หน้าแรก / สิ่งแวดล้อม
การพิทักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ไทยเบฟเล็งเห็นถึงความสําคัญของการพิทักษ์น้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับสูง และสามารถรับประกันได้ว่าจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอสําหรับการผลิต พร้อมทั้งลดผลกระทบต่อชุมชน ได้มีการจัดตั้งระบบตรวจสอบเพื่อติดตามปริมาณและคุณภาพของน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำด้วยเครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas จากสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute: WRI) แสดงให้เห็นว่าโรงงานไทยเบฟจํานวนหนึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเครียดของน้ำสูง ดังนั้นไทยเบฟจึงร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการดําเนินมาตรการที่จําเป็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้น้ำ
ก้้าวสู่ปี 2568
ความมุ่งมั่นและความสำเร็จ
การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2564 ส่งผลให้มีการลดการใช้น้ำ การใช้ซ้ำ และการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด ดังนี้

ลด
11.36%

ใช้ซ้ำ
4.59%

นำกลับมาใช้ใหม่
6.73%
* อัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ของไทยเบฟ รวมต่างประเทศปี 2564 คือ 4.55 เฮกโตลิตรต่อเฮกโตลิตรของหน่วยผลิตภัณฑ์
** เป้าหมายปี 2564 ลดอัตราการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ 5% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562
กิจกรรมที่สำคัญในปี 2564
โครงการประเมินความยั่งยืนของน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน
ไทยเบฟดําเนินการประเมินความยั่งยืนของน้ำ (WSA) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินที่โรงงานผลิต เพื่อระบุผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ การประเมินเชิงลึกนี้ครอบคลุม 4 มิติ ดังนี้
  • การประเมินแหล่งน้ำอย่างละเอียด รวมถึงการประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำ และโครงสร้างภายในของแหล่งน้ำ
  • ความอ่อนไหวของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยคํานึงถึงปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม เป็นต้น และ
  • คุณภาพของแหล่งน้ำ
ในปีนี้ ไทยเบฟได้ทําการขยายผลในการประเมินความยั่งยืนของการใช้น้ำผิวดินและใต้ดินไปในอีก 9 โรงงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ และในอนาคตไทยเบฟจะขยายผลในการประเมินให้ครอบคลุมทุกโรงงานในประเทศไทย เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนภายในปี 2566
องค์กรผู้ใช้น้ำ
ในปี 2564 สํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จัดทําความร่วมมือที่เรียกว่า 'องค์กรผู้ใช้น้ำ' ที่รวบรวมภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ ไทยเบฟได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกใน 'องค์กรผู้ใช้น้ำ' ในเขตลุ่มน้ำ 12 แห่ง จาก 22 เขตลุ่มน้ำทั่วประเทศ และได้จัดตั้งคณะทํางานของโรงงานในการติดตาม ประเมิน และรายงาน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เพื่อช่วยให้ความร่วมมือนี้สัมฤทธิผล คณะทํางานนี้มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อคาดการณ์ความต้องการน้ำ ครอบคลุมไปถึงอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้คณะทํางานยังมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานของโรงงานและเพื่อตอบสนองต่อข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้น ข้อมูลนี้ใช้เพื่อกําหนดแผนการจัดการความเสี่ยงด้านน้ำในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมจัดทําการรายงานไปยังผู้ประสานงานด้านความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจเป็นประจําทุกเดือน จากนั้นจึงนําเสนอข้อมูลนี้ต่อผู้บริหาร และคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนและความเสี่ยงของไทยเบฟ