการสร้างระบบบำบัดน้ำ 4 แห่ง ในเขตอิรวดี รวมมูลค่า 6.5 ล้านจัต หรือกว่า 120,000 บาท ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 4 ปี GRG ได้สร้าง 8 บ่อน้ำ 16 แท็งก์น้ำ ทั้งนี้ การบำบัดน้ำสะอาดทั้ง 5 โครงการใน 10 พื้นที่ สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่ชุมชนเมียนมาที่เดือดร้อนได้กว่า 40,000 คน 6,000 ครัวเรือน ครอบคลุม 9 หมู่บ้านในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และอิรวดี ทั้งยังส่งผลให้เกิดการลดปัญหาสุขภาพที่เกิดจากแหล่งน้ำไม่สะอาดในชุมชนได้ถึง 840 รายอีกด้วย

โครงการน้ำดื่มสะอาดเพื่อชุมชน
โครงการน้ำดื่มสะอาดของบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นความมุ่งมั่นของโออิชิที่จะดูแลสุขภาพของคนในชุมชนรอบโรงงาน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน จึงช่วยปรับปรุงระบบการผลิตน้ำดื่มสะอาดให้กับชุมชนรอบโรงงาน มุ่งเน้นไปที่โรงเรียนและเยาวชน รวมถึงคนในบริเวณรอบโรงเรียน ที่จะได้มีน้ำดื่มสะอาด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ โดยไม่ต้องซื้อน้ำดื่มและยังช่วยให้มีสุขภาพดี หลีกเลี่ยงจากอาการเจ็บป่วยจากน้ำดื่มที่ไม่สะอาดอีกด้วย โครงการนี้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ 3 สิงหาคม 2561 ที่โรงเรียนบ้านมณีโชติสามัคคี อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี และครั้งที่สองเมื่อ 12 กันยายน 2562 ที่โรงเรียนวัดพืชนิมิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยทั้งสองโรงเรียนนั้นมีจำนวนนักเรียนรวม 839 คน ครูและเจ้าหน้าที่ประจำโรงเรียนรวม 49 คน โครงการนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มลงไปได้ประมาณ 450 บาท ต่อคนต่อเดือน (เฉลี่ยค่าใช้จ่ายวันละ 15 บาท) เทียบเท่ากับ 4,795,200 บาทต่อปี

นอกจากนี้ ยังช่วยลดแนวโน้มที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยจากการดื่มน้ำไม่สะอาด อาทิ โรคนิ่ว โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หลังจากส่งมอบให้กับโรงเรียนแล้ว ทางโออิชิจะมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเป็นประจำทุกสองเดือน เพื่อให้ระบบการผลิตน้ำดื่มนั้นยังคงมีคุณภาพและความสะอาดปลอดภัยอยู่เสมอ

โครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทุพพลภาพ
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 กองทัพภาคที่ 2 ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทุพพลภาพ โดยตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน เสริมสุขได้ดำเนินโครงการให้กับผู้ทุพพลภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปแล้วจำนวน 167 ราย ด้วยงบประมาณ 6,295,520 บาทต่อปี และมีการดำเนินงานใน 2 รูปแบบ คือ
  • โครงการสร้างอาชีพผู้ทุพพลภาพ
    เสริมสุขร่วมกับฟาร์มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดหลักสูตรฝึกอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้ทุพพลภาพตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย 3 หลักสูตร คือ การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ และการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ โดยผู้ทุพพลภาพจะได้รับการฝึกอาชีพตั้งแต่การถ่ายทอดเทคโนโลยี วิธีการจัดการ รวมถึงการจัดทำบัญชี ต้นทุนครัวเรือน จากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถให้กับผู้ทุพพลภาพ เน้นการจัดการที่สามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้ทุพพลภาพสามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้เสริมสุขยังสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เช่น อาคารโรงเรือน แม่พันธุ์ไก่ไข่ อาหารสัตว์ พันธุ์พืช ปุ๋ย และสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นทั้งหมดในการประกอบอาชีพทั้ง 3 หลักสูตร โดยมีเจ้าหน้าที่จากฟาร์มมหาวิทยาลัยฯ คอยให้คำปรึกษา และติดตามผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินงาน
    ผู้ทุพพลภาพเข้าร่วมโครงการสร้างอาชีพผู้ทุพพลภาพ จำนวน 118 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยประมาณ 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ทั้งนี้เดิมผู้ทุพพลภาพ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาชีพ แต่ปัจจุบันผู้ทุพพลภาพสามารถประกอบอาชีพตามที่ได้รับการฝึกอบรม
  • 2. โครงการจ้างงานผู้ทุพพลภาพ
    เสริมสุขร่วมกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดศรีสะเกษ พิจารณาผู้ทุพพลภาพที่มีทักษะ มีความพร้อม และความรู้ความสามารถด้านธุรการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานสำนักงานอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย โดยจ้างเหมาผู้ทุพพลภาพเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 กองทัพภาคที่ 2 ครอบคลุม 12 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเสริมสุขสนับสนุนค่าจ้างตลอดระยะเวลาสัญญาจ้างเหมาบริการ

