หน้าแรก / เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
ห่วงโซ่คุณค่าของไทยเบฟ
กลยุทธ์
การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหลากหลาย ของตลาดและผลิตภัณฑ์
ตราสินค้าที่โดนใจ
การขายและการกระจายสินค้า ที่แข็งแกร่ง
ความเป็นมืออาชีพ
การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะส่งผลสำเร็จทางธุรกิจของไทยเบฟ ดังนั้น ไทยเบฟใส่ใจในทุกขั้นตอนและทุกกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
ปัจจัย

ทุนทางการเงิน
  • มูลค่าหลักทรัพย์ 414.99 พันล้านบาท
  • หนี้สิน 262,409 ล้านบาท
  • ส่วนของผู้ถือหุ้น 210,176 ล้านบาท
    (ณ วันที่ 30 กันยายน 2564)

ทุนทางการผลิต
  • สินทรัพย์รวม 472,585 ล้านบาท
  • ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 60,717 ล้านบาท

ทุนด้านบุคลากร
  • จำนวนพนักงาน 43,422 คน
  • ชั่วโมงการฝึกอบรม ของผู้บริหารและพนักงาน 688,596.90 ชั่วโมง

ทุนทางปัญญา
  • ระบบการจัดการ ความรู้
  • มูลค่าตราสินค้า

ทุนทางสังคม
  • ความสัมพันธ์ระหว่าง ไทยเบฟกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ความร่วมมือกับคู่ค้า
  • มูลค่าการลงทุนเพื่อสังคมมากกว่า 300 ล้านบาท

ทุนทางสิ่งแวดล้อม
  • จำนวนการใช้ ทรัพยากรน้ำ 13.9 ล้านลูกบาศก์เมตร
  • จำนวนการใช้พลังงาน 8,779,398 GJ
  • วัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ 1,125,526.74 ตัน
สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่า

รายได้รวม
245,559
ล้านบาท

กำไรสุทธิ
27,339
ล้านบาท

กำไรก่อนภาษี และค่าเสื่อม
46,629
ล้านบาท

อัตราการบาดเจ็บ
จากการสูญเสียเวลา (LTIFR)
1.43
/ หนึ่งล้านชั่วโมง การทำงาน

อัตราการหมุนเวียน พนักงาน
10%
การร้องเรียน เรื่องสิทธิมนุษยชน
ไม่มี

สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนท้องถิ่น
1,695
ล้านบาท ภายใน 5 ปี
สาระสำคัญ
ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ
ไทยเบฟยังคงทวนสอบสาระสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเพิ่มประเด็นสำคัญจาก 16 ประเด็นในปี 2562 เป็น 17 ประเด็นในปี 2563 และในปี 2564 เพื่อตอบรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 จำเป็นที่ภาครัฐต้องมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการกักตัวและการรักษาระยะห่างทางกาย ทำให้การดำรงชีวิตประจำวันและพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนไป เกิดการปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตแบบ “New Normal” เช่น มีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพและความปลอดภัย

สาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่สำคัญระบุว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความใส่ใจกับประเด็นความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้ส่งผลกระทบเพิ่มเติมต่อประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญโดยมีนัยสำคัญ ดังต่อไปนี้:
  • สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  • ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการ
ประเด็นสำคัญ
ด้านความยั่งยืน
ไทยเบฟได้ระบุสาระสำคัญและวิเคราะห์ความเสี่ยง รวมถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ทางธุรกิจ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแนวโน้มต่อการพัฒนาด้านความยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ผลลัพธ์จากการประเมินความเสี่ยงถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อลดความเสี่ยง และมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนการที่ได้วางแผนเอาไว้

  • สุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • การพัฒนาความสามารถของพันธมิตรทางธุรกิจ
  • ความปลอดภัยของข้อมูล และความเป็นส่วนตัว
  • ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ
  • การกำกับดูแลองค์กร และจรรยาบรรณในการ ดำเนินธุรกิจ
  • นวัตกรรม
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
  • การบริหารจัดการพลังงาน
  • กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบริหารจัดการของเสีย บรรจุภัณฑ์ และเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์แหล่งน้ำ
  • การรับผิดชอบต่อผู้บริโภคขององค์กร
  • การพัฒนาชุมชน และความร่วมมือ
  • การพัฒนาบุคลากร
  • การสร้างแรงจูงใจและการรักษาพนักงาน ที่มีความสามารถ
  • ความผาสุกของพนักงาน
  • สิทธิมนุษยชน