    ผลการดำเนินงาน
    ผู้ทุพพลภาพเข้าร่วมโครงการจ้างงานผู้ทุพพลภาพ จำนวน 49 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพ คิดเป็นรายได้เฉลี่ยประมาณ 9,368.33 บาท ต่อคนต่อเดือน และผู้ทุพพลภาพได้ใช้ทักษะความรู้ความสามารถที่ผู้ทุพพลภาพมีอยู่เพื่อประกอบอาชีพ

ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
มูลนิธิสัมมาชีพได้มอบรางวัล “ต้นแบบสัมมาชีพ” ให้กับคุณธารทิพย์ ศิรินุพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน ในฐานะตัวแทนไทยเบฟ ผู้บริหารองค์กรที่ขับเคลื่อนการทำงานด้านการพัฒนาชุมชน สร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน ทำให้เกิดโครงการพัฒนาชุมชนที่มีแนวคิดในการพัฒนา “ต้นแบบ” โดยไทยเบฟร่วมสนับสนุนการสร้างตำบลต้นแบบสัมมาชีพใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโพนทอง จังหวัดชัยภูมิ ตำบลบัวใหญ่ จังหวัดน่าน และตำบลเขาถ่าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งทั้ง 3 ตำบล สร้างการเติบโตของเศรษฐกิจชุมชนที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ นอกจากนั้นยังสร้างผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถพัฒนาบริหารจัดการพื้นที่ของตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทิศทางการดำเนินงาน
เพื่อนำองค์กรไปสู่การพัฒนาสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน ไทยเบฟยังคงเดินหน้าสนับสนุนให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง ภายใต้โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม โดยมุ่งเน้นการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลให้ครอบคลุม 3 ด้าน ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจฐานราก
เกิดโครงการพัฒนาชุมชนในบริเวณรอบโรงงานและพื้นที่ต้นแบบอื่น ๆ อย่างน้อย 2 พื้นที่ ภายในปี 2563

ด้านการบริหารจัดการน้
โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่บริหารจัดการน้ำเพื่อชุมชนให้มากขึ้น อย่างน้อย 2 พื้นที่ ภายในปี 2563

ด้านเด็กและเยาวชน
ขยายโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงการพัฒนาด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิตในโครงการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 10
สรุปภาพรวมในปี 2562
เด็ก เยาวชน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

นักเรียน 3,541 คน
ได้รับการพัฒนา ทักษะด้านต่าง ๆ

โรงเรียนที่ได้ร่วมโครงการ
61 แห่ง
การบรรเทาภัยหนาว และความช่วยเหลืออื่น ๆ

มอบผ้าห่ม จำนวน
200,000 ผืน/ปี
แจกจ่ายสู่พี่น้อง ผู้ประสบภัยหนาว
15 จังหวัด

ชาวบ้านกว่า
4,800 คน
ใน 10 จังหวัด ภาคเหนือ/ภาคอีสาน ที่มารับมอบผ้าห่ม ได้รับโอกาสเข้าถึง การตรวจสุขภาพจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

มอบอุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์
60 เครื่อง
ให้โรงเรียนที่ส่งมอบผ้าห่ม ทั้งหมด
18 แห่ง
การบริหารจัดการน้ำ

สร้าง ซ่อมแซม ท่อเชื่อมคลอง
ระยะ 920 เมตร

ขุดลอกคลองและ จัดทำโครงสร้างปูนด้านข้าง
ระยะทาง 3,100 เมตร

พื้นที่ทำการเกษตรที่ได้รับผลประโยชน์
9,564 ไร่
588 ครัวเรือน
ครอบคลุม 4 หมู่บ้าน
ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